The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by schtgr1125, 2021-05-13 08:13:56

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

42

รูปภาพท่ี 2.2 เศยี รยักษ์เศยี รเทวดา กาํ หนดอายุระหว่างพ.ศ. 1600-1700 พบภายในเมอื งโบราณอู่

ทองแสดง ใหเ้ ห็นถงึ ความสัมพนั ธ์กับงานชา่ งแบบหรภิ ุญไชยปจั จุบนั จัดแสดงอยใู่ น พพิ ธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาตอิ ่ทู อง

น่าสนใจว่า “เสียน” ในที่น้ีปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่ยอมรับว่า คงจะหมายถึง
“สุพรรณบุรี”ในขณะเดียวกับที่ “หลอฮู่” ก็หมายถึง “ละโว้” อย่างไม่ต้องสงสัย “อู่ทอง” ในฐานะท่ี
เกยี่ วขอ้ งกบั วฒั นธรรมละโว้อย่างชัดเจน แตอ่ ยใู่ กลก้ ันแคเ่ อ้ือมกับเมอื งสพุ รรณบรุ ี

หากพิจารณาเฉพาะจากแบบของงานช่างกลุ่มงานของอู่ทอง ที่สร้างข้ึนในช่วงระหว่าง
พ.ศ.1700-1900 ดูจะต่างกับกลุ่มเมืองสุพรรณบุรีที่นิยมสร้างเจดีย์แปดเหล่ียม และพระพุทธรูปน่ัง
ห้อยพระบาท ท่ีต่อมาค่อยปรับเปลี่ยนเป็นพระพุทธรปู ปางป่าเลไลยก์ แน่นอนวา่ งานช่างบางส่วนก็ดู
จะซ้อนเหลื่อมกันอยู่บ้าง เช่น ที่วัดพระป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มีหลักฐานของพระพุทธรูป
ในศิลปะขอมแบบบายนหรือหลังบายน ที่สร้างขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ.1750-1900 อยู่ด้วย หรือท่ี
เมืองอ่ทู องเอง ก็มงี านช่างทเี่ หน็ ถึงรสนิยมอย่างหริภุญไชย ท่ีสมั พนั ธ์อยู่กับกลุ่มของสุพรรณบุรี

ช่วงระยะเวลาหลังการเสอื่ มถอยของวัฒนธรรมแบบทวารวดีจนถงึ ก่อนสร้างกรงุ ศรอี ยุธยา
อู่ทองและกลมุ่ ชมุ ชนบรวิ ารบริเวณลุ่มนํ้าจระเขส้ ามพนั คงจะอยใู่ นสภาวะทเี่ หลื่อมซอ้ นกนั อยู่ระหว่าง
เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกลุ่มอย่างที่ว่า โดยน่าจะอยู่ในเครือข่ายทางวัฒนธรรมและ
เศรษฐกจิ ของละโวเ้ ป็นสําคัญ โดยผา่ นทางลาํ น้ําท่าจนี -ท่าวา้

ถัดลงไปทางใต้ของลํานํ้าจระเข้สามพันคือ ลํานํ้าทวนท่ีมีการสํารวจพบชุมชนสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์เป็นจํานวนมาก กลับไม่พบหลักฐานของงานช่างร่วมสมัยทวารวดีช่วงก่อนตั้งกรุงศรี
อยุธยาหรือแม้กระทั่งสมัยอยุธยาตอนต้นเลย งานช่างที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มลํานํ้าท่าว้า และลําน้ําทวน
เกือบท้ังหมดไม่เก่าไปกว่าสมัยอยุธยาตอนกลางคือ ไม่เก่าไปกว่าสมัยของพระบรมไตรโลกนาถ โดย
ส่วนใหญ่จะเป็นงานในสมัยปลายของอยุธยา ในขณะที่บริเวณลํานํ้าจระเข้สามพันรอบเมืองอู่ทองเอง
ก็มีหลักฐานของเจดีย์สมัยอยุธยาตอนกลางอยู่ด้วย เช่น เจดีย์ทรงระฆังที่เขาทําเทียม หรืองานสมัย
อยุธยาตอนปลาย เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ที่วัดสังขจายเถร กลุ่มเจดีย์ที่เชิงเขารักษ์เป็นต้น อย่างไรก็ดี
กลุ่มเจดีย์ในท้ังที่พบในบริเวณลําน้ําจระเข้สามพัน ลําน้ําท่าว้า และลําน้ําทวนก็มี ลักษณะเฉพาะ
ร่วมกันคือ การทําองค์ระฆังเอวคอด ลักษณะเช่นน้ี ไม่ปรากฏอยู่ในงานอย่างหลวงของอยุธยา แต่
ปรากฏอยู่เฉพาะในบริเวณพื้นที่แถบน้ีและกลุ่มเจดียท์ ีเ่ มอื งกาญจนบุรเี กา่ ด้วยกล่าวโดยสรปุ แลว้ กลุ่ม
งานช่างเนื่องในศาสนาของบริเวณพื้นที่แถบนี้ มีต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มรับวัฒนธรรมศาสนา

43

พุทธ-พราหมณ์จากชมพูทวีป เมื่อราวหลัง พ.ศ. 1000 โดยในระยะคงจะมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอู่ทอง
และบริเวณใกลเ้ คียงโดยรอบก่อนท่ีจะคอ่ ยๆ ขยายตวั ลงไปทางใต้ผ่านลําน้ําจระเขส้ ามพัน ในช่วงหลัง
พ.ศ. 1700 คนค่อยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแบบอยุธยา ต้ังแต่แรกสร้างกรุงฯ กลุ่ม
หลักฐานทางโบราณท่ีสัมพันธ์กับอยุธยาจึงค่อยมีปรากฏมาข้ึนลงไปทางใต้แถบลุ่มน้ําทวน และลํา
นา้ํ ทา่ ว้านัน่ เอง

2.5 กาํ เนดิ และการเขามาเผยแผข่ องพระพทุ ธศาสนาในสมัยทวารวด(ี อูท่ อง)

กําเนิดพระพุทธศาสนาในอินเดียโดยยอ พระพุทธศาสนาคือคําสอนของพระพุทธเจา
เมื่อพระพุทธเจาทรงออกประกาศพระศาสนายังไมมีพระพุทธศาสนาน้ัน ต่อเมื่อมีผูมาเปนสาวกของ
พระพุทธเจา โดยตองการมาฟังคําสอนของพระพุทธองค เรียกวาเป็นสาวก หมายถึงผูฟง63 เมื่อมีผู
ตองการมาฟงคําสอนของพระพุทธเจาเพิ่มจํานวนมากข้ึน ๆ ก็ขยายออกเป็นองค์กร เปนสถาบัน มี
การศึกษาเลาเรียนปฏิบัติตามกันอยางจริงจงั ทําให้พระพุทธศาสนาแพรหลาย ไปสูภูมิภาคตางๆ ของ
ประเทศอนิ เดีย เมอ่ื พระพทุ ธเจาปรินิพพานไปแลวพระมหากัสสปเถระ ประสงคจะใหคําสอนของพระ
พุทธองคดํารงอยูอยางถูกตองมั่นคง จึงคิดท่ีจะใหมีการสงั คายนา คือ การรวบรวมคําสั่งสอนของพระ
พุทธเจาไว้เป็นแบบแผนอันเดียวกัน โดยการรวบรวมไวเป็นหลักและทรงจํา ถายทอดสืบมาเปนอยาง
เดียวกนั 64

ครั้นงานถวายพระเพลิงพระพทุ ธสรีระเสร็จส้ินแลว พระมหากสั สปเถระก็ดําเนินการ เรือ่ ง
การทําสังคายนา มีการเตรียมการอยู 3 เดือน ประชุมท่ีถํ้าสัตตบรรณคูหา ณ ภูเขาเวภาระ เมืองราช
คฤห พระเจาอชาตศัตรูทรงใหการอุปถัมภ มีการคัดเลือกพระอรหันตจํานวน 500 องคท่ีมีความรู
ความสามารถเปนหัวหนาคณะไดจําคําสอนของพระพุทธเจาไว้ไดมากและชัดเจน พระมหากัสสป
เถระเปนประธานในการสังคายนาโดยเป็นผูซักถามในสวนของพระธรรม65 ไดพระอานนทเปนผู้ตอบ
คําถาม ในสวนพระวินัยไดพระอุบาลีเถระ ผูเปนเอตทัคคะดานพระวินัย เปนผูนําในการตอบคําถาม
การประชมุ เพอ่ื ทําสังคายนาครั้งประวตั ศิ าสตรนี้ ดําเนนิ อยเู ปนเวลา 7 เดอื นจึงเสร็จสน้ิ 66

กําเนดิ พระพุทธศาสนาสดู่ นิ แดน

จากการท่ีพระอรหันตเถระไดกระทําปฐมสังคายนาดังกลาวมา ก็ไดมีการรวบรวมคําสอน
ท่ีลงมติที่เรียกกันวา เถรวาท แปลวาคําสอนท่ีวางไวเปนหลักการของพระเถระ (หมายถึง พระเถระ

63 พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตโต),รูจักพระไตรปฎกเพื่อเปนชาวพุทธที่แท,พิมพคร้ังท่ี 2, (กรุงเทพฯ:
เอดิสนั เพรส โปรดกั ส, 2543) หนา 21-22.

64 เรื่องเดียวกัน,หนา 24-25./ ดูรายละเอียดเรื่องแนวทางการสังคายนาใน สังคตี ิสตู ร ที.ปา.11/225-
363/224-286.

65 ดรู ายละเอียดใน วิ.จู.(บาล)ี 7/437-445/274-284.
66 พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยุตฺโต), พระไตรปฎกสิ่งทีช่ าวพุทธตองรู(ฉบับสองภาษา), (กรุงเทพฯ: บริษัท
เอส.อาร.พริน้ ตง้ิ แมส โปรดกั สจํากดั , 2545),หนา 16-17./ นิกายเถรวาท ปจจุบนั ไดแก พระพุทธศาสนาทน่ี ับถือ
กันในประเทศไทย ศรีลังกา พมา เขมร และลาว เปนหลัก(ปจจุบันมีการเผยแผในยุโรป แลวหลายประเทศ) และคํา
วานกิ ายเถรวาท มชี ือ่ เรียกอยางอ่ืนอกี คือ หีนยานและทกั ษิณนิกาย แตคําวาหินยานน้ัน ทราบวามมี ติใหเลกิ ใชแลว
เนือ่ งจากเปนคาํ ท่เี สมอื นดถู ูกนกิ ายเถรวาทนน่ั เอง

44

500 องค ผูประชุมทําสังคายนาครั้งท่ี 1 ) ดังนั้น พระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักท่ีได สังคายนาคร้ัง
แรกน้ี เรียกวา พระพุทธศาสนาฝายเถรวาท หมายถึง คําส่ังสอนของพระพุทธเจาคือ พระธรรมวินัย
ท้ังถอยคําและเน้ือความอยางท่ีทานสังคายนากันไวและทรงจํากันมาอยางน้ัน ถือตามนั้น โดยเครง
ครัด โดยใช้ภาษาบาลีรักษาพระธรรมวนิ ัยใหคงอยูตามทีท่ านไดส้ ังคายนาไว้67

เม่ือมีสถานการณกระทบตอความม่ันคงของพระพุทธศาสนาเกิดข้ึน จึงไดมีการสังคายนา
พระธรรมวินยั อกี หลายครงั้ 68 ดังนี้

