The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by schtgr1125, 2021-05-13 08:13:56

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

92

เรามีหลักฐานสําคัญอีกช้ินหน่ึงว่า พระเจ้าอโศกส่งสมณทตู มาเมอื งไทยเปน็ เถระ 2 รูป มา
เผยแพร่พุทธศาสนาในเมืองไทย คือ พระโสณะเถระ และพระอุตตระเถระคร้ังนี้แหละท่ีอาจจะมีสถูป
ร่นุ พทุ ธศตวรรษที่ 3 ของอโศกปรากฏอยทู่ นี่ ครปฐมและลําพนู

บันทึกอีกระยะหน่ึง อยู่ในจดหมายเหตุของหลวงจีนเฮี่ยนจัง (พระถังซําจ๋ัง) เม่ือพุทธ
ศตวรรษท่ี 11 ตรงกับสมัยศิลปะคุปตะในอินเดีย (สมัยท่ีหลวงจีนเฮี่ยนจัง หรือพระถังซําจ๋ัง จาริกไป
สืบพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียน้นั เป็นช่วงท่ีประเทศอินเดียพระพุทธศาสนาเป็นมหายานไปต้ัง
ค่อนประเทศแล้ว แม้สถาบันพุทธศาสนาลันทา ท่ีพระถังซําจั๋งไปรํ่าเรียนอยู่นานน้ัน สถาบันแห่งน้ีก็
กลายเป็นมหายานไปเสยี แล้ว) หลวงจนี ทางทิศตะวันตกของอสี านปุระแหง่ เขมรคือ โต-โล-โป-ต้ี (จุ่
ยล่อพัดดี้) เป็นนามตรงกับทวารวดี อันเป็นเมืองเก่าแก่ซึ่งยังใช้กันทุกวันนี้ อยู่ในช่ือเมืองอยุธยาและ
บางกอกถัดจากทวารวดีไปทางตะวันตก คือ เมืองศรเี กษตรของพม่า

แสดงว่าในสมัยพุทธศตวรรษท่ี 11 น้ัน ตอนน้ันพม่ามอญและเขมรมีบทบาทมาก สถูปที่
เราเห็นฉตั รศิลานํามาจากนครปฐมและเอามาไว้ท่ีสนามหญ้าในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นสถูปของ
คุปตะรุ่นหลัง ดูเหมือนเราจะมีหลักฐานอยู่เพียงเท่าน้ัน นอกนั้นยังเป็นสถูปปรากฏบนใบเสนาร่วม
สมัยกับศิลปะทวารวดีแถบภาคอสี าน ลว้ นเปน็ สถปู ทรงสูงแบบเดียวกันทั้งสนิ้

อู่ทองน้ัน ฐานสถูปเป็นส่ีเหลี่ยม เป็นแปดเหล่ียม ย่อมุมแบบเดียวกับปาละ ราวพุทธ
ศตวรรษที่ 13-15 อาจเป็นไปได้ว่า สถูปคุปตะมาถูกต่อเพิ่มเติมในสมัยโพสท์ คุปตะหรือปาละ เมือง
อู่ทองมีอายุยืนนานอย่างน้อยก็น่าจะเป็น พุทธศตวรรษท่ี 15 ที่วัดเมรุสวนนันทอุทยาน นครปฐม นั้น
นายดูปองค์ ผู้ขุดแต่งพบว่า มีองค์สถูปข้างในทรงกลม แต่พบที่ฐานซึ่งก็จะสันนิษฐานไปได้ 2 ทาง
ประการแรก เขาขุดพบไปจนถึงรากฐานของสถูป ซึ่งมีการวางแผนศิลาเป็นวงกลมแบบธรรมจักร เป็น
เคล็ดอาถรรพ์ของโบราณ แบบเดียวกับกระทาํ ท่ี เมืองนครนาคารชุนโกญฑะ ซง่ึ เปน็ คติทํากันมาตั้งแต่
สมัยอมราวดีแล้ว(ต่อมาภายหลังมีการขุดรากฐานท่ีวัดสระมรกต ปราจีนบุรี ก็ได้เห็นใต้รากฐานเป็น
พระพทุ ธบาทกับธรรมจักรกลมนนู อยู่ภาคใตอ้ าคารเจดียน์ ั่น สันนิษฐานว่า เดิมเป็นของสมยั ทวารวดี
แล้วมีโบราณสถานสมัยบายนของขอมสร้างทับบนนั้น) หรือมิฉะน้ันถ้าด้านในของสถูปแห่งนี้ มีความ
เก่าแกถ่ งึ สมัยคปุ ตะ พุทธศตวรรษท่ี 11 แล้วมาตอ่ เติมปฏสิ ังขรณ์แปรรปู ใหเ้ ป็นแบบมีพระน่ังในซมุ่ จะ
นํา 4 ทิศ มีพระระเบียงและซักหลังคาจากซุ้มถึงพระระเบียงทํานองจะเป็นวิหารแบบเดียวกับอานัน
ทะเจดีย์พุกาม แต่พึงเข้าใจว่า อานันทะเจดีย์ท่ีพุกามเป็นของรุ่นหลัง ด้วยมีอายุบอกไว้ประมาณพุทธ
ศตวรรษที่ 16 ส่วนใหญ่ที่วัดเมรุน้ันแม้จะมาปฏิสังขรณ์ต่อเติมก็คงอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-14
อันเป็นสมัยโพสท์คุปตะ ยังมิได้เข้าสู่แบบปาละโดยแท้ แม้ความจริงศิลปะปาละจะเร่ิมเม่ือพุทธ
ศตวรรษท่ี 13

เจดีย์แบบปาละที่อู่ทองก่อด้วยอิฐระบบทวารวดีคือ แบบเฟลมมิช บอนด์ (Flemish
bond) เป็นอิฐระบบทวารวดีรุ่นพุทธศตวรรษท่ี 12-14 ซึ่งแม้จะมีอิทธิพลศิลปะปาละเข้ามาแล้ว
อิทธิพลของการก่อสร้างแบบคุปตะ เดิมยังทรงตัวอยู่มิได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ศิลปะการก่อสร้าง
รนุ่ ทวารวดีสมยั คปุ ตะคงจะสืบค้นหาได้เพยี งแคน่ ้ีส่วนศิลปะการกอ่ สรา้ งแบบปาละรุ่นท่ปี รากฏยังสาร
นาทและพุทธคยานั้น เท่าท่ีพบมาในอินเดียมักจะเป็นเจดยี ์ศิลา ดังเช่นท่ี พุทธคยานั้น แต่ ณ สถานที่
นนั้ เปน็ สังเวชนียสถาน ย่อมมพี ุทธศาสนิกชนใจบุญได้ออกเงินให้ช่างพื้นเมืองสร้างสถูปเจดีย์ เพื่อการ

93

กุศลและเพื่อเป็นอนุสรณ์ เราจึงพบสถูปแบบน้ีจํานวนมากเรียกสถูปอย่างย่อ (Stupika) ส่วนสถูป
อยา่ งใหญ่จริงๆ เท่าทเ่ี ห็นยังมี สารนาทสมัยคุปตะ โครงสร้างภายในเปน็ อิฐ มาประดบั ศิลา ในสมัยปา
ละหรือคุปตะร่นุ หลงั แม้ที่ใกล้กบั มูลคันธกุฎสารนาท ท่ีซากสถูปใกล้เคียงกล็ ้วนก่ออิฐประดับศลิ าบาง
รูปเห็นทรงสถปู เป็นลวดลายขนาดเล็กตบแตง่ อยู่ ลักษณะสถูปคปุ ตะคอื เปน็ ทรงกระบอก

เจดีย์แบบปาละทรงสูงชนดิ น้ี ไมม่ ีปรากฏอยู่ในอินเดียเลย เหตผุ ลน่าจะเป็นเพราะว่า เมื่อ
มสุ ลิมทําการกวาดล้างเขา้ มาในอินเดีย ประกอบกับท้ังกษัตริย์อินเดียรุ่นหลังล้วนนับถือฮินดู จึงทําให้
ศาสนาพทุ ธในอินเดีย ซง่ึ หลงั จากพุทธศตวรรษท่ี 13 เป็นตน้ มาอันกลายเป็นพทุ ธมหายานเต็มที่คอ่ ยๆ
เสื่อมอิทธิพลลงไป แต่ก็ยังมีศิลปะปรากฏที่ภาพจําหลักศิลารูปปรินิพพานท่ีเบงกอล เบื้องหลังพระ
พุทธองค์เป็นรูปสถูปทรงสูง เป็นสถูปไม่มีบัลลังก์มีแต่ปล้องไฉนหรือบัวลูกแก้วขึ้นไปตลอดแบบ
เดียวกับเจดยี ์ละโวร้ ุ่นหลงั หรือสมัยอโยธยาเจดียแ์ บบนี้เป็นเจดีย์แบบปาละทรงสูงซึ่งเข้าใจวา่ จะมีอายุ
ระหว่างพุทธศตวรรษท่ี 14-15 และได้แพร่หลายอยู่ทเี่ มืองไทยโดยเฉพาะศลิ ปะละโว้ ต่อมาได้ส่งแบบ
แผนให้แกศ่ ิลปะอโยธยาและสพุ รรณภูมิ ดังเช่น เจดียว์ ัดแก้วเมืองสรรคบ์ รุ ี เจดยี ์วดั ใหญช่ ัยมงคล และ
เจดยี ์ในถ้าํ เขาหลวง เพชรบุรี เปน็ ตน้

เจดีย์ดังว่าน้ี จะมฐี านสี่เหล่ียม องค์เจดียแ์ ปดเหล่ียมระฆังกลม แต่เสน้ องค์ระฆังเกือบเป็น
รูปทรงกระบอกมีบัลลังก์แปดเหลี่ยมไม่มีเสาหาร แต่มีฉัตรหรือบัวลูกแก้วซ้อนขึ้นไปเหนือบัลลังก์
ทเี ดียว การกอ่ สร้างใช้อฐิ ขนาดใหญ่ มีขนาดประมาณ 15 x 30 x 7 ซม.หรือ 8 ซม.อิฐเรียงแนบสนิท
สอดว้ ยดนิ ยางไม้ ขา้ งในองคเ์ จดยี เ์ ป็นโพรง

ดังกล่าวแล้วว่า เจดีย์ชนิดน้ี วิวัฒนาการมาจากเจดีย์ละโว้ซึ่งทรงแปดเหลี่ยมสูง อันเป็น
แบบปลายของศิลปะปาละ ได้ผันแปรไปบาง เพราะแบบเดิมน้ันกลมตลอดดังสถูปเจดีย์ในรูปลักนูน
ที่เบงกอลนั้น แต่ต่อมาได้เปล่ียนเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมใต้องค์ระฆัง แล้วมีฐานสี่เหลี่ยมรองรับอีกต่อ
หนึ่ง ดงั ปรากฏ ณ สถานที่ดงั ต่อไปน้ี

1. เจดยี ์วดั แกว้ เมืองสรรคบ์ ุรี
2. เจดยี ์วดั พระรปู สุพรรณบรุ ี
3. เจดยี ว์ ดั มหาธาตุ สพุ รรณบุรี 2 องค์
4. เจดีย์วัดมรกต หรือวัดสมรโกฏ สพุ รรณบุรี
5. เจดยี ์วดั พระอนิ ทร์ สุพรรณบุรี
อีกสายหนึ่ง เป็นเจดีย์แบบปาละทรงสูงที่เก่ากว่าน้ีเล็กน้อย หรอื แยกสายออกมาเลยจาก
เจดีย์วัดแก้ว มีอายุร่วมสมัยกับแบบข้างต้น คือมีลักษณะแปดเหลี่ยมตลอดองค์ มีซุ้มจระนําแปดทิศ
ระฆังกลม มีบัลลังก์แปดเหล่ียม ใต้ระฆังเป็นซุ้มหรือเรือนแก้ว และมีเสาคั่นระหว่างซุ้มแปดทิศ เสามี
ลกั ษณะเปน็ ปาละชัดเจน ดังเช่น เสาปรากฏในพิมพ์รูปพระปางลีลาแบบในขนุน อันพบในสุพรรณบุรี
มีแจกันและดอกไม้ประกอบเชิงเสาน้ัน เจดยี ์รุ่นน้ีเน้นในเรื่องซุ้ม 8 ทิศ ใต้องค์ระฆังมีความสาํ คัญเป็น
พเิ ศษ ดังเช่น

6. เจดีย์แปดเหลยี่ ม มีซมุ้ พระ 8 ทิศ ในถาํ้ เขาหลวง เพชรบุรี
7. เจดียร์ ายแปดเหลี่ยม ทางทิศเหนอื ของวัดมหาธาตุ สรรคบ์ ุรี

94

8. เจดียแ์ ปดเหลีย่ ม กลางเกาะลอย บงึ พระรามอยธุ ยา
9. เจดยี แ์ ปดเหลี่มทรงสูงทว่ี ดั มณฑป อยุธยา
10 .เจดยี แ์ ปดเหลยี่ มองคป์ ระธาน ทว่ี ัดอิทราราม อยุธยา (ถกู รือ้ ทง้ิ เสียแลว้ ) เปน็ ต้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า เจดีย์แบบน้ีจะมีเค้าแบบเจดีย์ทรงสูงฐานส่ีเหล่ียมดังเจดีย์กลุ่มวัดพระ
รูป สุพรรณบุรี แต่ก็เห็นเค้าความผูกพันกันอยู่ กล่าวคือ เป็นเจดีย์แบบแปดเหลี่ยมเหมือนกัน ข้อ
สําคัญก็คือ แบบกลุ่มเจดีย์มีพระยืนแปดทิศ ในถ้ําเขาหลวง เพชรบุรีน้ี มักมีขนาดย่อมลงมาจากลุ่ม
วดั พระรูป สพุ รรณบุรี และขนาดสว่ นใหญ่กไ็ รเรย่ี กัน เทยี บความสูงแล้วถอื วา่ มีขนาดยอ่ มกว่ากลุ่มวัด
พระรูป สุพรรณบุรี ยงั พบเจดีย์แบบนี้ทว่ี ัดพรหมาส ลพบุรี และท่ีกาญจนบรุ ีด้วย ลว้ นเป็นสถูปเก่าแก่
มาก

สถูปเจดีย์รุ่นหลังจากน้ี มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 และ 18 มีลักษณะพิเศษคือ
เป็นเจดีย์ขนาดมหึมาสูงใหญ่มาก แม้ฐานจะเป็นส่ีเหล่ียมแบบวัดพระรูป แต่ก็รูปทรงผายออก ก่ออิฐ
ไม่ส่อปูน การก่ออิฐฝีมือประณีตมาก เราอาจจะเรียกว่าเจดีย์กลุ่ม อโยธยา-สุพรรณภูมิ น่าจะถูกต้อง
เพราะเจดยี ร์ ุน่ นข้ี นาดสงู ใหญ่อยู่ในสมยั เดียวกนั แบบแผนก็คลา้ ยกัน เข้าใจว่าจะอยู่รว่ มสมยั กบั ศลิ ปะ
บายนของขอม

11. เจดียว์ ดั ขนุ เมอื งใจ อยุธยา
12. เจดียว์ ัดใหญช่ ัยมงคล อยุธยา
14. เจดยี ว์ ดั สนามไชย สุพรรณบรุ ี
15. เจดยี ์วัดนครโกษา ลพบรุ ี
16. เจดยี ว์ ดั ใหญว่ ัดศรี ษะเมอื ง สรรคบ์ ุรี เป็นต้น

ลักษณะพเิ ศษของเจดยี ์กลุ่มน้ีคือ ประการแรกสูงใหญ่มหมึ าและฝีมือประณีต ก่ออิฐไม่สอ
ปูน ใหญ่ยิ่งกว่าเจดีย์ใดๆ ในดนิ แดนสยามประเทศ ประการทสี่ องฐานสี่เหลยี่ มสูงบาง แหง่ ก่อห้องเป็น
ช่องๆ เช่นที่วัดใหญ่ชัยมงคล หรือมีซุ้มประดิษฐานพระยืน เช่น วัดแก้วสรรค์บุรี ไม่มีเสาหารบน
บัลลังก์ มีแต่บัวลูกแก้วเหนือบัลลังก์ข้ึนไป หรือที่วัดนครโกษา เหลือแต่ฐานเจดีย์ส่ีเหล่ียม ตัวองค์
เจดยี ์ตรงส่วนแปดเหล่ียมพังทลายหรอื แต่พระยนื อยู่ข้างบน เจดีย์องค์ฯรูปร่างเหมือนวัดแก้วสรรค์บุรี
มีอายุเก่ากว่าปรางค์สามยอดและศาลสูงที่สร้างสมัยบายน เจดีย์ที่วัดมหาธาตุ สรรค์บุรี แม้จะมี
หลักฐานย่อมุมแต่รูปทรงก็เป็นเจดีย์ฐานส่ีเหลี่ยมทรงสูงแบบวัดแก้ว สรรค์บุรี (เจดีย์วัดแก้ว เมือง
สรรค์บุรี เป็นเจดีย์รว่ มสมัยกับเจดีย์อู่ทองและสุพรรณภูมิ จนแทบแยกจากกนั ไม่ออก เพราะว่าศิลปะ
สถาปัตยกรรมในลุ่มแม่นาํ้ เจ้าพระยา ระหวา่ งพุทธศตวรรษท่ี 16-18 นัน้ อทิ ธิพลเป็นศิลปะรว่ มสมัยท่ี
รุนแรงมาก และแยกจากศิลปะขอม ด้วยศิลปะขอมสมัยบายนเมื่อพุทธศตวรรษท่ี 18 น้ัน
สถาปัตยกรรมเช่นองค์เจดีย์หลังของวัดส่วนใหญ่จะเป็นปรางค์ เพราะขอมนับถือพราหมณ์มาก่อน
เม่ือเปลี่ยนมานับถือพุทธมหายานก็เลยเอาแบบแผนปรางค์เดิมของฮินดูมาเป็นเจติยสถานของพุทธ
ศาสนาของตน)

แสดงว่าในสมัยนี้ แบบแผนของสถูปเจดีย์แบบน้ีมีอยู่กระจัดกระจายทั่วไป เป็นท่ีนิยมกัน
ในรัฐของนครต่างๆ ในแถบลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา เป็นแบบฉบับพิเศษ เมื่อคดิ ถึงว่าในสมัยพทุ ธศตวรรษ
ท่ี 17-18 น้ี ศิลปะบายนสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรนครหลวงของขอมกําลังเบิกบาน

95

เต็มที่ พร้อมกับความคิดศาสนาพุทธมหายานฝ่ายวัชรยานและมนตรยาน กําลังรุ่งโรจน์ไปทั่ว ต้ังแต่
อินเดียแล้วกระจายไปท่ีต่างๆ ท่ัวนครของชาวพุทธ ศิลปกรรมยุคน้อี ยู่ร่วมสมัยกัน น่าจะเป็นของฝ่าย
พุทธมหายานเหมอื นๆ กนั ซึ่งเราจะเรยี กอย่างถนดั ปากว่าเปน็ ศิลปะมหายานของอ่ทู อง ก็คงจะเขา้ กัน
ไดด้ ี จากหลกั ฐานพระพทุ ธรปู แบบอู่ทองท่ีปรากฏยงั ดนิ แดนทัว่ ไปในลมุ่ แมน่ ํา้ เจา้ พระยา

เจดีย์แบบอโยธา-สุพรรณภูมิ ซง่ึ มขี นาดใหญ่โตมโหฬารนี้ ต่อมาในพุทธศตวรรษท่ี 18 ได้
ผนั แปรมาเป็นเจดียแ์ ปดเหล่ียมขนาดย่อม ขา้ งในเป็นโพรง ซึ่งอาจจะเรยี กว่าศลิ ปะอโยธยาตอนปลาย
(สมัยอโยธยาตอนปลายตรงกบั วัฒนธรรมบายนของขอม ในดินแดนลุ่มแมน่ ํ้าเจา้ พระยาซ่ึงเป็นศลิ ปะอู่
ทอง ศลิ ปะอโยธยา สุพรรณภมู ิและลพบุรี กาํ ลังรงุ่ โรจน์อยู่นั้น ไดเ้ กดิ ศลิ ปะขอมแผ่อิทธิพลเข้ามาด้วย
จึงเกิดมีเจดีย์สถานแบบปรางค์ข้ึนมาควบคู่ เป็นวิวัฒนาการคู่เคียงกันไป)ดังเช่น. เจดีย์วัดชุมนุมสงฆ์
สพุ รรณบุรี

เราจะเห็นว่าเจดีย์อู่ทอง ฐานเจดีย์หลายองค์เป็นฐานแบบปาละ แม้ในอยุธยามีเจดีย์ก่อน
กรุงศรีอยุธยา เช่นเจดีย์วดั สามวิหาร ตั้งบนฐานส่ีเหลี่ยมเป็นเจดีย์ปาละ ระหว่างพุทธศตวรรษท่ี 13-
18 น้ันอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบปาละได้เป็นอย่างแพร่หลาย ต้ังแต่สมัยทวารวดีตอนปลายมา
จนสมัยอู่ทอง

เจดียสา้ คญั ในไทย

เนื่องจากเจดียเปนหลักฐานโบราณคดี ท้ังโบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่พบบริเวณ ตาง
ๆ สะทอนใหเห็นวา ไดสรางหรือทําอะไรข้ึน เพื่ออะไรเปนต้น ตลอดจนเป็นเครื่องช้ีใหเห็นรองรอย
การอยูอาศัยของชุมชน สังคมวัฒนธรรมประเพณี และศาสนาไดอยางชัดเจน โดยเฉพาะ เจดีย์เปน
โบราณสถานสําคัญ ท่ีบงบอกถึงความเจริญรุงเรืองของพระพุทธศาสนา และผูคนในสมัยทวารวดีได
เป็นอยางดี การคนพบซากโบราณสถานเจดีย์ ในภาคตาง ๆ ของประเทศไทยจํานวนมาก พบวามี ท้ัง
ที่ปรากฏแตซากและมีเค้าโครงหลงเหลืออยู บางแหงเหลืออยู่แต่เพียงเนินดินเปนตน ในที่นี้จะ กลาว
เฉพาะเจดียทสี่ ําคญั ในภาคกลาง เทา่ นั้น

เจดียในภาคกลาง

เจดีย์ในพระพุทธศาสนา ถูกสรางดวยแรงศรัทธาและความเคารพ แสดงใหเห็นวา ถา
บานเมืองมีความเจริญรุงเรือง ประชาชนม่ังค่ังและมีศรัทธามากก็มักสรางเจดีย ท่ีมีขนาดใหญ
สวยงามและมีความมั่นคงถาวร บริเวณภาคกลางมีการคนพบซากเจดีย ในหลายพื้นท่ีโดยเฉพาะ
บริเวณทีพ่ บมากไดแก เมอื งโบราณอูทอง เมืองนครโบราณปฐม เปนตน

เมืองโบราณอูทองสุพรรณบุรีพบซากโบราณสถานเจดียสมัยทวารวดีจํานวนมากลักษณะ
เปนฐานเจดีย รูปสี่เหล่ียมจัตุรสั มีมุข บนฐานแตละดานนิยมประดับดวยพระพุทธรูปและเทวรูปขนาด
ต่าง ๆ กันประทบั น่ังอยูภายในซุม โดยสรุปมี 3 ขนาด23 ดังน้ี

ขนาดใหญ มีลักษณะเป็นเจดีย์ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นเจดีย์ขนาดมหึมาสูงใหญ่มาก แม้

23 สํานักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแหงชาติที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร,โบราณคดีเมืองอู
ทอง, หนา 30-53.

96

ฐานจะเป็นส่ีเหล่ียมแบบวัดพระรูป แต่ก็รูปทรงผายออก ก่ออิฐไม่ส่อปูน การก่ออิฐฝีมือประณีตมาก
ยาวดานละ 20-36. 50 เมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี 17 และ 18

ขนาดกลาง จะมีฐานส่ีเหล่ียม องค์เจดีย์แปดเหลี่ยมระฆังกลม แต่เส้นองค์ระฆังเกือบเป็น
รูปทรงกระบอกมีบัลลังก์แปดเหลี่ยมไม่มีเสาหาร แต่มีฉัตรหรือบัวลูกแก้วซ้อนขึ้นไปเหนือบัลลังก์
ทีเดียว การก่อสร้างใช้อิฐ ขนาดใหญ่ มีขนาดประมาณ 15 x 30 x 7 ซม.หรือ 8 ซม. อิฐเรียงแนบ
สนิท สอดว้ ยดินยางไม้ ข้างในองคเ์ จดียเ์ ป็นโพรง

ขนาดเล็ก มลี ักษณะเปน็ ฐานเจดียรปู ส่ีเหลยี่ มจตั รุ สั กว้างยาวดานละ 1.50-5 เมตร

จากหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับร่องรอยของเจดีย ท่ีพบจํานวนมาก ดังกลาว เป็น
เคร่ืองยืนยันและช้ีใหเห็นวา บริเวณ เมืองอู่ทองโบราณ น้ันเคยเป็นบานเมือง ที่มีความเจริญรุงเรือง
เปนศูนยกลางทางวัฒนธรรมทวารวดีในระยะแรก ไดอย่างชัดเจน นําไปสูขอสรุปที่วา บริเวณเมือง
อทู องโบราณ มีการอยูอาศัยมาแลวอยางหนาแนนในช่วงพทุ ธศตวรรษที่ 9-11

จากหลักฐานด้านโบราณคดีที่ปรากฏในเมืองนครปฐมโบราณ นําไปสูขอสรุปวา เมือง
โบราณนครปฐมเจริญรุงเรืองข้ึนในสมัยทวารวดี มีบทบาทเปนเมอื งหลวงและเมอื งทาที่สาํ คัญ ของรัฐ
ทวารวดี ในยุคหลัง(พุทธศตวรรษท่ี12-16) ขณะท่ีเมืองอูทองโบราณ มีบทบาทเปนเมืองหลวงและ
เมืองทาสําคัญของรัฐทวารวดีในยุคแรก (พุทธศตวรรษท่ี 9-11) เคยเปนท่ีอยูอาศัยของมนุษย์มาต้ังแต
สมัยก่อนประวัติศาสตรตอนปลาย และสมัยประวัติศาสตรตอนตน ในสมัยทวารวดี โดยเฉพาะสมัย
ทวารวดี จึงพบโบราณวตั ถุ และศลิ ปวตั ถทุ ีส่ ําคญั ที่เก่ยี วกับพระพุทธศาสนา

3.2 ประตมิ ากรรม

ประติมากรรมเปนรองรอยที่เหลืออยู และเปนเครื่องชี้ใหเห็นถึงความเจริญรุงเรือง ของ
บานเมืองไดเปนอยางดี ถือเปนหลกั ฐานโบราณคดี ที่สําคัญยงิ่ ตามประวัติการทําประติมากรรม พบ
วา มีการทําประติมากรรมดินเผามานานแลวกวา 3,000 ป24 เปนการสรางข้ึนตามความเช่ือ และ
พิธกี รรมทเี่ กีย่ วของกับความเปนอยใู นสมัยทวารวดี(อูท่ อง)

ประติมากรรมดนิ เผาพบแพรหลายบริเวณภาคกลาง เขตจงั หวัดนครสวรรค ชัยนาท สิงห
บุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และราชบุรี เน่ืองจากบริเวณดังกลาวนา จะเป็น ศูนยกลาง
การผลิตประติมากรรม ดินเผา ขนาดเล็ก ในสมัยทวารวดี ต่อมาพบวา แพรหลายไปในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดมหาสารคาม รอยเอ็ด กาฬสินธุ สวนภาคเหนือพบบริเวณ เมือง
ลาํ พูน หรอื เมอื งหริภุญไชย ภาคใต พบบรเิ วณเมืองยะรัง จงั หวดั ปัตตานี

ประติมากรรม 25 หมายเอางานปนและงานแกะสลกั จากวัสดุตาง ๆ ประติมากรรม สมัย

24 อนุสรณ คุณประกิจ, “การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่ พบ
ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย”,วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
ศลิ ปากร), 2529.

25 คณะกรรมการฝายประมวลเอกสารและจดหมายเหตฯุ ,วัฒนธรรม พัฒนาการ ทางประวัติศาสตร
เอกลักษณและภูมิปญญา จงั หวัดนครปฐม, หนา 54-60.

97

ทวารวดี(อู่ทอง) สวนใหญเกี่ยวของกับศาสนา และเปนผลงานประติมากรรมประเภทรูปเคารพ
ระยะแรก จะใชสัญลักษณข้ึนกอน เปนคติด้ังเดิมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย รูปดอกบัว
หรือรอยพระพุทธบาท แทนการประสูติ รูปตนโพธิ์หรือแทนบัลลังก แทนการตรัสรู ธรรมจักรมี
กวางหมอบ ประกอบแทนการแสดงปฐมเทศนา หรือการประกาศศาสนา และรูปสถูปเจดีย์แทนการ
ปรินิพพาน งานประติมากรรมของอินเดียสกุล ชางศิลปะคันธารราฐ สมัยที่พระเจ้าเมนันเดอร หรือ
พระเจามลินท ชาวกรีก ไดทรงเล่ือมใสพระพุทธศาสนา ทรงทํานุบํารุงเปนอยางมากมีการสราง
พระพุทธรูป ข้นึ เปนคร้งั แรกในราวพทุ ธศตวรรษท่ี 4 ภายหลังอิทธิพลการสรางเปนรปู มนษุ ยขึ้น

เปนรูปเคารพ จึงแพรหลายเขาสูสุวรรณภูมิในจังหวัดนครปฐม โดยรับอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบ
อมราวดี แบบคุปตะ แบบหลังคุปตะและแบบปาละ มาผสมผสานกับอิทธิพลพ้ืนเมืองกอใหเกิดเป็น
ศิลปกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะข้ึนเรียกวา ศิลปะแบบทวารวดี ในท่ีน้ีจะกลาวเพียง 2 ประเด็นคือ
ประตมิ ากรรมสัญลักษณและประติมากรรมประเภทพระพุทธรปู และพระพมิ พ ดังนี้

3.2.1 ประติมากรรมแบบสัญลักษณ

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบวา ในประเทศไทยไดมีการคนพบสัญลักษณท่ีใชเปน ส่ิง
เคารพแทนพระพุทธรูปจํานวนมาก โดยเฉพาะบริเวณที่พระพุทธศาสนาเคยรุงเรืองมากอน เห็นได
จากการคนพบ รปู ธรรมจักรและกวางหมอบศลิ าจํานวนมาก เปนสัญลักษณหมายถงึ พระพุทธรูปปาง
ปฐมเทศนา เปนคติตามแบบอินเดีย ลวดลายเครื่องประดับของรูปธรรมจักร มีฝมือชางคลาย ศิลปะ
คุปตะ สลักทั้งสองดานธรรมจักร บางวงอาจเคยตั้งเหนือยอดเสากลางแจ้ง เพราะได้พบ พระพุทธรูป
สลักบนแผนศิลา ท่ีเมืองคูบัว เปนรูปพระพุทธเจานั่งขัดสมาธิอยูตรงกลางมีรูปจําลอง สถูปอยูทาง
ซาย และธรรมจักรบนยอดเสาอยูทางขวา26

จากการศึกษาพบวา รูปหรือภาพสัญลักษณคลายกับธรรมจักรนั้น ไดมีมาแลวตั้งแต ราว
พทุ ธศตวรรษท่ี 3 คอื สัญลักษณดอกบวั แทนตอนประสูติ สัญลักษณต้นโพธแ์ิ ละบลั ลงั กแทน ตอนตรัส
รู สัญลักษณธรรมจักรกับกวางหมอบแทนตอนแสดงปฐมเทศนา สัญลักษณรูปสถูปเจดีย์ แทนการ
ปรนิ ิพพาน เป็นตน หลักฐานท่สี ําคัญปรากฏภาพสลกั ท่ีร้วั สถปู สาญจีและภารหตุ 27 ประเทศอนิ เดยี

พระธรรมจักร

ธรรมจักรเปนสัญลักษณท่ีสําคัญทางพระพุทธศาสนาอยางหน่ึง พบแพรหลายอยู่ท่ัวไป ใน
อารยธรรมทวารวดีคือ ธรรมจักรและกวางหมอบ กลาวไดวา เปนตัวแทนของอารยธรรมนี้ ไดเปน
อยางดีว่า เผยแพร่ไปถึงไหน ก็จะพบธรรมจักรในดินแดนนั้นด้วย เพราะธรรมจักรเปนเคร่ืองหมาย
การประกาศพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจา เปนสัญลักษณการแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตน
สูตร โปรดปญจวัคคียทั้งหา ที่ปาอิสิปตนมฤคายวัน แขวงเมืองพาราณสี ต้ังแตน้ันมา ธรรมจักร ได

26 หมอมเจา สุภัทรดิศ ดิศกุล,ศิลปะในประเทศไทย, พิมพครั้งท่ี 10 ,(กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรม
ศาสตร, 2538), หนา 13.

27 ศักดิช์ ัย สายสงิ ห, ศลิ ปะทวารวด:ี วัฒนธรรมพุทธศาสนายคุ แรกเรม่ิ ในดินแดนไทย,หนา 241.

98

กลายเป็นเคร่ืองหมายแทนพระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจา ท่ีไปปรากฏตามท่ีตาง ๆ 28
ประติมากรรมแสดงปฐมเทศนา โดยมธี รรมจกั รและกวางหมอบ อยูทฐ่ี านปรากฏสบื ตอมา

ในศลิ ปะอินเดียสมัยตอมา เช่นในสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 6-8) ถึงสมัยคุปตะ (พุทธ
ศตวรรษท่ี 9-11) ถือเปนตนแบบ ใหกับศิลปะแบบทวารวดี29 ประเพณี และคตินิยมในการบูชาพระ
ธรรมจักรน้ัน เปนคติที่สืบเนืองมาจากความ เคารพในพระบรมศาสดาน่ันเอง นอกจากน้ี ยังพบวา มี
การจารึกคาถาหรือหลักธรรมสาํ คญั อื่น ๆ ดวย หมายถึง การเคารพพระธรรมอันเปนตัวแทนของพระ
พุทธองค

บริเวณจังหวัดนครปฐม พบธรรมจักรจํานวนมากกวา ท่ีอ่ืนประมาณกว่า 30 วง 30 มี
หลายชนิ้ ท่ีมสี ภาพไมสมบูรณ เฉพาะท่ีสมบูรณอยางน้อย 9 วง31 และสวนมากมีอายุราวพุทธศตวรรษ
ท่ี 12 เปนตนมา เชน ธรรมจักร เลขทะเบียนท่ี 624/2519 สมัยสมัยทวารวดี(พุทธ ศตวรรษท่ี 12-
16) เสนผาศนู ยกลาง 73 เซนติเมตร สูง 82 เซนตเิ มตร พบทีว่ ัดพระงาม อําเภอ เมืองนครปฐม และ
ธรรมจักร เลขทะเบียนท่ี 631/2519 สมัยทวารวดี เสนผาศูนยกลาง 65.5 เซนติเมตร สูง 70
เซนติเมตร บที่ระเบียงคดขององคพระปฐมเจดียและช้ินส่วนธรรมจักรจํานวนมาก พบท่ีเจดีย์
หมายเลข 2 เมืองอู่ทอง ยังพบธรรมจักร เสาธรรมจักร ฐานรองรับธรรมจักร ท่ีเจดีย์หมายเลข 11
เป็นตน้

อารยธรรมทวารวดีน้ัน ธรรมจักรและกวางหมอบ พบแพรหลาย อยางมาก กลาวได้ว่า
หากมีการคนพบธรรมจักรหรือกวางหมอบในที่ใด ก็แสดงวา ศิลปะทวารวดีไดแพรไปถึงดินแดน น้ัน
ด้วย เนื่องจากไมมีการพบธรรมจักรและกวางหมอบในอารยธรรมสมัยอ่ืนเลย32 บริเวณภาคกลาง
มีศูนยกลางท่ีพบธรรมจักรเปนจํานวนมาก ไดแกเมืองนครปฐม รองลงมาคือเมืองอูทองและ ลพบุรี
ท้ังสามเมืองถือวาเป็นศูนย์กลางท่ีสําคัญ โดยเฉพาะเมืองอู่ทอง นอกจากจะพบธรรมจักร จํานวนมาก
แลวยังพบวา มีความสวยงามมากกว่าท่ีอ่ืน ทั้งยังมจี ารึกหลักธรรมหัวใจพระพุทธศาสนาคือ เย ธมฺมา
33 และหลักธรรมอ่ืน ๆ บนธรรมจกั รดวย หลายเมืองที่พบหลักฐานของอารยธรรมทวารวดีตามลุมแม
นํา้ เจาพระยาทั้งหมด 34

สรุปไดวา สัญลักษณธรรมจักรและกวางหมอบ มีการสรางขึ้นเพ่ือใชเป็นสิ่งเคารพแทน
พระพทุ ธรปู ปางปฐมเทศนานัน่ เอง

รอยพระพุทธบาท

28 เรอื่ งเดยี วกนั , หนา 241.
29 เรือ่ งเดียวกัน,หนา 242.
30 ผาสุข อนิ ทราวธุ ,สวุ รรณภมู จิ ากหลกั ฐานโบราณคดี,หนา 122.
31 อุษา งวนเพียรภาค,โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ พระปฐมเจดีย, (นนทบุรี: บรษิ ัทพิจิตร
การพิมพ จํากัด, 2548), หนา116-130.
32 ศกั ดชิ์ ัย สายสิงห,ศิลปะทวารวดีวฒั นธรรมพทุ ธศาสนายคุ แรกเริ่มในดินแดนไทย,หนา 249.
33 เรื่องเดียวกนั ,หนา 245.
34 ศกั ด์ิชัย สายสงิ ห, ศลิ ปะทวารวด:ี วฒั นธรรมพทุ ธศาสนายคุ แรกเรมิ่ ในดนิ แดนไทย, หนา 249.

99

ความเจริญรุงเรืองของพระพุทธศาสนาท่ีแพรหลายไปสู่ภูมิภาคตาง ๆ ของไทยน้ัน ภาค
ตะวันออก ก็ไดรับอิทธิพลดวย โดยพบวา พระพุทธศาสนาเจริญรุงเรือง ในเขตเมือง ตั้งแตแรกเริ่มรับ
อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย จากหลักฐานที่พบในเมืองศรีมโหสถ ชวงระยะแรก ตั้งแตพุทธศตวรรษท่ี
12-16 35 พบประติมากรรมในพระพุทธศาสนา อยูหนาแน่นบริเวณรอบ ตัวเมืองศรีมโหสถ ชุมชน
บริเวณโบราณสถานสระมรกต ชุมชนบริเวณโบราณสถานภูเขาทองและชุมชนบริเวณโบราณสถาน
หมายเลข 11 เปนตน

การพบประติมากรรม ในพระพุทธศาสนา และศาสนาฮินดบู รเิ วณคันดินคเู มอื ง ศรีมโหสถ
ซ่ึงเคยเปนศูนย์กลางบานเมือง ในภูมิภาคตะวันออก แสดงใหเห็นวา พระพุทธศาสนา เปนศาสนา
ของคนสวนใหญ่ของเมืองศรีมโหสถ สวนชนชั้นปกครองนัน้ นบั ถือศาสนาฮนิ ดู

ตอมามีการคนพบโบราณวัตถุชิ้นใหมที่สระมรกต ศรีมหาโพธ์ิ จังหวัดปราจีนบุรี สลักข้ึน
ในสมยั ทวารวดี อายุระหวางพุทธศตวรรษท่ี 13-15 36 สันนิษฐานวา เป็นรอยพระพทุ ธบาท เนื่องจาก
มีธรรมจักรสลักอยู่บนฝาพระบาททั้งสองขาง สวนหลุมเสาท่ีอยูระหวางฝาพระบาท อาจทําขึ้นเพ่ือ
รองรบั คันฉัตร อนั เปนเครื่องสูง มักปรากฏอยูรวมกับ พระพุทธรูปและสัญลักษณแทน พระองคอ่ืน ๆ
นอกจากนนั้ รอยประทบั ของฝาเทา ไมใชรอยเทาที่นนู ขึ้นเหนอื ฝาเทา้ ดงั ตวั อยาง พระบาท คูอ่ืน ๆ

หลักฐานดังกลาวชี้ใหเห็นว่า เมืองศรีมโหสถเปนเมืองหน่ึงของกลุ่มเมืองทาชายฝง ทะเล
ภูมิภาคตะวันออก มีการติดตอและรับเอาอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากเอเชียใต เขามาเปนรุนแรก
โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา อาจเขามากอนสมัยทวารวดี เห็นไดจากหลักฐาน ท่ีเปนสัญลักษณส่ิง
เคารพแทนพระพุทธรูป ดังกลาว ครั้นถึงสมัยทวารวดี(อู่ทอง) ก็ไดรับวัฒนธรรมทวารวดี จากลุมน้ํา
เจาพระยา อกี ระลอกหน่ึง

รอยพระพทุ ธบาทวดั เขาดีสลักอ่ทู อง

เป็นรอยพระพุทธบาทจําลองสร้างด้วยหินทรายแดง มีลักษณะแตกต่างจากรอยพระพุทธ
บาทท่ีพบตามที่อื่นๆ คือ เป็นรอยพระพุทธบาทนูนตา่ํ ขนาดกวา้ งประมาณ 65.5 ซม. ยาว 141.5 ซม.
นักโบราณคดีให้ความเห็นแตกต่างกันไป บางท่านว่า เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี อายุประมาณพุทธ
ศตวรรษที่ 14-16 บางท่านว่า แม้รูปแบบลวดลายจะคล้ายกับศิลปะสมัยทวาราวดี แต่ก็มีรูปแบบอ่ืน
เข้ามาปะปน ซ่ึงอาจเป็นผลงานทีส่ รา้ งในสมัยอยุธยา ราวพุทธศวรรษท่ี 19-23 กเ็ ป็นได้ อยา่ งไรก็ตาม
น้ันเป็นการสันนิษฐานจากข้อมูลเบ้ืองต้น ที่ต้องหาหลักฐานอ่ืนๆเพ่ิมเติมถึงกําเนิดที่แท้จริงของงาน
พุทธศิลปะชิ้นนี้ และนอกจากนี้ที่วัดเขาดีสลักแห่งน้ี ยังขุดค้นพบโพรงหินภายในมีพระพุทธรูปและ
โบราณวตั ถุต่าง ๆ อกี หลายชนิด

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ และสร้างมณฑปทรงไทยสวยงามครอบไว้ มี
การดูแลโดยรอบบริเวณอย่างดี มีถนนราดยางข้ึนสู่มณฑปบนยอดเขา มองเห็นทุ่งโล่งกว้าง และทิว

35 คณะกรรมการฝายประมวลเอกสารและจดหมายเหตฯุ , วัฒนธรรม พัฒนาการ ทางประวัติศาสตร
เอกลกั ษณ และภูมปิ ญญา จงั หวดั ปราจนี บรุ ี, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรสุ ภาลาดพราว, 2544), หนา111-112.

36 สภุ ทั รดิศ ดศิ กุล, ม.จ., “รอยพระพุทธบาทคูท่ีสระมรกต ดงศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี”,โบราณคดี,
ปท่ี 12 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กนั ยายน 2529), หนา 30-31.

100

เขาสลับสับซ้อนของอําเภออู่ทอง และสร้างระฆัง 72 ใบ เพ่ือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว ครบรอบ 72 พรรษา37

3.2.2 ประติมากรรมพระพุทธรูป

ก้าเนิดและพัฒนาการเกยี่ วกบั พระพุทธรปู

ชาวพุทธเชื่อกันวา พระพุทธรูปเปนสัญลักษณแหงความเคารพ ที่ชาวพุทธมีตอพระพุทธ
องค เกิดขึ้นสมัยพระเจากนิษกะ เปนครั้งแรก ในดินแดนประเทศอินเดีย ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่
ชาวกรีก เคยมีอํานาจปกครองมา ต้ังแตสมัยพระเจาอิเล็กซานเดอรมหาราช ทรงยกทัพเขาไปรุกราน
ราว พ.ศ. 217-21838 ตอมาชาวโรมันได้ติดตอ คาขายกับชาวอินเดีย ด้วยจนกระทั่งประมาณ พ.ศ.
600 ชางกรีก-โรมัน จึงไดสรางพระพุทธรูป เปนรูปมนุษย ข้ึนไดอยางสวยงามเหมาะสมตาม พุทธ
ลักษณะ โดยไดอาศัยคณุ ลกั ษณะ 3 ประการ ในการสรางพระพุทธรปู ดงั น้ี คอื 39

1. เน่ืองจากเปนชางกรีก-โรมัน จึงไดใช้สุนทรียภาพตามแบบฝร่ัง เปนตนวา พระพักตร
ก็ใหงามตามแบบฝรั่ง ไดแก พระนาสกิ โดง พระโอษฐเล็ก พระขนง วาดเปนวงโคง บรรจบกนั เหนือดั้ง
พระนาสกิ ประภามณฑล เปนรปู วงกลมเกลีย้ ง อยูเบ้ืองหลงั พระเศียร

2. กระทําตามคมั ภีรมหาบรุษลักษณะ40 เชน ใบหยานมลี ายธรรมจกั ร บนฝาพระหัตถ์

3. เกิดจากความชาญฉลาดของชางที่วา จะทําอยางไร จึงจะใหผูเห็นประติมากรรมน้ี
แลวจะทราบไดทันทวี า รูปดังกลาวเปนของพระพทุ ธองค

พระพุทธรปู อิทธิพลอินเดยี

พระพุทธรูปอินเดียแบบอมราวดี เจริญข้ึนทางทิศตะวันออกเฉียงใตของอินเดีย ราวพุทธ
ศตวรรษที่ 6 หรือ 7- 9 รวมสมยั กับศิลปะคนั ธารราฐ พระพุทธรูปในศลิ ปะอมราวดี ก็คงไดรับอทิ ธิพล
มาจากศิลปะคันธารราฐและมถุราผสมกัน เพราะศิลปะอมราวดีในขั้นแรกใช้สัญลักษณแทนองค
พระพุทธรูป จนกระท่ังตอมา จึงไดสรางพระพุทธรูปขึ้นเปนรูปมนุษย พระพุทธรูปศิลปะอมราวดี มี 4
แบบ คอื

1 .แบบประทับยนื มกั ยืนหนั หนาตรงอยูบนฐานบัว ครองจีวรท้งั หมเฉยี งและหมคลุม
2. แบบประทับน่งั มเี ฉพาะในภาพสลกั นูนตาํ่ เทาน้นั
3. แบบนาคปรก พระพุทธรูปนาคปรกท่ีเกาท่ีสุด ตกอยูในแบบพระพุทธรูปประทับน่ัง

37 Suphan.biz Last modified: 18/10/18 (เว็บ ไซท์) WatDeesalak.htm, สืบ ค้นเมื่อวัน ท่ี 5
กันยายน 62.

38 สุริยวุฒิ สุขสวัสด์ิ,ม.ร.ว.,ศ.ดร.,ศรีทวารวดีถึงศรีรัตนโกสินทร,(กรุงเทพฯ: ดานสุทธาการ พิมพ,
2537), หนา 29.

39 เร่อื งเดียวกัน,หนา 29-30.
40 ดูรายละเอียดเกี่ยวกบั การสรางพระบารมีอยางไรใหไดพุทธลักษณะแตละอยาง ๆ ,พิมพคร้ังที่ 10 (
กรุงเทพฯ: บรษิ ัท เอส.อาร พรน้ิ ติ้ง แมส โปรดกั ส จํากัด 2546), หนา 185-186./ และดรู ายละเอยี ดใน ลกั ขณสูตร
ท.ี ปา. 11/ 157/130.และ11/159-193/130,171.อางถงึ ในพุทธทาสภิกขุ,พุทธประวัติจากพระโอษฐ,พิมพครั้งท่ี11,
(กรงุ เทพฯ: ม.ป.ท., ม.ป.ป., 2532), หนา 31-40.

101

หมเฉยี ง แบบท่ี 2 ในศิลปะอมราวดีเป็นพระพุทธรูปทม่ี ีววิ ฒั นาการโดยเฉพาะของตนเอง
4. แบบประทับนั่งหอยพระบาท แสดงถึงการคิดคนลักษณะรูปภาพท่ีสําคัญแบบใหมดู

เหมอื นจะเก่ยี วของอยู่กบั บลั ลงั กซง่ึ มรี ูปรางเหมอื นมาน่ังหรอื เกา้ อ้ีมที าวแขน 41
พระพุทธรูปแบบทวารวดี ไดรับอิทธิพลจากพระพุทธรูปแบบคุปตะและหลังคุปตะ ซึ่ง

เจริญอยูทางภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย ระหวางพุทธศตวรรษที่ 9-13 แสดงให
เหน็ ถึงรองรอยอิทธพิ ลของศิลปะอนิ เดียสมัยอมราวดี ท่ีเขามากอนหนานัน้ ด้วย เพราะอาณาจักรทวาร
วดีเจริญอยูเปนเวลาหลายรอยป ฉะน้ัน จึงไดรับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียรุนตอมาของอินเดีย อีกได
แก ศิลปะแบบปาละ ท่ีเจริญข้ึนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหวางพุทธศตวรรษท่ี 14-17
พระพุทธรปู แบบทวารวดี นยิ มสลักดวยศิลา ท่ีหลอเปนสําริดก็มี แตมักเปนขนาดเล็ก

ตอมาไดคนพบพระพุทธรูปยืนสําริดทวารวดีองคหน่ึง ที่เมืองฝาย อําเภอลําปลายมาศ
จังหวัดบุรีรัมย์ สูง 1.09 เมตร เปนพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทวารวดีองค์ใหญที่สุดเทาท่ี ไดเคยคนพบ
ลักษณะพระพักตรคลายศิลปะอินเดียมาก สันนษิ ฐานวา อาจหลอขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 1342

ศิลปะทวารวดี บริเวณประเทศไทยมีการคนพบศิลปะเนื่องในพระพุทธศาสนาเปน
จํานวนมาก โดยเฉพาะศิลปะสมัยทวารวดี ซ่ึงศาสตราจารย ฌอง บวสเซอลีเยร ไดแบงสมัยศิลปะ
ทวารวดี ไว 2 สมัยใหญ ๆ คอื 43

1. สมัยกอนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 พบมีการวางรากฐานแหงอารยธรรม
อินเดีย โดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุมแมนาํ้ เจาพระยา พรอมดวยการปรากฏมีศลิ ปวัตถุ พ้ืนเมอื ง
รนุ แรก ที่เลยี นแบบหรือไดรบั แรงบนั ดาลใจมาจากศลิ ปวตั ถอุ ินเดยี

2. สมัยทวารวดีแท ราวต้นพุทธศตวรรษท่ี 12-17 แบงเปน 4 สมัยยอยคือ (1) พุทธ
ศตวรรษที่ 12 สมัยเริ่มกอต้ังศิลปะที่มีการรับเอาประเพณีศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ มาเปน ของ
ตน (2) พุทธศตวรรษที่ 12-13 สมัยกอต้ังศิลปะและมีการผสมผสานศิลปะแบบหลังคุปตะให้เขา
เปนแบบทวารวดี (3) พุทธศตวรรษท่ี 14-15 สมัยฟนฟูใหม มศี ิลปะศรีวิชัยเขามาปะปนกับ ลักษณะ
ศิลปะทวารวดี (4) พุทธศตวรรษท่ี 16-17 เปนสมัยเสื่อมของศิลปะทวารวดี เนื่องมาจาก การท่ีชน
ชาติขอมไดแผขยายตัวเขามาในลุมแมน้าํ เจาพระยา

สวนสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ไดทรงแบงอายุทางพุทธศิลปะในประเทศไทย
ไว 7 สมัยโดยสมยั ท่ี 1 เปนสมัยทวารวดนี ับตั้งแต พ.ศ. 500 เปนตนไป44

จะเห็นได้ว่า หลักฐานท่ีเก่าแก่ที่สุดท่ีแสดงว่า พุทธศาสนาได้เป็นที่ยอมรับนับถือของชาว
พื้นเมืองอู่ทองนั้น เร่ิมปรากฏในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 8 หรือก่อนหน้าน้ันนั่นคือ หลักฐานด้าน

41 สุภัทรดศิ ดศิ กุล, ศ.ม.จ.,“พระพุทธรปู อินเดียแบบอมราวดี”,โบราณคดี,ปที่ 5 ฉบับท่ี 6, (มกราคม
-มนี าคม 2552), หนา 10-25.

42 สภุ ทั รดศิ ดศิ กลุ ,ศ.ม.จ.,ศลิ ปะในประเทศไทย, หนา 5.
43 บวสเซอลีเยร, ฌอง (Boisselier, Jean), สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ., “ศิลปะทวาราวดี”, ศิลปากร, ป
ท่ี 11 ฉบับท่ี 5(มกราคม 2511), หนา 35-64.
44 ดูรายละเอียดใน สมเดจ็ ฯ กรมพระยาดาํ รงราชานุภาพ, ตา้ นานพุทธเจดยี , หนา 145-232.

102

ประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นท่ีใช้ประดับศาสนาสถานประเภทสถูปและวิหาร ซึ่งมีหลายชิ้นที่สืบ
ทอดรูปแบบมาจากศิลปะแบบอมราวดีตอนปลาย (พุทธศตวรรษท่ี 8-10) เช่น ประติมากรรมดินเผา
รูปพุทธสาวก 3 องค์ถือบาตร ห่มจีวรห่อคลุมตามแบบนิยมของศิลปะแบบอมราวดี และ
ประติมากรรมปูนป้ันรปู พระพทุ ธรูปนาคปรกทปี่ ระทับนัง่ ขดั พระบาทหลวมๆ ตามแบบนิยมของศิลปะ
แบบอมราวดี รวมท้ังคติการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งจัดเป็นคตินิยมของสกุลช่างอมราวดี
โดยเฉพาะ

ดังน้ันการค้นพบช้ินส่วนประติมากรรมดังกล่าวแม้จะน้อยชิ้น แต่ก็เป็นส่วนของ
ประติมากรรมทปี่ ระดับศาสนสถาน ซ่ึงแสดงวา่ ไดม้ ีการสร้างศาสนาในเมอื งนี้ ตงั้ แตช่ ่วงพุทธศตวรรษ
ที่ 8-10 และแม้วา่ พทุ ธดังกลา่ วจะพงั ทลายลงไปแล้ว ยังคงเหลอื ให้เหน็ ชนิ้ ส่วนประติมากรรมทั้งท่ีเป็น
ดนิ เผาและปูนปั้นท่ีเคยใช้ประดับพุทธสถานดงั กลา่ ว จึงจัดเป็นหลักฐานสาํ คัญที่แสดงว่า พุทธศาสนา
ได้เป็นที่ยอมรับนับถือของชาวพ้ืนเมืองอู่ทองแล้วในช่วงเวลาน้ัน และเป็นอิทธิพลพุทธศาสนาจาก
ศูนย์กลางพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ํากฤษณา (ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย) ซึ่งอยู่ใต้การอุปถัมภ์
ของกษัตริยร์ าชวงศ์ศาตวาหนะ (พุทธศตวรรษที่ 5-8) และสืบต่อโดยราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธศตวรรษ
ที่ 8-10) โดยมีศูนยก์ ลางอยทู่ ่เี มืองอมราวดีและมเองนาคารชนุ โกณฑะ

เมืองอมราวดี งานศิลปกรรมยุคต้นท่ีอมราวดี ซ่ึงยึดม่ันเน้นกายเถรวาท เมื่อแสดงภาพ
พุทธประวัติจะใช้สัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น รอยพระพุทธบาท พระพุทธอาสน์ ต้นโพธ์ิ
ดอกบัว และธรรมจักร เป็นต้น ในยุคกลางแม้จะใช้สัญลักษณ์อยู่บ้าง แต่เร่ิมสร้างพระพุทธรูปตาม
นิกายมหาสังฆกิ ะ (มหายาน)

ดังนั้นจึงได้พบว่า ชาวทวารวดีที่เมืองอู่ทองมีความนิยมในการสร้างสัญลักษณ์สําคัญ
(ตามคติความเช่ือของชาวพุทธนิกายเถรวาทคือ ธรรมจักรและกวางหมอบ (ซ่ึงส่ือความหมายตอน
ปฐมเทศนาในป่ากลางที่เมืองสารนาถใกล้เมืองพาราณสี) และธรรมจักรประดิษฐานบนเสา (ซึ่งสื่อ
ความหมายว่า พระพุทธเจ้าเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ท่ีเหนือพระอาทิตย์ ด้วยการตื่นที่ย่ิงใหญ่และ
การตรัสรู้ธรรมอันประเสรฐิ และยงั เปรียบได้กบั ต้นไม้แห่งชีวติ ) Buddha under Naga (Mucalinda).
Nagarjunakonda, Andhra Pradesh, mid-third century, Limestone, height 16.5 cm,
Victoria and Al-bert Museum, London.

ในขณะเดียวกันก็นิยมสร้างพระพุทธรูป (ตามคติความเชื่อของชาวพุทธนิกายมหาสังฆิกะ
หรือมหายาน) ควบคู่กันไปรวมท้ังยังนิยมสร้างเจดีย์ มหาเจดีย์ และบูชาเจดีย์ (ตามคติความเชื่อของ
นิกายไจตยกะ ซึ่งแยกออกมาจากนิกายมหาสังฆิกะ) อันเป็นคตินิยมของนิกายต่างๆ ท่ีผสมผสานกัน
อยใู่ นลมุ่ แม่น้ํากฤษณา

นอกจากนี้ยังพบว่า คติความเชื่อเก่ียวกับพระโพธิสัตว์ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานท่ี
ปรากฏอยู่ในเมืองคูบัว จงั หวดั ราชบุรี และแหล่งโบราณคดใี นจังหวัดเพชรบรุ ี ได้เข้ามาปรากฏในเมือง
อ่ทู องด้วย

แม้ว่าในบริเวณเมืองอู่ทองและเมืองโบราณสมัยทวารวดีเมืองอ่ืนๆ จะได้พบเทวรูป พระ
วษิ ณุ และศิวลงึ ค์ (รวมทั้งมุขลึงค์) จํานวนหน่ึง ซ่ึงแสดงว่า ศาสนาพราหมณ์ทั้งไศวนิกายและไวษณพ

103

นิการได้เคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในรัฐทวารวดีควบคู่กับพุทธศาสนา แต่คงจะเป็นศาสนาท่ีเกี่ยวข้องกับ
พธิ ีกรรมของกษัตริยซ์ ึ่งพราหมณเ์ ป็นผปู้ ระกอบพธิ ดี งั กลา่ วสว่ นศาสนาระดับรฐั นั้นคือพทุ ธศาสนา

สรปุ ไดว้ ่าเมืองอู่ทองเป็นศูนยก์ ลางพทุ ธศาสนายุคแรกเริ่มของรัฐทวารวดีและเจรญิ ร่งุ เรอื ง
สบื ต่อมาและมีความสมั พันธก์ บั เมอื งทวารวดีเมืองอ่ืนๆ

การแบงกลมุ พระพุทธรปู ตามรูปแบบท่พี บ

พทุ ธศลิ ปะแบบทวารวดีถอื ว่า ไดรบั อทิ ธพิ ลศิลปะแบบคปุ ตะจากอินเดีย เปนยุคทอง ของ
อนิ เดยี ดังนั้น การสรางรปู แบบประติมากรรมโดยเฉพาะอยางย่ิงพระพุทธรูป รูปพระโพธิสัตว เทวดา
และมนุษยในสมัยทวารวดี จึงมีลักษณะเป็นแบบคปุ ตะของอนิ เดยี อยางมาก สรางข้ึนจาก อทิ ธพิ ลทาง
พุทธศาสนา ศิลปะทวารวดีในประเทศไทยเจริญข้ึน ในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 12-16 มี ศูนยกลางอยู่ท่ี
บริเวณภาคกลาง คือ เมืองนครปฐม คูบัว อางทอง และลพบุรี ไดแผขึ้นไปทางเหนือเขาสูอาณาจักร
หรภิ ุญชยั ไดแก45 พระพทุ ธรปู ท่ีเขามามีอิทธพิ ลตอศลิ ปะในสมัยทวารวดีแบงเปน 3 กลมุ

กลุมท่ี 1 มีอายุราวพุทธศตวรรษท่ี 11-13 ไดรับอิทธิพลศิลปะอินเดียท่ีผสมผสานระหวาง
ศิลปะอมราวดี(พุทธศตวรรษท่ี 6-7) ศิลปะคุปตะและหลังคุปตะ(พุทธศตวรรษที่ 9-13) พระพุทธรูป
ในกลุมน้ีจึงมีใบหนาแบบอินเดีย ไมมีรัศมีบนเกตุมาลา ไมมีชายจีวรเหนือบาซาย ประทับน่ังขัดสมาธิ
อยางหลวม ๆ หรือประทับยืนดวยอาการเอียงตน แสดงปางดวยมือขวามือซาย ยึดชายจีวรไว
ลักษณะพระองคต้ังตรง ผ่ึงผาย พระอังสาใหญ บ้ันพระองคเล็ก มีเสนพระกายรอบ นอกโคงเขาออก
อยางมชี ีวิตชีวา ผาบาง ไมมรี ว้ิ แนบสนิทกับพระองค

กลุมที่ 2 มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ปรากฏลักษณะพื้นเมอื ง พระพักตรแบน พระ
นลาฏแคบ พระโอษฐหนา พระนาสิกแบน ระหวางพระโขนงมีอุณาโลม องคพระพุทธรูปยืน จะต้งั ตรง
พระหัตถทงั้ สองทาํ ปางแสดงธรรม

กลมที่ 3 มอี ายรุ าวพุทธศตวรรษที่ 15-18 เริ่มมอี ทิ ธิพลศิลปะขอมหรอื ศิลปะลพบุรี

เขามามบี ทบาทมากขนึ้

สอดคลองกับท่ี ศาสตราจารยหมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแบ่งรูปแบบไว 3 แบบ46
แบบท่ี 1 มอี ทิ ธพิ ลศิลปะอนิ เดียแบบคุปตะหลงั คุปตะ รวมทั้งอิทธิพลของศิลปะอินเดีย

แบบอมราวดีที่เขามากอนแบบคุปตะและหลังคุปตะ ลักษณะคือ ไม่มีรัศมีบนพระเกตุ
มาลาพระพักตรคลายกับศิลปะอินเดีย ถาครองจีวรหมเฉียงก็ไม่มีชายจีวรอยูเหนือพระอังสาซาย
ประทับ นง่ั ขัดสมาธิราบอยางหลวม ๆ แบบอมราวดี กาํ หนดอายุราวพทุ ธศตวรรษที่ 12

แบบท่ี 2 มีอิทธิพลพ้ืนเมือง ลักษณะพระพักตรมี ขมวดพระเกศาใหญบางคร้ังมีรัศมี เป
นรูปดอกบัวตูมหรือลูกแกวอยเหนือพระเกตุมาลาหรือเมาลี พระพักตรแบน พระขนงสลัก เปน

45 ดูรายละเอียดใน เสนอ นิลเดช, วิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย,(พระนคร:โรงพิมพมหาวทิ ยาลัย ธรรม
ศาสตร, 2516), หนา 4-5. / กรมศิลปากร,หนังสอื เผยแพรศิลปวัฒนธรรมเนอื่ งในโอกาสเปดศูนยวฒั นธรรมแหงประ
เทศไทย, (กรงุ เทพมหานคร:วคิ ตอรเ่ี พาเวอรพอยท, 2530), หนา 36.