โดยเฉพาะคร้ังท่ี 3 เมื่อประมาณ พ.ศ. 234 ปรารภเดียรถียปลอมบวช เนื่องจากมีลาภ
สักการะเกิดข้ึนมากพระอรหันต 1,000 องค พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเปนประธาน ประชุมทําท่ี
อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร มีพระเจาอโศกหรือศรีธรรมาโศกราช เปนองคศาสนูปถัมภก ใช้เวลา 9
เดือน พระโมคคัลลีบุตรติสเถระ จึงรวบรวมพระอรหันต์ทําสังคายนาข้ึนเป็นครั้งท่ี 3 ราว พ.ศ. 235
เม่อื ทาํ สังคายนาเสร็จสิ้น พระเจ้าอโศกมหาราชและพระโมคคลั ลีบุตรติสเถระกจ็ ดั พระสมณทตู เปน็ 9
สาย ส่งไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งโดยสายที่ 8 พระโสณะและพระอุตระเถระได้เดินทางไปยัง
สุวรรณภูมิประเทศ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน (ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามและ
อินโดนีเซีย) ทําให้ไทยได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธจากอินเดียมาต้ังแต่สมัยนั้น หลังจากสมัย
พุทธกาล พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองถึงท่ีสุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 1300
– 1700 คณะสงฆ์อ่อนแอลง รวมท้ังถูกศาสนาอื่นต่อต้านและบีบคั้น กอปรกับถูกชนชาติมุสลิมเข้า
รกุ รานและทําลายวัดวาอารามตลอดจนพระสงฆ์ ในที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 1700 พุทธศาสนาจงึ เส่ือมลง
และสูญหายไปจากอินเดยี ในท่ีสุด แตผ่ ลจากการที่ส่งสมณะทูตออกไปเผยแผ่พระพทุ ธศาสนาของพระ
เจ้าอโศกมหาราช จึงยังผลให้พระพุทธศาสนาไปรุ่งเรืองอยู่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และ
บรเิ วณใกล้เคยี ง

ในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 10 – 18 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจักรวรรดิท่ีรุ่งเรืองทางด้าน
พุทธศาสนาและศิลปะอยูส่ องแห่ง ความเชื่อสาํ คัญในยคุ นเี้ ป็นแบบมหายาน จักรวรรดิท่ีมีอทิ ธพิ ลทาง
ใต้บริเวณหมู่เกาะ คือ อาณาจักรศรีวิชัย ส่วนทางเหนือ คือ อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ ที่มีการ
สรา้ งรูปพระโพธสิ ัตว์มาก

อาณาจักรศรีวชิ ัย นักวชิ าการส่วนใหญ่เชอ่ื วา่ อาณาจักรศรวี ชิ ัยมีศูนย์กลางอยู่ทป่ี าเล็มบัง
บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย นับถือพุทธมหายานหรือวัชรยาน ภายใต้การอุปถัมภ์ของ
กษัตริย์ราชวงศ์ ไศเลนทร์ หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่า ท่ีปาเล็มบัง มีภิกษุมากกว่า 10,000 รูป ท่าน
อตีศะ เคยมาศึกษาที่น่ี ก่อนเข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนาในทิเบต ศิลปะทางพุทธศาสนาของศรีวิชัย
แพร่หลายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า ศิลปะศรีวิชัย ส่งก่อสร้างท่ีย่ิงใหญ่ คือ บุโรพุทโธ
(สร้างเม่ือราว พ.ศ. 1323) ในเกาะชวา อาณาจักรศรีวิชัยเส่ือมลงเนื่องจากความขัดแย้งกับราชวงศ์
โจฬะในอินเดยี กอ่ นจะรบั อิทธิพลอารยธรรมอสิ ลามในพุทธศตวรรษท่ี 18

67 พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยตุ โฺ ต),เรื่องเดียวกนั ,หนา 17.
68 พระธรรมปฎก(ป.อ.ปยตุ ฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสนฉบับประมวลศพั ท,พิมพคร้งั ท่ี 10, (กรงุ เทพฯ
: บริษัท เอส.อาร.พร้นิ ต้ิง แมส โปรดกั สจาํ กดั , 2546), หนา 261-262.

45

อาณาจักรขอม ในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 14 – 18 พุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดู
รุ่งเรืองในอาณาจักรขอม มีการสร้างศาสนสถานมากมายท้ังในไทยและกัมพูชา รวมทั้งนครวัด
มหายานรุ่งเรืองท่ีสุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันท่ี 7 ผู้สร้าง นครธม มหายานเสื่อมลงในพุทธศตวรรษ
ที่ 16 ไล่เล่ียกบั ความเส่อื มของมหายานในอนิ เดีย คงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวยี ดนาม

ภาพที่ 2.3 : การแพร่กระจายของศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ในเอเชียะวันออกเฉยี งใต้
จากน้ันพุทธศาสนา นิกายเถรวาทเข้ามามีอิทธิพลแทนที่ เน่ืองจากศาสนาพุทธในอินเดีย

เริ่มเส่ือมลงตั้งแต่ราว พ.ศ. 1600 – 1700 เนื่องมาจากการทําสงครามกับชาวมุสลิมท่ีเข้ามารุกราน
อินเดีย ซึ่งทําให้การนับถอื พทุ ธศาสนามหายานในเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้เสือ่ มลงดว้ ย ในช่วงเวลาน้ัน
การค้าขายทางทะเลระหว่างตะวันออกกลางไปยังจีนผ่านทางศรลี ังกาเริ่มเฟื่องฟขู ึ้น และเป็นช่วงเวลา
เดียวกับท่ีมีการฟ้ืนฟูนิกายเถรวาท ท่ีใช้ภาษาบาลีท่ีศรีลังกาอีกคร้ัง นิกายนี้ จึงแพร่หลายไปสู่เอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้

พระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์ผู้ก่อต้ังจกั รวรรดิพม่าครัง้ แรก เป็นผู้รับพุทธศาสนาเถรวาท
ลัทธิลังกาวงศ์นี้เข้าสู่พม่า มีการสร้างเจดีย์ในเมืองหลวงมากมาย แม้ในกาลต่อมา อํานาจของพม่า
เสื่อมถอยลง เพราะถูก มองโกล รุกรานและไทยมีอํานาจขึ้นแทน พุทธศาสนานิกายเถรวาทก็ยังคง
เปน็ นิกายหลกั ในพมา่

พุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกาแพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทย ท่ีนครศรีธรรมราชและ
สุโขทัย เมื่อราว พ.ศ. 1800 และยังคงนับถือสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน พุทธศาสนานิกายเถรวาทได้
แพรห่ ลายจากไทยไปยังลาวและกัมพูชา ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของไทยมาก่อน ส่วนดินแดนใน
เขตหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เคยนับถือนิกายมหายานเปล่ียนไปนับถือศาสนาอิสลาม
เกือบท้ังหมด

46

พระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี(อู่ทอง) พระมหาโมคคัลลีบุตรสังฆเถระไดดําเนินการ
สังคายนาคร้ังท่ี 3 ณ กรุงปาฏลีบตุ ร เสร็จสิ้นเม่ือปพุทธศักราช 23669 ไดเสนอใหมีการจดสงพระเถระ
ไปประกาศพระพุทธศาสนาใน ดินแดนตางๆพระเจาอโศกมหาราชทรงเห็นด้วย การสงสมณทูตไป
ประกาศพระพุทธศาสนาใน ดินแดนตาง ๆ ถึง 9 สายจึงเกดิ ขึ้น พระโสณะและพระอุตตระอรหนั ต พร
อมดวยพระอรหันตสหายกันอีก 5 รูป เปนสายท่ี 8 ไดเดินทางมุงสูรัฐสุวรรณ ภูมิ ทําให
พระพทุ ธศาสนามีโอกาสแผไปไกลท่สี ดุ เทาทเี่ คยมมี า 70

สอดรับกับตํานานหรือเอกสารทางศาสนาท่ีกลาววา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 พระ
เจาอโศกมหาราชทรงสงสมณทูตสายท่ี 8 มีพระโสณะและพระอุตตระเปนหวหนามายังดนแดน
สุวรรณภูมิ71 เพื่อเผยแผพระพุทธศาสนา ซ่ึงไทยเช่ือวา ไดแกจังหวัดนครปฐมและเมืองอู่ทอง72
แลวประดษิ ฐานพระพทุ ธศาสนาจนเป็นปกแผนแพร่หลาย

ในการเดนิ ทางมานนั้ อาจารยธนิต อยูโพธิ์73 ไดสนั นิษฐานวา พระเจาอโศกมหาราชนาจะ
ทรงฝาก พระโสณเถระกับพระอุตตรเถระ ใหเดินทางมากับนายเรือและพอคาพาณิช ท่ีทาตามรลิปติ
เชนเดียวกับที่โปรดสง พระมหินทเถระและพระสังฆมิตตาเถรี มายังลังกาทวีป หรือ บางทีอาจทรง
มอบหมายให้ผูรภู ูมิประเทศ และรูจักประชาชนแถบน้ีดี และเคยไปมาติดตออยูกอนใหเปนผู้กํากับนํา
มาดวยก็ได้หรืออาจมชี าวอินเดียที่มาต้ังภูมลิ ําเนาอยู และเปนท่ีนับถือยกยองของประชาชนในถ่ินนไี้ ด
ติดตอกันไวกอน หรือบางทีอาจมีหัวหนาในทองถิ่นท่ีเคยไปอินเดียคอยตอนรับอยูก็ได พระเถระท้ัง
สอง อาจใชเวลาเดินทางแรมปและมาข้ึนฝง ณ เมืองทาทางฝงทะเลตะวันตกแหงใดแหงหนึ่ง ต้ังแต
อาวเมาะตะมะ ลงไปจนทองท่ีจังหวัดตรงั

อาจารยผาสุข อินทราวุธ 74 ไดคนพบหลักฐานวา ที่เมืองอู่ทองมีรองรอยการติดตอ
แลกเปลี่ยนสินคากับอินเดียต้ังแตสมัยราชวงศโมริยะ-ศุงคะ(พุทธศตวรรษท่ี3-5) และเปนเมืองรวม
สมัยกับชุมชนโบราณท่ีบานดอนตาเพชรเจริญสืบตอมาจนกลายเปนศูนยกลางการค้าสําคัญ ในสมัย
อินโด-โรมัน(พุทธศตวรรษที่6-9) จนถึงสมัยคุปตะ(พุทธศตวรรษที่9-11) และสมัยหลังคุปตะ
(พุทธศตวรรษที่ 12-13)

พอคาชาวพทุ ธจากลุมแมนํ้ากฤษณา-โคทาวรี เดินทางเข้ามาติดตอคากับชาวทวารวดี ได
นําเอาพระพุทธศาสนาจากศูนยกลางพุทธศาสนาในอินเดียใต เขามาเผยแพรใหชุมชนโบราณที่เมือง
อูทอง ดวยหลักฐานคือประติมากรรมดินเผารูปพระภิกษุ 3 องค และประติมากรรมปูนปนรูปพระ
พุทธรูปนาคปรกศลิ ปะแบบอมราวดี อ้มุ บาตร ศลิ ปะแบบอมราวดี

69 พระพรหมโมล(ี วลิ าศ ญาณวโร ป.ธ.9),วิปสสนาวงศ: พิมพในงานพระราชทานเพลิงศพพระ พรหม
โมลี (วลิ าศ ญาณวโร), ม.ป.พ., หนา 32.

70 พระอุดรคณาธิการ ,ประวัติวัติศาสตรพระพทุ ธศาสนาในอนิ เดีย ,หนา 290-302., มหาวสํ .(บาล)ี .
12/1-11/81-82.

71 วิ.อ.(บาล)ี 1/58, มหาวสํ .(บาลี) 1/6/82.
72 พระธรรมปฎก, (ป.อ. ปยตุ โฺ ต), จาริกบุญ – จารึกธรรม, หนา 494.
73 ธนิต อยูโพธ,ิ์ สุวณั ณภูมิ, (พระนคร: หางหุนสวน จาํ กัด, 2510), หนา 75.
74 ผาสุข อินทราวธุ , สุวรรณภมู ิจากหลักฐานทางโบราณคดี,หนา 105-109.