46 หมอมเจา สุภทั รดิศ ดิศกุล,ศ.,ศลิ ปะในประเทศไทย,หนา 5.

104

เสนนูนโคง ติดตอกันดังรูปปกกา พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระโอษฐหนา ยังคงประทับ
นั่งขัดสมาธิหลวม ๆ ตามแบบอมราวดี ถาครองจีวรห่มเฉียงมักมีชายจีวรส้ันอยูเหนือพระอังสาซาย
เปนประจําชายจีวรดังกลาว เริ่มข้ึนในศิลปะอินเดียสมัยคุปตะตอนปลายและสมัยหลังคุปตะแต
บางคร้ังก็มีขอบจีวรตอลงมาจากชายจีวรเหนือพระอังสาซายพาดผานขอพระหัตถ และพระโสณีซาย
แสดงใหเหน็ ถงึ อิทธิพลศลิ ปะอนิ เดียแบบปาละ (พทุ ธศตวรรษที่14-17) ดว้ ย

แบบท่ี 3 แบบสุดทายของอาณาจักรทวารวดี อิทธิพลขอมสมัยบาปวนหรือลพบุรีตอน
ตน ลักษณะพระพักตรเปนรูปสี่เหลีย่ ม มีรอง(รักย้ิม) แบงกลางระหวางพระหนุ (คาง) ชายจีวรยาวลง
มาถึงพระนาภี ปลายตัดเปนเสนตรง ประทับนั่งขัดสมาธิราบอยางเต็มที่ และฐานบัวคว่ํา บัวหงาย ก็
สลกั ข้ึนอยางคราว ๆ47

ประติมากรรมสมัยทวารวดีที่พบในจังหวัดนครปฐม สวนมากไดรับอิทธิพลศิลปะ อินเดีย
สมัยหลังคุปตะ มักจะสรางดวยศิลาปูนปนและดินเผา ส่วนสําริดหาได้นอยมาก48

ประติมากรรมในศิลปะทวารวดสี วนใหญสรางขึ้นถวายเป็นพทุ ธบูชา พระพุทธรูปมักสลัก
จากศลิ า มีขนาดใหญ สวนวสั ดอุ ่ืนมบี ้าง เชน สัมฤทธ์ิ ปนู ปน และดินเผา49

โดยสรุป พระพทุ ธรปู สมยั ทวารวดีทีพ่ บโดยมากมี 3 แบบ50 ไดแก

แบบท่ีหนึ่ง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงตนพุทธศตวรรษที่ 13 มีลักษณะ อิทธิพล
ศลิ ปะอินเดียแบบคุปตะ หลังคุปตะและแบบอมราวดี เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น พระพุทธรูปสําริด อยู่ท่ี
เจดีย์หมายเลข 1,2, 11

แบบท่ีสอง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 มีลักษณะเปนพื้นเมืองมาก เชน เศียร
พระพุทธรปู ดินเผา51 พบท่วี ัดพระงาม จังหวัดนครปฐม

แบบที่สาม อายุราวพุทธศตวรรษที 15-16 ซ่ึงไดอิทธิพลของขอมและแบบลพบุรี เขามา
ปะปนแลวการกาํ หนดอายุพระพทุ ธรูปสมยั ทวารวดี

พระพทุ ธรูปทวารวดีปางสา้ คญั

เนื่องจากไดมีการคนพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีจํานวนมาก จึงขอเสนอเฉพาะ
พระพุทธรูปปางที่สําคัญ ๆ เพื่อใหมองเห็นลักษณะท่ีเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี โดยแยก
เปนปางตาง ๆ ดังน้ี

47 เรื่องเดียวกนั ,หนา 6.
48 นลินี เหมนิธิ,น้าชมพิพิธภัณฑสถานแหงชาติพระปฐมเจดีย จังหวัดนครปฐม,(กรุงเทพฯ:การ
ศาสนา, 2514), หนา 9.
49 กรมศิลปากร,หนังสอื เผยแพรศิลปวัฒนธรรมเน่ืองในโอกาสเปดศูนยวฒั นธรรมแหงประเทศไทย
,(กรงุ เทพฯ: วิคตอร่เี พาเวอรพอยท, 2530), หนา 35.
50 อุษา งวนเพียรภาค,โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ พระปฐมเจดีย,(นนทบุรี: บริษัท
พจิ ติ รการพิมพ จาํ กดั , 2548), หนา47.
51 เรอ่ื งเดยี วกนั , หนา46.

105

1. พระพุทธรูปยืนปางประทานพร เปนพระพุทธรูปยืนพระหัตถขวา ทอดลงไปตรง ๆ
ขนานกับพระวรกายและหงายฝาพระหัตถ์ ออกมาทางดานหนา พระหัตถซายยกขนหรือทอดลงไป
ตรง ๆ เชนเดียวกับพระหัตถขวา แตจะยึดชายจีวรไว แมวา พระพทธรูปยืนปางประทานพรสมัย
ทวารวดี จะมีการพบนอยมาก แตสําคัญที่มีลักษณะที่ใกลเคียงกับต้นแบบคือศิลปะแบบคุปตะมาก
ท่ีสดุ อายุพระกลุมนี้จัดอยู่ในยคุ ตนทวารวดี อีกองคหน่งึ พบที่วัดศาลาทึง อําเภอไชยา จงั หวัดสุราษฎร
ธานี เปนศลิ ปกรรมทีน่ ําเขามาจากอินเดียในยุคแรกเร่ิมของการรบั อารยธรรม52

2. พระพุทธรูปปางแสดงธรรมทังสองพระหัตถ53 เปนปางที่ไดรับความนิยมอยางแพร
หลายในศิลปะสมัยทวารวดี มีลักษณะการแสดงปางคือ พระพุทธรูปประทับยืนยกพระกรทั้งสองขาง
ระดับพระอุระ หงายฝาพระหัตถ์ออกมาดานหนา จีบนวพระหัตถเปนวงกลม (วิตรรกะ) ดวยพระ
องั คุฐ(น้วิ โปง) กับพระดัชนี (นิ้วช้ี) ใกลเคียงกบั อนิ เดีย กับอีกกลุมหนง่ึ ทําวติ รรกะ โดยนวิ้ พระหัตถท้ัง
สี่งอเขาหาพระอังคุฐ ลักษณะน้ี นาจะเป็นแบบพ้ืนเมอื งท่ีพบเฉพาะในทวารวดีเทาน้ัน การแสดงแบบ
น้ี หมายถึง การแสดงธรรม พบในพุทธประวัติตอนสําคัญๆ เชน แสดงธรรมโปรดพุทธมารดา
พระพุทธรูปยืนเหนอื พนสั บดี ซ่ึงเขาใจกนั วา เปนตอนเสด็จลงจากดาวดึงส ดวยเหตุน้ีจึง นิยมเรยี กกัน
ว่าปางเสด็จจากดาวดึงส และพระพุทธรูปปางแสดงธรรมท้ังสองพระหัตถนี้มีการพบ หลักฐานการ
แพรหลายในสมัยทวารวดีโดยเฉพาะ

3. พระพุทธรูปนงั่ หอยพระบาท (แบบยุโรป)ปางแสดงธรรม 54 ถอื เปนลักษณะ เฉพาะอีก
ปางหนึ่งในสมัยทวารวดี รูปแบบที่สาํ คัญคือ พระพุทธรูปประทับนงั่ เหนอื บลั ลงั กและหอยพระบาทท้ัง
สองขางในลักษณะพระชงฆแยกหางจากกัน และสนพระบาทชิดกันยกพระหัตถขวาขึ้นแสดงวตรรกะ
มทุ รา คือการจีบพระอังคุฐกับพระดัชนีเป็นวงกลมหมายถึง ธรรมจกั ร สันนิษฐานวาพระพุทธรปู ปางน้ี
คงไดอทิ ธิพล จากศิลปะสมัยคปุ ตะของอนิ เดยี

4. พระพุทธรปู ปางสมาธิ55 ปางนี้มีปรากฏอยูทัว่ ไปในพระพุทธรูปนั่งสมัยทวารวดี แสดง
ถงึ การตรสั รูของพระพุทธเจา พระพุทธรูปปางสมาธิทีแ่ สดงถึงตอนตรสั รูไดชัดเจนทส่ี ุดในสมัยทวารวดี
ไดแก ภาพสลักนูนสูงบนหินทราย พบท่ีปราจีนบุรี แสดงพระพุทธรูปปางสมาธิเหนือฐานบัวคว่ํา–บัว
หงาย มีลายกลีบบัวอยูใตต้นพระศรีมหาโพธิ์ ดานขางมีสถูปประกอบอยูท้ังสองดานพระพุทธรูป
ขัดสมาธิอยางหลวมๆ อันเปนรูปแบบเฉพาะของศิลปะทวารวดีที่มีอิทธิพลศิลปะอมราวดี พระหัตถ
ขวาวางซอนพระหัตถ์ซ้ายเหนือพระเพลา ครองจีวรหมเฉยี ง จีวรเรียบไมมรี ิ้ว เหมอื นพืน้ เมืองทัว่ ไป

พระพุทธรูปปางน้ีมีท้ังแบบดินเผาพบท่ีเมืองอูทอง มีพระพักตรเปนทวารวดีแท มี
ลักษณะพิเศษ คอื มีชายสังฆาฏิที่เปนริ้วซอนทับกันและมีชายผาหอยมาดานหนาพระเพลา มีริ้วทบั ซ
อนกัน คลายผาจบี ดานหนาของผานุง ซึ่งไมปรากฏมากนกั ในศิลปะทวารวดี

5. พระพทุ ธรูปนาคปรกปางสมาธิ การสรางพระพุทธรูปนาคปรกในประเทศไทยน้นั

52 ศกั ดิช์ ยั สายสงิ ห, ศิลปะทวารวดี : วฒั นธรรมพทุ ธศาสนายุคแรกเรม่ิ ในดนิ แดนไทย, หนา 195.
53 อ้างแลว้ , ศลิ ปะทวารวดี : วฒั นธรรมพุทธศาสนายคุ แรกเร่ิมในดินแดนไทย , หนา 195-196.
54 เร่อื งเดยี วกนั ,หนา 196-198.
55 เรื่องเดยี วกัน,หนา 199-201.

106

ศาสตราจารยบวสเซอลิเยร ไดเสนอวา ในประเทศไทยไดพบหลักฐานการสรางมา
ยาวนานตั้งแต่ยุค หัวเลี้ยวหัวตอทางประวัติศาสตร หลักฐานที่เกาสุดคงไดแก ช้ันสวนฐานและ ขนด
นาค พบที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี นักวิชาการ เห็นวาเปนพระพุทธรูปนาคปรกที่เก่าที่สุดใน
บรรดา พระพุทธรปู นาคปรกในสมัยทวารวดี เพราะมีลักษณะใกลเคียงกบั ศลิ ปะอมราวดี อย่างมาก 56

6. พระพุทธรูปปางปรินิพพาน57 พระนอนท่ีมักพบเห็นอยูทั่วไปน้ันมีอยู 2 ปาง คือ
หมายถึงปางปรินิพพานกับปางไสยาสน ท่ีมาของการสรางพระพุทธรูปในยุคเร่ิมแรกคงไดคติ มาจาก
ตอนพุทธปรินิพพาน สวนปางไสยาสนคงเกิดข้ึนในภายหลัง การทําพระนอนหรือปาง ปรินิพพานน้ัน
ไดพบหลกั ฐานนอยมากในสมัยทวารวดี

อิทธิพลวัฒนธรรมทวารวดีไดแพรไปถึงจังหวัดสกลนคร 58 ดวยมีการพบพระพุทธ ไสยา
สน ที่วัดเชิงดอยเทพรัตน บานมวง ตําบลหวยยาง อําเภอเมือง แกะสลักจากกอนหินท่ีเปน สวนหนึ่ง
ของหนาผาของเชิงเขาภูพาน หันพระพักตรไปทางทิศใต เป็นพระพุทธรูปท่ีสวยงาม มีพระโอษฐย้ิม
เล็กนอย จีวรแนบพระองคคนคลายเปลือยกาย ชาวบานจึงเรียกวา พระนอนเปลือย นางนอนเปลือย
และพระนารายณ เปนตน นักโบราณคดีใหความเหน็ วา เปนพระพุทธรปู สมยั ทวารวดีตอนปลาย

สรุปไดวา พระพุทธรปู สมัยอูท่ อง พบหลักฐานท่ีเกาสุดคงไดแกช้ันสวนฐานและ ขนดนาค
พบที่เมืองอู่ทอง จังหวดั สพุ รรณบุรี มหี ลายปาง แตปางท่ีโดดเดนและมี ความสําคัญและนิยมสรางกัน
แพรหลายไดแก พระพุทธรูปปางประทานพร ปางแสดงธรรมสองพระหัตถ ปางประทับน่ังหอยพระ
บาท ปางสมาธิ ปางสมาธมิ ีนาคปรก และปางปรินิพพาน

ลกั ษณะของพระพทุ ธรูปสมัยทวารวดี

เมื่อกลาวถึงลักษณะของพระพุทธรปู โดยรวมแลว พระพุทธรูปสมัยทวารวดีมี ลักษณะ
พระเศียรเปนกระพุ้งออกทางดานขาง เกตุมาลาเปนตอมกลมแบน ขมวดเกศามีขนาดใหญ และปาน
หนาผากเวาลง เปลือกตานูน ค้ิวยาว ตอกันเป็นปกกา ใบหนาแบนกวาง ปากแบะ คางปาน มือใหญ
เทาใหญ จวี รบางแนบตัว หากเปนพระพุทธรปู แบบนั่งหอยพระบาท กจ็ ะมีเรอื นแกว ประกอบถาเป็น
พระพุทธรปู ยนื จะมีประภามณฑล ตดิ อยูด้านหลงั

จากลักษณะพระพุทธรูปทวารวดีดังกลาวนี้ ผูวิจัยพบวา ไดอิทธิพลมาจากศิลปะสมัย
อมราวดี สมยั คุปตะและสมัยหลังคุปตะเป็นหลกั ซ่ึงได้ผสมผสานกับฝมือชางพื้นเมือง จนไดศิลปะท่ีมี
เอกลักษณเปนของตนเองในชื่อศิลปะทวารวดี การผสมผสานฝมือชางดังกลาวมี 3 ชวงด้วยกัน
กลาวคือ (1)ชวงพุทธศตวรรษที่ 11-13 (2)ช่วงพุทธศตวรรษท่ี 13-15 และ (3) เปนช่วงพุทธศตวรรษ
ท่ี 15-18 (ยุคอู่ทอง)เปนสมัยศลิ ปะทวารวดียุคสุดท้าย และเกิดมศี ิลปะแบบลพบรุ เี ขามาแทนที่

56 ศักด์ิชัย สายสิงห,ผศ,ดร., ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเร่ิมในดินแดนไทย เรื่อง
เดยี วกัน, หนา 201-204.

57 เร่ืองเดยี วกัน,หนา 204-205.
58 คณะกรรมการฝายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ,วัฒนธรรม พัฒนาการ ทาง ประวัติศาสตร
เอกลักษณ และภูมปิ ญญา จังหวดั สกลนคร, (กรุงเทพฯ : โรงพมิ พครุ ุสภาลาดพราว, 2544), หนา 30.

107

3.2.3 ประตมิ ากรรมพระพมิ พสมัยทวารวดี(อู่ทอง)

ก้าเนิดและพัฒนาการพระพิมพ

การสรางพระพิมพมีขึ้นในประเทศอินเดีย สันนิษฐานวา เกิดจากผูคนท่ีไปนมัสการ พระ
บริโภคเจดยี ตองการไดของไวเป็นท่ีระลกึ เม่อื มีผู้ตองการมาก และนิยมสรางกันมากข้ึนดวย ตอมาจึง
กลายเปนประเพณีสรางพระพิมพเพ่ือสืบอายุพระพุทธศาสนาใหถาวร โดยมีการบรรจุไวใน เจดีย์ดวย
หวังวา เมื่อพระพุทธศาสนาเส่ือมสูญตามความเชื่อโบราณ และเม่ือมีผูขุดคนพบ จะเปนเหตุจูงใจ ให
สนใจหันมานับถือพระพุทธศาสนากันใหม 59 แตปจจุบันมีความเชื่อเพิ่มเติมแตกออกไปอีก คือ สราง
หรอื สะสมพระพิมพเป็นวัตถุมงคลหรือเปนเครื่องรางของขลังสําหรับเปนท่ีพึ่งทางใจ ในดานศักดิ์สิทธ์ิ
อิทธปิ าฏหิ ารยิ อีกดว้ ย

พระพิมพดินเผาทวารวดีจัดไดวา เป็นมรดกทางดานศิลปกรรมอันโดดเดน ตลอดจนเปน
หลักฐานสําคัญ ท่ีแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุงเรือง และแพร่หลายของพระพุทธศาสนา ซ่ึง ปรากฏ
อยูอยางกวางขวาง จนอาจกลาวไดวา เป็นยุคทอง ของพระพุทธศาสนาในสมัยประวัติศาสตร ชาตไิ ทย
ยุคต้น ที่มีความสัมพันธกับบานเมืองตาง ๆ ท้ังภายในและภายนอกอาณาจักร และจัดว่าเป็นต้น
กาํ เนดิ ของพระพมิ พตาง ๆ ในสมยั ตอมา

จากการศึกษาพบวา มีพระพิมพดินเผาทวารวดีกระจายกันอยูเกือบทุกภาคของประเทศ
ไทย สันนิษฐานว่า พระเครอื่ งมาจากคําวา พระเครื่องราง หมายถึง พระพิมพหรอื พระหล่อโลหะ มรี ูป
แทนองคพระพุทธเจา หรือพระสาวกเปนพระขนาดเล็ก ท่ีใช้หอยคอไดสะดวก พระเคร่ืองมีกําเนิดมา
จาก พระพิมพ ซึ่งอาจจะสืบข้ึนไปจนถึงถิ่นเดิมแรกคือ อินเดีย แลวนิยมสรางกันสืบมา ในดินแดน
แหลมอนิ โดจนี รวมทง้ั ประเทศไทยด้วย60

มกี ารขดุ พบพระพิมพในพ้ืนท่เี กือบทุกภาคของประเทศไทย โดยฝงอยูใตดนิ บาง ตามถํ้า ต
าง ๆ บาง สวนมากเปนรูปแผนแบบนูน เปนรูปพระพุทธเจาปางตาง ๆ ซึ่งพระพิมพท่ีพบมี ทั้งแบบ
เถรวาท (และมหายาน เปนพระสมัยศรีวิชัย) พระพิมพสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) คนพบ
แถบภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ

สาเหตกุ ารสรา้ งพระพมิ พ์ท่ีเมอื งอู่ทอง

การสร้างพระพิมพท์ ี่เก่าแกท่ ่ีสุดของไทยทาํ ด้วยดินเผาในสมัยทวารวดีในยุคเมืองโบราณอู่
ทองน้ีเอง คติการสร้างพระพิมพ์มีท่ีมาคือ พระพิมพ์เป็นรูปเคารพขนาดเล็กแทนองค์พระพุทธเจ้า
สร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนา แต่เดิมคงมีวัตถุประสงค์เพียงเพ่ือใช้เป็นท่ีระลึกในการ
เดนิ ทางไปนมัสการสงั เวชนยี สถาน หรือสถานท่สี าํ คัญทางพุทธศาสนา ทั้ง 4 ในประเทศอินเดีย ได้แก่
สถานที่ประสูติ (ลุมพินี) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (สารนาถ) และ ปรินพิ พาน (กสุ ินารา) หรือไม่ก็
เป็นที่เคารพบูชาแทนพระพุทธเจ้าภายหลังพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน ต่อมาจงึ ไดร้ ับความนิยม

59 สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานภุ าพ, ต้านานพทุ ธเจดีย,หนา 76-77.
60 ธนาคารไทยพาณิชย,มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย, สารานุกรมวัฒนธรรมภาคกลาง ฉบับ
ตนแบบ ฉ.2,(กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทรพร้ินต้ิง แอนดพับลิชช่ิง จํากัด (มหาชน), พิมพเนื่องในวโรกาสท่ี สมเด็จ
พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจรญิ พระชนมายุ 40 พรรษา, 2538), หนา 141.

108

ในการทําขึ้นเพ่ือสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาตามคติท่ีได้รับผ่านจากประเทศลังกา ท่ีเชื่อว่าพุทธ
ศาสนาจะดาํ รงอยู่ได้ในระยะเวลาเพียง 5,000 ปี จากน้ันจะค่อย ๆ เสื่อมลง จึงเป็นเหตุให้มีการสร้าง
พระพิมพ์พร้อมกับจารึกพระคาถา เย ธมฺมา ด้วยหวังว่า รูปพระพุทธเจ้าและคาถาย่ออันเป็นคําส่ัง
สอนท่ีเป็นสาระของพระองค์จะเป็นเคร่ืองเตือนใจให้ผู้พบเห็นเกิดความเล่ือมใสและเชื่อถือใน
พระพุทธศาสนาและสืบสานพระพุทธศาสนาใหค้ งอย่สู บื ไป

คตคิ วามเชอ่ื ในการสรางพระพมิ พ

จากการคนพบพระพิมพสมัยทวารวดีจํานวนมาก กระจายอยูในทุกภาคของไทย เปน
หลักฐานยืนยนถึงความเจริญรุงเรืองและแพรหลายของพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีทั้งพบวา
พระพิมพท่ีพบในภาคตาง ๆ ของประเทศไทยสวนใหญมคี ติการสรางทส่ี ําคญั 4 ประการ61 คือ

1. สรางเพ่ือเปนการสืบตออายุพระพุทธศาสนา โดยนยมจารึกคาถาหัวใจพระพุทธ
ศาสนา เย ธมมา ด้วยหวังวาตอไปภายหนา เมื่อศาสนาเสื่อมไปแลว คนรุนหลงั มาพบก็จะสามารถ สืบ
หาแหลงทมาถกู ตอง และบางสวนสรางเปนภาพเลาเร่อื งพุทธประวัติตอนตาง ๆ เปนตน

2. สรางเพอ่ื ใหเปนบญุ กศุ ลและอุทศิ ผลบุญกศุ ลน้นั ใหกับผูลวงลบั ไปแลว
3. สรางเพ่อื แสดงออกถงึ คุณธรรมกตญั ูกตเวทตี อผมพระคุณท้งั หลาย
4. สรางเพ่อื เปนอนุสรณสาํ หรับไวเคารพบูชา
3.2.4 พระพมิ พสมัยทวารวดที ี่พบในในประเทศไทย

ปตมิ ากรรมพระพิมพส์ มัยทวารวดีทีพ่ บมีอย่เู ป็นจ้านวนมาก ในทีน่ ีจะกล่าวเฉพาะพระ
พิมพแ์ บบทวารวดีในสว่ นภาคกลาง

พระพมิ พภาคกลาง

พระพิมพที่พบในภาคกลาง มีหลายบริเวณดวยกัน จะกลาวถึงเฉพาะแหลงท่ีมีการพบ
เปนจาํ นวนมากและมการคนพบแลว โดยเฉพาะที่เมืองนครปฐมโบราณ เปนเมืองเกาแกเมืองหนึ่ง ใน
บริเวณภาคกลางของประเทศไทย แต่เดิมเขาใจวา ต้ังอยูริมทะเลเพราะไดพบหลักฐานคือ สมอเรือ
เดินทะเลขนาดใหญ และมีแมน้ําหลายสายไหลผาน อาจารยนิติพันธุ ศิริทรัพย62 ไดทําการศึกษาคน
ควา เกี่ยวกับพระพิมพดินเผาจากเมืองนครปฐม ไดสรุปพระพิมพดินเผาจากเมืองนครปฐมโบราณ
ไว 3 กลมุ คือ

1. พระพิมพที่มีเรื่องราวตามพุทธประวัติ แบงออกเปน 2 เร่ือง คือ (1) พระพิมพ ปาง
มหาปาฏิหาริยที่เมืองสาวัตถี แบงออกเปน 4 พิมพ (2) พระพิมพปางเสด็จลงจากดาวดึงส แบงออก
เปน 2 พิมพ

61 ศักด์ิชัย สายสิงห, ผศ,ดร., ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรม พุทธศาสนายุคแรกเร่ิมในดินแดนไทย
เรื่องเดียวกัน, หนา 173.

62 นิติพันธุ ศิริทรัพย, “พระพิมพดินเผาสมัยทวารวดีที่นครปฐม”,วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา
บณั ฑติ , (บณั ฑติ วทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร, 2524), หนา 19-40.

109

2. พระพิมพท่ีมีสถูปประกอบ แบงออกเปน 2 แบบ คือ (1) พระพิมพแบบพระพุทธรูป
ประทับน่ังใตยอดสถูปแบบพุทธคยาแบงออกเปน 2 พิมพ (2) พระพิมพแบบ พระพุทธรูปประทับน่ัง
ในทาปรยงั กาสนะ แสดง ธยานมทุ รา มีสถูป

3. พระพิมพ์แบบพระพุทธรูปประทับน่ังในทา ปรยังกาสนะ แสดงธยานมุทรามี
ประภามณฑล แบงออกเปน 2 พมิ พ

ผลจากการเปรียบเทียบวิเคราะหทางดานศิลปะและดานจารึกทําใหสามารถกําหนดอายุ
พระพิมพ์ดนิ เผาสมัยทวารวดี ท่นี ครปฐม ไดดงั นี้

กลมุ ท่ี 1 (1) พระพิมพดินเผาสมยั ทวารวดียุคแรก มีอายุราวพทุ ธศตวรรษท่ี 12-13

พระพิมพปางมหาปาฏิหาริยที่เมืองสาวตั ถี ท่ีกลาวตาม คัมภีรทิวยาวทาน ภาษาสันสกฤต
เปนพระพิมพมีอิทธิพลศิลปะคุปตะและหลังคุปตะสวนพระพิมพปางมหาปาฏิหาริยท่ีกลาวตามคัมภีร
อรรถกถาชาดก ภาษาบาลนี ั้น มีอายรุ าวพุทธศตวรรษที่ 12-13 เปนพระพมิ พที่มีรูปแบบศิลปะคุปตะ
ตอนปลายหรือหลังคปุ ตะตอนตน จึงจัดเปนพระพมิ พ์ดนิ เผาแบบทวารวดียุคแรกและยคุ ที่ 2

กลุมที่ 1 (2) พระพิมพปางเสด็จลงจากดาวดึงสเปนพระพิมพท่ีมีอิทธิพลรูปแบบ ศิลปะ
อนิ เดียแบบหลังคุปตะผสมกับรูปแบบพื้นเมอื งสรางตามคัมภีรอรรถกถาชาดกและนิบาต ชาดก มีอายุ
ราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 และ 14-15 (เปนระยะที่มีอิทธิพลพื้นเมืองอยางชัดเจน) จึงจัดเป็น
พระพิมพดนิ เผาแบบทวารวดี ยุคท่ี 2 และ 3

กลุมท่ี 2 (1) พระพิมพพระพุทธรูป ปะทับน่ังใตยอดสถูปแบบพุทธคยาเปนพระพิมพที่มี
รูปแบบศิลปะอินเดียแบบปาละ มีอายุราวพุทธศตวรรษท่ี 14-15 (มีจารึกอักษรเทวนาครีพุทธ
ศตวรรษท่ี 13-14) จึงจดั เปนพระพมิ พดนิ เผาแบบทวารวดี ยคุ ที่ 2 ตอนกลางตอกบั ยุคท่ี 3 ตอนตน

กลุมที่ 2 (2) พระพิมพพระพุทธรูปประทับน่ังในทาปรยงั กาสนะ แสดงธยานมุทรา มีสถูป
ประกอบ เปนพระพมพที่มีรูปแบบศิลปะอินเดยแบบหลังคุปตะ และปาละยุคแรก มีอายุราว มีอายุ
ราวพุทธศตวรรษที่ 13-14-

กลุมท่ี 3 พระพิมพพระพุทธรูปประทับน่ัง ในทา ปรยังกาสนะ แสดงธยานมุทรา มี
ประภามณฑล เปนพระพิมพท่ีมีรูปแบบศิลปะอินเดียแบบคุปตะ หลังคุปตะและปาละ บางแบบมี
อิทธิพลศิลปะแบบพื้นเมือง มีอายุราวพทธศตวรรษที่ 13-1563 จัดเปนพระพมพดินเผาแบบทวารวดี
ยคุ ที่ ๒

จากการศกึ ษาพระพิมพดินเผาดงั กลาวชี้ใหเหน็ วา พระพิมพท่พี บในบริเวณเมือง นครปฐม
โบราณน้ัน เปนพระพิมพท่ีสร้างขึ้นเพ่ือการสืบอายุพระพทธศาสนาเปนหลักโดยไดรับอิทธิพล
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ท่ีใช้ภาษาสันสกฤต สันนิษฐานวา คงไดเผยแพรเขากอนจากการที่ได
พบพระพิมพที่มีอิทธิพลน้ี โดยอาจแพรหลายมาจากทางทิศตะวนตกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งเปน
ตนเคาของนิกายที่ใช้ภาษาสันสกฤต ตอมาจึงไดมีการรับเอาอิทธิพลพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท

63 นิติพันธุ ศิริทรัพย“พระพิมพดินเผาสมัยทวารวดีที่นครปฐม”, วิทยานิพนธศิลปศาสตร,มหา
บณั ฑิต,หน้า 76-79.