47

ขณะที่ทางภาคใตก็มีการคนพบจารึกคาถา เย ธมฺมา 2 หลักท่ีไทรบุรี อายุราว พุทธ
ศตวรรษท่ี 8-11 อาจจัดเปนจารกึ ของไทยด้วยก็ไดเนื่องจากบริเวณที่พบเคยเปนดินแดนส่วนหน่ึงของ
ไทยมากอน75

อยางไรก็ตาม เมื่อวิเคราะหแลวอาจกลาวเป็น 2 กรณี โดยไมอาจท้ิงประเด็นทั้ง 2 นี้ไป
ไดคือ

(1) จากหลักฐานตํานาน อาจกล าวไดวา มีการกลาวถึงการเขามาของ
พระพทุ ธศาสนา ตั้งแตครง้ั พระเจาอโศกมหาราช อยูในช่วงพทุ ธศตวรรษที่ 3-6

(2) หลักฐานทางศิลปกรรมท่ีพบมี อายุเกาท่ีสุดราวพุทธศตวรรษท่ี 8-11 เทาน้ัน
จงึ ยังไมอ่ าจยุตไิ ดขณะนี้

25.1 อูท่ องเมืองทา่ โบราณและศนู ย์กลางพระพทุ ธศาสนายุคแรก 76

เมืองอู่ทองตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ําจระเข้สามพัน (แม่น้ําน้ีแยกตัวจากแม่น้ํา
สุพรรณบุรีหรือแม่น้าํ ทา่ จีนในบริเวณทเ่ี ปน็ อําเภอสามชกุ ในปจั จุบนั ) ตาํ บลท่าพระยาจักร (ปัจจุบนั คือ
ตําบลอู่ทอง) อําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยต้ังอยู่ทางตะวันตกของอําเภอเมือง (อยู่ห่างกัน
ประมาณ 30 กโิ ลเมตร)

ผังเมืองอู่ทองเป็นรูปวงรีตามแนวทิศตะวนออกเฉียงเหนือตะวันตกเฉียงใต้ มีขนาดกว้าง
700 เมตร ยาว 1,650 เมตร มีเนื้อท่ีประมาณ 976 ไร่เศษ มีคูนํ้าดินล้อมรอบเมือง (คูน้ํากว้าง
ประมาณ 20 เมตร) เคยปรากฏว่ามีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลงแต่ปัจจุบันน้ีปรักหักพัง และถูก
เกล่ือนทําถนนไปหมดแล้ว ส่วนทางด้านตะวันออก (หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง) แต่เดิมมี
แนวป้อมกราการเช่นกัน ต่อมาถูกตัดออกเพ่ือสรา้ งถนนมาลัยแมนอย่างไรก็ตามทางด้านทิศตะวันตก
ยังมเี นนิ ดินเปน็ แนวปรากฏอยจู่ นถึงปจั จุบนั

สภาพภมู ิศาสตร์ของเมอื งอูท่ อง เปน็ เมืองที่ตง้ั อยู่บนทีร่ าบเชิงเขาหลายลูกสลบซับซอ้ นกัน
อยู่ทางด้านตะวันตกของตัวเมือง เป็นเทือกเขาท่ีประกอบด้วย เขาทุ่งดินดํา เขาพุทอง เขาตาแก้ว
เขารางกะเปิด ซ่ึงเปรียบเสมือนกําแพงใหญ่ป้องกันข้าศึกไปในตัว และยังเป็นต้นกําเนิดของลําห้วย
รวกกับลําห้วยทางนาค ซ่ึงจะนํานํ้าจากทิวเขาไหลลงส่คู ูเมือง ส่วนพื้นท่ีด้านตะวนั ออกของเมืองอทู่ อง
เป็นพ้ืนที่ลาดต่ําลงมาจนถึงแม่นํ้าสุพรรณบุรี (แม่นํ้าท่าจีน) และต่อไปถึงที่ราบลุ่มซ่ึงเป็นพ้ืนท่ีมี
หลกั ฐานวา่ เคยเป็นทะเลมากอ่ น

จากการสํารวจทางโบราณคดี โดยนักโบราณคดีของกรมศิลปากร771 ได้พบหลักฐานว่า
ภายในตัวเมืองอู่ทองและนอกเมืองพบโคกเนินดินต้ังอยู่เป็นหย่อมๆ จํานวนไม่น้อยกว่า 20 แห่ง โคก

75 สุภาพรรณ ณ บางชาง รศ., วิวัฒนาการงานเขียนบาลีในประเทศไทย: จารึก ตาํ นาน พงศาวดาร
สาสน ประกาศ, (กรงุ เทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2529), หนา 16.

76 ศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี (กรงุ เทพฯ
: โรงพิมพอ์ ักษรสมยั 2542), หน้า 101-106 และ หนา้ 177-178

48

เนินดินเหล่าน้ีเป็นท่ีต้ังของสถูปเจดีย์โบราณ ซ่ึงกรมศิลปากรได้ดําเนินการขุดแต่งไปเป็นบางส่วน
พบว่าเป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองประมาณ 10
กิโลเมตร เป็นท่ีตั้งของกลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน ซ่ึงเดิมสันนิษฐานว่าเป็นเพนียดคล้องช้าง แต่
ปจั จบุ นั นไ้ี ดม้ ผี ูท้ าํ การศกึ ษา

สรุปไวว้ ่าเป็นอ่างเก็บนํ้า78 ส่วนโบราณวัตถุท่ีพบภายในตัวเมืองและนอกเมืองน้ัน มีต้ังแต่
โบราณวตั ถุสมัยก่อนประวตั ศิ าสตรจ์ นถงึ สมยั ประวัติศาสตร์

1) ความสาํ คญั ของเมอื งอู่ทองก่อนสมยั ทวารวดจี ากหลกั ฐานทางโบราณคดี

ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี 79 ได้ทําการศึกษาค้นคว้าเร่ืองราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของ
เมืองอู่ทองและสรุปไว้ว่า เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว มีคนก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่เข้ามาต้ัง
ถ่นิ ฐานอยู่ท่ีอําเภออู่ทองและน่าจะอยู่ต่อลงมาถึง ยุคสําริดและยคุ เหล็ก เพราะตรวจดูลูกปัดหลายลูก
มีลักษณะคล้ายแบบของยุคสําริดและยุคเหล็ก เช่นท่ีพบท่ีจังหวัดลพบุรี และจากการค้นพบตุ้มหู่ท่ีทํา
ด้วยหินสีเขียว 2 แบบ80 คือตุ้มหูรูปสัตว์ 2 หัว และตุ้มหูรูปวงกลมมีดอกไม้ตูมยื่นออกมา 3 ตุ้ม ซ่ึง
เป็นเครื่องประดับในวัฒนธรรมซาหุญ81 (Sa Hyunh) อันเป็นวัฒนธรรมยุคโลหะทีเจริญรุ่งเรืองข้ึนใน
บริเวณมณฑล กวงหนํา-ดานัง (Quang Nam-Danang) และมณฑลกวงงาย (Quang Ngai) ในภาค
กลางของเวียดนามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 1-5 (500-100 ปีก่อน ค.ศ.) นําไปสู่ข้อสมมติฐานท่ีว่า เมือง
อู่ทองเคยเป็นศูนย์กลางการติดต่อใต้ต้ังแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายและร่วมสมัยกับ
ศูนย์กลางแห่งอื่นๆ ท่ีต้ังอยู่ในประเทศไทย เช่น ดอนตาเพชร (กาญจนบุรี) และเขาสามแก้ว (ชุมพร)
และที่ถา้ํ ดยู อง และถํ้าตาบอนและทต่ี ั้งอย่ใู นประเทศมาเลเซีย82เชน่ ถ้ํานีอาห์

ศูนย์กลางการติดต่อแลกเปล่ียนสินค้า ระหว่างชุมชนโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออก
เฉยี งใต้ ตั้งแตส่ มัยกอ่ นประวัตศิ าสตร์ตอนปลาย

นอกจากจะมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการติดต่อแลกเปล่ียนสินค้าระหว่างชุมชนโบราณใน
ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ยังมีหลักฐานเดน่ ชัดที่แสดงวา่ อู่ทอง ได้ติดตอ่ แลกเปล่ียนสินค้า

77 สมศักด์ิ รัตนกุล รายงานการสํารวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง กรมศิลปากร
จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดําเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 13
พฤษภาคม 2509

78 ศิลปากร, กรมโบราณคดีคอกช้างดิน สํานักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2
สพุ รรณบุรี (กรงุ เทพฯ : ฟันน่ี พบั ลชิ ช่งิ , 2545).

79 ชิน อยู่ดี “เร่ืองก่อนประวัติศาสตร์ท่ีอําเภออู่ทอง” โบราณวิทยาเร่ืองเมืองอู่ทอง กรมศิลปากร
2509 หน้า 46-50.

80 ชิน อยู่ดี “คนก่อนประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ออกทะเล” วารสารโบราณคดีปีท่ี 6 ฉบับท่ี 4
พ.ศ.2519 หน้า 21-30.

81.Ha Van Tan, “Earrings with two animal heads and Dong Son-Sa Huynh relation -
ship”, New Archaeology Discoveries Hanoi, 1977.

82 Lucas Chin “Niah Caves” Cultural Heritage of Sarawak, Sarawak Museum, Kuching,
1980 Chapter Two, pp.5-12

49

กับประเทศอินเดียในช่วงยุคเหล็กตอนปลาย ซ่ึงตรงกับสมัยราชวงศ์เมาริยะ-ศุงคะ ของอินเดีย (พุทธ
ศตวรรษท่ี 3-5) ดังได้พบสินค้าจากอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท ลูกปัด หินคาร์เนเลียน
หินอะเกต ทั้งแบบเรยี บ และแบบท่ีตกแต่งโดยการสกดั ผิวและฝังสี (etched beads) ในบริเวณเมือง
อูท่ อง83 เปน็ จาํ นวนมาก และเพ่มิ มากข้นึ ในสมยั หัวเลี้ยวประวตั ศิ าสตร์ (ราวพทุ ธศตวรรษที่ 6-9)

ในสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ได้พบหลักฐานว่า ชุมชนโบราณในเมืองอู่ทองมีการติดต่อ
คา้ ขายกับอินเดียในสมยั อินโด-โรมัน (ราวพุทธศตวรรษท่ี 6-9) ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์กุษาณะ-คปุ ตะ
ในอินเดียภาคเหนือ และสมัยราชวงศ์ศาตวาหนะ-อิกษวากุ ในอินเดียภาคใต้ ซึ่งเป็นช่วงท่ีอินเดีย
ติดต่อค้าขายกับโรมัน และมีการตั้งถิ่นฐานของชาวโรมันในอินเดียด้วย ดังน้ันจึงได้พบสินค้าของ
อนิ เดีย สินค้าของโรมนั และสนิ ค้าแบบอนิ โด-โรมนั (เลียนแบบสินค้าโรมัน) ในบริเวณเมืองอู่ทองและ
บริเวณใกล้เคยี ง เชน่ พงตกึ (กาญจนบุรี)

โบราณวัตถุสําคัญท่ีแสดงหลกั ฐานการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากับชาวอินเดียอย่างเป็นล่ํา
เป็นสันคือ ลูกปัดชนิดต่างๆ ที่พบเป็นจํานวนมากในตัวเมืองอู่ทอง และบริเวณใกล้เคียงมีท้ังที่ทําด้วย
หินแก้ว และท่ีเป็นทองกพ็ บด้วย แต่ลูกปัดท่ีเมืองอู่ทองน้ีส่วนใหญ่จะได้จากการขุดพบโดยบังเอิญ จะ
มีส่วนน้อยท่ีได้จากการขุดค้นอย่างมีระบบ นอกจากลูกปัดแล้วยังได้พบเหรียญโรมันซึ่งจัดเป็น
หลกั ฐานสําคัญท่ีแสดงวา่ มกี ารติดต่อค้าขายกับโลกตะวนั ตก โดยเฉพาะกับชาวโรมันโดยตรงหรือโดย
ทางอ้อม (คือติดต่อค้าขายกับชาวอินเดียในสมัยอินโด-โรมันซ่ึงจัดเป็นหลักฐานสําคัญที่แสดงว่ามีการ
ติดต่อค้าขายกับโลกตะวันตก โดยเฉพาะกับชาวโรมันโดยตรงหรือโดยทางอ้อม (คือติดต่อค้าขายกับ
ชาวอนิ เดยี ในสมัยอนิ โด-โรมันของอนิ เดีย) และยงั พบเครอ่ื งประดับทองคําจาํ นวนมาก

1.ลกู ปดั 84 ภายในเมอื งอู่ทองและบรเิ วณบางแหง่ ในอาํ เภออ่ทู อง มีผู้พบลูกปดั โบราณมาก
มีทั้งท่ีทําด้วยหินแก้ว และที่เป็นทอง แต่ส่วนใหญ่ได้จากการขุดพบโดยบังเอิญ ไม่ได้จากการขุดค้น
อยา่ งมรี ะบบ

1.1. ลูกปัดหิน ลูกปัดหินที่พบมีท้ังท่ีทําด้วยหินควอตซ์ หินคาร์เนเลียน หินอะเกต
หนิ โอนิกซ์ และหินคาลซโิ ดนี ท้งั แบบเรียบและแบบที่มกี ารตกแต่งด้วยการฝงั สี (etched beads) ซ่ึง
ก็เป็นลกู ปัดร่วมสมยั กับท่ีพบที่แหล่งโบราณคดี บ้านดอนตาเพชร อาํ เภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
ลูกปัดหินคาร์เนเลยี นพบท่ีเมอื งอ่ทู องจงั หวดั สุพรรณบุรี

1.2. ลูกปัดแก้ว ลูกปัดแก้ว ที่พบมีทั้งลูกปัดแก้วสีเดียวและลูกปัดแก้วหลายสีแบบมี
แถบสี (Striped beads) และแบบมีตา (eye beads) มีหลายขนาด

1.2.1. ลูกปัดแก้วสีเดียว สําหรับลูกปัดสีเดียวส่วนหน่ึงคงเป็นของนําเข้าจาก
ต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศอินเดียเนื่องจากมีการติดต่อค้าขายของกันต้ังแต่สมัยราชวงศ์โมริ
ยะ (พุทธศตวรรษที่ 3) เป็นต้นมา ซ่ึงเป็นช่วงท่ีอินเดียมีการผลิตมีการผลิตลูกปัดแก้วส่งเป็น
สินค้าออกอย่างเป็นลํ่าเป็นสัน แต่อีกส่วนหน่ึงคงเป็นลูกปัดแก้วที่ผลิตโดยชาวพ้ืนเมือง (เช่น แหล่ง
ผลติ ใหญ่ท่ีคลองทอ่ มจังหวัดกระบ่ี)

83 ชิน อยูด่ ี “ลูกปดั ท่เี มอื งเก่าอูท่ อง” โบราณวิทยาเรอื่ งเมอื งอ่ทู อง, หน้า 51-60
84 อ้างแลว้ ,.ลกู ปัดทเี่ มอื งเก่าอู่ทอง, หนา้ 61.

50

1.2.2. ลูกปัดแก้วหลายสี ท่ีเมืองอู่ทองได้พบลูกปัดแก้วหลายสีแบบท่ีนิยม
เรียกกันว่าลูกปัดโรมัน ทั้งแบบที่มีแถบสีหลายสีสลับกัน (striped beads) ซึ่งมีทั้งสีแดง ดํา ขาว
เหลือง และเขียว และแบบท่ีเรียกว่าลูกปัดมีตา (eye beads) ซึ่งท่ีอู่ทองพบทั้งแบบท่ีมีพื้นดําตาสี
มว่ ง พนื้ นา้ํ เงินตาสขี าวและพ้ืนขาวตาสนี ํา้ เงิน

ลูกปัดแก้วหลายสีและลูกปัดแก้วมีตาแบบน้ีมีแหล่งผลิตอยู่แถบเมดิเตอร์เรเนียนใน
อาณาจักรกรีก อาณาจักรโรมัน รวมทั้งอาณาจักรเปอร์เซียตั้งแต่ช่วง 800 ปีก่อน ค.ศ.ถึง
คริสต์ศตวรรษท่ี 1 การพบลูกปัดแก้วหลายสีและลุกปัดแก้วมีตามในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อสมัยแรกเร่ิมประวัติศาสตร์ใน
เอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่พบร่วมกับลูกปัดหินคารเ์ นเลยี นและอะเกต หรือโบราณวตั ถุจาก
อินเดียประเภทอื่นๆ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าลูกปัดดังกล่าวคงมาจากเมืองท่าของอินเดีย ร่วมกับ
โบราณวัตถุอ่ืน ๆ ของอินเดียต้ังแต่ช่วงสมัยราชวงศ์เมาริยะ-ศุงคะ (พุทธศตวรรษที่ 3-5) ปกครอง
อินเดียซึ่งเป็นช่วงที่อินเดียเริ่มติดต่อค้าขายกับโลกตะวันตก จึงหลั่งไหลเข้ามายังเมืองท่าของอินเดีย
และถูกส่งต่อมายังเมืองท่าต่างๆ ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเมืองอู่ทอง เมืองออกแก้ว
(เวยี ดนามใต้) เป็นตน้

2. เหรียญโรมัน85 การค้นพบเหรียญกษาปณ์ของโรมันซึ่งเป็นเหรียญทองแดงของ
จักรพรรดิ วิคโตรินุส แห่งราชอาณาจักรโรมันตะวันตก (พ.ศ.811-813) ที่เมืองโบราณอู่ทอง ย่อม
จัดเป็นหลักฐานทสี่ อดคล้องกับโบราณวัตถุแบบโรมัน เชน่ ตะเกียงโรมนั และโบราณวตั ถุท่ีมถี ่นิ กาํ เนิด
จากโลกตะวันตก เช่น ลูกปัดแก้วหลายสี ที่พบตามเมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้าโบราณในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ทพ่ี งตกึ (กาญจนบรุ ี) ในภาคกลางของไทย ท่คี วนลูกปัด (กระบ่ี) ในภาคใตข้ อง
ไทย และท่ีออกแก้ว (เวยี ดนามใต้) ซึ่งจัดเป็นเมืองท่าโบราณท่ีมรี ่องรอยการติดต่อค้าขายกับอินเดียใน
สมยั อนิ โด-โรมัน

2) ความสาํ คญั ของเมอื งอ่ทู องในสมัยทวารวดี

เมืองอู่ทองจัดว่า เป็นเมืองโบราณที่สําคัญและอยู่ในความสนใจของนักวิชาการด้าน
ประวัติศาสตร์และดานโบราณคดี ทั้งท่ีเป็นชาวไทยและชาวต่างชาติ นักวิชาการดังกล่าวน้ีได้กล่าวถึง
บทบาทของเมืองอู่ทองว่ามีความสําคัญมาต้ังแต่สมัยก่อนประวัติจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ และได้ตั้ง
ขอ้ สมมติฐานเกี่ยวกับบทบาทของเมอื งอ่ทู องในยคุ สมยั ต่างๆ ไวอ้ ยา่ งน่าสนใจ ดงั นี้

2.1) ความสาํ คญั ของเมืองอู่ทอง:จากข้อสมมติฐานของนกั วิชาการในอดตี

นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า เมืองอู่ทองมีความเก่าแก่ย่ิงกว่าเมืองโบราณสมัย
ทวารวดีเมอื งอนื่ ๆ เชน่ เมืองนครปฐมโบราณและเมอื งคูบัว นายพอล วิทลีย์86 ลงความเห็นว่า รัฐท่จี ีน
(ในจดหมายเหตุจีนราชวงศ์เหลียง) เรียกว่า “จินหลิน” ซึ่งเป็นรัฐสุดท้ายท่ีพระเจ้าฟันมันกษัตริย์ผู้

85 J. Boisselier, “Travaux de la mission arche ologique francaiseen Thailand
(Juillet-Novembre 1966) Arts Asiatiques XXV (1972) p.29 fig.3

86 Paul Wheatley The Golden Khersoese : Studies in the Malay Peninsula Before
1500 A.D. Kuala Lumper, University of Malaya Press, 1966, pp. 116-117

51

ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรฟูนันปราบได้ในช่วงคริสต์ศตวรรษท่ี 3 (ราวพุทธศตวรรษที่ 9) น้ันคงต้ังอยู่ท่ี
เมืองอู่ทอง เนื่องจากคําว่า “จินหลิน” ซึ่งเป็นรัฐสุดท้ายท่ีพระเจ้าฟันมันกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่ง
อาณาจักรฟูนันปราบได้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 (ราวพุทธศตวรรษที่ 9) นั้นคงต้ังอยู่ที่เมืองอู่ทอง
เน่ืองจากคําว่า “จินหลิน” หมายถึงดินแดนแห่งทองหรือสุวรรณภูมิ และเป็นรัฐที่ต้ังอยู่ห่างจาก
อาณาจักรฟูนันมาทางตะวันตกประมาณ 2,000 ล้ี (800 กิโลเมตร) ซึ่งตรงกับบริเวณเมืองอู่ทอง
นอกจากนี้ จีนยังระบุไว้ว่า ประชาชนของรัฐนี้นิยมการคล้องช้างป่า ดังปรากฏหลักฐานว่า มีเพนียด
คล้องชา้ ง (โบราณสถานคอกช้างดิน) อยู่ใกล้ๆ เมืองอู่ทอง (แต่เดิมสันนิษฐานว่าเป็นเพนียดคล้องช้าง
แต่ปัจจุบันนี้ มีผู้สันนิษฐานว่า เป็นอ่างกักเก็บนํ้า ดังได้กล่าวมาแล้ว) และว่า รัฐน้ีเป็นพื้นที่ ที่เป็น
แหลง่ แร่เงิน ซงึ่ นายพอล วทิ ลีย์ กลา่ วว่า นา่ จะนําแรเ่ งนิ มาจากรัฐฉานในประเทศพมา่ มากกวา่

ในบทความของศาสตราจารย์ฌอง บวสเซอลีเยร์เรื่อง “เมืองอู่ทองและความสําคัญของ
เมืองอู่ทองในประวัติศาสตร์ไทย”87 นั้นทา่ นได้ต้ังข้อสมมติฐานไว้ว่า เมืองอูท่ องเป็นเมืองหลวงของรัฐ
ทวารวดีเนื่องจากเมืองอู่ทองเป็นเมืองเดียวที่พบจารึก ท่ีกล่าวถึงพระนามของกษัตริย์ทวารวดี (จารึก
บนแผ่นทองแดง) คือพระเจ้าหรรษะวรมัน อันเป็นพระนามกษัตริย์ท่ีไม่รู้จักกันในราชวงศ์เจนละใน
สมยั นน้ั และยังจารึกบนแผ่นทองแดงซง่ึ รัฐท่เี จนละไม่ใช้ อกี ทงั้ ระยะทางยังไกลเกินกวา่ ที่จะคดิ ไปว่า
จารึกนี้ถูกนําเข้ามา ดงั น้นั จึงควรเช่ือได้ว่าจารึกนี้เปน็ จารกึ แผ่นแรกที่จารึกพระนามพระเจ้าหรรษะวร
มันแห่งรัฐทวารวดี และสถานท่ีที่พบคือ อู่ทองก็ควรจะเป็นเมืองหลวงของพระองค์และในบทความ
เร่ือง “ทฤษฏีใหม่เกี่ยวกับสถานท่ีตั้งอาณาจักรฟูนัน”13 ของศาสตราจารย์ฌอง บวสเซอลีเยอร์ น้ัน
ทา่ นได้ต้ังขอ้ สมมตฐิ านไว้ว่า ราชธานีของอาณาจกั รลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาบริเวณเมืองอ่ทู อง แต่ดินแดน
แถบลุ่มแม่น้ําโขงนั้นเป็นดินแดนที่ถูกปราบปรามเน่ืองจากวัฒนธรรมแบบฟูนัน ที่เมืองออกแก้วไม่ได้
สืบต่อลงไปในวฒั นธรรมแบบเจนละแต่ขาดหายไป “เคร่ืองประดับทําด้วยทองหรือดีบุกรวมทง้ั ลูกปัด
ซ่ึงค้นพบเป็นจํานวนมากและเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ ท่ีค้นพบที่เมืองออกแก้วไม่ปรากฏมีใน
อาณาจักรเจนละตรงกันข้ามกับอาณาจักรทวารวดี ซึ่งเป็นผู้สืบต่อโดยตรงจากอาณาจักรฟูนันนั้น มี
การสืบต่อในการใช้โบราณวัตถุแบบเดียวกัน เคร่ืองป้ันดินเผาแบบเดียวกันลงไปจนถึงสมัยทวารวดี
และวัตถุเหล่าน้ีก็มีวิวัฒนาการไปอย่างช้าๆ จากประติมากรรมและภาพสลักนูนตํ่าในศิลปะทวารวดี
เราก็อาจทาบวิธีใชเ้ คร่อื งอาภรณ์ที่คน้ พบทีเ่ มืองออกแก้ว และไม่เคยทราบกันวา่ ใชท้ าํ อะไรมาก่อน”