110

จากตอนใตของอนิ เดยท่ีใช้ภาษาบาลเี ขามาผสมผสานหรือนบั ถือรวมกบั นิกายเดิม

หลักฐานพระพิมพดินเผารูปแบบตาง ๆ ท่ีพบบริเวณเมืองนครปฐมโบราณน้ัน ชี้ใหเห็นว่า
เมืองนครปฐมโบราณไดมีการรับเอาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทท้ังแบบท่ีใช้ภาษาสันสกฤตและ
ภาษาบาลีเขามานับถอื ตอมาจึงไดรับเอาพระพุทธศาสนานิกายมหายานเขามา ดังปรากฏหลักฐานเป
นพระพิมพดินเผาแพรกระจายอยูหลายแหงในบริเวณเมืองนครปฐม บริเวณท่ีพบ มากที่สุดได้แก
ตาํ บลพระประโทน

นอกจากน้ันการพบพระพิมพ์ในซุ้มโค้งแหลมศิลปกรรมแบบปาละมีเมืองอู่ทองซ่ึงเป็น
รูปแบบของพระพิมพ์แพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชนผู้นับถือลัทธิตันตระยานหรือวัชรยานในอินเดีย
ตะวันออก คือภาพพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในซุ้มภายใต้ต้นโพธ์แิ ต่ไม่มีศิขร (แบบพุทธคยา) แสดงปาง
มารวิชัยและขัดสมาธิเพชรบนปัทมาสน์ครองจีวรห่มเฉียง มีรูปพระพุทธเจ้าขนาดเล็กจําวน 4 องค์
ประทับนั่งบนปัทมาสน์รอบๆ พระพุทธเจ้าองค์กลาง รูปนี้อาจจะเป็นรูปพระชินพุทธะ (ธยานิพุทธ)
5 พระองค์ในลัทธิตันตระยานหรือวัชรยานคือ พระพุทธเจ้ามหาไวโรจนะ (ผู้ให้แสงสว่าง)
พระพุทธเจ้าอกั โษภยะ (ผหู้ นักแน่น) พระพุทธเจ้ารตั นสัมภาวะ (ผเู้ กิดจากมณี) พระพุทธเจ้าอมิตาภะ
(ผู้มีแสงสว่างเป็นนิรันดร) พระพุทธเจ้าอโมฆสิทธิ (ผู้สมหวังตลอดกาล) โดยท่ัวไปเช่ือกันว่าพระพุทธ
ชนิ ะพุทธเจา้ ทง้ั ห้าพระองค์คอื ตัวแทนขนั ธ์ 5 คือ รูป เวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณและของทศิ ทงั้ 5
อันเป็นตัวแทนของจักรวาล64 หรือพระพุทธเจ้าท่ีปรากฏในพระพิมพ์ชิ้นน้ีอาจจะเป็นรูปพระพุทธเจ้า
ศากยมนุ ี (พระศากยสงิ ห์) พระพุทธรปู องคส์ ําคัญท่พี ุทธคยา

พระพมิ พปางพิเศษ

นอกจากพระพิมพประเภทตาง ๆ ที่สรางขึ้นเพ่ือเปนเคร่ืองสักการะของชาวพุทธแล้วที่
แสดงใหเหนถึงความเคารพศรัทธา และม่นั คงในพระพุทธศาสนาของชาวทวารวดีแล้วยังพบ พระพิมพ
อีกประเภทหนึ่งที่แสดงใหเห็นถึงสถานการณของพระพุทธศาสนาวา ไดรับความนิยมมากกวาศาสนา
ตาง ๆ ทมี่ ีอยูในสมยั เดยี วกัน กลาวคือ

1. พระพุทธรูปยืนเหนือพนัสบดีสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖65 พบท่ี
จังหวัดนครปฐม ลักษณะเป็นประติมากรรมนูนสูงจําหลักบนแผนหิน ดานหนาเปนรูป พระพุทธรูป
ประทับยืน พระบาทชิดกันเหนือฐานรูปดอกบัวหงาย ซ่ึงอยูระหวางเขาของพนัสบดี พระวรกายเอียง
เล็กนอย พระหตั ถทั้งสองยกข้ึนเสมอพระอุระ

2. พระพุทธรูปประทบั ยืนเหนอื เศียรพระอรุณาทิตย สมัยทวารวดี อายรุ าวพุทธศตวรรษท่ี
12-1666 ลักษณะเป็นประติมากรรมนูนสูง จําหลักบนแผนหิน ดานหนาเป็นรูป พระพุทธรูปประทับ
ยืน พระองคต้ังตรง เบ้ืองหลังพระเศียรมีประภามณฑล ลักษณะพระพุทธรูป พระพักตร์กลม พระขน
เป็นสันนูน ตอกันเปนรูปปกกาคอนขางตรง พระเนตรโปนเหลือบตา พระนาสิกโตปลายบาน พระ

64 ผศพิรยิ ะ ไกรฤกษ์.ดร., ประวตั ศิ าสตร์ศิลปะในประเทศไทยฉบับคูม่ อื นกั ศกึ ษา, หน้า .57
65 อษุ า งวนเพยี รภาค,โบราณวัตถุในพิพิธภณั ฑสถานแหงชาติ พระปฐมเจดีย, หนา 59.
66 เร่อื งเดียวกนั ,หนา 60.

111

โอษฐกวาง พระกรรณยาวจรดพระอังสา ครองจีวรหมคลุม จีวรบางแนบพระวรกาย พระหัตถท้ังสอง
แสดงปางประทานธรรม

พระพิมพหรือพุทธรูปแบบพิเศษน้ี ยังไมเคยพบท่ีอื่น แมแตในอินเดียเอง สันนิษฐานวา ผู
สราง ตองการแสดงใหเหน็ วา พระพทุ ธศาสนามอี ิทธพิ ลย่งิ ใหญเหนือกวา ศาสนาพราหมณ เหมือนกับ
ภาพสลักบนผนังถ้ําสมัยทวารวดีที่สระบุรี ซ่ึงแสดงภาพพระนารายณและพระอิศวรหรือ พระพรหม
กําลังยนื และน่ังฟง พระพุทธเจ้าประทานเทศนา67 เปนทนี่ าสังเกตวา พระพุทธศาสนาได เปนทเี่ คารพ
นับถือของประชาชน ย่ิงกวาศาสนาอ่ืนแมแตศาสนาพราหมณ-ฮินดู ไดถูกรัศมีแหงพระพุทธศาสนา
ปิดบัง

ผูวิจัยเชื่อวา ในสมัยทวารวดีนั้น พระพุทธศาสนาไดรับการยอมรบนับถือ จากชาว
ทวารวดีอยางสูง และถือเปนหลักปฏิบัติเพื่อให้เขาถึงความสงบสุขของชีวิตอยางไมตองสงสัยเลย ดัง
หลักฐานเก่ียวกับการสรางพระพุทธรูปตาง ๆ ที่พบจํานวนมาก หลักฐานดังกลาวชี้ใหเห็นวา
พระพทุ ธศาสนาอยูเหนือศาสนาพราหมณน พระอรุณาทติ ยดังกลาวมา

3.2.5 ประตมิ ากรรมสมี า สีมาหิน

ใบสีมา หรือ ใบเสมา (Sema หรือ Boundary stone) หมายถึง เขตกําหนดความพร้อม
เพรียงของสงฆ์ หรือเขตชุมนุมสงฆ์ เป็นเขตท่ีสงฆ์ทั้งหลายต้องทําสังฆกรรมร่วมกัน เนื่องด้วย
พระพุทธเจ้าได้ทรงกําหนดให้สงฆ์ต้องทําอุโบสถ ปวารณาและโดยเฉพาะการสวดปาฏิโมกข์ ซ่ึงต้อง
สวดพร้อมกันเดือนละ 2 ครั้ง จึงทรงกําหนดเขตสีมาท่ีมีเครื่องหมาย (นิมิต) ท่ีเป็นท่ีทราบกัน นิมิตท่ี
ทรงกําหนดมี 8 อย่างได้แก่ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก ถนน แม่นํ้า และน้ํา และเขตสีมาที่
สมบูรณ์ต้องมีขนาดใหญ่พอที่พระสงฆ์ 21 รูปเข้าไปน่ังหัตถบาสได้ แต่ไม่กว้างเกิน 3 โยชน์ แต่เดิม
คร้ังพุทธกาลเขตสีมาน่าจะกําหนดเพ่ือแสดงเขตวดั หรอื อารามคล้ายกําแพงวัด ในปัจจุบันมิใช่กาํ หนด
เฉพาะเขตอุโบสถเท่านั้น ต่อมาจึงมีการนําสีมามาปักรอบเป็นเขตอุโบสถแทนเพ่ือเป็นการแสดง
เขตสังฆกรรมชุมนุมสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะเร่ิมเม่ือใดนั้นยังไม่อาจหา
หลักฐานได้ การกําหนดนิมิตของสีมามีจุดกําหนดอย่างน้อยท่ีสุดต้ังแต่ 3 แห่งเป็นใช้ได้ จึงเกิดวงสีมา
เป็นรูปต่าง ๆ คือ รูปสามเหล่ียม (สีมามีนิมิต 3 แห่ง) รูปส่ีเหลี่ยมต่างๆ (สีมามีนิมิต 4 แห่ง) รูป
ตะโพน (สีมามนี ิมติ 6 แหง่ )

สีมา พบต้ังแต่สมัยทวารวดี โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นท่ีบ้านกุดโง้ง
จังหวัดชัยภูมิ ท่ี เมืองโบราณฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่บ้านตาดทอง จังหวัดยโสธร ที่วัดพุทธ
มงคล อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น สีมาทวารวดีพบว่ามีการปักรอบสถูปเจดีย์ด้วย
และบ่อยครงั้ ไม่พบซากอาคารเขา้ ใจวา่ อาคารเดมิ อาจสร้างดว้ ยไม้จึงผุพังไป บางแหง่ ปัก 3 ใบและบาง
แห่งพบถึง 15 ใบ นอกจากน้ีบางคร้ังยังพบปักรอบเพิงหินธรรมชาติ เช่น ที่หอนางอุสา อุทยาน
ประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ซ่ึงบริเวณนี้อาจเคยเป็นสถานที่ศักด์ิสิทธิ์มาแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ เมอื่ ผู้คนหันมานับถือศาสนาพุทธจึงนําคติการใช้วัฒนธรรมหินปักหินตั้งเข้าผสมกับคติ
ทางศาสนา มีการปักสีมาข้นึ กลายเป็นวัดป่าหรอื อรัญญวาสไี ป สีมาสมัยทวารวดีพบหลายแบบท้งั เป็น

67 เรอ่ื งเดียวกนั , หนา 12.

112

แผ่นคล้ายเสมาปัจจุบัน เป็นเสากลมหรือแปดเหล่ียมหรือรูปสี่เหลี่ยม โดยท่ัวไปสลักจากหินทราย มี
ขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 0.80 - 3 เมตร มีภาพสลักโดยท่ัวไปเป็นภาพสถูปยอดแหลม หรือสลักภาพเล่า
เรื่องชาดก ภาพพุทธประวตั ิ และลายผักกดู ก้านขดเป็นต้น

เสมาหิน เปนหลกั ฐานทางโบราณคดีที่สําคญั อีกอยางหนึ่ง มีพบแพรหลายเฉพาะใน ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือเท่าน้ัน ในภาคกลางมีพบบางแตนอย เชน ท่ีลพบุรีหรือพิษณุโลก68 เฉพาะภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือรูปแบบใบเสมา มีลักษณะเป็นกลีบบัว มีขนาดสูงต้ังแต 1 เมตรจน ไปถึง 2
เมตร และมีรปู เสาสี่เหล่ยี มและแปดเหลียมบาง แต่นอ้ ย อาจารยศกั ดิ์ชยั สายสิงห สันนิษฐานวา มคี ติ
การสรางไว 3 ประการ 69 (1) ถาปกใบเดียวกลางลานมีฐานะเปนเจดียองค์หน่ึง (2)ใชปกลอมรอบ
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพ่ือแสดงขอบเขต และ (3) ใชปกแปดทิศรอบฐานอาคาร ส่ีเหลี่ยมผืนผาเปน
เครื่องหมายของเสมานิมิต

ใบเสมาท่ีมีภาพสลักนั้น นิยมสลักเร่ืองราว ชาดกในพระพุทธศาสนา เชนภาพบนใบ
เสมา พบท่ีเมืองฟาแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ ภาพสลักบนใบเสมา อําเภอเกษตรสมบูรณ และ
เสมาหิน ชาดกท่ีบานกุดโงง จังหวัดชัยภูมิ ภาพเสมาหินเหลานี้ กําหนดอายุระหวางพุทธศตวรรษที่
12-15

ผูวิจัยไดไปสํารวจมาพบวา เป็นเสมาหนิ ที่สลกั ภาพชาดกพระเจาสิบชาติหรือทศบารมีใน
พระพุทธศาสนาเถรวาทแสดงใหเห็นวา พระพุทธศาสนา ไดเจริญรุงเรือง และต้ังมั่นอยูภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือในสมยั ทวารวดี เชน เดยี วกบั ในภาคกลาง

3.2.6 ประตมิ ากรรมลูกปัดชนดิ ต่างๆ

ทพี่ บเปน็ จาํ นวนมากในตัวเมืองอ่ทู อง จากหลกั ฐานทางโบราณคดี

ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี 70 ได้ทําการศึกษาค้นคว้าเร่ืองราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของ
เมืองอู่ทองและสรุปไว้ว่า เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว มีคนก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่เข้ามาต้ัง
ถนิ่ ฐานอยู่ท่ีอาํ เภออู่ทองและน่าจะอยู่ต่อลงมาถึง ยุคสาํ ริดและยคุ เหล็ก เพราะตรวจดูลูกปัดหลายลูก
มลี ักษณะคล้ายแบบของยุคสําริดและยุคเหล็ก เช่นท่ีพบที่จงั หวัดลพบุรี และจากการค้นพบตุ้มหู่ที่ทํา
ดว้ ยหนิ สีเขยี ว 2 แบบ71 คือตมุ้ หรู ูปสัตว์ 2 หัว และต้มุ หูรปู วงกลมมีดอกไมต้ ูมย่ืนออกมา 3 ตมุ้

68 ศักดชิ์ ัย สายสงิ ห,ศลิ ปะทวารวดี : วฒั นธรรมพทุ ธศาสนายคุ แรกเริ่มในดินแดนไทย, เร่ืองเดยี วกัน
, หนา 234-240.

69 เรอ่ื งเดียวกัน,หนา 235.
70 ชิน อยู่ดี, เร่ืองก่อนประวัติศาสตร์ที่อ้าเภออู่ทอง (โบราณวิทยาเร่ืองเมืองอู่ทอง กรมศิลปากร
2509), หนา้ 46-50
71 ชิน อยู่ดี “คนก่อนประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ออกทะเล” วารสารโบราณคดี ปีท่ี 6 ฉบับท่ี 4
พ.ศ.2519 หน้า 21-30
72.Ha Van Tan, “Earrings with two animal heads and Dong Son-Sa Huynh relationa
ship”, New Archaeology Discoveries Hanoi, 1977.

113

ซ่ึงเป็นเคร่ืองประดับในวัฒนธรรมซาหุญ72 (Sa Hyunh) อันเป็นวัฒนธรรมยุคโลหะทีเจริญรุ่งเรืองขึ้น
ในบริเวณมณฑลกวงหนํา-ดานัง (Quang Nam-Danang) และมณฑลกวงงาย (Quang Ngai) ในภาค
กลางของเวียดนามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 1-5 (500-100 ปีก่อน ค.ศ.) นําไปสู่ข้อสมมติฐานที่ว่าเมือง
อู่ทอง เคยเป็นศูนย์กลางการติดต่อใต้ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายและร่วมสมัยกับ
ศูนย์กลางแห่งอื่นๆ ท่ีต้ังอยู่ในประเทศไทย เช่น ดอนตาเพชร (กาญจนบุรี) และเขาสามแก้ว (ชุมพร)
และที่ถ้ําดูยอง และถํ้าตาบอนและที่ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย73 เช่น ถํ้านีอาห์ ศูนย์กลางการติดต่อ
แลกเปล่ียนสินค้า ระหว่างชุมชนโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้ังแต่สมัยก่อน
ประวัตศิ าสตรต์ อนปลาย

นอกจากจะมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการติดต่อแลกเปล่ียนสินค้าระหว่างชุมชนโบราณใน
ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ยังมีหลักฐานเด่นชัดท่ีแสดงว่าอู่ทองได้ติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้า
กับประเทศอินเดียในช่วงยุคเหล็กตอนปลาย ซ่ึงตรงกับสมัยราชวงศ์เมาริยะ-ศุงคะ ของอินเดีย (พุทธ
ศตวรรษท่ี 3-5) ดังได้พบสินค้าจากอินเดียซ่ึงส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทลูกปัด หินคาร์เนเลียนหิน
อะเกต ท้ังแบบเรียบ และแบบท่ีตกแต่งโดยการสกัดผิวและฝังสี (etched beads) ในบริเวณเมืองอู่
ทอง74 เปน็ จํานวนมาก และเพิ่มมากขน้ึ ในสมยั หวั เลีย้ วประวตั ศิ าสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 6-9)

ในสมัยหัวเลียวประวัติศาสตร์ได้พบหลักฐานว่า ชุมชนโบราณในเมืองอู่ทอง มีการติดต่อ
ค้าขายกับอินเดียในสมัยดินโด-โรมัน (ราวพุทธศตวรรษที่ 6-9) ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์กุษาณะ-คุปตะ
ในอินเดียภาคเหนือ และสมัยราชวงศ์ ในอินเดียให้ซึ่งเป็นช่วงที่อินเดียติดต่อค้าขายกับโรมัน และมี
การต้ังถน่ิ ฐานของชาวโรมนั ในอินเดียดว้ ย ดังนั้นจึงได้พบสินค้าของอินเดีย สนิ คา้ ของโรมัน และสินค้า
แบบอินโด-โรมัน (เลียนแบบสินค้าโรมัน) ในบริเวณเมืองอู่ทองและบริเวณใกล้เคียง เช่น พงตึก
(กาญจนบุรี)

โบราณวัตถุสําคัญที่แสดงหลักฐานการติดต่อแลกเปล่ียนสินค้ากับชาวอินเดียอย่างเป็นล่ํา
เป็นสันคือ ลกู ปัดชนิดต่างๆ ท่ีพบเป็นจํานวนมากในตัวเมืองอู่ทอง และบริเวณใกล้เคียงมีท้ังท่ีทําด้วย
หินแก้ว และที่เป็นทองก็พบด้วย แต่ลูกปัดที่เมืองอู่ทองนี้ส่วนใหญ่จะได้จากการขุดพบโดยบังเอิญ จะ
มีส่วนน้อย ที่ได้จากการขุดค้นอย่างมีระบบ นอกจากลูกปัดแล้วยังได้พบเหรียญโรมันซ่ึงจัดเป็น
หลักฐานสําคัญท่ีแสดงว่ามีการติดต่อค้าขายกับโลกตะวันตก โดยเฉพาะกับชาวโรมนั โดยตรงหรือโดย
ทางอ้อม (คือติดต่อค้าขายกับชาวอินเดียในสมัยอินโด-โรมันซ่ึงจัดเป็นหลักฐานสําคัญท่ีแสดงว่ามีการ
ติดต่อค้าขายกับโลกตะวันตก โดยเฉพาะกับชาวโรมันโดยตรงหรือโดยทางอ้อม (คือติดต่อค้าขายกับ
ชาวอนิ เดยี ในสมัยอินโด-โรมนั ของอนิ เดยี ) และยังพบเคร่ืองประดบั ทองคาํ จาํ นวนมาก

73.Lucas Chin “Niah Caves” Cultural Heritage of Sarawak, Sarawak Museum, Kuching,
1980 Chapter Two, pp.5-12

74 .ชนิ อยู่ดลี กู ปัดทเ่ี มืองเกา่ อูท่ อง” โบราณวิทยาเร่อื งเมอื งอทู่ อง อา้ งแล้ว หนา้ 51- 60

114

1.ลกู ปัด75 ภายในเมืองอู่ทองและบรเิ วณบางแห่งในอําเภออู่ทอง มีผู้พบลกู ปัดโบราณมาก
มีท้ังท่ีทําด้วยหินแก้ว และที่เป็นทองแต่ส่วนใหญ่ได้จากการขุดพบโดยบังเอิญ ไม่ได้จากการขุดค้น
อย่างมรี ะบบ

1.1. ลูกปัดหิน ลูกปัดหินที่พบมีท้ังท่ีทําด้วยหินควอตซ์ หินคาร์เนเลียน หินอะเกต
หนิ โอนิกซ์ และหินคาลซิโดนี ท้ังแบบเรียบและแบบท่ีมกี ารตกแต่งดว้ ยการฝังสี (etched beads) ซ่ึง
กเ็ ป็นลูกปัดร่วมสมัยกับท่ีพบท่ีแหล่งโบราณคดี บ้านดอนตาเพชร อําเภอพนมทวน จงั หวัดกาญจนบุรี
รูปที่ 4.ลูกปดั หินคารเ์ นเลียนพบที่เมืองอทู่ อง จ.สพุ รรณบุรี

1.2. ลูกปัดแก้ว ท่ีพบมีทั้งลูกปัดแก้วสีเดียวและลูกปัดแก้วหลายสีแบบมีแถบสี
(Striped beads) และแบบมตี า (eye beads) มหี ลายขนาด

1.2.1. ลูกปัดแก้วสีเดียว สําหรับลูกปัดสีเดียวส่วนหนึ่งคงเป็นของนําเข้าจาก
ต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศอินเดียเน่ืองจากมีการติดต่อค้าขายของกันต้ังแต่ สมัยราชวงศ์โมริ
ยะ (พุทธศตวรรษท่ี 3) เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่อินเดียมีการผลิตมีการผลิตลูกปัดแก้วส่งเป็น
สินค้าออกอย่างเป็นลํ่าเป็นสัน แต่อีกส่วนหนึ่งคงเป็นลูกปัดแก้วที่ผลิตโดยชาวพื้นเมือง (เช่น แหล่ง
ผลิตใหญ่ทีค่ ลองท่อม จังหวดั กระบ)ี่

1.2.2. ลูกปัดแก้วหลายสี ท่ีเมืองอู่ทองได้พบลูกปัดแก้วหลายสีแบบท่ีนิยม
เรียกกันว่าลูกปัดโรมัน ทั้งแบบที่มีแถบสีหลายสีสลับกัน (striped beads) ซึ่งมีทั้งสีแดง ดํา ขาว
เหลือง และเขยี ว (ดรู ปู ที่ 6) และแบบทีเ่ รยี กว่าลูกปดั มีตา (eye beads) ซงึ่ ทีอ่ ู่ทองพบทัง้ แบบท่มี พี ื้น
ดําตาสีมว่ ง พน้ื นํา้ เงินตาสีขาว และพืน้ ขาวตาสนี าํ้ เงิน

ลูกปัดแก้วหลายสีและลูกปัดแก้วมีตาแบบนี้มีแหล่งผลิตอยู่แถบเมดิเตอร์เรเนียนใน
อาณาจักรกรีก อาณาจักรโรมัน รวมท้ังอาณาจักรเปอร์เซียต้ังแต่ช่วง 800 ปีก่อน ค.ศ.ถึง
คริสต์ศตวรรษท่ี 1 การพบลูกปัดแก้วหลายสีและลุกปัดแก้วมีตามในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อสมัยแรกเร่ิมประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน
เอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่พบร่วมกบั ลูกปัดหินคาร์เนเลียนและอะเกต หรอื โบราณวัตถจุ าก
อินเดียประเภทอื่นๆ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าลูกปัดดังกล่าวคงมาจากเมืองท่าของอินเดีย ร่วมกับ
โบราณวัตถุอื่นๆ ของอินเดียตั้งแต่ช่วงสมัยราชวงศ์เมาริยะ-ศุงคะ (พุทธศตวรรษท่ี 3-5) ปกครอง
อินเดียซึ่งเป็นช่วงท่ีอินเดียเร่ิมติดต่อค้าขายกับโลกตะวันตก จึงหล่ังไหลเข้ามายังเมืองท่าของอินเดีย
และถูกส่งต่อมายังเมืองท่าต่าง ๆ ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เมืองอู่ทอง เมืองออกแก้ว
(เวียดนามใต้) เปน็ ตน้

2.เหรียญโรมัน76 การค้นพบเหรียญกษาปณ์ของโรมันซ่ึงเป็นเหรียญทองแดงของ
จักรพรรดิวิคโตรินุส แห่งราชอาณาจักรโรมันตะวันตก (พ.ศ.811-813) ท่ีเมืองโบราณอู่ทอง (ดูรูปท่ี
7) ย่อมจัดเป็นหลักฐานท่ีสอดคล้องกับโบราณวัตถุแบบโรมัน เช่น ตะเกียงโรมัน และโบราณวัตถุที่มี

75 อา้ งแลว้ อยดู่ ี ,ลูกปัดที่เมืองเกา่ อ่ทู อง โบราณวทิ ยาเรอ่ื งเมืองอู่ทอง,หน้า 51- 60
76.J.Boisselier, “Travaux de la mission arche ologique francaise en Thailand) Juillet-
Novembre 1966 (Arts Asiatiques (1972)p.29 fig.3

115

ถ่ินกําเนิดจากโลกตะวันตก เช่น ลูกปัดแก้วหลายสี ท่ีพบตามเมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้าโบราณใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ท่ีพงตึก (กาญจนบุรี) ในภาคกลางของไทย ท่ีควนลูกปัด (กระบี่) ใน
ภาคใต้ของไทย และที่ออกแก้ว (เวียดนามใต้) ซ่ึงจัดเป็นเมืองท่าโบราณที่มีร่องรอยการติดต่อค้าขาย
กบั อินเดียในสมยั อินโด-โรมนั

3.3 หลกั ฐานโบราณคดีดานจารึก

ความสา้ คัญของจารกึ

หลกั ฐานการจารึกตาง ๆ ไมวา จะเปนรูปภาพหรือสัญลักษณอื่นใดก็ตาม ลวนมี จุดประ
สงค ท่ีตองการส่ือสารหรือแจงเร่ืองราวหรือประกาศใหผูอื่นทราบเนื้อความ ในเรื่องราวตางๆ ท่ีมีอยู
ในอดีต ในท่ีน้ี จะกลาวถึง เฉพาะจารึกท่ีเปนลายลักษณ อักษรท่ีจะนําาไปสูการวิเคราะหเก่ียวกับ
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี หรือรวมสมัยเทานนั้น เพราะจารกึ เป็นหลักฐานเอกสาร
โบราณที่บงบอกใหทราบได้ว่า บรรพบุรุษในสังคมอดีต แตละทองถ่ินในยุคสมัยตาง ๆ มีประวัติ
เปนมาอยางไร ดาํ รงชวี ิต มีความรู และเขาใจโลกและชวี ติ กนั อยางไร จึงสามารถรักษาสถานภาพ ของ
อารยธรรมแหงสงั คม ใหดํารงอยู่และพัฒนาใหสืบทอดมาจนถงึ ปจจบุ นั ได 77

วฒั นธรรมการจารึกสนั นิษฐานวา ไดอิทธพลมาจากอนิ เดีย เน่ืองจากอินเดียสมัยไมตํ่ากวา
2,600 ปมาแลว78 ชวงเวลานั้นอินเดีย มีความเจริญทางดานอารยธรรมอยางสูงย่ิง และมีการแพร
หลากหลาย ออกสูบรรดาประเทศขางเคียงต่างๆ ทั้งทางบกและทางทะเล โดยพอคาวาณิช นัก
เดนิ ทางและนักบวชต่าง ๆ79

ระหวางพุทธศตวรรษท่ี 11-1680 ปรากฏวา กลุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใตตาง ไดรับ
อทิ ธิพลของอารยธรรมอินเดียในดานศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ศาสตรตาง ๆ รวมท้ังภาษาศาสตร และ
อักษรศาสตรอกี ดวย

จารึกตาง ๆ โดยเฉพาะจารึกอักษรปลลวะ จัดได้ว่า เปนหลักฐานโบราณคดีท่ีบงบอกถึง
ความเจรญิ รุงเรืองทางดานอารยธรรม เร่ิมแรกที่ปรากฏอยูบนผืนแผ่นดินไทยไดดีที่สุดอยางหน่ึง จาก
หลักฐานด้านโบราณคดี พบวา บริเวณภาคกลางตอนลางของไทย ในสมยั ที่ทวารวดีเจริญรุงเรือง โดย
ไดพบหลกั ฐานดานจารกึ ทเ่ี กยี่ วกับพระพุทธศาสนา เปนจารึกท่ใี ชอักษรปลลวะ มีอายุอยูในช่วงพทุ ธ
ศตวรรษท่ี 12 จํานวนมาก ทั้งน้ี จารึกดังกลาว นยิ มจารึกไวบนชิ้นสวนตาง ๆ ของพระธรรมจักร เชน
ดุมลอ กงลอ และวงลอ ตลอดจนจารึกบนฐานพระพุทธรูป บนพระพิมพ บนสถูปจําลอง บนบาตร
พระบนแทงหินบนแผนอิฐและบนผนังถํ้า ท้ังนี้มีการพบหนาแนนมากในเขตจังหวัดนครปฐม
สพุ รรณบรุ ีและลพบุรี81 จารึกสวนใหญท่พี บมัก จะเปนคาถา เย ธมฺมาและขอความเกี่ยวกับหลักธรรม
ท่ีคัดจากพระไตรปฎกภาษาบาลี นําไปสูขอสรุปวา พุทธศาสนานิกายเถรวาทไดเจริญ รุงเรอื ง อยู

77 กรมศลิ ปากร,จารึกในประเทศไทย เลม 1 ฯ , หนา 1-32.
78 เร่อื งเดยี วกัน,หนา 15.
79 หมอมเจา สุภทั รดิศ ดิศกุล,ประวตั ศิ าสตรเอเชียอาคเนยถึง พ.ศ.2000, หนา 6-7.
80 กรมศลิ ปากร,จารกึ ในประเทศไทย เลม 1 ฯ, หนา 16
81 ผาสุข อินทราวุธ, สวุ รรณภมู ิจากหลักฐานโบราณคดี, หนา 167.