2.2) ความสําคัญของเมืองอู่ทองในสมัยทวารวดี : จากข้อสมมติฐานของ
นักวชิ าการในปัจจุบัน ผลการศกึ ษาและวเิ คราะหจ์ ากหลักฐานด้านโบราณคดี นําไปสูข่ ้อสมมตฐิ านได้
วา่ เมืองโบราณอู่ทองเปน็ เมืองท่ีมคี วามเก่าแกก่ วา่ เมอื งโบราณสมัยทวารวดีเมืองอื่นๆ และเปน็ เมืองที่
มีบทบาทหลายดา้ น ดังนี้

2.2.1) มีบทบาทเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการค้าสําคัญของรัฐทวารวดี
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าเมืองอู่ทองเป็นเมืองท่ีมีร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชนมาต้ังแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ มีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนในภูมิภาคเดียวกัน (เวียดนามและจีนใต้)

87 ฌอง บวสเชอลิเยร์ “ทฤษฏีใหม่เก่ียวกับท่ีต้ังอาณาจักร ฟูนัน” เก็บความโดย มจ.สุภัทรดิศ
ดิศกุล ใน โบราณวิทยาเรอื่ งเมืองอู่ทอง หนา้ 11-20

52

ต่อมามีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าสําคัญท่ีมีร่องรอยการติดตอ่ ค้าขายกับอินเดยี ตั้งแต่สมัยยุคเหล็ก
ตอนปลาย หรือสมัยราชวงศ์เมาริยะ-ศุงคะ (พุทธศตวรรษท่ี 3-5) ซึ่งจัดว่าอยู่ร่วมสมัยกับชุมชน
โบราณท่ีบ้านดอนตาเพชรและเจริญสืบต่อมาจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าสําคญั ในสมัยอินโด-โรมัน
(พุทธศตวรรษที่ 6-9) ดังได้พบสินค้าแบบอินเดียและแบบโรมันหรือแบบอินโด-โรมัน) มีลักษณะ
คล้ายคลึงกับสนิ ค้าต่างชาติที่พบท่ีเมอื งออกแก้ว (เวียดนามใต้) ซ่ึงนกั ประวัตศิ าสตร์สันนิษฐานว่า เป็น
เมืองท่าของรัฐฟูนัน แต่ถ้าพิจารณาจากการกระจายตัวของสินค้าแบบโรมันหรือแบบอินโด-โรมัน ที่
พบตามเมืองโบราณในดินแดนด้านตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงสมัยอินโด-โรมันของอินเดีย จะพบว่า
เมืองอู่ทองเป็นหนึ่งในหลายเมืองที่เคยเป็นศูนย์กลางหรือเมืองท่าสําคัญท่ีติดต่อค้าขายกับอินเดียใน
สมัยอินโด-โรมัน จัดเป็นเมืองท่าร่วมสมัยกับเมืองเบกถโน (พม่า) เมืองออกแก้ว (เวียดนามใต้) เขา
สามแก้ว จังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง และแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด
อําเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ (ประเทศไทย) และแหล่งโบราณคดีอีกหลายแห่งในเขตประเทศ
มาเลเซียและอินโดนีเซีย ซ่ึงเมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้าโบราณดังกล่าวเหล่าน้ี บางเมืองก็ได้ถูกท้ิง
ร้างไปเน่ืองจากทําเลท่ีตั้งไม่เหมาะสม หรอื เกิดจาการเปล่ียนแปลงด้านสภาพแวดล้อมอันมีผลกระทบ
ให้ชุมชนในเมืองน้ันๆ ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ในพ้ืนที่ที่เหมาะสมกว่า ส่วนบางเมืองได้เจริญรุง่ เรือง
สืบต่อมา และมีบทบาทสาํ คัญในฐานะเมอื งท่าหรอื ศนู ย์กลางการคา้ ของรฐั สาํ คัญๆ เช่น เมืองออกแก้ว
ซึง่ ได้กลายเป็นเมอื งทา่ สําคัญของรัฐฟูนันไป สว่ นเมืองอู่ทองได้กลายเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการค้า
สําคัญของรัฐทวารวดี มีบทบาทเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนายุคแรกของรัฐทวารวดี หลักฐานด้าน
ศิลปกรรมโดยเฉพาะหลักฐานด้านประติมากรรมท่ีแสดงร่องรอยอิทธิพลศาสนาพราหมณ์และศาสนา
พุทธในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เพ่ิงเริ่มปรากฏข้ึนต้ังแต่ช่วงพุทธศตวรรษท่ี 8 เป็นต้นไป
ดังได้พบเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ (พระวิษณุ) และพุทธรูปแบบอมราวดีจากลุ่มแม่นํ้ากฤษณา
ภายใต้การอปุ ถัมภข์ องกษัตริยร์ าชวงศ์อกิ ษวากุ (พุทธศตวรรษท่ี 8-10) ตามเมืองท่าโบราณหลายแห่ง
ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท้ังบนผืนแผ่นดินใหญ่และตามหมู่เกาะต่างๆ เหล่านั้น นักบวชท้ัง
ในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ได้ติดตามพ่อค้าชาวอินเดียเข้ามาต้ังถิ่นฐานและได้นําศาสนา
พราหมณ์และศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่ จนชาวพื้นเมืองเกิดความเลื่อมใสและศรัทธา จึงได้พบว่า
เมืองท่าโบราณบางแห่งที่เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมานั้น ได้กลายเป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์และ
ศาสนาพทุ ธในดินแดนเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้แต่บางแห่งก็ถกู ทิ้งร้างไป เมอื งท่าโบราณที่มีพัฒนาการ
สืบต่อมาจนกลายเป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธท่ีโดดเด่นคือ เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (ในบริเวณ
ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย) ซ่งึ ได้กลายเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่สําคัญแห่งหน่ึงในรัฐทวาร
วดี และเป็นเมืองท่าสําคัญของรัฐทวารวดี ส่วนเมืองท่าโบราณที่กลายเป็นศูนย์กลางของศาสนา
พราหมณ์คือเมืองออกแก้วในประเทศเวียดนามตอนใต้ ซ่ึงมีพัฒนาการมาจากเมืองท่าโบราณจน
กลายเป็นเมืองท่าสําคัญของรัฐฟูนันและเป็นเมืองที่ศาสนาพราหมณ์ได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา และใน
ประเทศพม่ายังได้พบว่า เองเบกถโน ซึ่งเป็นเมืองโบราณและศูนย์กลางการค้าสําคัญของรัฐปยู (เป็น
เมอื งทีต่ ้ังอย่บู นฝง่ั ตะวันตกของแม่น้ําอริ วดี ในตอนกลางของประเทศพมา่ ) ไดก้ ลายเป็นศนู ยก์ ลางของ
ศาสนาพราหมณ์ไวษณพนิกาย อยชู่ ั่วระยะเวลาหนึง่

หลักฐานท่ีเก่าแก่ทสี่ ุดท่ีแสดงว่า พทุ ธศาสนาได้เป็นที่ยอมรับนับถอื ของชาวพื้นเมอื งอู่ทอง
นั้น เริ่มปรากฏในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 หรือก่อนหน้านั้น นั่นคือหลักฐานด้านประติมากรรมดินเผา

53

และปูนปั้นท่ีใช้ประดับศาสนาสถานประเภทสถูปและวิหาร ซ่ึงมีหลายช้ินที่สืบทอดรูปแบบมาจาก
ศิลปะแบบอมราวดีตอนปลาย (พุทธศตวรรษท่ี 8-10) เช่นประติมากรรมดินเผารูปพุทธสาวก 3 องค์
ถือบาตรห่มจีวรห่อคลุม ตามแบบนิยมของศิลปะแบบอมราวดี และประติมากรรมปูนปั้นรูป
พระพุทธรูปนาคปรก ที่ประทับน่ังขัดพระบาทหลวมๆ ตามแบบนิยมของศิลปะแบบอมราวดี รวมท้ัง
คตกิ ารสรา้ งพระพุทธรปู นาคปรก ซึง่ จดั เปน็ คตนิ ยิ มของสกุลช่างอมราวดโี ดยเฉพาะ

ดังน้ันการค้นพบช้ินส่วนประติมากรรมดังกล่าวแม้จะน้อยชิ้น แต่ก็เป็นส่วนของ
ประติมากรรมทปี่ ระดบั ศาสนสถาน ซ่ึงแสดงว่า ได้มกี ารสร้างศาสนาในเมืองน้ี ต้ังแตช่ ่วงพุทธศตวรรษ
ท่ี 8-10 และแม้ว่าพุทธสถานดงั กล่าวจะพังทลายลงไปแลว้ ยังคงเหลือใหเ้ ห็นชิ้นสว่ นประติมากรรมทั้ง
ที่เป็นดินเผาและปูนปั้นท่ีเคยใช้ประดับพุทธสถานดังกล่าว จึงจัดเป็นหลักฐานสําคัญท่ีแสดงว่า พุทธ
ศาสนาได้เป็นท่ียอมรับนับถือของชาวพื้นเมืองอู่ทองแล้วในช่วงเวลาน้ัน และเป็นอิทธิพลพุทธศาสนา
จากศูนย์กลางพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ํากฤษณา (ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย) ซ่ึงอยู่ใต้การ
อุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ (พุทธศตวรรษท่ี 5-8) และสืบต่อโดยราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธ
ศตวรรษท่ี 8-10) โดยมศี ูนยก์ ลางอย่ทู ่เี มอื งอมราวดแี ละเมืองนาคารชุนโกณฑะ

เมืองอมราวดี งานศิลปกรรมยุคต้นท่ีอมราวดี ซ่ึงยึดมั่นเน้นกายเถรวาท เมื่อแสดงภาพ
พุทธประวัติจะใช้สัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น รอยพระพุทธบาท พระพุทธอาสน์ ต้นโพธ์ิ
ดอกบัวและธรรมจักรเป็นตน้ ในยุคกลางแมจ้ ะใช้สัญลักษณ์อยู่บ้าง แต่เริม่ สรา้ งพระพุทธรปู ตามนกิ าย
มหาสงั ฆิกะ (มหายาน)

เมอื งนาคารชุนโกณฑะ เปน็ ศูนยร์ วมพระสงฆ์จากนิกายต่างๆ หลายนิกาย
นกิ ายมหศิ าสกะ ไมน่ ยิ มสรา้ งแม้แตเ่ จติยสถาน
นิกายพหศุ รตู ยิ ะ เน้นการสรา้ งเจติยสถาน ไมบ่ ชู าพระพุทธรปู
นกิ ายไจตยกะ นยิ มสร้างมหาเจดยี แ์ ละการบชู าเจดียว์ ่าเปน็ บอ่ เกดิ แหง่ บญุ กศุ ล
นิกายมหาสังฆกิ ะ (มหายาน) นยิ มสรา้ งพระพุทธรปู
ดังน้ันจึงได้พบว่า ชาวทวารวดีที่เมืองอู่ทองมีความนิยมในการสร้างสัญลักษณ์สําคัญ
(ตามคติความเช่ือของชาวพุทธนิกายเถรวาทคือ ธรรมจักรและกวางหมอบ (ซ่ึงสื่อความหมายตอน
ปฐมเทศนาในป่ากลางที่เมืองสารนาถใกล้เมืองพาราณสี) และธรรมจักรประดิษฐานบนเสา(ซ่ึงส่ือ
ความหมายว่า พระพุทธเจ้าเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ที่เหนือพระอาทิตย์ ด้วยการต่ืนท่ีย่ิงใหญ่และ
การตรัสรู้ธรรมอันประเสรฐิ และยังเปรยี บไดก้ ับต้นไม้แห่งชีวิต) Buddha under Naga(Mucalinda).
Nagarjunakonda, Andhra Pradesh, mid-third century, Limestone, height 16.5 cm,
Victoria and Al-bert Museum, London.