116

ในรฐั ทวารวดีเมืองอทู่ อง

ขณะเดียวกันก็พบวา หลักฐานทางวัฒนธรรมทวารวดีท่ีไมใชลายลักษณอักษรและ
หลักฐานที่เป็นลายลักษณอักษร ตางมีความสอดคลองกันทั้งลักษณะ พัฒนาการ เวลาและสถานท่ี
เพราะพบอยูในบริเวณเดียวกันและมีอายุอยูในระยะเวลาเดียวกับท่ีพบในภาคกลาง มีอายุระหวาง
พทุ ธศตวรรษท่ี 12-15

นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า เมืองหลวงของรัฐทวารวดีน่าจะอยู่ที่เมืองนครปฐม
หรืออู่ทอง นอกจากเมืองนครปฐมและอู่ทองแล้ว เมืองลพบุรีก็จัดเป็นเมืองสําคัญอีกเมืองหน่ึงท่ี
นักวิชาการหลายท่านลงความเห็นว่าน่าจะเป็นศูนย์กลางของรัฐทวารวดี เพราะได้พบเหรียญเงินมี
จารึกว่า “ลวปุระ” ที่อู่ทอง จากหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ด้านโบราณคดี (รวมด้านจารึก)
อาจนําไปสู่ข้อสันนิษฐานท่ีว่าราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 เมืองอู่ทอง น่าจะมีบทบาทเป็นเมืองหลวง
หรอื ศูนย์กลางของรัฐทวารวดีในยคุ แรก82

นอกจากจะได้พบเหรียญเงินมจี ารึกคาํ ว่า “ลวปุระ” ท่ีเมอื งอู่ทองแล้ว ยงั ได้พบจารึกบน
ฐานบัวของพระพุทธรูปยืน (ศิลา) สมัยทวารวดีที่พบท่ีวัดมหาธาตุ (ใต้เนินดินทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือภายในกําแพงช้ันนอกของวัด) เมืองลพบุรี จัดเป็นจารึกหลักท่ี 16 ที่ตีพิมพ์ใน
ประชุมศิลาจารึกภาคท่ี 283 โดยจารึกเป็นภาษาสันสกฤตใช้ตัวอกั ษรปัลลวะ (อายุราวพุทธศตวรรษท่ี
13-14) มีข้อความ 2 บรรทัดว่า “นายกอุชวะ เป็นอธิบดีแห่งชาวเมืองตังคุรและเป็นโอรสของ
พระราชาแห่งศามพูกะ เดสร้างพระมนุ องคน

กลาวโดยสรุป หลักฐานทางวัฒนธรรมทวารวดี(อู่ทอง) ประเภทจารึกนั้น ท่ีพบมีหลาย
ภาษา ทั้งภาษามอญโบราณ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ขอความในจารึกเกือบท้ังหมดเปนการ
ประกาศ กจิ กรรมทางพระพุทธศาสนา โดยใช้ภาษาสนั สกฤตสาํ หรบั ประกาศของกษัตริย์และชนช้ันสูง
ภาษามอญโบราณ เปนประกาศของชนชั้นสูงลงมาถึงคนสามัญ สวนภาษาบาลีใช้ประกาศคําสอน
ทางพระพุทธศาสนาในนิกายเถรวาทเปนหลัก

จารึกพระพุทธศาสนาสมยั ทวารวดีในประเทศไทย

ผลจากการท่ีนักโบราณคดีไดทําการขุดคนพบหลกั ฐานจารึกตาง ๆ โดยเฉพาะ จารึกสมัย
ทวารวดแี ละหลังทวารวดี จารึกหลักธรรมบาง จารกึ เหตกุ ารณอ่ืนบางและจารึกสรรเสริญ กษตั ริยบาง
ในท่ีน้ี จึงขอนํามากลาวเฉพาะ ที่เก่ียวของกับพระพุทธศาสนาสมัยทวารวดี เปนหลักจารึกเปนการ
บนั ทึกลายลักษณอักษรรูปแบบตาง ๆ เปนหลักฐานท่ีมคี ุณคาในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ท่ี
สะทอนใหเห็นถึงวิถีชีวิตทางสังคมประเพณี และวัฒนธรรมของบรรพบุรุษตลอดจนแสดงถึงความ
เจริญในทางอารยธรรมของคนในสมยั ประวตั ศิ าสตร ของกลุมชน จากการคนควาทางโบราณคดีพบ ว
า จารึกท่ีปรากฏตามภูมิภาคตาง ๆ ของไทยส่วนใหญลวนแตเกี่ยวของอยูกับพระพุทธศาสนาท้ังดาน
หลักธรรมคาํ สอน และเกี่ยวกับประเพณีบุญตาง ๆ โดยเฉพาะการทําบุญอทุ ิศ ในทนี่ ี้จะกลาวถึงเฉพาะ

82 ขผาสุ.อนิ ทราวุธ ทวารวดี : การศกึ ษาเชิงวิเคราะหจ์ ากหลักฐานทางโบราณคดี (กรุงเทพฯ : โรง
พมิ พอ์ กั ษรสมยั 2542) หน้า 101-106 และ หน้า 177-178

83 ยอร์ช เซเดส์ “จารกึ บนเสาแปดเหลยี่ มที่ศาลสูง” ประชุมศิลาจารึกภาคท่ี 2

117

จารึกท่ีเก่ียวกับพระพุทธศาสนาสมัยทวารวดี(อู่ทอง)และ สอดคลองกับขอบเขตของการศึกษาที่ตอง
การ โดยจะกลาวรวมไปท้ังจารึกบนธรรมจักรและจารึก บนพระพิมพที่มีการขุดคนแลว (บางส่วน)
แบงเปน 2 กลมุ หลัก ๆ คือ กลุมทีห่ นึ่งวา ด้วยอักษรภาษาและกลุ่มทส่ี องวา ดวยเน้ือหาหลักธรรม คํา
สอนตาง ๆ

กลมุ ท่ี 1 วาด้วยอักษรภาษา

จารึกทวารวดีทเี่ ก่ยี วกบั พระพทุ ธศาสนาพบวา มีอยางนอย 7 อักษร ภาษา ดงั น้ี

1.1 อกั ษรปลลวะ ภาษาบาลี (พทุ ธศตวรรษที่ 8-12)

1. จารึกคาถา เย ธมฺมา84 หลักที่ไทรบุรี อายุราวพุทธศตวรรษท่ี 8-11 85 อาจจัด
รวมอยู่ ในจารกึ ของไทยโดยถอื วา บรเิ วณทีพ่ บเคยเปนดนิ แดนของไทยมากอน

2. จารึกบนธรรมจักรศิลา อักษรปลลวะ ภาษาบาลี อายุพทธศตวรรษท่ี 1286 จารึก
อักษรที่บรเิ วณสวนตาง ๆ ของธรรมจกั รศิลา ขอความในจารกึ แปลไดความวา“จักรคอื พระธรรม ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจา ผูทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ ทรงแสดงไว 4 อยาง (คือ ทุกข สมุทัย นิโรธ
มรรค) ท้งั 4 อยางหมุนวน ครบ 3 รอบ เปนสจั จญาณ กจิ จญาณ กตญาณ มีอาการ 12 อยาง ”87

3. จารึกบนเสาแปดเหลี่ยม (ศิลา) เปนเสาท่ีใชรองรับธรรมจักร พบท่ีหมูบาน ซับ
จําปา อําเภอทาหลวง จังหวัดลพบุรี ขอความในจารึกมี 4 สวน เปนภาษาบาลี สวนที่หน่ึงเป็น คาถา
เย ธมฺมา สวนท่ีสอง วาด้วยพระธรรมจักร สวนที่สามวาดวยพุทธอุทาน ยทา หเว และ สวนที่ส่ีวา
ดวยพทุ ธอุทาน อเนกชาติ สํสารํ

4. จารึกธรรมจักร พบที่บริเวณพระปฐมเจดีย์ อักษรปัลลวะภาษาบาลี พุทธ
ศตวรรณท่ี 12 ขนาดเสนผาศูนยกลางของวงลอธรรมจักร 98 เซนติเมตร วัตถุศิลาลักษณะเปนรูป
ธรรมจกั รจารกึ บริเวณสวนตาง ๆ ของธรรมจักร ได้แก ดุม กง และกาํ จาํ นวน 24 บรรทัด เน้ือหาเปน
เร่ืองธรรมจักกปั ปวัตนสตร, อริยสจั 4 เปนตน

5.จารกึ เย ธมฺมา 88 พบท่ีระเบียงองคพระปฐมเจดีย อักษรปลลวะ ภาษาบาลี พุทธ
ศตวรรษที่ 12 ขนาดกวาง 27 เซนติเมตร สูง 63.5 เซนติเมตร วัตถุศิลาประเภทหินอัคนีลักษณะ ไม
ปรากฏหลักฐานจารกึ บนแผนศลิ าหินประเภทหนิ อคั นี

6. จารึก เย ธมมฺ า พบที่บริเวณพระปฐมเจดีย อักษรปลลวะภาษาบาลี พทุ ธศตวรรษ
ท่ี 12 ขนาดสูง 390 เซนติเมตร เสนผาศูนยกลาง 130 เซนติเมตร วัตถุศิลาสีเขียวลักษณะ เปนสถูป

84 วิ.ม.(บาลี)4/60/52,ขุ.อป.(บาลี)32/286/36.
85 สุภาพรรษ ณ บางชาง,วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย: จารกึ ตํานาน พงศาวดาร
สาสน ประกาศ, (กรงุ เทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลยั , 2529), หนา 16.
86 หอสมุดแหงชาติ กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทยเลม 1 อักษรปลลวะ หลังปลลวะ พุทธ
ศตวรรษท่ี 12-14 ,(กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ, 2529), หนา 59 – 64.
87 ผาสุข อินทราวุธ, สุวรรณภูมจิ ากหลักฐานโบราณคดี, หนา 168.
88 เรื่องเดียวกนั ,หนา 75-78.

118

ศิลา จารกึ บนสถปู ศลิ าสีเขียวทรงบาตรควา่ํ อยูทคี่ อระฆัง

7. จารึก เย ธมฺมา พบที่ศาลเจาหนาพระอุโบสถ ขางองคพระปฐมเจดีย อักษรป
ลลวะ ภาษาบาลี พทุ ธศตวรรษที่ 12 ขนาดกวาง 40 เซนติเมตร สูง 24 เซนติเมตร วัตถุศลิ า ลักษณะ
สเ่ี หลี่ยม จารึกบนศลิ าสีเ่ หลยี่ ม

8. จารึก เย ธมฺมา อักษรปลลวะ ภาษาบาลี พุทธศตวรรษที่ 12 จารึกบนศิลาแมหิน
บด แบงคร่ึงดานขวาง กวาง 17 เซนติเมตร สูง 27 เซนติเมตร หนา 2 เซนติเมตร พบท่ี จังหวัด
นครปฐม

9. จารึกบนฐานรองพระธรรมจักร 89 พบที่ทุงขวาง อําเภอกําแพงแสน จังหวัด
นครปฐม อักษรปลลวะ ภาษาบาลี พุทธศตวรรษที่ 12 บนฐานสี่เหลี่ยมตรงกลางมีชองสําหรับ สวม
วงลอธรรมจักรศิลา กว้าง 37 เซนติเมตร สูง 36 เซนติเมตร หนา 14 เซนติเมตร จารึกวา ดวย
เนอื้ ความพระธัมมจักกปปวัตนสตู ร แปลไดความว่า “พระธรรมจักรของพระมเหสีเจามเี วยี น สามรอบ
มีอาการสิบสอง คือ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ กําหนดแลวอาการละ 4 ละ 4”

10. จารึก เย ธมฺมา90 พบที่บานทามวง ตําบลจระเขสามพัน อําเภออู่ทอง จังหวัด
สุพรรณบุรี อักษรปลลวะ ภาษาบาลี พุทธศตวรรษที่ 12 บนแผนอิฐ มีลักษณะส่ีเหล่ียมผืนผา กวาง
16 เซนตเิ มตร ยาว 31 เซนตเิ มตร หนา 6 เซนติเมตร

11. จารกึ เย ธมฺมา บนพระพทุ ธรูปศลิ า91 พบที่วัดเพลง ตําบลหลมุ ดิน อําเภอเมือง
จงั หวดราชบุรี อกั ษรปลลวะภาษาบาลี พุทธศตวรรษที่ 12 ขนาดสูง 196 เซนตเิ มตร วัตถุศิลาสีเขียว
ลักษณะเปนพระพทุ ธรูป ยืนปางเสด็จลงจากดาวดงึ ส จารกึ บนพระพทุ ธรูปยืน92

1.2 อักษรปลลวะ ภาษาสันสกฤต (พทุ ธศตวรรษท่ี 12)

จารึกถํ้าฤๅษีเขางู ทํี่ถ้าฤๅษีเขางู จังหวดราชบุรี อักษรปลลวะภาษาสันสกฤต พุทธ
ศตวรรษที่ 12 ขนาดกวาง 47 เซนติเมตร สูง 26 เซนตเมตร วัตถุศิลาลักษณะเปนฐาน พระพุทธ รูป
จารึกบนฐานพระพุทธรูปศิลา เนื้อหาเป็นเร่ืองบอกเลาถึงชื่อผูสรางพระพุทธรูปจํานวน 1 ดาน มี 1
บรรทดั ปจจบุ นั อยูที่ ถํา้ ฤๅษเี ขางู จังหวัดราชบุรี 93

1.3 อักษรปลลวะ ภาษามอญโบราณ

จารึก เย ธมฺมา บนแผนศลิ า พบที่เมอื งเกา อําเภออูทอง จงั หวัดสพุ รรณบุรี วาด้วย เย ธมฺ
มาและอรยิ สจั 4 (ดานหลงั )

89 เร่ืองเดยี วกัน,หนา 98-99.
90 กรมศิลปากร,จารกึ ในประเทศไทย เลม 1 ฯ,หนา 100-102.
91 เรอื่ งเดยี วกัน,หนา 72-74.
92 คาถาหัวใจพระพุทธศาสนาน้ี บางทีเรียกวา คาถาพระอสั สชิ.ดูรายละเอียดในโมคคัลลาน วัตถุและ
สารีปุตตเถรวัตถุ อรรถกาธรรมบท.
93 เรอื่ งเดียวกัน, หนา 69-70.

119

1.4 อกั ษรหลงั ปลลวะ ภาษาบาลี (พุทธศตวรรษที่ 13-14)

1. จารึกพระพิมพดินเผาวัดโคกไมเดน94 พบท่ีดานตะวันออกของเจดีย์ หมายเลข 4
วัดโคกไม้เดน อําเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค อักษรหลังปลลวะ ภาษาบาลี วัตถุเปนดินเผา
ลักษณะเปนฐานพระพิมพ์ดินเผา (สวนบนชํารุด) พุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบปางสมาธิ
เนือ้ หาในจารึกเปนเรอื่ งเกีย่ วกบั คํานมัสการพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ

2. จารกึ ซับจาํ ปา 4 95 จารึกดวยคาถา เย ธมฺมา บนช้นิ สวนของเสาหิน 8 เหลีย่ ม

1.5 อกั ษรหลงั ปลลวะ ภาษาสนั สกฤต (พุทธศตวรรษที่ 13-14)

1. จารึกบนฐานพระพุทธรูป96 อักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต พุทธศตวรรษท่ี
13-14 ลักษณะเป็นฐานพระพุทธรูปศิลา ขอความกลาวถึงการสรางสิ่งของบางอยางที่เปนบุญกุศล มี
อานสิ งสใหเกิดความสุขในโลกสวรรค97

2. จารึกสถาปนาสีมา อักษรหลังปลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษท่ี
13-14 ลักษณะเป็นเสาศิลาประเภทหินทรายสีเทา ขนาดยาว 116 เซนติเมตร โดยรอบ 162
เซนติเมตร ศูนยกลาง 53 เซนติเมตร ขอความจารึกว่า “พระเถระรูปใดเปนผูอันพราหมณเป็นตน
บูชาแลวพระเถระรูปน้ันพร้อมดวยภิกษุทั้งหลายไดสถาปนาศิลาน้ีให้เปนสีมา สีมานี้อันสงฆสมมติ ดี
แลว ไดสําเร็จ (ไดมี) ในวันขึ้น 10 คํ่า เดือน 5 แหงวิศิษฏกาล (เวลาอันเปนมงคล) ในปแหงความ
สดใส” 98

1.6 อกั ษรหลังปลลวะ ภาษามอญโบราณ (พทุ ธศตวรรษที่ 14)

จารกึ อักษรหลังปลลวะภาษามอญโบราณนี้ สวนมากพบในบริเวณภาคอีสาน วาด้วย เร่ือง
การทาํ บญุ การสรางพระ ทาํ บุญอุทิศ และปรารถนาใหทันพระศรีอารยิ เปนตน

1. จารึกหลังพระพิมพนาดูน 1 อักษรหลงปลลวะ ภาษามอญโบราณ พุทธศตวรรษ
ท่ี14 ลักษณะเปนพระพิมพดินเผาศิลปะสมัยทวารวดี ขนาดกวาง 11.2 เซนติเมตร สูง 13.8
เซนติเมตร มีขอความวา “บุญอันน้ีในพระกอมระตาญง พรอมไปด้วยพระสหายผูเปนสามัญชนได
รวมกันสรางไว้”99 จารึกนี้ดีเปนหลักฐานสําคัญท่ีบงบอกถึงอิทธิพลการใชอักษรหลังปลลวะ ภาษา
มอญโบราณ ในดินแดนไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นักวิชาการ ได้วิเคราะห์กําหนดวา
เปนศลิ ปะสมยั ทวารวดี มอี ายรุ าวพทุ ธศตวรรษที่ 14

94 กรมศิลปากร,จารกึ ในประเทศไทย เลม 1 ฯ, หนา 276-291.
95 เรื่องเดียวกนั ,หนา 241-243.
96 เรื่องเดยี วกัน,หนา 276-279.
97 การทาํ บญุ อุทิศลักษณะน้ียังสืบตอมาจนปจจุบัน เชน คํากรวดนํา้ ภาษาไทยโบราณวา “บญุ ทานที่
ทาํ กลายเปนขาวน้ํา เคร่อื งทพิ ยนานา เปนวมิ านทอง เรืองรองโสภากบั ทัง้ นางฟาพันหนึง่ บริวาร...” ดู พระ ครอู รุณ
ธรรมรังษี (เอ่ยี ม สริ ิวณโฺ ณ),(รวบรวม),มนตพธิ แี ปล,(กรงุ เทพฯ: อกั ษรสมัย,มปป.),หนา 332.
98 กรมศลิ ปากร,จารึกในประเทศไทย เลม 1 ฯ,หนา 280-283.
99 อา้ งแล้ว,จารึกในประเทศไทย เลม 1 ฯ,หนา 77- 81.

120

2. จารึกหลังพระพิมพดินเผาเมืองฟาแดดสูงยาง 1-2 อักษรหลังปลลวะ ภาษามอญ
โบราณ พุทธศตวรรษท่ี 14 ลักษณะเป็นพระพิมพ์ดินเผา ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางสมาธิ ศิลปะ
ทวารวดี (สภาพชาํ รดุ ) ขนาดกวาง 9 เซนติเมตร สูง 12 เซนติเมตร หนา 3.5 เซนติเมตร พระพิมพทั้ง
2 องค จารึกเรื่องราวเก่ียวกับ การสรางพระพิมพ เพื่อบูชาคุณพระอุปชฌายาจารย ขอความวา
“พระพุทธรูป (พระพิมพ์ดินเผา) นี้ (ไดสรางขึ้นเพ่ือ)ทานปิณญะอุปชฌายาจารย์ ผู้มีคุณ(อัน)เลื่องลือ
ไปไกล” 100

3. จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 1101 อักษรหลังปลลวะ ภาษามอญโบราณ สมัยพุทธ
ศตวรรษที่ 14 (พ.ศ.1301-1400) ลักษณะเป็นรูปใบเสมาศิลา ประเภทหินทราย ขอความวา “ขอบุญ
น้ี (จง) นําสงใหไปทันต่อพระพุทธอาริยะเมตตรัยเทอญ”102 ชใี้ หเห็นวา เป็นจารึกท่อี ุทิศเพอื่ ให ไดบุญ
กุศลสงใหผูกระทําได้เกิดในสมัยพระพุทธเจาศรีอาริยเมตไตรย แมปจจุบันก็ยังมีคําอธิษฐานลักษณะนี้
ใช้กันอยู่

1.7 อักษรหลังปลลวะ ภาษาบาลแี ละเขมร (พุทธศตวรรษที่ 14)

บรรดาจารึกที่มีความไพเราะมากที่สุด ว่าด้วยการสรรเสริญพระรัตนตรัยน้ัน จารึกเนิน
สระบัวจดั วาสมบรู ณ

จารึกเนินสระบัว103 พบทเ่ี นินสระบัว ตําบลโคกปบ อําเภอศรมี หาโพธิ จังหวัดปราจนี บุรี
อักษรหลังปลลวะ ภาษาบาลีและเขมร พุทธศักราช 1304 จารึกบนศิลาประเภทหินทรายสีเขียว รูป
ใบเสมา กวาง 40 เซนติเมตร สูง 177 เซนติเมตร หนา 28 เซนติเมตร จํานวน 1 ดานมี 27 บรรทัด
เนื้อความวา ด้วยคําสรรเสริญพระรัตนตรัย และไดรับยกยองจาก ศาสตราจารย นาวาอากาศเอก
(พิเศษ)แยม ประพัฒนทองวา เปนคําประพันธภาษาบาลี ของทานพุทธสิริซึ่งไม เพียงแตจะเป็น
วรรณคดีบาลีท่ีเกาท่ีสุดของไทย ในปจจุบันเทาน้ัน ยังนับเปนคําประพันธท่ีประกาศ ความรู
ความสามารถอันยอดเยี่ยมของผูรจนา แสดงใหเห็นวา ผูรจนาเปนผูเช่ียวชาญทั้งปริยัติและ
ปฏิบัติอยางย่ิง ชี้ใหเห็นวา ทานเปนพระมหาเถระที่ทรงปรีชาญาณในพระพุทธศาสนาคร้ังน้ัน และ ชี้
ใหเหน็ วา ชวงเวลาระหวางพทุ ธศตวรรษที่ 12-14 พระพทุ ธศาสนารุงเรอื งมาก

ผูวิจัยขอยกมาเฉพาะคาํ แปลจากจารึก ระหวางบรรทัดท่ี 4-16 มาใหพิจารณา ดังนี้ “พระ
พุทธเจาพระองคใด ทรงเปนผูท่ีชาวโลกทั้งปวง เทิดทูนแลว ทรงมีพระกรุณา เปนธรรมอยูประจํา
พระทยั ทรงกระทําความรอดพนใหไมมีมลทิน ทรงเปนดุจพระจันทรเต็มดวงที่ ประเสริฐ ทรงทราบ
แจงชัดถึงความเก่ียวพันตาง ๆ ทั้งยิ่งทั้งหยอนของบุคคล ทพี่ ระองคควรทรง แนะนําทั้งสิน้ ทรงเปนผูข
ามพนโลกได เชิญทานทงั้ หลาย นอมเศียรนับไหว้พระพทุ ธเจาพระองค น้นั ผูเปนพระจอมมุนเี ทอญ

เชิญทานทั้งหลาย นมัสการพระธรรมท่ีพระมุนีตรัสสรรเสริญไววา เปนระเบียบ บันได

100 เรื่องเดี่ยวกนั ,หนา 280- 283.
101 อา้ งแล้ว,จารึกในประเทศไทย เลม 2 ฯ, หนา 67-72.
102 พระครูอรุณธรรมรังษี, ค้ากรวดน้าภาษาไทยโบราณวา“.คนพาล อยาไดพบขอใหประสพคนมี
ปญญาเดชะกศุ ลใหพนอสรุ า ขอใหตวั ขาพบพระศรีอาริย.
103 กรมศิลปากร,จารึกในประเทศไทย เลม 1 ฯ , หนา 179-186.

121

สําหรับทอดขามอาลัย ไปสูพระอมตธรรม เปนสะพานเพื่อการเดินขามไปสะดวก ซ่ึงหว่งน้ําคือ
สงั สารวฏั อีกท้ังยังเปนมรรคอนั เกษม ทโี่ ผข้ึนฝง แห่งพระสัมโพธิญาณทกุ เมอ่ื เทอญ

คนท้ังหลายมีจิต เล่ือมใสแล้วในความที่พระสงฆสืบวงศ์จากพระอรหันต ผูไม่มีความ
ยึดถือวา ของเรา พากันถวายส่ิงที่ควรถวาย ครั้นถวายแลว ตางระลึกถึงพระรัตนตรัย อันเปนตนเดิม
แหงผล (พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ) เชิญทานท้ังหลายนมัสการพระสงฆนั้น ซึ่งแม พระทศพลก็
ตรัสสรรเสริญเปนอันดี ในกาลท้ังปวงวา เป็นบุญเขตอันหาที่เปรียบมิได้ทุกเมื่อเทอญ” จากหลักฐาน
จารึกนี้ ทําใหมองเห็นสภาพการณพระพุทธศาสนา ในชวง พ.ศ. 1304 ไดอยางชดั เจนมาก จนกลาวได้
ว่า ไมมีจารึกสมัยทวารวดี ในภูมิภาคใดจะใหรายละเอียดเก่ียวกับ สภาพการณอยางดีย่ิงเชนจารึกห
ลกั น้ีเลย สวนจารึกพระพมิ พ์ในภาคตะวันออกน้นั ขณะนี้ การคนพบยังไมมี

กลาวโดยสรปุ จากหลักฐานวา ด้วยจารึกทีเ่ ก่ียวกับ คาถา เย ธมฺมา หลักธรรมอ่ืน ๆ และ
คํากลาวนมัสการพระรัตนตรัยดังกลาว ช้ีใหเห็นวา บริเวณภาคกลางของประเทศไทยนั้นไดเคย เปน
ศูนยกลางทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี ทําใหสันนิษฐานไดวา พระพุทธศาสนาไดเจริญรุ่งเรื่อง
เรืองเปนอยา่ งมาก และเปน็ หัวเลีย้ วหัวต่อทจ่ี ะสงตอสูสมัยสโุ ขทยั ไดอยางสวยงามและชดั เจนย่ิง

จารึกที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเปนจํานวนมากท้ังเปนจารึกใบเสมาที่จารึก
เก่ียวกับประเพณีการทําบุญอุทิศ ตลอดจนจารึกที่ปรากฏบนพระพิมพดินเผา โดยคําจารึกสวนใหญ
เก่ียวกับหลักธรรมคําสอนในพระพุทธศาสนา หลักฐานลายลักษณอักษรสมัยทวารวดี ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ มักเป็นอักษรหลังปัลลวะ มีทั้งภาษาบาลีภาษาสันสันสกฤตและภาษามอญ
โบราณอยูในชวงพุทธศตวรรษที่ 13-15 สวนมากพบบริเวณลุ่มแมนํ้าชี จากหลักฐานจารึก เก่ียวกับ
การทําบุญตาง ๆ เปนเครื่องยืนยันถึงความเจริญรุงเรืองของพระพทุ ธศาสนา ทแี่ นบแน่นอยู่กับวิถีชีวิต
ของชาวบาน มีการทําบญุ อุทศิ ตาง ๆ ตลอดจนมีการจารึก เร่อื งราวพุทธประวัติและชาดกตาง ๆ ไวใน
รปู แบบของศลิ ปะโดยเฉพาะจารกึ หลักธรรมไวบนพระพิมพและบนใบเสมา เปนตน

กลมุ ท่ี 2 วาดวยเนอื หาหลกั ธรรม

กลมุ ท่ีวาด้วยเน้ือหาหลกั ธรรมที่ปรากฏในจารึกตามภูมภิ าคตาง ๆ น้ันมีอยู่จาํ นวนมาก ใน
ที่นี้ ผูวิจัยจะยก ประการ ของหลักฐานหลักธรรม เท่าท่ีมกี ารรวบรวมจารกึ โบราณพบที่เมอื งอู่ทองท่ีมี
อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 และได้มีการอ่านแปลเผยแพร่แล้วนั้นมีจารึกท่ีเป็นหลักธรรมในพุทธ
ศาสนามีสองสํานวน คือ

จารึกส้านวนแรก จารึกคาถาเย ธมฺมาฯ จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี พบหลายชั้น
เช่น จารึกบนพระพิมพ์ดินเผา ท่ีด้านท่ีน่าเป็นภาพเร่ืองปฏิหารย์ที่เมืองสาวัตถีส่วนด้านหลังจารคาถา
เย ธมฺมาฯ

จารกึ บนแผ่นดินเผาบางช้นิ เกบ็ รกั ษาท่ีพิพิธภัณฑสถานแหง่ ชาติอู่ทอง ความเตม็ ของคาถา
นคี้ อื

122

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เยส้ เหต้ ตถาคโต อาห เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอว้ วาที มหา
สมโณ แปลว่า ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของ
ธรรมเหล่านน้ั พระมหาสมณะมวี าทะอย่างน้ี

ความสําคัญและความหมายของคาถา เย ธมฺมาฯ ซึ่งเป็นคาถาปรากฏในพระวินัยปิฏก

มหาวรรค (Vinaya Mahavagga) พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั ทรงมพี ระราชนพิ นธ์อธิบาย
ไว้เมื่อครั้งทรงพบจารึกคาถาเย ธมฺมาฯ บนแผ่นอิฐท่ีพระปฐมเจดีย์ว่า “แปลออกได้ความว่า เป็น

พระปฏิจจสมปุ บาทย่อ อย่างหนึ่ง เป็นพระอิรยสัจสีย่ ่อไวอ้ ย่างหน่ึง ถา้ จะแปลเอาความก็ได้ทงั้ สองขอ

ท่านท้ังหลายที่มานมัสการพระปฐมเจดีย์น้ี อย่ามีความประมาทพระคาถานี้ว่าเป็นของโบราณไม่ควร
จะนับถือ จะว่าที่จริงที่แท้ คนโบราณท่านใกล้เคียงต่อพระพุทธเจ้าแลพระอริยเจ้า ท่านเห็นว่า

ประเสริฐดีแล้ว ท่านจึงให้ไว้เป็นทาน ดังนี้ ควรท่ีท่านทั้งหลายจะเล่าจะเรียนให้จําไว้ จะได้สวดมนต์
ภาวนา จะมอี านิสงสค์ ณุ ในปัจจบุ ันและในอนาคต”104

จารึกส้านวนท่ีสอง จารึก เขมาเขมสรณทีปิกคาถา จากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย
เร่ืองปุโรหิตอัคคิทัต สรุปความได้ว่า พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมแก่อัคคิทัตฤาษีและบริวารให้
ทราบถงึ สรณะอันแทจ้ รงิ ว่าสรณะนัน้ มีอยู่ภายในเท่านน้ั คอื พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เมื่อได้
พบสรณะพระรัตนตรัยแล้วจะเห็นอริยสัจ ซ่ึงเป็นท่ีพ่ึงอันแท้จริง สามารถช่วยให้พ้นจากความทุกข์
ท้งั หลายได้ สว่ นภูเขา ปา่ ไม้ ต้นไมใ้ หญ่ อารามศกั ดส์ิ ทิ ธิ์ สิง่ เหลา่ นนั้ ไมใ่ ชท่ พ่ี ่งึ อันแท้จรงิ

ความเต็มของคาถานีคือ พะหุง เว สะระณัง ยันติ ปัพพะตานิ วะนานิ จะ,อารามะ
รุกขะเจต๎ยานิ มะนุสสา ภะยะตัชชิตา แปลความว่า มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อถูกภัยคุกคามแล้ว, ก็
ถอื เอาภเู ขาบ้าง ปา่ ไมบ้ ้าง, อาราม และรุกขเจดียบ์ า้ งเป็นสรณะ;

เนตัง โข สะระณงั เขมัง เนตัง สะระณะมุตตะมงั , เนตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะ ทกุ ขา ปะมุจจะ
ติ แปลความวา่ ทน่ี ั่น มิใชส่ รณะอันเกษมเลย, นั่น มิใช่สรณะอันสูงสุด;เขาอาศยั สรณะนัน่ แล้ว ย่อมไม่
พน้ จากทกุ ข์ทั้งปวงได้.