ในขณะเดียวกันก็นิยมสร้างพระพุทธรูป (ตามคติความเชื่อของชาวพุทธนิกายมหาสังฆิกะ
หรือมหายาน) ควบคู่กันไปรวมท้ังยังนิยมสร้างเจดีย์ มหาเจดีย์และบูชาเจดีย์ (ตามคติความเชื่อของ
นิกายไจตยกะ ซึ่งแยกออกมาจากนิกายมหาสังฆิกะ) อันเป็นคตินิยมของนิกายต่างๆ ที่ผสมผสานกัน
อยู่ในลมุ่ แมน่ ํ้ากฤษณา

54

นอกจากนี้ยังพบว่า คติความเชื่อเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานท่ี
ปรากฏอยู่ในเมืองคูบัว จังหวัดราชบรุ ี และแหล่งโบราณคดใี นจังหวัดเพชรบุรี ได้เข้ามาปรากฏในเมอื ง
อู่ทองดว้ ย

แม้ว่าในบริเวณเมืองอู่ทองและเมืองโบราณสมัยทวารวดีเมืองอ่ืนๆ จะได้พบเทวรูป พระ
วษิ ณุ และศิวลงึ ค์ (รวมทั้งมุขลึงค์) จํานวนหน่ึง ซ่งึ แสดงว่า ศาสนาพราหมณ์ทั้งไศวนิกายและไวษณพ
นิกายได้เคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในรัฐทวารวดีควบคู่กับพุทธศาสนา แต่คงจะเป็นศาสนาที่เก่ียวข้องกับ
พธิ กี รรมของกษัตรยิ ์ซึง่ พราหมณเ์ ป็นผูป้ ระกอบพธิ ดี ังกลา่ ว สว่ นศาสนาระดับรฐั นน้ั คอื พทุ ธศาสนา

สรุปได้ว่า เมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนายุคแรกเร่ิมของรัฐทวารวดีและ
เจริญรงุ่ เรืองสืบตอ่ มาและมคี วามสมั พันธ์กบั เมืองทวารวดีเมืองอื่นๆ

2.2.2) มีบทบาทเป็นเมอื งหลวงรนุ่ แรกของรัฐทวารวดี

นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า เมืองหลวงของรัฐทวารวดีน่าจะอยู่ที่เมืองนครปฐม
หรืออู่ทอง นอกจากเมืองนครปฐมและอู่ทองแล้ว เมืองลพบุรีก็จัดเป็นเมืองสําคัญอีกเมืองหนึ่งที่
นักวิชาการหลายท่านลงความเห็นว่าน่าจะเป็นศูนย์กลางของรัฐทวารวดี เพราะได้พบเหรียญเงินมี
จารึกว่า “ลวปุระ” ท่ีอู่ทอง 88 โดยสันนิษฐานว่า เมืองลพบุรีอาจจะเป็นศูนย์กลางด้านตะวันออก
ในขณะท่ีนครปฐมเป็นศูนย์กลางด้านตะวันตก หรือเป็นศูนย์กลางด้านตะวันออก ในขณะท่ีนครปฐม
เป็นศูนย์กลางด้านตะวันตก หรือเป็นศูนย์กลางในฐานะเมืองหลวงของรัฐทวารวดี โดยศึกษาจาก
สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ประกอบกับหลักฐานโบราณวัตถุสถานและหลักฐานเอกสารต่างๆ รวมทั้ง
จดหมายเหตขุ องจนี ตลอดจนจารกึ ทีพ่ บในบริเวณเมอื งดว้ ย

ดังได้พบหลักฐานด้านศิลปกรรมเนื่องในพุทธศาสนาจํานวนมากสําหรับโบราณสถานท่ี
สําคัญๆ ก็มีเจดีย์จุลประโทน พระประโทณเจนดีย์วัดพระเมรุ ซ่ึงนักวิชาการทางโบราณคดีลง
ความเหน็ ว่าเปน็ ศิลปกรรมในวัฒนธรรมทวารวดีที่รับอิทธิพลอนิ เดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะนอกนั้น
ยังพบศิลาธรรมจักรจํานวนมากประมาณ 30 กว่าวง บางวงมีศิลารูปกวางหมอบประกอบอยู่ และยัง
ไดพ้ บพระพทุ ธรปู ตลอดจนพระพิมพ์จํานวนมาก

สําหรับเมืองอู่ทองนั้นนักโบราณคดีได้พบหลักฐานการติดต่อค้าขายกับอินเดียต้ังแต่สมัย
ยุคเหล็กตอนปลายของอินเดีย (พุทธศตวรรษท่ี 3-5) 89 และมีบทบาทเด่นชัดมากในสมัยอินโด-โรมัน
ของอนิ เดีย (พุทธศตวรรษท่ี 6-9) 90 และท่ีเมอื งอู่ทองนี้เองที่พ่อค้าชาวพุทธจากลุ่มแม่น้ํากฤษณา ได้
เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งถิ่นฐานในช่วงสมัยอินโด-โรมัน และได้นําเอาพุทธศาสนาจาก
ศนู ยก์ ลางพุทธศาสนาในอนิ เดียใต้ที่อยใู่ ตก้ ารอปุ ถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศศ์ าตวาหนะ (พุทธศตวรรษท่ี

88 Boeles, J.J. “A note on the ancient city called Lavapura” Journal of the Siam
Society, Vol. LV, Partl (January 1967),.

89 ชิน อยู่ดี “เรื่องก่อนประวัติศาสตร์ท่ีเมืองอู่ทอง” โบราณวิทยาเรื่องเมืองอู่ทอง (กรมศิลปากร
2509), หนา้ 43-50.

90 ผาสุข อินทราวุธ ทวารวดี:การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี,อ้างแล้ว หน้า
104-105, Indrawooth Phasook, Dvara vati Dharmacakra (Bangkok : Saksopa Press, 2008).

55

4-8) และสืบต่อด้วยราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธศตวรรษที่ 8-10) ซ่ึงมีศูนย์กลางงานศิลปกรรมเนื่องใน
ศาสนาอยู่ท่ีเมืองอมราวดีและเมืองนาคารชุนโกณฑะ เข้ามาเผยแพร่ให้ชุมชนโบราณท่ีเมืองอู่ทองดัง
ได้พบประติมากรรมดินเผารูป พุทธสาวก 3 องค์ถือบาตร ห่มจีวรห่มคลุมตามแบบนิยมของศิลปะ
แบบอมราวดี และประติมากรรมปูนปั้นรูปพระพุทธรูปนาคปรก ซ่ึงประทับนั่งขัดพระบาทหลวมๆ
ตามแบบศลิ ปะแบบอมราวดี91

ดังน้ันเมืองอู่ทองจึงจัดเป็นเมืองท่าโบราณท่ีเจริญรุ่งสืบต่อมาจนกลายเป็นเมืองท่าสําคัญ
ของอาณาจักร และเป็นศนู ยก์ ลางพทุ ธศาสนาที่เกา่ แกท่ ส่ี ดุ ของรฐั ทวารวดี

2.6 การพัฒนาการศกึ ษาโบราณคดีเมอื งอู่ทอง

เมืองอู่ทองนั้นแท้จริงคือ เมืองโบราณท่ีสําคัญที่สุดแห่งหน่ึงในประเทศไทย “.การค้นพบ
ตําแหน่งท่ีต้ังของเมืองนครปฐมท่ีแท้จริงว่า มิได้อยู่ท่ีบริเวณพระปฐมเจดีย์อย่างที่เชื่อกันมาแต่คร้ัง
รัชกาลที่ 4 หากอยู่ในบริเวณท่ีมีเจดีย์พระประโทนเป็นศูนย์กลาง เป็นเมืองอกแตกมีแม่น้ําผ่ากลาง
และมีขนาดใหญ่เกือบเท่าเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งนับได้ว่า เป็นเมืองสมัยทวารวดีที่ใหญ่ที่สุด
ในประเทศไทย การพบเมืองสุพรรณภูมิว่า เป็นเมืองอกแตกขนาดใหญ่ท่ีซ้อนกันอยู่กับเมือง
สพุ รรณบุรี ก็เปน็ อีกกรณีหนงึ่ ท่ีทําใหค้ วามเช่ือแตเ่ ดิมทีว่ ่า เมืองอทู่ องคือเมืองสุพรรณภูมิทส่ี มเดจ็ พระ
รามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงทิ้งมาเพราะเกิดโรคระบาดแล้วไปสร้างพระนครศรีอยุธยาเป็นราช
ธานี หมดไปทํานองตรงข้ามกลับพบว่า เมืองอู่ทอง ท่ีอําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น แท้จริงคือ
เมืองโบราณสําคัญที่สุดแห่งหนึ่ง ในประเทศไทย จนศาสตราจารย์ฌอง บวสเซอลิเยร์ นักโบราณคดี
ชาวฝร่ังเศส ที่เดินทางมาสํารวจและขุดค้นทางโบราณคดีช่วงเวลานั้น ให้น้ําหนักว่า เป็นเมืองสําคัญ
ของแคว้นฟูนันที่มีอายุราวพุทธศตวรรษท่ี 7-8 ทีเดียว และเมืองนี้มีฐานะเป็นเมืองหลวงมาก่อนเมือง
นครปฐมด้วยที่สําคัญ นักปราชญ์ชาวฝร่ังเศสท่านน้ียอมรับว่า เมืองอู่ทองร้างไปก่อนสมัยสมเด็จพระ
รามาธิบดีที่ 1 ไม่ตา่ํ กวา่ 200-300 ปี”92

ดอนตาเพชรเป็นชุมชนสําคัญมีความเจริญก้าวหน้า “งานวิจัยทางด้านน้ีสะท้อนให้เห็น
จากรายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านตาเพชรของ ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ใน พ.ศ.2517 แหล่ง
โบราณคดีแห่งนี้ ไม่มีคูนํ้าคันดินที่เห็นได้จากภาพถ่ายทางอากาศ อีกทั้งไม่มีเศษภาชนะดินเผาที่
มากมายให้เป็นที่สังเกตได้ง่ายๆ การค้นพบเป็นเร่ืองของความบังเอิญที่ชาวบ้านชุดดินทําไร่ไปพบ
ภาชนะสําริด เคร่ืองมือเหล็ก และลูกปัดมากมายหลายรูปแบบ ทางกรมศิลปากรจึงได้ส่ง
ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ซึ่งเป็นผู้เช่ียวชาญประจํากรมฯ ออกไปทําการสํารวจและขุดค้นทํารายงาน
ออกมาเผยแพร่ นับเป็นรายงานการวิจัยที่ดีที่สุดในชีวิตการทํางานของศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ก็ว่าได้
เพราะนอกจากจะได้ทําการขุดค้นอย่างมีระบบและให้ความสําคัญต่อรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ แล้ว
ยงั ได้ทําการศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบของโบราณวัตถุสําคญั โดยเฉพาะลูกปัดและวัตถุ

91 Boisselier, J.“Travaux de la Mission Ar cheologique Francaise en Thailande” อ้าง
แลว้ ; Murthy, K. K. 1977.Nagarjunakonda, a Culltural Study, Delhi : oncept Publishing, pp.1-10.

92 รองศาสตราจารย์ศรศี กั ร วัลลิโภดม หนังสือหลกั ฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี,การประชุม สัมมนา
ทางวิชาการ เร่ืองอู่ทองเมืองโบราณ เมืองสร้างสรรค์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตด้ังเดิม
,2525), หนา้ 50.

56

สําริดท่ีแสดงใหเ้ ห็นว่า แหล่งโบราณคดแี ห่งน้ีนอกจากจะมอี ายุราว 1,700 ปีมาแล้ว ยังมีการติดต่อกับ
บ้านเมืองทางเวียดนามเหนือและอินเดีย โดยเฉพาะลูกปัดที่มีการใช้ความร้อนทําให้เป็นแถบสีต่างๆ
(Etched Beads) น้ัน เป็นส่ิงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับอินเดียเป็นอย่างมาก แต่เป็น
ความสัมพันธ์แบบที่ยังไม่แลเห็นอิทธิพลทางศาสนาและศิลปกรรมแต่อย่างใด จึงเป็นเร่ืองของ
ระยะแรกในการติดต่อกับอินเดียท่ีเก่ียวเน่ืองกับสมัยสุวรรณภูมิและฟูนัน ที่มีเอกสารของอินเดียและ
จีนกล่าวถึงนับได้ว่า เป็นงานวิจัยทางโบราณคดีที่มีความหมายต่อการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชีย
อาคเนย์ยุคแรกเร่ิมเป็นอย่างยิ่ง” แต่การวิจัยเร่ืองนี้ ก็มีข้อจํากัดอยู่ไม่ใช่น้อยในสายตานักโบราณคดี
ในเวลาน้ัน เพราะเป็นการกําหนดอายุโดยใช้รูปแบบศึกษา (Typological Study) หาใช่การกําหนด
อายุด้วยกรรมวิธที างวทิ ยาศาสตร์ เช่น คาร์บอน 14 ในการกําหนดอายุแหล่งโบราณคดที ่ีบา้ นดอนตา
เพชร เพราะว่าในการขดุ ค้นนัน้ ไม่แลเหน็ ชั้นดนิ และไมม่ ีตัวอย่างคารบ์ อนให้เอาไปกําหนดอายุได้ จงึ มี
นักโบราณคดีไทยบางคนตําหนิเอาที่ว่างานเร่ืองนี้ ก็มีคุณค่าในตัวเอง ท่ีทําให้นักโบราณคดีต่างชาติ
สนใจโดยเฉพาะ ดร.เอียน โกลฟเวอร์ จากสถาบันโบราณคดีมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ต้องการขุดค้นต่อจากศาสตราจารย์ชิน เพ่ือทําความเข้าใจเก่ียวกับพัฒนาการขอชุมชนเร่ิมแรกใน
ประเทศไทย จึงขออนุญาตรัฐบาลไทยเข้ามาทําการขุดค้นที่บ้านดอนตาเพชร โดยมีนักโบราณคดีไทย
ร่วมการขุดค้นดว้ ย

ในการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งท่ีสอง ณ บ้านตอนตาเพชรนี้ นักโบราณคดีอังกฤษและ
คณะก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกบั การขดุ ค้นในครั้งแรก ท่ีศาสตราจารยช์ ิน อยู่ดี ไดพ้ บมาคือ ขุดไม่พบ
ช้ันดินเหมือนกัน ให้เหตุผลว่า เป็นการทํารังของพวกมดปลวก เมื่อไม่พบชั้นดินท่ีชัดเจน ก็ทําให้การ
กาํ หนดอายุเปน็ เรอื่ งยาก ดร.โกลฟเวอร์ ไดใ้ ช้กรรมวธิ อี ื่น ๆ ในการกาํ หนดอายุ แต่ท่แี น่อย่างหนึง่ กค็ ือ
การเปรียบเทียบรูปแบบเช่นเดยี วกับท่ีศาสตราจารย์ชิน อยดู่ ี ได้ทําและกําหนดอายุได้ไมห่ ่างไกล จาก
สิ่งท่ีศาสตรจารย์ชิน ได้กําหนดไว้ จะแตกต่างกันก็เรื่องท่ี ดร.โกลฟเวอร์ เน้นความสัมพันธ์กับอินเดีย
จากวัตถุสําริดรูปกรวยท่ีพบที่ดอนตาเพชร ที่มีลักษณะคล้ายกันกับวัตถุทางพุทธศาสนา ที่พบใน
อินเดีย จากหลักฐานที่ยังไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก นี้คือส่ิงที่ไม่พบหลักฐานอ่ืนที่เด่นชัดแต่อย่างใด ใน
ทํานองตรงข้าม การขุดค้นของ ดร.โกลฟเวอร์ กลับพบหลายส่ิงท่ีสนับสนุนการศึกษาและค้นคว้าของ
ศาสตราจารย์ชนิ อยู่ดี ที่มีมาก่อน เช่น การพบเคร่ืองประดับท่ีเรยี กว่า ลิง-ลิง-โอ ที่ทําด้วยหินคารีเน
เลียนสีส้มในหลุมขดุ ท่ีดอนตาเพชร สอดคล้องกบั วัตถุชนิดเดียวกันนี้ที่ศาสตราจารย์ชินเคยพบทเี่ มือง
อู่ทอง อันเป็นแหล่งโบราณคดีที่ไม่ห่างไปจากดอนตาเพชรสักเท่าใด โบราณวัตถุแบบน้ี พบใน
เวียดนามและหมู่เกาะในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นส่ิงที่แสดงให้เห็นการติดต่อเก่ียวข้องทางทะเลของ
บรรดาชุมชนบ้านเรือนท่ีอยู่แถวชายทะเลและหมู่เกาะในสมัยราว 2,500 ปี ลงมา จนถึงราว 1,700 –
1,800 ปมี าแลว้

เพราะฉะนั้นเมือ่ นําเอาลูกปัดแบบท่ีเรียกว่า เอชบีด (Etched Beads) ท่ีทั้งศาสตราจารย์
ชิน และ ดร.โกลฟเวอร์ บอกว่า เป็นสิ่งท่ีสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์กับทางอินเดียมาวิเคราะห์
ร่วมกับวัตถุเคร่ืองประดับที่เรียกว่า ลิง-ลิง-โอ ท่ีแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกับทางเวียดนามและ
หมู่เกาะแล้ว ทําให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า แหล่งโบราณคดีที่บ้านดอนตาเพชรเป็นชุมชนสําคัญท่ีสะท้อน
ให้เห็นว่าในช่วงเวลา 1,700 – 1,800 ปีท่ีผ่านมานั้น ชุมชนท่ีอยู่ในลุ่มแม่นํ้าท่าจีน-แม่กลอง มีความ

57

เจริญและมีการติดต่อกับอนิ เดยี และเวียดนามทร่ี วมไปถึงจีนตอนใตแ้ ล้ว การติดต่อดังกล่าวน้ี เป็นการ
ตดิ ต่อทางทะเลอยา่ งชดั เจน ซง่ึ สะท้อนให้เหน็ ความก้าวหน้าในการเดินเรือทางทะเลไมน่ ้อย ยิ่งกวา่ นั้น
ดอนตาเพชรยังสะท้อนให้เห็นถึงการมีทองสําริดและเหล็กที่ถูกนํามาทําเป็นเครื่องประดับและ
เคร่อื งมอื เครื่องใช้ผลิตดว้ ยเทคโนโลยีท่กี ้าวหน้าดว้ ย โดยเฉพาะโลหะสําริดน้นั หลอ่ ได้บางและสวยงาม
มาก อันแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ใช้น้อย ทั้งที่มีรูปแบบและเทคโนโลยีในการ
ผลิตทคี่ ล้ายคลึงกับของในวัฒนธรรม ดองเซิน ในประเทศเวียดนามด้วย “เหตุท่ีต้องทําให้มีการขุดค้น
ทางโบราณคดีท่ีบ้านดอนตาเพชรแต่ครั้ง ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี เนื่องมาจากการที่มีผู้บุกรุกแหล่ง
โบราณคดีเพอื่ ค้นหาลกู ปัดไปขาย ซึ่งนับเป็นกระบวนการทาํ ลายแหล่งโบราณคดีที่มีมาราว 20 กว่าปี
แล้ว เร่ิมแต่เจ้าหน้าท่ีของหน่วยราชการที่รับผิดชอบในการดูแลโบราณสถานท่ีเมืองอู่ทอง คบคิดกับ
ชาวบ้านในจังหวัดสุพรรณบุรีขุดหาลูกปัดตามแหล่งโบราณคดีมาขาย โดยสร้างข่าวลือท่ีเกี่ยวกับ
คุณสมบัติของลูกปัดจนเป็นที่ยอมรับกับท่ัวไป ผลที่ตามาก็คือเกิดขวนการขุดค้นลูกปัดกันทั่ ว
ราชอาณาจักร แหลง่ โบราณคดีตั้งแต่สมัยลพบุรีไปจนถึงสมัยทวารวดีและกอ่ นประวตั ิศาสตร์ที่มักพบ
ลูกปัดจึงถูกทําลายอย่างยับเยินและรวดเร็ว ท่ีว่ารวดเร็วก็เพราะบรรดาเนินดินท่ีเป็นโบราณสถานที่
ไม่มีใครเห็นมาก่อนน้ัน มักถูกค้นพบโดยบังเอิญจากการทําพืชไร่ทางการเกษตรอุตสาหกรรม และ
การทําเขื่อน สร้างถนนของทางราชการ พวกนักขุดล่าลูกปัดเหล่าน้ี มักได้รับข่าวคราวก่อนแล้วรุดไป
ขุดกนั ต่อจากน้ัน กจ็ ะมชี าวบ้านและนกั ขุดจากทอ่ี ่ืนๆ มารว่ มขุดหากนั เป็นมหกรรม พร้อมกนั น้ันกจ็ ะ
มนี ักซ้ือตามเข้าไปหาซื้อกันเป็นธุรกิจถงึ หลมุ ขดุ เลยทีเดียว “เมอ่ื เกิดการพลแหล่งโบราณคดีและมีการ
ขุดค้นทําลายขึ้น ทางกรมศิลปากรก็จะส่งเจ้าหน้าที่ไประงับและป้องกันไม่ให้มีการขุดต่อ ส่วนใหญ่ไม่
สําเร็จ เพราะกว่าจะไปถึงก็แทบไม่มีอะไรเหลือ หรือบางทีก็ทําอะไรไม่ได้ เพราะแหล่งโบราณคดีแห่ง
น้ันไม่ได้ขึ้นทะเบียนมาก่อน แต่ถ้าหากยังมีอะไรเหลือพอที่จะขุดค้นเพ่ือหาหลักฐานต่อ ก็จะ
ดําเนินการขุดค้นอย่างเป็นทางโบราณคดีต่อไป ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวน้ี มักไม่เกิดข้ึนบ่อยๆ
เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงบประมาณและกําลังคนไม่เพียงพอ ยิ่งกว่านั้นในหลายแห่งที่มีการขุดค้น
แบบครึ่งๆ กลางๆ คือรีบขุดแล้วนําของมาเก็บไว้โดยไม่มีการวิเคราะห์วิจัยแต่อย่างใด แม้แต่การ
บันทึกหลักฐานเบื้องต้นก็ไม่สมบูรณ์ แทบจะนําไปใช้ทําอะไรไม่ได้ จึงนับได้ว่า เป็นการทํางาน
โบราณคดีกู้ภัยอย่างล้มเหลว มีผลต่อความเสียหายในเร่ืองหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์
เป็นอย่างยิ่ง การขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านดอนตาเพชรของศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี นับเป็นหน่ึงใน
รอ้ ยของอกี หลายโครงการทีม่ ีมาก็ว่าได.้ ”93

1) เมอื งอทู่ องพฒั นาการของบา้ นเมอื งและรัฐในสุวรรณภมู ิ

เมืองอู่ทองเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ กับแหล่งพิธีกรรมฝังศพท่ีบ้านดอนตาเพชร “ทาง
ซีกตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยา อันเป็นลุ่มแม่น้ํากลอง – ท่าจีนน้ัน แม้จะมีผู้คนอยู่เร่ือยมาแต่สมัย
หินกะเทาะและหินขัด กลับมีพัฒนาการทางสังคมล่าช้ากว่าทางซีกตะวันออก เพราะไม่ใคร่พบแหล่ง
ชุมชนในยุคสําริดเท่าใด แต่กลับมีพัฒนาการแบบก้าวกระโดดเอาในสมัยเหล็ก คือราว 2,500 ปีลงมา
ดังเหน็ ได้ว่า แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ พบท้ังบรรดาเครือ่ งมือหินขดั ท่ีปะปนไป
กบั โบราณวตั ถุในสมยั เหล็ก แตแ่ หลง่ โบราณคดีในยคุ เหลก็ หลายแหล่งของบริเวณนี้ กลับมโี บราณวัตถุ