.ชิ้นสว่ นจารึกจากคาถานีพ้ บทเ่ี มืองอู่ทองบนแผน่ ดนิ เผา (ซงึ่ มจี ารึกอีกด้านคอื คาถาเย ธมฺ
มาฯ มีขอ้ ความไม่สมบูรณ์พบเฉพาะท่อนของความทีว่ ่า ทกุ ข้ ทุกข้ ส ม กฺก ม้ อรยิ ทุกขู ป ส ม เป็น
คาถาทคี่ งจะมาจากความเต็มของตอนทวี่ า่

ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทงั ทกุ ขสั สะ จะ อะติกกะมงั

อะรยิ ัญจฏั ฐังคิกงั มัคคัง ทกุ ขูปะสะมะคามนิ งั

คือเห็นความทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความก้าวล่วงพ้นทุกข์เสียได้.และหนทางมีองค์
แปดอนั ประเสรฐิ เคร่อื งถึงความระงับทกุ ข์; 105

104 พระปฐมเจดีย์, (กรุงเทพฯ : กรมศลิ ปากร,2528 ), หน้า .69-68.
105 คําอ่านจารึกหลักน้ีเผยแพร่โดย Peter Skillingและศานติ ภักดีคํา ปรากฏในหนังสือเรื่อง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จัดพิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร พ.ศ.2545 ศ.หน้า 56 ข้าพเจ้าได้นําคําอ่านให้
นายสัมบัติทารักแห่งหอจดหมายเหตุท่านพุทธทาส อินทปัญโญ สวนโมกข์ กรุงเทพ ได้พิจารณาหาที่มาของคาถา

123

จารึกหลักธรรมสํานวนอื่นๆ ที่คาดว่าชาวอูท่ องเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 พึ่งรู้เร่ืองนี้
มาจากข้อสันนิษฐานท่ีว่ากรมศิลปกรขุดพบพระธรรมจักรพร้อมเสาและฐานรองที่พระสถูปหมายเ ลข
11 เมืองอู่ทอง มีรูปแบบคล้ายคลึงกับพระธรรมจักรพบท่ีเมืองโบราณใกล้เคียงคือเมืองนครปฐม
โบราณ พระธรรมจักรพบท่ีเมืองนครปฐมโบราณพบว่ามีจารึกคาถาธรรม และยังพบคาถาธรรมความ
ใกล้เคียงกันนี้ท่ีบนฐานพระธรรมจักรเมืองโบราณกําแพงแสน (จังหวัดนครปฐม) บน (ช้ินส่วน)
ธรรมจักรพบท่ีเมืองลพบุรี บนเสาธรรมจักรพบที่เมืองซับจําปา (จังหวัดลพบุรี) อีกด้วย ก็น่าเช่ือว่า
คาถาธรรมความดังกล่าวบนธรรมจักรพบที่เมืองนครปฐมโบราณและที่อ่ืนๆ น่าจะเป็นเรื่องที่รับรู้แก่
พุทธศาสนิกชนเถรวาทท่ัวไปที่นิยมสร้างพระธรรมจักรประดิษฐานไว้ในศาสนสถานรวมทั้งที่ เมืองอู่
ทอง

จารึกบนธรรมจักรพบที่เมืองนครปฐมโบราณอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี อายุราวพุทธ
ศตวรรษท่ี 12 เนื้อหาคือคําพรรณนาเทิดทูนพระนัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่และ
ทรงแสดงไว้คอื การหยง่ั รู้ความจริงของพระอริยสัจ การหยงั่ รู้ในกิจทีต่ อ้ งกระทําของพระอริยสัจ และ
การหยั่งรู้ในกิจท่ีได้กระทําแล้วในพระอริยสัจ คือทางดําเนินถึงความดับทุกข์ การสลัดทุกข์ออกได้ก็
ด้วยการเห็นเหตุเป็นใหญ่106 ความจากจารกึ ดังกล่าวคือเนอ้ื หาใกล้เคยี งที่ปรากฏในพระธมั จกั กัปปวัต
ตนสตู ร

สําหรับจารึกบนฐานพระธรรมจักรพบท่ีเมืองโบราณกําแพงแสนจารึกด้วยอักษรปัลลวะ
ภาษาบาลีอายุราวพุทธศตวรรษท่ี 12 แปลว่า “พระธรรมจักรของพระมเหสีเจ้า มีเวียนสามรอบ มี
อาการสิบสอง คอื สัจจญาน กตญาณ กําหนดแล้วด้วยอาการละ 4 ละ 4 ฯ”107 ความหมายของจารึก
น้ีหมายถึงเร่ือง ญาณ 3 มีรายละเอียดคือ ธรรมจักรประกอบด้วยญาณ 3 ประการ คือ การหย่ังรู้
ความจริง (สัจจญาณ) เก่ียวกับกิจที่ต้องกระทํา (กิจจญาณ) และเกี่ยวกับกิจท่ีได้กระทําแล้ว (กต
ญาณ) ความดังกล่าวมีคําอธิบายต่อไปว่า ธรรมจักรหมุน (ปรวัฏ) 3 รอบ 4 คร้ัง มีอาการ 12
หมายถงึ ว่า หมุนครั้งท่ี 1 คือ หมุนสัจจญาณ (ความหย่ังรู้ความจริง/หยั่งรู้อริยสัจจ 4) รู้ว่าน่ีทุกข์ น่ี
สมุทัย นี่นิโรธ นี่มรรค หมุนครั้งที่ 2 คือ หมุนกิจจญาณ (กิจที่ต้องกระทํา/หยั่งรู้กิจอันต้องทําใน
อรยิ สจั 4) คอื ร้วู า่ ทุกข์ ควรกําหนดรู้-สมุทัยควรกําหนดละนิโรธควรทําให้แจ้ง มรรคควรให้เจรญิ หมุน
ครั้งท่ี 3 คือ หมุนกตญาณ (หย่ังรู้กิจแห่งอริสัจ 4 ท่ีได้กระทําแล้ว) คือ รู้ว่าทุกข์เราได้กําหนดรู้แล้ว
สมทุ ัยเราได้ละแลว้ นิโรธเราไดก้ ระทาํ ใหแ้ จ้งแล้ว มรรคเราไดเ้ จริญแล้ว

ดังกล่าว ได้รับคําตอบว่า เปน็ คาถาจาก เขมาเขมสรณท์ ีปกิ คาถา ในพระสุตตันตปฎิ ก ขุททกนิกาย เรอ่ื งปุโรหิตอัคคิ
ทัต และได้ส่งรายละเอียดซ่ึงเป็นคําอ่านและคําแปลท่ีสมบูรณ์มาให้ดังท่ีได้พิมพ์เผยแพร่ในที่นี้ โดยอ้างอิงจาก
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เน่ืองในการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ
มหาเถสมาคม

106 ปรภัสส โพธ์ิศรีทอง, พิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดยี ์, (กรงุ เทพฯ:กรมศลิ ปากร, 2542),
หน้า 112. .

107 อุษา ง้วนเพียรภาค และคณะ, โบราณวตั ถุในพพิ ิธภัณฑสถานแหง่ ชาติพระปฐมเจดีย์, นนทบุรี :
สาํ นักพพิ ธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ 2548, หนา้ 36.

124

อน่ึง ยังมีจารึกพบที่เมืองอู่ทองอีกจํานวนหนึ่งท่ีผู้ศึกษายังไม่สามารถสืบค้นได้ว่ามี
ผู้เชี่ยวชาญเร่ืองอักษรและภาษาโบราณได้อ่านและแปลแล้วหรือยัง หากยังไม่ได้อ่าและแปลก็น่า
เขา้ ใจว่าอาจจะมีคาถาธรรมเน้อื หาอื่นๆ ยุคสมยั พทุ ธศตวรรษท่ี 12-15 พบในภมู ภิ าคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้และน่าจะพบท่ีเมืองอู่ทองด้วย เช่นที่จังหวัดลพบุรีพบคาถาจากพุทธอุทานและคําสนทนา
ระหว่างพระพุทธเจ้ากับอุปกาชีวก หรือท่ีในประเทศมาเลเซียและเกาะชวาพบคาถาธรรมเรื่องหลัก
กรรม

สรุปได้วา่

ผลจากากรศึกษาพุทธศาสนาวัตถุรุ่นเก่าอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-15 พบท่ีเมืองอู่
ทองและใกล้เคียงเป็นหลักฐานสนับสนุนเรื่องพุทธศาสนาลัทธิสําคัญที่นับถือกันที่เมืองอู่ทองน่าจะ
ได้แก่ ลัทธิหินยานหลายนิกายในบรรดานิกายต่างๆ นั้นดูเหมือนว่านิกายเถรวาทน่าจะแพร่หลาย
กว้างขวางมากเพราะพบพระธรรมจักรและจารึกคาถาธรรมท่ีเป็นภาษาบาลีจํานวนหน่ึง นิกายอั น
เนื่องในลัทธิหินยานอ่ืนๆ คงมีอยู่บ้าง เช่น นิกายมูลสรรวาสติวาท สําหรับลัทธมิ หายานก็มีการนับถือ
ที่เมืองอู่ทองด้วยเช่นกัน นิกายสุขาวดีน่าจะเด่นชัดมาก ด้วยพบพระพุทธเจ้าประทับยืนแสดงปาง
ประทานธรรมซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะเป็นรูปพระพุทธเจ้า อมิตาภะจํานวนหน่ึง อย่างไรก็ตามและเช่ือว่า
นา่ จะเป็นรูปพระพุทธเจ้าอมติ าภะเสด็จลงมารับดวงวิญญาณ ผู้วายชนม์ข้ึนสวรรค์นน้ั พุทธสาสนิกชน
หินยานก็นับถือ ซ่ึงน่าจะหมายถึงว่าในบางเรื่องอาจจะไม่มีการแบ่งแยกในหมู่พุทธศาสนิกชนในเร่ือง
“ลทั ธิหรือยาน” อย่างชดั เจน

สําหรับพุทธศาสนาลัทธิตันตระยานหรือวัชรยานที่แพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ในปลายพุทธศตวรรษที่ 14-16 คงมีผู้นับถือที่เมืองอู่ทองด้วยเช่นกัน ด้วยพบรูปเคารพพระ
โลกนาถหลายองค์และพลพระพิมพ์ในลัทธินี้ท่ีมีรูปแบบกําเนิดจากดินแดงสําคัญแห่งพุทธศาสนิกชน
ยคุ นั้นรับรเู้ ร่ืองพทุ ธประวัติ จึงไดส้ ร้างรปู เคารพพระเจ้าสุทโธทนะและพระสาวกนามต่างๆ

สําหรบั เนอื้ หาหลักธรรมทพ่ี ุทธศาสนกิ ชนทเ่ี มืองอูท่ องเม่อื ประมาณพุทธศตวรรษท่ี 12-14
ให้ความสําคัญน้ันคือคาถา เย ธมฺมาฯ คือความย่อของหลักอริยสัจและหลักปฏิจจสมุปบาท รวมท้ัง
การพบจารึกคาถาเขมาเขมสรณทีปิกล้วนเป็นแก่นคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฉะน้ันพุทธศาสนิกชน
ที่เมืองอู่ทองเมื่อพุทธศตวรรษท่ี 12-14 น่าจะสนใจเรียนรู้เรื่องแก่นคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
โดยเฉพาะเร่ืองให้บุคคลดับทุกข์ด้วยการเห็นเหตเุ ป็นใหญ่และการทําให้มรรค 8 เจริญ (กตญาณ) คือ
สัมมาทิฏฐิ-ปัญญาเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ-ดําริชอบ ได้แก่ ดําริในการออกจากกามารมณ์ดําริใน
ความไม่พยาบาท และดําริในความไม่เบยี ดเบยี น สัมมาวาจา-เจรจาชอบ ไดแ้ ก่กายสุจริต 3 ประการ
สมั มาอาชีวะ-เล้ียงชีพชอบ สัมมาวายามะ-เพียรพยายามชอบ สัมมาสติ-ระลึกชอบสัมมาสมาธิ-ตงั้ จิต
มั่นชอบ108

จากท่ีกล่าวไว้จึงเชื่อท่ีวา พระพุทธศาสนาไดเขามาประดิษฐานต้ังมนั่ ในประเทศไทยต้ังแต
พุทธศตวรรษท่ี 3 คร้ังที่พระเจาอโศกมหาราชทรงให้จัดส่ง พระโสณเถระกับพระอุตตรเถพรอมคณะ

108 พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต) พจนานกุ รมพุทธศาสตร์ฉบยั ประมวลธรรม (พมิ พ์ครั้งท่ี 16,
กรงุ เทพฯ : 2554), หนา้ 215.

125

เดินทางมาประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนทวารวดีสมัยที่ช่ือสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะในภาค กลาง
บริเวณจังหวัดนครปฐม อูทอง และลพบุรี แตยังไมพบหลักฐานทางโบราณคดี ที่เนื่องใน
พระพุทธศาสนาที่มีความเก่าแกไปถึงสมัยพุทธศตวรรษท่ี 3 จะมีความเก่าแก่ไปถึงระหวางพุทธ
ศตวรรษที่ 3-5 แตหลักฐานการติดตอคาขาย แตอยางไรก็ตาม ก็ยังพบหลักฐานที่มีอายุในชวงสมัย
ทวารวดีอยูไมนอย โดยเฉพาะ หลักฐานด้านสถาปตยกรรม ประตมิ ากรรมและหลักฐานจารึก แต่จาก
หลักฐานโบราณคดยี ืนยนั วา พระพทุ ธศาสนาเขามาสู่ดนิ แดนไทยกอนทวารวดเลก็ น้อย

จากหลักฐานดานสถาปัตยกรรมที่พบ ณ เมืองอูทองโบราณ และเมืองนครปฐม โบราณ
ทาํ ใหสันนิษฐานไดวา พระพทุ ธศาสนานิกายเถรวาทไดเขามาสูทวารวดีตอนตนราวพุทธศตวรรษท่ี 9-
10 สงผลใหพระพุทธศาสนาเจริญรุงเรืองอยางมากในสมัยทวารวดีระหวางพุทธ ศตวรรษที่ 11-16
แสดงใหเห็นวา ประชาชนมีการดําเนินชีวิตอยางใกลชิดกับพระพุทธศาสนา มี ศรัทธาอยางแรงกลา
ศลิ ปะถาํ้ ทสี่ ําคัญ ไดแก ถํ้างามหรือ ถ้ําพระโพธิสัตว จังหวดั สระบุรี สลักเปนภาพนั้น พระพุทธรูปปาง
แสดงธรรม ประทับนั่งหอยพระบาท,ถ้าฤๅษีเขางู จังหวัดราชบุรี ถ้ําถมอรัตน เมืองศรีเทพ จังหวัด
เพชรบรู ณ เปนตน

จากหลักฐานด้านประติมากรรม ที่แสดงใหเห็นถึงการเขามาของพระพุทธศาสนาไดดี
โดยเฉพาะประติมากรรมดินเผารูปพระภิกษุ 3 องค์อุ้มบาตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 และช้ินส
วนประติมากรรมพระพุทธรปู ปนู ปนปางนาคปรก ศลิ ปะอมราวดีอายรุ าวพทุ ธศตวรรษที่ 9-10

กลาวได้ว่า พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ไดเขาสูประเทศไทยสมัยทวารวดี อยางนอย
ราวพุทธศตวรรษท่ี 9 และเขามาประดิษฐานที่บริเวณเมืองอูทอง ก่อนที่จะขยายไปสูภาคตาง ๆ ของ
ไทย

จากหลักฐานด้านจารึก ที่พบ เชนจารึก คาถา เย ธมฺมา 2 หลัก ที่ไทรบุรีอายุราวพุทธ
ศตวรรษท่ี 8-11 และจารึกนามพระอนาคตพุทธเจา คือ พระศรีอาริยเมตไตรย บนหลังพระพิมพ
อักษรปลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 พบที่บริเวณเมืองอูทอง จารึกนามพระอรหันต
เอตทัคคะ บนหลังพระพิมพ 5 องค ไดแก พระสารีบุตร พระมหากัสสปะ พระโสณโกลิวิสะ พระ
กงั ขาเรวัตและพระปุณณสุนาปรันตะ จารึกดวยอักษรปลลวะ ภาษาบาลี อายุราวพุทธศตวรรษท่ี 11-
12 เปนต้น ยิ่งทําใหเชื่อได้อยางแนชัดวา พระพุทธศาสนาจะตองเขาสูประเทศไทยในสมัยทวารวดี
ตอนตนอยางแนแท

จารึกเก่ียวกบั หลักธรรมตาง ๆ นอกจากจารึกคาถา เย ธมฺมา แลวยังมีจารกึ หลักธรรม อื่น
ๆ ดวย ไดแก ธัมมจกกปั ปวัตนสตู ร ปฏจิ จสมุปบาท อริยสจั 4 คํานอบน้อมพระรตั นตรัย เปนต้น

จารึกท่ีพบมีต้ังแตพุทธศตวรรษท่ี 8-11 และพุทธศตวรรษที่ 11-16 จําเพราะภาค ภาค
กลางมอี ายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 เปนพนื้ ท้งั หมดทั้งปวง ทก่ี ลาวมานี้ ไดช้ีให้เหน็ ถงึ อทิ ธพิ ลความ
แพรหลายอย่างไพศาล ของพระพุทธศาสนาเถรวาทสมยั ทวารวดี ท่ีได้เผยแผไปยังภูมิภาคตาง ๆ ของ
อู่ทองในประเทศไทย เปนเหตุให ประชาชนสวนใหญในครั้งน้ันได้น้อมรับ เอาคําสอนไปประพฤติ
ปฏิบตั จิ นกลายเปนรากฐานสําคัญของอารยธรรมไทยมาตราบเทาทุกวันนี้

บทท่ี 4

รองรอยการเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนาสู่สมัยทวารวดี(อูท่ อง)

ทางศิลปกรรม

จากการศึกษาขอมูลเอกสาร และหลักฐานทางโบราณคดีตลอดจนศิลปกรรมตาง ๆ ดังที่
ไดกลาวมาในบทท่ี 2-3 พบวา ประเทศไทยเปนดินแดนที่มีทําเลเหมาะสมสําหรับการตั้งถิ่นฐานอยู
อาศัยของคนโบราณมาต้ังแตสมัยกอนทวารวดี เปนท่ีรบั ทราบกันในนามสุวรรณภูมิ อุดมสมบูรณด้วย
ทรัพยากรธรรมชาติ มีกลุมชนตางเช้ือชาติ เผาพันธุ หลายภาษาอาศัยเปนชุมชนอยู่เปนเปาหมาย ใน
การเดินทางมาติดตอคาขาย แลกเปลี่ยนสนิ คากันระหวางพอคา ชาวอินเดีย พอคาชาวจีน พอคาชาว
อาหรบั เปนตน เป็นผลใหบานเมอื งสมยั น้ัน ไดรบั อิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดยี เปนหลัก คอื นอกจาก
การติดตอคาขาย กนั โดยปกตแิ ลว ยังมีการแลกเปล่ียนทางวฒั นธรรมกนั ดวย

ชวงสมัยกอนสมัยอู่ทองเล็กน้อยปรากฏวา สภาพบานเมืองเริ่มมีความเจริญรุงเรืองข้ึน
แลวท้ังดานการเมือง การปกครองเศรษฐกิจการคาและการศาสนา การติดตอสัมพันธกับกลุมชน ท้ัง
ภายนอก ภายในดินแดนเป็นไปอยางกวางขวาง ทําใหดินแดนบริเวณนี้กลายเปนท่ีนดั หมาย ชุมนุมกัน
ของบรรดาพอคาวานิช นักเดินทาง นกั บวชและพระสงฆ

จากขอมูลเอกสารและหลักฐานทางโบราณคดีตาง ๆ ทําให้ภาพของดินแดนบริเวณ
ประเทศไทยตลอดจนความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาปรากฏชัดเจนมาก
ยง่ิ ข้ึน

4.1 วเิ คราะหจากขอมูลเอกสาร

จากขอมูลเอกสารที่กลาวถงึ การเขามาของพระพุทธศาสนา สวนใหญบอกวาเขามา ต้ังแต
พุทธศตวรรษท่ี 3 เปนตนมา บางเรื่องบอกวา พระพุทธศาสนาไดเขามาตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 7-8 มี
บางสวนระบุว่า พระพุทธศาสนาเขามาต้ังแตพุทธศตวรรษที่ 8-9 และบางเร่ืองบอกวา เข้ามาต้ังแต
พทุ ธศตวรรษท่ี 9-13 หลกั ฐานขอมลู เอกสาร ซึง่ ไดจากการศกึ ษาสรุป ไดเปน 2 กลมุ

กลุมที่หน่ึง เชื่อวา พระพุทธศาสนาเขามาสูดินแดนทวารวดีตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 3
เปนตนมาและเจริญรุงเรืองมาตั้งแตสมัยน้ันจนถึงสมัยทวารวดี ในพุทธศตวรรษที่ 11-16 และผูที่เช่ือ
เชนน้ี มมี ากหลายทานดัวยกนั ไดแก

1. การฝงรากฐานพระพทุ ธศาสนา ลงทีบ่ านคูบัว อาํ เภอเมือง จงั หวัดราชบุรี สมยั พระเจา
อโศกมหาราชถึงพระเจากนิษกะจาก พ.ศ.273-7031 อาจารยพรอม สุทัศน เช่ือวา ตองมีผูที่เคารพ
นบั ถือพระพทุ ธศาสนาอยูในดินแดนสวุ รรณภูมิกอนพระเจาอโศกมหาราช จะทรงใหสง พระโสณะกับ

1 พรอม สทุ ัศน ณ อยธุ ยา, การฝงรากฐานพระพทุ ธศาสนาลงทบ่ี านคูบัว อาํ เภอเมือง จงั หวดั ราชบรุ ี
สมยั พระเจาอโศกมหาราชถงึ พระเจากนษิ กะ จาก พ.ศ.273-703, หนา 163-166.

127

พระอุตตระเถระเขามา ชนชาติไทยสมัยสุวรรณภูมิหรือทวารวดี ส่วนใหญเปนคนมอญคนฟูนันอยู
อาศัยและนับถือพระพทุ ธศาสนาดวยกนั เมืองหลวงของสุวรรณภูมิ อยูท่ีเมืองกาญจนบุรี เกาทางดาน
เดียวกัน กับบานคูบัวโดยมาข้ึนท่ีเมืองทาเมอื งตะโกละ2 แลวเดินทางข้ึนมาทางเหนือ เขาสู่สุวรรณภูมิ
ตอนกลาง อาจแวะตามเมืองทาสากลชายทะเล เพื่อสะดวกในการบิณฑบาต การเผยแผ และการ
เดินทาง

2. ตํานานพระพุทธเจดีย สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ3
พระพุทธศาสนาเขามาประดิษฐานในประเทศสยามนาจะกอน พ.ศ.5004 ทรงสันนิษฐานเกี่ยวกับการ
เขามาของพระพุทธศาสนาสูประเทศไทยวา เน่ืองจากพระพุทธศาสนาเขาประเทศไทยหลายยุคและ
หลายนิกาย จึงเปนเหตุใหมีโบราณสถานหลายแบบ ซึ่งเรียกเปนสมัยได 7 สมัย สมัยที่ 1 คือสมัย
ทวาราวดี โดยกําหนดเอาต้ังแต พ.ศ. 500 เปนตนมา จะเห็นไดวา พุทธเจดียสมัยทวารวดีพบท่ี
นครปฐมมากกวาแหงอื่นและเปนพุทธเจดียที่เกาที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานวา ไดอิทธิพลจาก
แควนมคธราฐ โดยวัตถุท่ีสราง เปนพุทธเจดียในสมัยน้ีมีท้ังท่ีเปน ธาตุเจดีย บริโภคเจดีย ธรรมเจดีย
และอุเทสิกะเจดีย แตถือเอาการสรางพระธาตุเจดียเปนสําคัญกวาอยางอ่ืน อาจเนื่องดวยการท่ีพระ
เจาอโศกมหาราชไดทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุ ใหไปประดิษฐานในประเทศ ท่ีทรงสงสมณทูต ไป
ประกาศพระพุทธศาสนานน้ั ๆ ดวย5

3. จาริกบุญ-จารึกธรรม พระพรหมคณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต) กลาววา6 พระพุทธเจ้าเข้าสู
ไทยเม่ือกวา 2,000 ปมาแลว ตั้งแตสมัยสุวรรณภูมิ ไดสันนิษฐาน เรอ่ื งดินแดนซึ่งเปนเสนทางการติด
ตอระหวางอินเดียกับประเทศไทยสมัยกอน ไวในหนังสือเรื่อง "จาริกบุญ-จารึกธรรม" สรุปความไดวา
ดินแดนสวนท่ีเปนแหลมของประเทศไทยปจจุบัน นาจะเปนสวนแรกสดุ ของเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต ท่ี
ไดรับการติดตออยางสืบเน่ืองกับอินเดีย โดยพวกพอคาฮินดูจากอินเดียใต้ ซึ่งเปนดินแดนที่
พระพทุ ธศาสนาเจริญแพรหลายและเปนแหลงเผยแพรวัฒนธรรมแหงชมพทู วีป

4. กรุงสุโขทัยมาจากไหน7 อาจารยสุจิตต วงษเทศ เช่ือวา การเผยแผพุทธศาสนา จาก
ประเทศอินเดียสมัยพระเจาอโศกมหาราชโดยการสง พระโสณะและพระอุตระ มาคร้ังแรกท่ีสุวรรณ
ภูมิบริเวณลุมแมน้ําท่าจีน -แมกลอง (บริเวณอูทอง อําเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรีปจจุบัน)
พระพทุ ธศาสนาเถรวาทไดเจริญรุงเรืองสบื เนื่องมาจนถงึ ทุกวันน้ี

5. ภูมิประวัติพระพุทธเจา อาจารยเสถียร โพธินันทะ สรุปความเร่ืองการเขามาของ
พระพุทธศาสนาไดวา พระพุทธศาสนาไดแพรหลายเขาสูประเทศไทยต้ังแตพุทธศตวรรษที่ 3 เปนตน
มา ในระยะแรกเปนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทไดเจริญรุงเรือง อยูหลายศตวรรษและแพรหลาย

145-146 2 เรื่องเดียวกัน,หนา 12-23.
3 สมเด็จฯ กรมพระยาดาํ รงราชานุภาพ,ตํานานพระพุทธเจดีย, หนา 124-127
4 สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, ตํานานพระพุทธเจดีย, (กรุงเทพฯ: หนา
5 เรอ่ื งเดียวกนั หนา้ 145-146
6 พระธรรมปฎก, (ป.อ. ปยุตฺโต), จารกิ บุญ - จารกึ ธรรม, หนา 494.
7 สจุ ติ ต วงษเทศ,กรุงสุโขทยั มาจากไหน?, หนา 12.

128

ครอบคลุมไปท่ัวในแถบแหลมอินโดจีน ตอมาพุทธศตวรรษที่ 6 พระพุทธศาสนานิกายมหายาน ก็ได
เขาสูประเทศไทยสมัยกอน โดยมาทางบกเขามาทางแควน เบงกอล ทางพมาเหนือ และทางทะเลซึ่ง
มาข้ึนท่ีแหลมมลายู สุมาตราและออมอาวเขามาทาง ประเทศกัมพูชา ชวงเวลาดังกลาว ชาวฟูนันนับ
ถือพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทและมหายาน ซึ่งเจริญรุงเรืองอยางมากจนถึงกับมีสมณทูตชาว
ฟูนันเดินทางไปแปลพระคัมภีรถึงประเทศจีน ในพุทธศตวรรษที่10 คือ ทานพระสังฆปาละ และพระ
มันทรเสน8

6. สังคีติยวงศ พงศาวดารเรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย9 กลาววา พระพุทธศาสนา เขาสู
ประเทศไทยตั้งแตสมัยสุวรรณภูมิคือหลังจากทําสังคายนาคร้ังท่ี 3 พระเจาอโศกมหาราชทรง ใหสง
พระโสณะกบั พระอตุ ระพรอมดวยพระสงฆอีก 5 รูปมาทําการเผยแผพระพทธศาสนา

7. สุวรรณภูมิตนกระแสประวัติศาสตรไทย10 อาจารย สุจิตต วงษเทศ กลาวว่าประมาณ
พุทธศตวรรษท่ี 3 พระโสณเถระกับพระอุตตรเถระ อาศัยเรือพอคามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา เปน
ครั้งแรก ท่ีดินแดนสวรรณภูมิบริเวณท่ีอยูระหวางลําน้ําแมกลอง-ทาจีน ปจจุบันคือ เขตอําเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี กบั บานดอนตาเพชร อําเภอพนมทวน จงั หวัดกาญนบรุ ี

กลมุ ที่ 2 เชอ่ื วา พระพทุ ธศาสนาเขามาหลงั พุทธศตวรรษท่ี 6

1. เรอ่ื งโบราณคดีจากลายพระหัตถสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพกับของศาสตรา
จารยหลวงบริบาลบริภัณฑ11 หลวงบริบาลบริภัณฑ เห็นวา วัฒนธรรมอินเดียไดเขามามีบทบาทใน
ประเทศไทย และประเทศใกลเคียงต้ังแตสมัยโบราณ เร่ิมปรากฏหลักฐานต้ังแต่ พุทธศตวรรษท่ี 6
เปนตนมา และเห็นวา พระพุทธศาสนาไดเขามาสูประเทศไทยคล่ืนลูกแรกสุด ต้ังแตสมัยอมราวดี
(พุทธศตวรรษที่ 7-9) โดยอางถึงหลักฐานคือประติมากรรมดินเผารูปพระภิกษุ 3 องค์ และ
ประติมากรรมปูนป้นั รปู พระพุทธรปู นาคปรกศลิ าแบบอมราอมุ้ บาตร ที่อทู่ อง

2. สยามประเทศภูมิหลังของประเทศไทย ตั้งแต่ยุคดึกดําบรรพจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา
ราชอาณาจักรสยาม12 อาจารยศรีศักร วัลลิโภดม กลาวถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธและฮินดูวา นาจะ
แพรหลายเขามาในดินแดนไทย เป็นท่ีนิยมอยางแพรหลายไม่นอ้ ยกวาพทุ ธศตวรรษท่ี 7-8

3. สวุ รรณภูมจิ ากหลักฐานโบราณคดี13 อาจารยผาสุข อนิ ทราวธุ กลาวถึงเมืองอูทองวา มี
การที่ติดตอกับพอคาอินเดียมาตั้งแตพุทธศตวรรษท่ี 3-5 พระพุทธศาสนาจากศูนยกลาง ในอินเดียใต

8 เสถยี ร โพธนิ ันทะ, ภูมปิ ระวัตพิ ระพุทธศาสนา, หนา 1-6
9 สมเด็จพระวันรัตน,(แตง,พระยาปริยตั ิธรรมธาดา(แพ ตาลลักษณ) แปล), สังคีติยวงศ พงศาวดาร
เรอื่ งสงั คายนาพระธรรมวินยั , หนา 46-75.
10 สจุ ติ ต วงษเทศ,สวุ รรณภมู ิ ตนกระแสประวตั ิศาสตรไทย, หนา 74-77.
11 หลวงบรบิ าลบรภิ ณั ฑ,ศ.,เร่ืองโบราณคดีฯ ,(พระนคร: รุงเรืองรตั น, 2503) หนา
12 ศรศี ักร วลั ลิโภดม,รศ.ศ.,สยามประเทศ ภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแตยุคดึกดําบรรพจนถึง สมัย
กรงุ ศรอี ยธุ ยาราชอาณาจกั รสยาม, หนา 131.
13 ผาสุข อินทราวุธ,ศ.ดร.,สุวรรณภูมิจากหลักฐานโบราณคดี,(กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
,2548), หนา 105-111.

129

ไดเขาสูประเทศไทยสมัยทวารวดีใน ราวพุทธศตวรรษท่ี 8-9 โดยอางหลักฐาน คือ ประติมากรรมดิน
เผารูปภิกษุ 3 องค อมุ บาตร

4.เมืองอู่ทองนั้นแท้จริง คือ เมืองโบราณท่ีสําคัญท่ีสุดแห่งหน่ึง ในประเทศไทย
ศาสตราจารย์ฌอง บวสเซอลิเยร์ นักโบราณคดีชาวฝร่ังเศส14 การพบเมืองสุพรรณภูมิวา่ เป็นเมืองอก
แตกขนาดใหญ่ที่ซ้อนกันอยู่กับเมืองสุพรรณบุรี ก็เป็นอีกกรณีหน่ึงท่ีทําให้ความเช่ือแต่เดิมท่ีว่า เมือง
อ่ทู องคือ เมอื งสุพรรณภมู ิ ทส่ี มเดจ็ พระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงทิง้ มาเพราะเกิดโรคระบาด
แล้วไปสร้างพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี หมดไปทํานองตรงข้ามกลับพบว่า เมืองอู่ทอง ที่อําเภอ
อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีน้ัน แท้จริงคือเมืองโบราณสําคัญท่ีสุดแห่งหน่ึง ในประเทศไทย จนนัก
โบราณคดีชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาสํารวจและขุดค้นทางโบราณคดีช่วงเวลาน้ัน ให้นําหนักว่า เป็น
เมืองสําคัญของแคว้นฟูนันที่มีอายุราวพุทธศตวรรษท่ี 7-8 ทเี ดียว และเมืองนี้ มีฐานะเป็นเมืองหลวง
มากอ่ นเมืองนครปฐมด้วยที่สําคัญ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสทา่ นนีย้ อมรับวา่ เมืองอู่ทองรา้ งไปก่อนสมัย
สมเด็จพระรามาธบิ ดที ี่ 1 ไมต่ ่าํ กวา่ 200-300 ปี.”

5. กลุ่มชนอาศัยอยู่ในบริเวณภาคกลาง กรมศลิ ปกร แหล่งโบราณคดแี ห่งประเทศไทย15มี
ความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อเร่ิมมีหลักฐานดานโบราณคดีรองรับ แมวา หลักฐานจะมีเกาไปเพียงพุทธ
ศตวรรษที่ 8-9 กต็ าม ก็ยงั ชีใ้ หเ้ ห็นรองรอยว่า กลุมชนทอ่ี ยูในบริเวณภาคกลาง มพี ัฒนาการและความ
เจริญมากพอที่จะสามารถรับวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาได้ และ พบวาพระพุทธศาสนาเจริญรุ
งเรืองในสมัยทวารวดีอยางมากระหวางพุทธศตวรรษท่ี 11-16 รวมท้ังเปนศูนย์กลางเผยแผ
พระพทุ ธศาสนา

จากขอมูลเอกสารดังกลาว ทําให้วิเคราะห์ไดวา การเขามาของพระพุทธศาสนาจาก
ประเทศอินเดีย ตั้งแตสมัยพระเจาอโศกมหาราชนั้น มีมาแลวต้ังแต่ พุทธศตวรรษที่ 3 เจริญรุงเรือง
สืบตอมาจนถึงสมัยทวารวดี เพียงแต่ยังไมมีหลักฐานดานโบราณคดีมารองรับเทาน้ัน เนื่องจากนัก
โบราณคดี ไดตีความและวิเคราะหหลักฐานโบราณคดีท่ีพบบริเวณที่พระพุทธศาสนาเขามาวา มีอายุ
ไมเกนิ พทุ ธศตวรรษท่ี 8-9 เทาน้ัน

ในขณะที่ วรรณกรรมตางประเทศ ก็ไมได้ใหความกระจางมากนัก แม้แตวรรณกรรม
โบราณของอินเดีย ทั้งวรรณกรรม ในศาสนาพราหมณ ศาสนาพุทธ และนิกายของศาสนาเชน ไม่ได
กลาวถึงการขยายตัวของพระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียมายังดินแดนสุวรรณภูมิ แตประการใด
แมแต่ศิลาจารึก ของพระเจาอโศกมหาราช (พ.ศ.269-311) ซึ่งระบุเรื่องการสงสมณทูตไปเผยแผ
พระพุทธศาสนานอกประเทศอินเดีย ก็ไมไดกลาวถึงการสงสมณทูตไปเผยแผในสุวรรณภูมิด้วย
เชนกันอยางไรกต็ าม แมว้ า่ วรรณกรรมของอินเดียจะมิไดก้ ลาวถงึ รายละเอียดการเขามาของ

14 ศรีศักร วัลลิโภดม,รศ. หนังสือหลกั ฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี,การประชุม สมั มนาทางวิชาการ
เร่ืองอู่ทองเมืองโบราณเมืองสร้างสรรค์การท่องเท่ียวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตด้ังเดิม(2525),หน้า
50..

15 กรมศิลปากร,แหลงโบราณคดีประเทศไทย,(กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย,
2531), เลม 1 หนา 121-291; เลม 2 หนา 90-250.

130

พระพทุ ธศาสนาสูสุวรรณภูมิหรือทวารวดีไว้ แต่ตรงกันขามกบั วรรณกรรมโบราณของลังกาท่สี ําคัญ 16
คือ ทีปวงศ ที่เขียนข้ึนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-10 และมหาวงศ เขียนข้ึนในชวงพุทธศตวรรษที่ 11-
12 กลาวถึงการที่พระเจาอโศกมหาราช สงสมณทูตจากอินเดียสูดินแดนสุวรรณภูมิ แตไมไดระบุว่า
อยูทใี่ ด

นอกจากน้ียังผู้วิจัยยังพบวา คัมภีรของลังกาที่มีการกลาวถึง ดินแดนสุวรรณภูมิว่า ดวย
การเดนิ ทางเขามาแสวงโชคและคาขาย ไดแก มหาชนกชาดก สังขพราหมณชาดก และ สุสันธีธชาดก
เปนตน สวนที่ว่า ด้วยการเผยแผพระพทธศาสนาสูสุวรรณภูมิก็เป็นคัมภีรของลังกาเปนหลักเช่นกัน
โดยเฉพาะ คมั ภรี มหานิเทส คมั ภีรสมันตปาสาทกิ า เปนตน ดังทไี่ ดกลาวไว้แลว

สรุปไดวา หลักฐานขอมลู ดานเอกสารตางประเทศ ทกี่ ลาวถงึ พระพุทธศาสนาท่ีเผยแผจาก
อินเดียมายงั ดินแดนสุวรรณภูมสิ วนใหญเป็นหลักฐานจากลังกา ทั้งน้ี อาจเปนเพราะวา ประเทศไทยมี
ความสัมพันธ์ด้านวฒั นธรรมกบั ประเทศลังกาอยางดี มาตั้งแต่สมัยหลังพทุ ธกาล

โดยเฉพาะวัฒนธรรมพระพุทธศาสนา และในสมัยตอมาอีกจนถึงปจจุบัน ผูวิจัยเชื่อวา
เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับดนิ แดนสุวรรณภูมิ(อู่ทอง)ดังกลาว ได้ใหรายละเอยี ดเก่ียวกับสุวรรณภูมิและ
สมัยอู่ทอง ไดอย่างนาสนใจ และทําใหทราบวา เมืองอูทองเปนเมืองทาโบราณท่ีเจริญรุงเรืองสืบตอ
มาจนกลายเป็นเมอื งทาสําคญั ของรฐั ทวารวดี เปนศูนยก์ ลางพระพทุ ธศาสนาท่เี กาแกทีส่ ุดของรัฐทวาร
วดี ตลอดจนเป็นศนู ย์กลางหรือเมืองหลวงของรฐั ทวารวดียุคตน

เมืองอูทองเปนสวนหน่ึงของรัฐทวารวดี โดยทวารวดีก่อตัวข้ึนจากผูคนในทองถิ่นท่ี รับ
วัฒนธรรมอินเดียเขามาปรับใชใหเหมาะกับวัฒนธรรมทองถ่ิน มีลักษณะเด่นคือ เปนการรับเอา
ศิลปวฒั นธรรมพุทธศาสนาในสมยั คุปตะ และหลังคุปตะเขามาผสมผสานกับคติความเช่ือในเมือง แถบ
ชายฝงทะเลภาคกลางของไทย ศนู ยกลางรัฐทวารวดีเป็นเมืองอทู อง เพราะตั้งอยูบนเสนทางนํา้ ท่อี อก
สูทะเลได ศิลปวัฒนธรรมทวารวดี กระจายแพรออกไปเมืองตาง ๆ ท่ีเปนชุมชนยอย ทั้งในเขตลุมแม
นํ้าเจาพระยา ภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคใต ประเพณีเกี่ยวกับการสรางพระพิมพ พระพุทธรูป
ตลอดจน การสรางและการบูชา พระบรมธาตุเจดีย ลวนเป็นอิทธิพลท่ีได้รับการสืบทอดมาจาก
พระพุทธศาสนา ดังพบหลักฐานโบราณคดีในดินแดนไทย เริ่มตั้งแต่อารยธรรมอินเดียเขาสูดินแดน
ไทยในสมัยกอนทวารวดี สมัยทวารวดี และหลักฐานทางโบราณคดีหลังสมัยทวารวดี แสดงใหเห็นถึง
ประเพณีดังกลาว โดยเฉพาะการสรางพระบรมธาตุเจดีย์กลางเมืองต่างๆ ทั้งยังเช่ือมโยงใหเห็นความ
ตอเนอ่ื งของประเพณี ดงั กลาวในสมยั ตอๆ มาในไทยตราบเท่าทุกวนั น้ี

4.2 วิเคราะหจากหลกั ฐานโบราณคดดี านศลิ ปกรรมหลกั ธรรมและจารกึ

จากการขุดคนทางโบราณคดีตามแหลงโบราณคดีตาง ๆ และเมืองโบราณสมัย
ประวัติศาสตร์ตอนตนในประเทศไทย ไดพบหลักฐานดานโบราณคดีศิลปกรรมทั้งสถาปตยกรรม

16 ผาสุข อนิ ทราวธุ ,สุวรรณภูมิ จากหลักฐานโบราณคดี,หนา 199-203.

131

ประติมากรรมตลอดจนหลักฐานดานจารึกจํานวนมาก โดยเฉพาะท่ีเก่ียวของ กับพระพุทธศาสนา
สมัยทวารวดี(อทู่ อง) เปนหลกั ฐานท่ีจะนาํ ไปสูขอสรุป ดังน้ี

1. หลกั ฐานเกาแกท่ีแสดงใหเห็นการเขามาของพระพุทธศาสนาในราวพุทธศตวรรษท่ี
7-11

1). หัวแหวน คาถา เย ธมฺมา พบ ณ เมืองออกแก้ว คือหัวแหวน มีจารึก คาถา เย
ธรรมา ภาษาสันสกฤต อักษรพราหมี อายุราวพุทธศตวรรษท่ี 7-8 สันนิษฐานวา เป็นโบราณวัตถุท่ี
นํามา จากประเทศอินเดีย แสดงใหเห็นวา พระพุทธศาสนาไดเขาสูทวารวดีต้ังแตนั้นโดยทางอาว
เวียดนาม

2). จารกึ คาถา เย ธมมฺ า 2 หลัก พบที่ไทรบุรี อายุราวพทุ ธศตวรรษท่ี 8-11
3). ประติมากรรมปูนปนรูปพระภิกษุ 3 องคอุมบาตร และประติมากรมปูนปนรูป
พระพุทธรูปนาคปรก อายุราวพุทธศตวรรษท่ี 10-11 ที่เมืองอูทอง ที่เมืองโบราณอูทอง แสดงให
เหน็ วา พระพทธศาสนา จากศูนยกลางในลุมแมนํ้ากฤษณา-โคทาวดี เขามายังดนิ แดน ทวารวดีทีเ่ มือง
อทู อง
4). พระพุทธรูปแบบอมราวดี ท่ีอําเภอสุไหวโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เปนโบราณ
วตั ถทุ ่ีเกาทส่ี ุด ในประเทศไทย อายุราวพทุ ธศตวรรษที่ 7-10
5). พระพุทธรปแบบอมราวดีที่ ตําบลพงตึก ราวพุทธศตวรรษท่ี 8 อําเภอทามะกา
จังหวัดกาญจนบรุ ี อายุราวพทธศตวรรษที่ 8
6) .พระพุทธรูปแบบคปุ ตะ 2 องคท่ี จังหวดั กาญจนบุรี 1 องคและทน่ี ครปฐมอีก 1
องค อายรุ าวพุทธศตวรรษท่ี 10
7). พระพุทธรูปศิลปะแบบคุปตะ ที่ตําบลเวียงสระ อําเภอบานนา จังหวัดสุราษฎร
ธานี อายรุ าวพุทธศตวรรษท่ี 10-11
สรุปไดวา จากหลักฐานโบราณคดีท่ีพบนําไปสูขอสรุปไดวา พระพุทธศาสนาไดเขาสู
ดนิ แดนทวารวดี ครั้งแรก ราวพุทธศตวรรษท่ี 7-11 และจากหลักฐานท่พี บแสดงใหเห็นเสนทางเขามา
โดยทางเรือ เปนสวนใหญโดยมาทางแหลมมลายแู ละทางเวียดนาม เปนหลกั
2. หลกั ฐานท่ีแสดงถึงการเขา้ มาต้ังมั่นของพระพุทธศาสนาในสมยั ทวารวดี(อู่ทอง)

เมื่อวิเคราะหจากหลักฐานทั้งดานสถาปตยกรรม ประติมากรรม และจารึก เปนเครื่อง
ยนื ยันวา พระพุทธศาสนาต้ังม่ันและเจริญเรืองตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 8-16 ท้ังนี้ เห็นไดจากมีการสราง
สถูปเจดีย วิหารตาง ๆ โดยเฉพาะที่พบในภาคกลาง เชน ท่ีเมอื งอู่ทองโบราณ เจดยี ์วัดพระเมรุ เจดีย์
พระประโทนเจดียจลุ ประโทน และพระปฐมเจดีย ท่ีมีอายรุ าวพุทธศตวรรษท่ี 12-16

ประติมากรรมท่ีพบจํานวนมากน้ัน ทั้งวงพระธรรมจักร พระพุทธรูปและพระพิมพเปนตน
มีอายุ ในชวงพุทธศตวรรษท่ี 11-16 และกระจายไปท่ัวทุกหนแห่ง

หลักฐานท่ีเป็นจารึก พบจํานวนมากโดยเฉพาะจารึกหลังพระพิมพมากกวาอยางอ่ืน ซ่ึง
แสดงใหเห็นวา พระพุทธศาสนาต้งั มนั่ และรุงเรอื งอยางมาก อาทิ

132

1. จารึก เย ธมฺมา จารึกด้วย อักษรปลลวะ ภาษาบาลี อายุราวพุทธศตวรรษท่ี 12
พบที่ อาํ เภออู่ทอง จงั หวดสุพรรณบุรี

2. จารกึ นโม วุทฺธาย จารกึ ดวยอักษรปลลวะ ภาษาบาลี อายุราวพุทธศตวรรษท่ี 12
พบท่ีบริเวณนอกเมืองอูทอง จงั หวัดสุพรรณบุรี

3. จารึกพระนาม พระศรีอาริยะเมตไตรย จารึกด้วยอักษรปลลวะ ภาษาบาลีอายุ
ราว พทุ ธศตวรรษที่ 12 พบท่เี จดยี หมายเลข 11 อําเภออูทอง จงั หวัดสุพรรณบุรี

4. จารึกนาม พระสารีบุตร จารึกด้วยอักษรปลลวะ ภาษาบาลี อายุราวพุทธ
ศตวรรษ ท่ี 12 พบท่ี เจดยี หมายเลข 11 อาํ เภออูทอง จังหวัดสพุ รรณบุรี

5. จารึกนาม พระมหากัสสปะหรอื พระมหากัจจายนะ จารึกด้วยอกั ษรปลลวะ ภาษา
บาลี อายรุ าวพุทธศตวรรษที่ 12 พบที่เจดยี ์ หมายเลข 11 อาํ เภออูทอง จงั หวัดสุพรรณบรุ ี

6. จารึกนาม พระโสโณโกลิวิโส จารึกดวยอักษรปลลวะ ภาษาบาลี อายุราวพุทธ
ศตวรรษท่ี 12 พบท่ีเจดีย์หมายเลข 11 อาํ เภออูทอง จงั หวัดสุพรรณบรุ ี

7. จารึกนาม พระกังขาเรวัต จารึกด้วยอักษรปลลวะ ภาษาบาลี อายุราวพุทธ
ศตวรรษที่ 12 พบทเ่ี จดยี ์หมายเลข 11 อาํ เภออทู อง จงั หวัดสุพรรณบรุ ี

8. จารึกนาม พระปุณโณสุนาปรันโต จารึกด้วยอักษรปลลวะ ภาษาบาลี อายุราว
พุทธศตวรรษท่ี 12 พบท่เี จดยี หมายเลข 11 อําเภออทู อง จังหวัดสพุ รรณบุรี

9. จารึกพระนาม พระเจาศุทโธทนะ จารึกดวยอักษรหลังปลลวะ ภาษาสันสกฤต
อายุราวพุทธศตวรรษท่ี 13-14 พบทเี่ จดยี ์หมายเลข 11 อําเภออทู อง จงั หวัดสุพรรณบุรี

10. จารกึ บนซีล่ อพระธรรมจักรศลิ า พบท่ี วดั พระศรีรตั นมหาธาตุ จังหวัดลพบรุ ี
ขอความในจารึกแปลได้วา่ “สฬายตนะ เปนปจจยให้เกดิ ผสั สะ เวทนาดบั ตณั หาดบั ”เปน
ขอความ ทอนหนึง่ ของปฏิจจสมปุ บาท

หลักฐานทางโบราณคดีตาง ๆ เปนตนเหล่านี้เปนเครื่องยืนยันไดวา พระพุทธศาสนา ได
เจรญิ รุงเรืองและตงั้ มนั่ อย่างแพรหลาย เพราะไดรบั ความนยิ มนับถือ เคารพเล่ือมใสจากทวารวดี
(อู่ทอง) โดยเฉพาะบรเิ วณลุมแม่นํ้าเจ้าพระยา ประชาชนมีความรูความเขาใจใน หลักธรรมคําสอนใน
พระพุทธศาสนาเปนอยางดี โดยสังเกตไดวา การจารึกนาม พระอสีติมหาสาวก อยางมากมายเช่นนี้
ไม ปรากฏวาพบ ณ ท่ีใด มากอนเลย สอดคลองกับแนวความคิดเรื่องความเจริญรุงเรืองของ อูทอง
โบราณและเมืองนครปฐมโบราณ ที่เคยเปนศูนยกลางของพระพุทธศาสนาในยุคทวารวดีตอนตน
และตอนปลาย

จะเห็นได้ว่า หลักฐานที่เก่าแก่ท่ีสุดที่แสดงว่าพุทธศาสนาได้เป็นท่ียอมรับนับถือของชาว
พ้ืนเมืองอู่ทองนั้น เร่ิมปรากฏในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 8 หรือก่อนหน้าน้ัน 14 นั่นคือหลักฐานด้าน
ประติมากรรมดินเผาและปูนป้ันที่ใช้ประดับศาสนาสถานประเภทสถูปและวิหาร ซึ่งมีหลายช้ินท่ีสืบ
ทอดรูปแบบมาจากศิลปะแบบอมราวดีตอนปลาย (พุทธศตวรรษท่ี 8-10) เช่น ประติมากรรมดินเผา
รูปพุทธสาวก 3 องค์ถือบาตรห่มจีวรห่อคลุม ตามแบบนิยมของศิลปะแบบอมราวดี และ
ประติมากรรมปนู ปั้นรูปพระพุทธรูปนาคปรกท่ปี ระทับนัง่ ขดั พระบาทหลวมๆ ตามแบบนยิ มของศลิ ปะ
แบบอมราวดี รวมทั้งคติการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งจัดเป็นคตินิยมของสกุลช่างอมราวดี
โดยเฉพาะ

133

ดังน้ันการค้นพบชิ้นส่วนประติมากรรมดังกล่าวแม้จะน้อยช้ิน แต่ก็เป็นส่วนของ
ประติมากรรมท่ีประดับศาสนสถาน ซ่ึงแสดงว่าได้มีการสร้างศาสนาในเมืองนี้ต้ังแต่ช่วงพุทธศตวรรษ
ท่ี 8-10 และแม้ว่าพุทธดังกล่าวจะพังทลายลงไปแล้ว ยังคงเหลือให้เห็นช้ินส่วนประติมากรรมท้ังท่ี
เป็นดินเผาและปูนปั้นที่เคยใช้ประดับพุทธสถานดังกล่าว จึงจัดเป็นหลักฐานสําคัญท่ีแสดงว่าพุทธ
ศาสนาได้เป็นทยี่ อมรับนับถือของชาวพ้ืนเมืองอู่ทองแล้วในชว่ งเวลาน้ัน และเป็นอิทธพิ ลพุทธศาสนา
จากศูนย์กลางพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ํากฤษณา (ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย) ซึ่งอยู่ใต้การ
อุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ (พุทธศตวรรษที่ 5-8) และสืบต่อโดยราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธ
ศตวรรษที่ 8-10) โดยมีศนู ย์กลางอยู่ทเี่ มอื งอมราวดแี ละมเองนาคารชุนโกณฑะ

พระพิมพและจารึก อันท่ีจริง ได้พบประติมากรรมที่เกี่ยวของกับพระพุทธ ศาสนาจํานวน
มากและหลายแหงด้วยกัน แตท่ีมีมากและเป็นท่ีรับทราบของนักวิชาการทาง โบราณคดีได้แก
ประติมากรรมพระพมิ พทวารวดี จาก 4 แหลงเปนหลัก กลาวคือ

1. พระพิมพที่พบท่ีเมืองนาดูน จังหวัดมหาสารคาม กําหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่
14-16 อิทธิพลศิลปะทวารวดี จากภาคกลางโดยมีคติและรูปแบบตรงกับพระพิมพจากนครปฐม มาก
บางองค์มีจารึกการสรางดวยภาษามอญโบราณ ไดรับอิทธิพลจากคติการทําพระพุทธรูปจากอินเดีย
สมัยคุปตะ หลงั คปุ ตะ และสมยั ปาละ

2. พระพิมพท่ีเมืองกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จํานวน 1 องค อายุราวพุทธ
ศตวรรษที่ 14-15 และแผนเงินบเุ ป็นพระพุทธรูป อีกจํานวน 66 แผน ศลิ ปะทวารวดี กําหนดอายุราว
พุทธศตวรรษที่ 15-16

3. พระพิมพที่เมืองฟาแดด สงยาง จังหวดกาฬสินธุ มีพระพุทธรูปสําริดจํานวน 2
องคและพระพิมพดินเผาอีก เปนจํานวนมากมีถึง 7 พิมพ และที่เมืองฟาแดดสงยางยังพบใบเสมาหิน
สมัยทวารวดีอีกจํานวน 11 ใบ ทั้งมีภาพเลาเรื่องชาดก และไมมีภาพ กําหนดอายุพุทธศตวรรษท่ี 14-
15

4. พระพิมพที่เมืองไพร อยูในเขตอําเภอเสลภูมิ จังหวัดรอยเอ็ด พบพระพิมพนาค
ปรกประมาณ 3,000 องค เปนพระพิมพที่พบมากท่สี ุด ไดรบั อิทธิพลดานศิลปะทวารวดีจากภาคกลาง
ศิลปะทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษ 15 ท่ีบรเิ วณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไดพบหลักฐานทแ่ี สดงถึง
ความต้ังม่ันของพระพุทธศาสนาสมัยทวารวดีจํานวนมาก ในส่วนท่ีเปนจารกึ อาทิ

1. จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา 1 พบที่วัดโนนศิลา อําเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
ภาษามอญโบราณ อักษรหลังปลลวะ อายรุ าวพุทธศตวรรษที่ 14 วาด้วยการทาํ บญุ อุทศิ และปรารถนา
ใหเกดิ ทนั พระศรีอาริย

2. จารึกบนฐานพระพุทธรูป พบท่ีจังหวัดกาฬสินธุ จารึกดวยอักษรหลังปลลวะ
ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 กลาวถึงการสรางสรรคส่ิงท่ีเปนกุศลวามีอานิสงส์
สงใหไปเกดิ ดมี สี ุขในโลกสวรรค

134

3. จารึกสถาปนาสีมา พบที่อําเภอ กุฉินารายณ จังหวัดกาฬสินธุ จารึกด้วยอักษร
หลัง ปลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 เน้ือความกลาวถึงพระภิกษุสงฆสราง
สมมติ ศลิ าเปนเขตสีมา (เพ่ือทาํ สังฆกรรม)

จากหลักฐานด้านประติมากรรมและจารึกดังกลาวแสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนา
จากศนู ยกลางในภาคกลางลุมแมนํ้าเจาพระยา แม่นํ้าทาจนี -แมกลอง ไดเผยแผ่พระพทุ ธศาสนาเขามา
ไปยังชุมชนต่างๆ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-15 โดยพระพุทธศาสนาไดรับความนับถือและบํารงุ ใหเจริญ
รงุ เรอื งขนึ้ เปนลาํ ดับและเจริญสงู สดุ ในช่วงพทุ ธศตวรรษที่ 14-15

จากหลักฐานทางโบราณ คดีประติมากรรมพระพิมพ ดังกลาว แสดงใหเห็นวา
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ไดเจริญแพรหลายจากทางอินเดียเขามายังฝงตะวนั ตก ของคาบสมุทร
ในชวงพุทธศตวรรษท่ี 10-12 เจริญรุงเรืองอยูจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ตอมาจึงได้มี
พระพุทธศาสนาท้ังนิกายมหายานและนิกายสรวาสติวาท เจริญรุงเรอื งข้นึ มาแทน และเปนความนิยม
ของประชาชนทางภาคใต จนกระท่ังเขาสูสมัยกอนสุโขทัยจงึ ไดมีความนิยมพระพทุ ธศาสนา นกิ ายเถร
วาทดงั เดมิ

3. หลักฐานท่ีแสดงใหเห็นวาชาวพุทธสมัยทวารวดี(อู่ทอง)เขาใจในพระพุทธศาสนา
อยางดี

เมื่อวิเคราะหจากหลักฐานดานศิลปกรรมโดยเฉพาะพระพุทธรูป พระพิมพ และจารึก
หลักธรรมตาง ๆ ท่ีปรากฏแลว แสดงใหเห็นภาพความเจริญแพรหลายของพระพุทธศาสนาได อยางดี
และลึกซ้ึง ท้ังน้ีพบว่า จารึกหลักธรรมสํานวนอื่นๆ ท่ีคาดว่าชาวอู่ทองเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12-13
พงึ่ ร้เู ร่ืองนี้มาจากขอ้ สันนิษฐานท่วี ่า กรมศิลปกรขุดพบพระธรรมจักรพร้อมเสาและฐานรองทพ่ี ระสถูป
หมายเลข 11 เมืองอู่ทอง มีรูปแบบคล้ายคลึงกับพระธรรมจักรพบท่ีเมืองโบราณใกล้เคียงคือเมือง
นครปฐมโบราณ พระธรรมจักรพบท่ีเมืองนครปฐมโบราณพบว่า มีจารึกคาถาธรรม และยังพบคาถา
ธรรมความใกล้เคียงกันน้ีท่ีบนฐานพระธรรมจักรเมืองโบราณกําแพงแสน (จังหวัดนครปฐม) บน
(ช้ินส่วน) ธรรมจักรพบที่เมืองลพบุรี บนเสาธรรมจักรพบท่ีเมืองซับจําปา (จังหวัดลพบุรี) อีกด้วย ก็
น่าเชื่อว่าคาถาธรรมความดังกล่าวบนธรรมจกั รพบที่เมืองนครปฐมโบราณและทอี่ ื่นๆ นา่ จะเป็นเร่ืองที่
รับรู้แก่พุทธศาสนิกชนเถรวาททั่วไปที่นิยมสร้างพระธรรมจักรประดิษฐานไว้ในศาสนสถานรว มท้ังท่ี
เมืองอู่ทอง

ขอความจารึกท่ีพบน้ันนอกจากจะเป็นเรื่องการทําบุญกุศลแลวยังเปนหลักธรรมคําสอนที่
คดั มาจากพระไตรปฎก ท่ีท้ังลุมลึกและสําคัญถึงขั้นเปนหัวใจพระพุทธศาสนาทีเดียว นั่นยอมแสดงให้
เห็นวา ประชาชนมีความเขาใจและศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยางมากซ่ึงหลักธรรมตาง ๆ เม่ือ
ประมวลแลวสามารถสรุปได ดังนี้ 1. หลักธรรมคาถา เย ธมฺมา 2. หลักธรรมธัมมจักกัปปวตนสูตร
3. หลกั ธรรมปฏิจจสมปุ บาท 4. หลกั ธรรมอริยสจั จ 4 5. จารึกการทาบุญอุทิศตาง ๆ เปนตน

หลักธรรมตาง ๆ ดังกลาวนําไปสูขอสรุปไดวา พุทธบริษัทชาวทวารวดี มีความเคารพ
เลื่อมใสพระพุทธศาสนา มคี วามรูความเข้าใจ และเขาถึงหลักธรรมคําสอนไดอยางลึกซงึ้ ดัง หลักฐาน
จารึกที่คนพบจาํ นวนมาก อยางทไ่ี มเคยปรากฏมากอนในสมัยใด(แม้แตสมัยสุโขทัย)

135

นอกจากน้ียังพบวา พุทธบริษัทชาวทวารวดี มีความเชื่อในเร่ืองพระพุทธเจา 5 พระองค
อันเปนความเช่ือในพระพทุ ธศาสนาเถรวาท ดังปรากฏหลักฐานท่ีเจดีย์อิฐ ท่ีวัดพระเมรุจังหวัด
นครปฐม และมีความเช่ือเร่ืองอสีติมหาสาวก ดังปรากฏหลักฐานการจารึก ชื่อพระมหาสาวก ตาง ๆ
อันเป็นเคร่ืองยืนยันและช้ใี หเห็นไดอยางชดั เจนวา เป็นพระพทุ ธศาสนานิกายเถรวาทอยางแนนอน

โดย เฉพ าะการ นิ ย ม ส ร างปร ะติ มาก รรม รูป ธร รมจั ก รแล ะกว างห มอบ เป็ น สั ญ ลั ก ษ ณ์
แหงการแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธองค หรือเปนการประกาศพระพุทธศาสนา และมีความนิยม
สลักจารกึ พระธรรมคําสอนในพระพุทธศาสนาลงบนธรรมจักรหรือช้ินสวนตาง ๆ ของธรรมจักร จารึก
หลักธรรมลงบนหลังพระพิมพตาง ๆ หรือแมแตที่ฐานของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี เพื่อเป็นการ
ประกาศและสืบอายพุ ระพุทธศาสนาเปนตน นอกจากน้ียัง พบวา จารึกหลายหลักเปนประเพณี การ
ทําบุญอุทิศใหผูมีพระคุณ ทอดมาจนกระทั่งปจจุบัน อันเป็นคติในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซ่ึง
เปนประเพณีที่ยังตก ท่ีนาสังเกตก็คือ แมวา ชาวทวารวดี(อู่ทอง) ส่วนใหญนับถือพระพุทธศาสนา
นิกายเถรวาทเปนหลักก็ตาม แตจากขอมูลหลักฐานทางโบราณคดีด้านศิลปกรรมพบวา ยังมีร่องรอย
ของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน อยูเปนจาํ นวนมาก อยบู่ ้างไม่มากนัก

สรุปวา ชาวทวารวดี(อู่ทอง)นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีความรูความเขาใจใน
หลักธรรมคําสอนของพระพุทธศาสนาอยางดีและลึกซึ้ง โดยเฉพาะจารึกที่วา ดวยหลักธรรมปฏิบัติ
สามารถตรวจสอบไดในพระไตรปฎก ของพระพทุ ธศาสนานิกายเถรวาท ในปจจบุ ันได

เนื่องจากพระพุทธศาสนาเปนศาสนาแหงสันติ ไมกระทบหรือเบียดเบยี นศาสนาอ่ืน จึงได
รับความนิยมนับถือจากประชาชน ทําให้พระพุทธศาสนา นับตั้งแต่เขามาสู่ดินแดนแหงนี้ ถ้าจัดแบ่ง
เป็นระยะอยู่ ระยะที่ 3 คอื ระยะแรกกอ่ นสมัยทวารวดี (พทุ ธศตวรรษท่ี 3-8) ระยะที่ สอง สมยั ทวาร
วดี (พุทธศตวรรษท่ี 9-16) และระยะหลังทวารวดี (หลังพุทธศตวรรษที่ 16 เปนตน มา) เจริญรุงเรือง
เปนหลักยึดทางจิตใจให้ แกพุทธบริษัทไดอยางดี และกอใหเกิดศิลปวัฒนธรรมท่ี เปนแบบเฉพาะของ
ตนขึ้นในช่ือ วัฒนธรรมทวารวดี ที่ครอบคลุมทั้งดานการเมืองการปกครอง ประเพณีทําบุญตาง ๆ
ดานศิลปกรรมตาง ๆ ที่สงตอวัฒนธรรมดังกลาว ใหกับสมัยสุโขทัยได้อยาง งดงาม ท้ังยังพัฒนา
สืบเน่อื งตอมาจนกระท่งั ทุกวันนฯ้ี

4.3 ผลทไ่ี ดจากการวิเคราะห

จากการศึกษาวิเคราะหท้ังจากหลักฐานขอมูลเอกสารและดานโบราณคดีไดผลตามที่ ได
ตง้ั เปาไว 4 ประการ

1) ไดทราบวา ดินแดนท่ีเป็นประเทศไทยทุกวันนี้ มีพัฒนาการมาแลวตั้งแตสมัยกอน
ประวัติศาสตร์ โดยพัฒนาการมาอยางตอเนืองอยางนอย ต้ังแตสมัยสุวรรณภูมิ พัฒนาการผาน
อาณาจักรฟูนัน จนกระท่ังเขาสูสมัยทวารวดี เปนสมัยประวัติศาสตรของประเทศไทยท่ีมีหลักฐาน ทั้ง
เอกสารและหลกั ฐานทางโบราณคดี และเจริญรุงเรอื งดวยพระพทุ ธศาสนา การเมองการปกครอง โดย
ไดรับอทิ ธพิ ลจากอารยธรรมอินเดยี

136

2) ไดทราบถึงกําเนิดและการเขามาของพระพุทธศาสนาท่ีแพรหลายเขามายังบริเวณ
ดังกลาว ท้ังน้ีจากหลักฐานเอกสารยืนยัน ความเจริญแพรหลายของพระพุทธศาสนา ต้ังแตสมัยพระ
เจา อโศกมหาราช พุทธศตวรรษที่ 3 มีการแพรหลายเขามาของพระพุทธศาสนา อีกหลายระลอก
ดวยกัน ท่ีปรากฏหลักฐานในสมัยกอนทวารวดีเล็กนอย คือพุทธศตวรรษที่ 9-10 เปนตนและ
พระพุทธศาสนาไดเจรญิ รุงเรอื งสูงสุด ในชวงพทุ ธศตวรรษท่ี 11-16 :ซง่ึ เปน็ สมยั ทวารวด(ี อู่ทอง)

3) ไดทราบวา พระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี(อู่ทอง)น้ัน เจริญรุงเรือง แพรหลายเขา
ถึงประชาชนกลุ่มตาง ๆ และไดอํานวยประโยชนและความสุขความเจรญิ แกประชาชนที่ต้ังถน่ิ ฐานอยู
ในบริเวณท่ีเป็นประเทศไทยไดอยางดียิง่ ไดนําชาวประชาใหเขาถึงความสุขตามลําดบั ท่ีควรได เห็นได
จากหลักฐานท่ีเป็นจารึกหลักธรรมระดับตาง ๆ ในทุกส่วน เปนเครื่องยืนยันวา ประชาชนมีความสุข
และความเขาใจในพระพุทธศาสนาอยางลึกซ้ึง กอให้เกิดอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณี ความเจริญด
านตาง ๆ และสงทอดสูสมัยสุโขทยั สมยั ตอมาอยางงดงาม

4) ไดทราบรองรอยแหงความเจริญรุงเรืองของพระพุทธศาสนา ความแพรหลายของ
วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาแบบทวารวดี(อูท่ อง) และประชาชนชาวพุทธมีความเขาใจพระพุทธศาสนา
อยางลึกซึ้งยิ่งกวาสมัยใดในประวัติศาสตร์ชาติไทย เห็นไดจากรองรอยจากศูนยกลางของวัฒนธรรม
ทวารวดี ท่ีท้ิงรองรอยไวท่ัวทุกภาค ภาคกลางบริเวณลุมแมน้ําเจาพระยา การเคารพพระพุทธรูป
พระพิมพ และบรรดาจารึกเรื่องราวตาง ๆ เกี่ยวกับการทําบุญ การจารึกหลักธรรมคําสอนใน
พระพุทธศาสนาตลอดจนซากพุทธเจดีย์จํานวนมากมาย ลวนเปนหลักฐานที่แสดงใหเห็นถึงความ
เจริญรุงเรืองของพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดไี ด้เปนอย่างดี และเป็นตนแบบทางศิลปวัฒนธรรมให
กับสุโขทัยและสมัยตอมา

เม่ือสรุปการศึกษาวิเคราะห์การเขามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาวัฒนธรรมสู่เมืองอูท่ องและ
ปริมณฑล ตามลาํ ดับเหตุการณย์ คุ แตล่ ะพ.ศ. ได้ดงั นี้

1) 4,000 ปีมาแล้ว ตรงกับยุคหินใหม่ เร่ิมมีผู้คนกระจายตัวอยู่ทางตอนบนของ
จ.สุพรรณบุรี ปัจจุบันคือบริเวณ อ.ด่านช้าง อ.หนองราชวัตร และพื้นที่ข้างเคียงที่ต้ังอยู่ในเขต
จ.กาญจนบรุ ปี ัจจบุ นั

2) 2,500 ปีมาแล้ว ตรงกับยุคเหล็ก ผู้คนจากชุมชนบริเวณตอนบนของ จ.สุพรรณบุรี
ปัจจุบันเคลื่อนย้ายลงมาทางตอนล่างบริเวณ อ.ดอนเจดีย์ ศรีประจันต์เมืองสุพรรณ และอู่ทองในลุ่ม
น้ําทวน-จระเข้สามพัน และลุ่มนํ้าท่าว้า-ท่าจีน หรือแม่น้ําสุพรรณบุรีชุมชนกลุ่มนี้ จะพัฒนาเป็น
บ้านเมืองในวฒั นธรรมแบบทวารวดี

3) 2,000 ปีมาแลว้ ชุมชนบรเิ วณลุ่มน้ําทวน-จระเข้สามพัน และลุ่มนํ้าท่าว้า-ท่าจีน หรือ
แม่น้ําสุพรรณบุรีซ่ึงมีอู่ทองเป็นเมืองศูนย์กลาง เร่ิมมกี ารติดต่อกับภูมิภาคอ่ืนๆของโลกอย่างเข้มข้น มี
การพบโบราณวัตถนุ ําเข้าจากวฒั นธรรมภายนอกเป็นจํานวนมาก

4) 1,500 ปีมาแล้ว อู่ทองยอมรับวัฒนธรรมศาสนาพุทธ-พราหมณ์จากชมพูทวีป เริ่มมี
การสรา้ งรปู เคารพ และศาสนสถานในศาสนาพทุ ธ และศาสนาพราหมณ์

137

5) 1,300 ปมี าแล้ว คนู ํ้าลอ้ มรอบเมืองอู่ทองมีรปู ร่างเป็นอย่างที่เห็นอยใู่ นปัจจบุ นั

6) 1,000 ปีมาแล้ว เมืองอู่ทองลดความสําคัญลง แต่ไม่ได้ร้างพ้ืนท่ีบริเวณทางฝั่งตะวัน
ออก โดยผ่านลาํ น้ําท่าวา้ -ท่าจีน และลํานาํ้ ทวน เร่ิมเจริญรงุ่ เรอื งขนึ้ แทนที่

7) 800 ปีมาแล้ว เมืองสุพรรณบุรีกลายเป็นเมืองสําคัญของกลุ่มวัฒนธรรมน้ี แทนเมือง
อทู่ อง

มีสันนิษฐานดั้งเดิมของนักโบราณคดีท่ีเชื่อว่า รัฐในวัฒนธรรมทวารวดีอย่าง อู่ทอง น้ัน
เป็นเมืองท่าชายฝ่งั ทะเล ดูจะเป็นเรื่องท่ีทบทวนใหม่ เมื่อพจิ ารณาจากขอ้ มูลหลกั ฐานจากงานวิจัยทาง
ธรณีวิทยา และละอองเรณูวิทยา ในระยะหลัง ที่ช้ีให้เห็นไปในทิศทางที่ แตกต่างออกไป รัฐใน
วัฒนธรรมทวารวดียังคงมีลักษณะเป็นเมืองท่าอยู่ แต่ไม่ใช่เมืองท่าชายฝั่งทะเล เพราะมีลักษณะการ
วางตัวของเมืองท่ีลึกเข้าไปในแผ่นดิน รัฐในวัฒนธรรมทวารวดีเชื่อมต่อกับทะเลด้วยแม่นํ้าสายต่างๆ
ในกรณีของ อู่ทอง คือแม่น้ําท่าจีนและแม่น้ําแม่กลอง ทางด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก
ตามลําดับ ลักษณะอย่างน้ีไม่ต่างไปจากกรุงศรีอยุธยา ในยุคหลัง ท่ีเช่ือมต่อกับทะเลโดยผ่านแม่นํ้า
เจา้ พระยา

ข้อมูลท่ีน่าสนใจ ซ่ึงเก่ียวข้องกับชายฝั่งทะเลในช่วงของวัฒนธรรมทวารวดีคือ มีการ
ค้นพบ ซากเรือจม ท่ีบรรจุสินค้าในช่วงเวลาดังกล่าว อยู่สองลําในเขต จ.สมุทรสาคร คือที่แหล่ง
โบราณคดีบ้านขอม ต.โคกขาม อ.เมือง (พยุง วงษ์น้อย, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) และอีกแห่งคือที่ วัดวิ
สุทธิวราวาส หรือวัดกลางคลอง ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองเฉพาะข้อมูลของเรือที่วัดกลางคลองน้ัน
บริเวณที่พบเรือจมเป็นท่ีลุ่มต่อใกล้ปากอ่าวไทย ซึ่งเกิดจากตะกอนดินท่ีไหลลงมาทับถมกันต่อเนื่อง
จนกลายสภาพจากทะเลโคลนตมมาเป็นแผ่นดิน เม่ือราว 1,000 ปีมาแล้ว และมีทางนํ้าคดเค้ียวไหล
เช่ือมต่อกันเป็นโครงข่ายมาแต่โบราณ จนถึงสมัยอยุธยาซ่ึงมีหลักฐานของการขุดลัดคลองโคกขาม ที่
เป็นส่วนหน่ึงของเส้นทางเชอื่ มระหวา่ งแมน่ าํ้ เจ้าพระยากับท่าจีน

การพบหลักฐานของเรอื จมทวี่ ัดกลางคลอง นอกจากเป็นแหลง่ เรือจมทม่ี ีอายุเก่าแก่ที่สดุ ที่
พบในประเทศไทยปัจจุบันแล้ว ยังยืนยันถึงการใช้เส้นทางน้ําเหล่านี้มานับพันปีจนกระทั่งถึงสมัยต้น
กรุงรตั นโกสนิ ทร์ดว้ ย 17

4.4 องคค์ วามรทู้ ีไ่ ด้จากการวิจัย

ก่อใหเกิดองค์ความรู ใหมเก่ียวกับกําเนิด การเข้ามาของพระพุทธศาสนาในการเผยแผ่สู่
เมืองอู่ทอง ตลอดถึงรองรอยและอิทธิพลดานตาง ๆ ท่ีไดรับจากพระพุทธศาสนา ที่จะอํานวย
ประโยชน ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง อันได้แก่ พระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
เปนตน้

ได้องค์ความรู้จากการศึกษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่สัมพันธ์กับการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาสู่เมืองอู่ทอง ลายเส้นจากดินเผารูปภิกษุสาวก 3 รูป ครองจีวรทําท่าบิณฑบาต เป็น

17 ประภัสสร์ชูวิเชียร, “แหล่งเรือจมท่ีวัดกลางคลอง สมุทรสาคร ข้อมลใหม่สู่การค้าโลกจากใต้
ทะเลโคลน ,”( สยามรัฐสัปดาหว์ ิจารณ์ 27 ธันวาคม 2556), หน้า40.

138

หลักฐานเก่าสุดที่แสดงว่า มีพระสงฆ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ พบที่เมืองอู่ทอง อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี
ช้ินส่วนปูนป้ันรูปพระพุทธรูปขัดสมาธิพระบาทหลวมๆ บนขนดนาค ศิลปกรรมอินเดียแบบอมราวดี
ตอนปลายอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9–11 พบที่เมืองอู่ทอง พระพุทธบิดาพระพุทธเจ้าสมณโคดม มี
จารึกอักษรปัลลวะ ระบุพระนามไว้ด้านลา่ งของฐานว่า “ ศทุ ฺโธทน” ยังมี ธรรมจักรและกวางหมอบ
กลาวไดวา เปนตัวแทนของอารยธรรม เพราะธรรมจักรเปนเคร่ืองหมาย การประกาศพระธรรมคํา
สอนของพระพุทธเจา เปนสญั ลักษณการแสดงปฐมเทศนา มีอายรุ าวพุทธศตวรรษที่ 13 กรมศิลปากร
ขุดคน้ พบที่ สถูปเจดยี ์หมายเลข 11 เมอื งอูท่ อง เปน็ ตน้

จะเห็นได้ว่า นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า เมืองหลวงของรัฐทวารวดีน่าจะอยู่ที่
เมืองอู่ทอง เป็นศูนย์กลางของรัฐทวารวดี เพราะได้พบเหรียญเงินมีจารึกว่า “ลวปุระ” ที่อู่ทอง 18
และข้อมูลแหล่งค้นพบในเบื้องต้น โดยสันนิษฐานว่า เมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลางด้านตะวันตก หรอื เป็น
ศูนย์กลางในฐานะเมืองหลวงของรัฐทวารวดี โดยศึกษาจากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ประกอบกับ
หลักฐานโบราณวัตถสุ ถานและหลักฐานเอกสารต่างๆ รวมท้ังจดหมายเหตขุ องจีนตลอดจน จารึกท่ีพบ
ในบริเวณเมอื งดว้ ย ดงั ไดพ้ บหลกั ฐานดา้ นศิลปกรรมเน่อื งในพทุ ธศาสนาจํานวนมาก

เมืองอู่ทองนั้นยังได้พบหลักฐานการติดต่อค้าขายกับอินเดียต้ังแต่สมัยยุคเหล็กตอนปลาย
ของอินเดีย (พุทธศตวรรษท่ี 3-5) 19 และเมืองอู่ทองนี้เองที่พ่อค้าชาวพุทธจากลุ่มแม่น้ํากฤษณา ได้
เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งถิ่นฐานในช่วงสมัยอินโด-โรมัน และได้นําเอาพุทธศาสนาจาก
ศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียใต้ที่อยู่ใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ และสืบต่อด้วย
ราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธศตวรรษท่ี 8-10) ซ่ึงมีศูนย์กลางงานศิลปกรรมเน่ืองในศาสนาอยู่ท่ีเมือง
อมราวดีและเมืองนาคารชุนโกณฑะ เข้ามาเผยแพร่ให้ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทอง ดังได้พบ
ประติมากรรมดินเผารูป ลายเส้นจากดินเผารูปภิกษุสาวก 3 รูป ครองจีวรทําท่าบิณฑบาต และเป็น
หลักฐานเก่าสุดที่แสดงว่า มีพระสงฆ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ พบที่เมืองอู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ช้ินส่วนปูนปั้นรูปพระพุทธรูปขัดสมาธิพระบาทหลวมๆ บนขนดนาค ศิลปกรรมอินเดียแบบอมราวดี
ตอนปลายอายุราวพุทธศตวรรษท่ี 9 – 11 พบที่เมืองอู่ทอง พระพุทธบิดาพระพุทธเจ้าสมณโคดม มี
จารกึ อกั ษรปัลลวะ ระบพุ ระนามไว้ด้านล่างของฐานว่า “ ศุทฺโธทน” อายรุ าวพุทธศตวรรษที่ 13 กรม
ศิลปากรขุดคน้ พบท่สี ถปู เจดีย์หมายเลข 11 เมืองอู่ทอง เปน็ ต้น

ดังน้ันเมืองอู่ทองจึงจัดเป็นเมืองท่าโบราณท่ีเจริญรุ่งสืบต่อมาจนกลายเป็นเมืองท่าสําคัญ
ของอาณาจกั ร และเป็นศูนย์กลางพทุ ธศาสนาที่เกา่ แก่ท่สี ุดของรัฐทวารวดี

ฉะนั้นย่อมได้บทวิเคราะห์ของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาเมืองอู่ทอง ที่ขาดหายไปเพื่อจะไดเกิดองคความรูใหม ๆ อันจะเป็นประโยชนทาง
การศกึ ษาตอไป

18 Boeles, J.J. “A note on the ancient city called Lavapura” Journal of the Siam
Society, Vol. LV, Partl (January 1967),.

19 ชิน อยู่ดี “เร่ืองก่อนประวัติศาสตร์ท่ีเมืองอู่ทอง” โบราณวิทยาเรื่องเมืองอู่ทอง (กรมศิลปากร
2509), หน้า 43-50

139

บทท่ี 4

รองรอยการเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนาสู่สมัยทวารวดี(อูท่ อง)

ทางศิลปกรรม

จากการศึกษาขอมูลเอกสาร และหลักฐานทางโบราณคดีตลอดจนศิลปกรรมตาง ๆ ดังที่
ไดกลาวมาในบทท่ี 2-3 พบวา ประเทศไทยเปนดินแดนที่มีทําเลเหมาะสมสําหรับการตั้งถิ่นฐานอยู
อาศัยของคนโบราณมาต้ังแตสมัยกอนทวารวดี เปนท่ีรบั ทราบกันในนามสุวรรณภูมิ อุดมสมบูรณด้วย
ทรัพยากรธรรมชาติ มีกลุมชนตางเช้ือชาติ เผาพันธุ หลายภาษาอาศัยเปนชุมชนอยู่เปนเปาหมาย ใน
การเดินทางมาติดตอคาขาย แลกเปลี่ยนสนิ คากันระหวางพอคา ชาวอินเดีย พอคาชาวจีน พอคาชาว
อาหรบั เปนตน เป็นผลใหบานเมอื งสมยั น้ัน ไดรบั อิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดยี เปนหลัก คอื นอกจาก
การติดตอคาขาย กนั โดยปกตแิ ลว ยังมีการแลกเปล่ียนทางวฒั นธรรมกนั ดวย

ชวงสมัยกอนสมัยอู่ทองเล็กน้อยปรากฏวา สภาพบานเมืองเริ่มมีความเจริญรุงเรืองข้ึน
แลวท้ังดานการเมือง การปกครองเศรษฐกิจการคาและการศาสนา การติดตอสัมพันธกับกลุมชน ท้ัง
ภายนอก ภายในดินแดนเป็นไปอยางกวางขวาง ทําใหดินแดนบริเวณนี้กลายเปนท่ีนดั หมาย ชุมนุมกัน
ของบรรดาพอคาวานิช นักเดินทาง นกั บวชและพระสงฆ

จากขอมูลเอกสารและหลักฐานทางโบราณคดีตาง ๆ ทําให้ภาพของดินแดนบริเวณ
ประเทศไทยตลอดจนความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาปรากฏชัดเจนมาก
ยง่ิ ข้ึน

4.1 วเิ คราะหจากขอมูลเอกสาร

จากขอมูลเอกสารที่กลาวถงึ การเขามาของพระพุทธศาสนา สวนใหญบอกวาเขามา ต้ังแต
พุทธศตวรรษท่ี 3 เปนตนมา บางเรื่องบอกวา พระพุทธศาสนาไดเขามาตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 7-8 มี
บางสวนระบุว่า พระพุทธศาสนาเขามาต้ังแตพุทธศตวรรษที่ 8-9 และบางเร่ืองบอกวา เข้ามาต้ังแต
พทุ ธศตวรรษท่ี 9-13 หลกั ฐานขอมลู เอกสาร ซึง่ ไดจากการศกึ ษาสรุป ไดเปน 2 กลมุ

กลุมที่หน่ึง เชื่อวา พระพุทธศาสนาเขามาสูดินแดนทวารวดีตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 3
เปนตนมาและเจริญรุงเรืองมาตั้งแตสมัยน้ันจนถึงสมัยทวารวดี ในพุทธศตวรรษที่ 11-16 และผูที่เช่ือ
เชนน้ี มมี ากหลายทานดัวยกนั ไดแก

1. การฝงรากฐานพระพทุ ธศาสนา ลงทีบ่ านคูบัว อาํ เภอเมือง จงั หวัดราชบุรี สมยั พระเจา
อโศกมหาราชถึงพระเจากนิษกะจาก พ.ศ.273-7031 อาจารยพรอม สุทัศน เช่ือวา ตองมีผูที่เคารพ
นบั ถือพระพทุ ธศาสนาอยูในดินแดนสวุ รรณภูมิกอนพระเจาอโศกมหาราช จะทรงใหสง พระโสณะกับ

1 พรอม สทุ ัศน ณ อยธุ ยา, การฝงรากฐานพระพทุ ธศาสนาลงทบ่ี านคูบัว อาํ เภอเมือง จงั หวดั ราชบรุ ี
สมยั พระเจาอโศกมหาราชถงึ พระเจากนษิ กะ จาก พ.ศ.273-703, หนา 163-166.

127

พระอุตตระเถระเขามา ชนชาติไทยสมัยสุวรรณภูมิหรือทวารวดี ส่วนใหญเปนคนมอญคนฟูนันอยู
อาศัยและนับถือพระพทุ ธศาสนาดวยกนั เมืองหลวงของสุวรรณภูมิ อยูท่ีเมืองกาญจนบุรี เกาทางดาน
เดียวกัน กับบานคูบัวโดยมาข้ึนท่ีเมืองทาเมอื งตะโกละ2 แลวเดินทางข้ึนมาทางเหนือ เขาสู่สุวรรณภูมิ
ตอนกลาง อาจแวะตามเมืองทาสากลชายทะเล เพื่อสะดวกในการบิณฑบาต การเผยแผ และการ
เดินทาง

2. ตํานานพระพุทธเจดีย สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ3
พระพุทธศาสนาเขามาประดิษฐานในประเทศสยามนาจะกอน พ.ศ.5004 ทรงสันนิษฐานเกี่ยวกับการ
เขามาของพระพุทธศาสนาสูประเทศไทยวา เน่ืองจากพระพุทธศาสนาเขาประเทศไทยหลายยุคและ
หลายนิกาย จึงเปนเหตุใหมีโบราณสถานหลายแบบ ซึ่งเรียกเปนสมัยได 7 สมัย สมัยที่ 1 คือสมัย
ทวาราวดี โดยกําหนดเอาต้ังแต พ.ศ. 500 เปนตนมา จะเห็นไดวา พุทธเจดียสมัยทวารวดีพบท่ี
นครปฐมมากกวาแหงอื่นและเปนพุทธเจดียที่เกาที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานวา ไดอิทธิพลจาก
แควนมคธราฐ โดยวัตถุท่ีสราง เปนพุทธเจดียในสมัยน้ีมีท้ังท่ีเปน ธาตุเจดีย บริโภคเจดีย ธรรมเจดีย
และอุเทสิกะเจดีย แตถือเอาการสรางพระธาตุเจดียเปนสําคัญกวาอยางอ่ืน อาจเนื่องดวยการท่ีพระ
เจาอโศกมหาราชไดทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุ ใหไปประดิษฐานในประเทศ ท่ีทรงสงสมณทูต ไป
ประกาศพระพุทธศาสนานน้ั ๆ ดวย5

3. จาริกบุญ-จารึกธรรม พระพรหมคณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต) กลาววา6 พระพุทธเจ้าเข้าสู
ไทยเม่ือกวา 2,000 ปมาแลว ตั้งแตสมัยสุวรรณภูมิ ไดสันนิษฐาน เรอ่ื งดินแดนซึ่งเปนเสนทางการติด
ตอระหวางอินเดียกับประเทศไทยสมัยกอน ไวในหนังสือเรื่อง "จาริกบุญ-จารึกธรรม" สรุปความไดวา
ดินแดนสวนท่ีเปนแหลมของประเทศไทยปจจุบัน นาจะเปนสวนแรกสดุ ของเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต ท่ี
ไดรับการติดตออยางสืบเน่ืองกับอินเดีย โดยพวกพอคาฮินดูจากอินเดียใต้ ซึ่งเปนดินแดนที่
พระพทุ ธศาสนาเจริญแพรหลายและเปนแหลงเผยแพรวัฒนธรรมแหงชมพทู วีป

4. กรุงสุโขทัยมาจากไหน7 อาจารยสุจิตต วงษเทศ เช่ือวา การเผยแผพุทธศาสนา จาก
ประเทศอินเดียสมัยพระเจาอโศกมหาราชโดยการสง พระโสณะและพระอุตระ มาคร้ังแรกท่ีสุวรรณ
ภูมิบริเวณลุมแมน้ําท่าจีน -แมกลอง (บริเวณอูทอง อําเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรีปจจุบัน)
พระพทุ ธศาสนาเถรวาทไดเจริญรุงเรืองสบื เนื่องมาจนถงึ ทุกวันน้ี

5. ภูมิประวัติพระพุทธเจา อาจารยเสถียร โพธินันทะ สรุปความเร่ืองการเขามาของ
พระพุทธศาสนาไดวา พระพุทธศาสนาไดแพรหลายเขาสูประเทศไทยต้ังแตพุทธศตวรรษที่ 3 เปนตน
มา ในระยะแรกเปนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทไดเจริญรุงเรือง อยูหลายศตวรรษและแพรหลาย

145-146 2 เรื่องเดียวกัน,หนา 12-23.
3 สมเด็จฯ กรมพระยาดาํ รงราชานุภาพ,ตํานานพระพุทธเจดีย, หนา 124-127
4 สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, ตํานานพระพุทธเจดีย, (กรุงเทพฯ: หนา
5 เรอ่ื งเดียวกนั หนา้ 145-146
6 พระธรรมปฎก, (ป.อ. ปยุตฺโต), จารกิ บุญ - จารกึ ธรรม, หนา 494.
7 สจุ ติ ต วงษเทศ,กรุงสุโขทยั มาจากไหน?, หนา 12.


Click to View FlipBook Version