93 อา้ งแลว้ ,อู่ทองเมืองโบราณเมอื งสร้างสรรค์การทอ่ งเที่ยวเชงิ ประวตั ิศาสตร์ ,หนา้ 57 - 58)

58

ร่วมสมัยท่ีแตกต่างไปจากแหล่งชุมชนยุคเหล็กทางซีกตะวันออกของแม่น้ําเจ้าพระยา น่ันคือการพบ
โบราณวัตถุท่ีมาจากโพ้นทะเล อันแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมท่ีเก่ียวกับการค้าระยะไกล (Long
Distance Trade) วัตถุเหล่านี้ ได้แก่บรรดาตุ้มหูที่ทําเป็นรูปสัตว์สองหัว หรือรูปกลมที่มีเดือยแหลม
ประดับส่ีด้าน มีทั้งทที่ ําด้วยหินสีเขียวคล้ายหยก และหินสีส้ม จําพวก คาร์เนเลียน เป็นของท่ีพบมาก
ตามชุมชนของชาวทะเลในเวียดนาม และตามเกาะต่างๆ ในท้องถ่ินทะเลจีน เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็น
ความสัมพันธ์ทางทะเลกับบ้านเมืองทางตะวันออก ในขณะเดียวกันก็พบบรรดา ลูกปัดหินสีต่างๆ ที่มี
การแต่งสแี ละลวดลายประดับทีเ่ รยี กว่า เอชบดี (Etched Beads) เป็นของท่ีมาจากการติดต่อกบั ทาง
อนิ เดยี และนํารปู แบบมาพฒั นาสร้างข้ึนในท้องถิ่นทั้งหลายนี้รวมไปถงึ บรรดาวัตถุสํารดิ ในวัฒนธรรม
ดองซอน และบรรดาวัตถุสําริดและเคร่ืองประดับที่เป็นของสร้างข้ึนในท้องถิ่นด้วย ความโดดเด่นใน
เร่ืองศิลปะท่ีเป็นสญั ลักษณข์ องวฒั นธรรมท้องถิ่นในยุคเหล็กของซกี ตะวันตกของแมน่ ้ําเจา้ พระยาก็คือ
เห็นสัตว์บกที่สําคัญในภาคพ้ืนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช้างและสิงห์ ท่ีได้รับอิทธิพลมา
จากอินเดีย เป็นสตรีท่ีมีรูปแบบ ทรงผมและการแต่งกาย ท่ีมีระเบียบแบบแผนภาพดังกล่าวนี้
แวดล้อมไปด้วยลวดลายขูดขีดแบบเรขาคณิตท่ีมีทั้งเส้นตัดกันไปมารูปเหล่ียมและวงกลม วัตถุสําริด
อื่นๆ เป็นอาวุธและเครื่องมือใช้สอยนานาชนิดท่ีมีรูปแบบสะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าในการหล่อ
สําริดและทําสําริด ถัดไปก็เป็นบรรดาเครื่องมือเหล็กต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาทําหน้าที่ใช้สอยเฉพาะอย่าง
(Specialization) ที่หลากหลาย”94

สิ่งที่สังเกตได้ชัดก็คือ บรรดาโบราณวัตถุในยุคเหล็กเหล่าน้ีมีการกระจายตัวอยู่ตามลํานํ้า
และลุ่มน้ําเก่า ท่ีเป็นสาขาหรือตน้ นํ้าของแม่นํ้าแม่กลองและท่าจีนทั้งส้ิน อันแสดงให้เห็นถึงการตดิ ต่อ
ทางทะเลที่ผ่านย่านบ้านเมืองที่เป็นเมืองท่าและสถานการค้าเข้าสู่ดินแดนภายในท่ีเป็นป่าเขา แต่
ทั้งหลายเหล่าน้ี ดูเหมือนจะมีศูนย์กลางร่วมกันที่ลุ่มน้ําจรเข้สามพันในเขตอําเภอพนมทวนจังหวัด
กาญจนบุรี และอําเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี แหล่งโบราณคดีที่ได้มีการขุดค้นและเป็นท่ีรู้จักกัน
ท่ัวไปก็คือเมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่กับแหล่งพิธีกรรมฝังศพที่บ้านดอนตาเพชร
อาํ เภอพนมทวนจงั หวดั กาญจนบุรี

เมืองอู่ทองกบั ดอนตาเพชร เปน็ เมืองโบราณทพี่ บกันมานาน จนมีผเู้ ชื่อว่า เป็นเมอื งท่ีพระ
เจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีท่ี 1) ผู้สร้างพระนครศรีอยุธยาเคยครองอยู่ก่อนที่จะเสด็จไปสร้าง
พระนครศรีอยุธยาในปี พ.ศ.1893 แต่ต่อมาได้มีนักปราชญ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทําการขุดค้น
และค้นคว้าเพ่ิมเติมจนได้ข้อสรุปว่า เป็นเมืองท่ีมีอายุกว่าพันปีขึ้นไป จนนําไปสู่การสันนิษฐานว่าเคย
เป็นเมืองศูนย์กลางของรัฐฟูนันเมื่อราวพุทธศตวรรษท่ี 9-10 ทีเดียว ส่วนบ้านดอนตาเพชรน้ัน นัก
โบราณคดีอาวุโสของไทย คือ ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ทําการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี ท่ีท่าน
เช่ือว่า น่าจะร่วมสมัยกับฟูนัน แต่ต่อมาเม่ือมีฝร่ังเข้ามาขุดค้นเพ่ิมเติม ได้มีการกําหนดอายุเก่าไปถึง
ยุคเหล็ก คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 4-5 อันเป็นยุคต้นพุทธกาลทีเดียว อีกทั้งให้ความเห็นว่า แหล่ง
โบราณคดีแห่งนี้คือ ตัวแทนของสังคมหมู่บ้านในระยะแรก (Early Village) แห่งหนึ่งของภูมิภาค
เอเชียตะวนั ออกเฉียงใต้ อกี ท้ังแหลง่ โบราณคดีแห่งนี้พบโบราณวัตถุ ท่ีสะท้อนให้เห็นถึงความสมั พันธ์
ทางวัฒนธรรมกับอินเดีย และบ้านเมืองทางตะวันออกอย่างเช่น เวียดนามอย่างชัดเจน “.เมืองอู่ทอง

94 อา้ งแลว้ ,อู่ทองเมอื งโบราณเมืองสรา้ งสรรค์การทอ่ งเท่ียวเชิงประวตั ิศาสตร์ ,หน้า 63-65.

59

และชุมชนบ้านดอนเพชรนั้น หาได้แยกกันอยู่โดดๆ ไม่” บ้านดอนเพชรต้ังอยู่ในเขตที่ราบลุ่มตอนต้น
น้ําของจรเข้สามพัน คืออยู่ทางตะวนั ตกของเมืองอู่ทอง จากบ้านดอนตาเพชร ลําน้ําจรเข้สามพันไหล
ผ่านที่ราบลุม่ ในเขตอาํ เภอพนมทวน ท่มี ลี ักษณะลาดลงสทู่ ี่ราบลุม่ ตา่ํ นาํ้ ท่วมถึงในเขตตําบลจระเขส้ าม
พันแล้วผ่านบริเวณหน้าเมืองไปสมทบกับลํานํ้าหลายๆ สาย ท่ีไหลมาจากตะวันออกเฉียงเหนือของ
เมืองอู่ทอง กลายเป็นลําน้ําสองพ่ีน้องท่ีไปสมทบกับแม่นํ้าท่าจีนในเขตอําเภอสองพ่ีน้อง จังหวัด
สุพรรณบุรี ตําแหน่งของเมืองอู่ทองนั้นอยู่บนชายขอบท่ีสูงลาดลงมาจากเขาทําเทียมทางด้านเหนือ
โดยรับน้ํามาจากลาํ น้ําลําห้วยสายเล็กๆ ท่ีลงมาจากเขาและที่สูงเข้าสู่คูเมือง การรวมของลํานํ้าจระเข้
สามพันกับลํานํ้าสายอ่ืนๆ ที่มาจากทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ทําให้เกิดลําน้ําใหญ่ที่ไหล
ลงสู่ทีร่ าบลุ่มตํ่าของดินดอนสามเหลี่ยมแล้วไปออกทะเลทีอ่ ่าวไทย ด้วยเส้นทางนํ้าใหญ่ที่ออกทะเลได้
น้เี อง ทที่ าํ ใหเ้ มอื งอทู่ องเป็นเมอื งทา่ ท่ีเรือเดินทะเล ในสมัยพันกวา่ ปขี ึ้นไปเขา้ ถึงอทู่ องได้ ส่ิงที่แสดงให้
เหน็ ว่า ลํานํ้าใหญ่ท่ีลํานา้ํ จระเขส้ ามพันไหลมารวมเปน็ เส้นทางคมนาคมของการคา้ ระยะไกลทางทะเล
ก็คือ ได้พบแหล่งโบราณคดี ท่ีมีอายุแต่สมัยทวารวดีข้ึนไปตามเนินดินท่ีอยู่ตามลํานํ้าที่ราบลุ่มตํ่า ใน
เขตอําเภอสองพ่ีนอ้ งหลายแห่ง แหลง่ โบราณคดีเหล่าน้ีมกั พบโดยบังเอิญโดยการปรบั ท่ดี นิ เพื่อทาํ การ
เพาะปลูก หรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย หรือไม่ก็การแสวงหาเพ่ือลักลอบขุดของเก่าของนักล่าสมบัติหรือ
มักเป็นแหล่งที่รอดหูรอดตาและไม่ได้รับการเอาใจใส่ใยดีจากบรรดานักโบราณคดีของทางราชการ
การรวบรวมข้อมูล ในท่นี ี้จงึ เปน็ เพียงแต่ตามไปดูว่า มีท่ีไหนบ้างบันทึกส่งิ ท่ีหลงเหลอื ทเี่ ห็นกบั ตา และ
ขอถ่ายรปู บรรดาของที่ชาวบ้านเก็บไวเ้ ป็นหลักฐานเท่านั้น จากการสํารวจสอบค้นดงั กล่าวน้ี ทําให้ได้
แลเหน็ ความสัมพนั ธ์ระหว่างเมอื งอทู่ องกบั แหล่งชมุ ชนโบราณทีอ่ ยู่ในปริมณฑลนั่นกค็ อื โดยรอบเมือง
อู่ทองในรศั มี 10 กิโลเมตร มีแหลง่ โบราณสถานกระจายอยู่ทว่ั ไป อันสะท้อนใหเ้ หน็ ถึงทอ้ งถิ่นที่มีเมอื ง
เป็นศูนย์กลางกระจายอยู่ทั่วไป ด้านหน้าเมืองท่ีเป็นที่ราบลุ่มมีลําน้ําจระเข้สามพัน อันเป็นเครือข่าย
ของลํานํ้าสองพี่น้องในปัจจุบัน เป็นชุมชนตามแม่นํ้าลําคลอง ด้านหลังเมืองที่อยู่บนท่ีลาดจากภูเขา
และท่ีสูงก็มีแหล่งชุมชนและศาสนสถานกระจายกันอยู่ โดยเฉพาะบนเขาและถํ้าก็พบแหล่งศาสนา
สถานเป็นอนั มาก

ส่วนด้านตะวันตกของเมือง พบกลุ่มชุมชนที่นับถือศาสนาฮินดู อ่างเก็บนํ้ารูปกลม ที่
เรียกว่าคอกช้าง พบร่องรอยแนวคันดินท่ีใช้ในการก้ันนํ้าและเบนน้ําจากลําน้ําจระเข้สามพันเพื่อ
การเกษตร รวมทั้งการกระจายตัวของชุมชนตามลําน้ําขึ้นไปจนถึงบ้านดอนตาเพชรบริเวณน้ีอยู่บน
เส้นทางคมนาคมแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ท่ีเป็นเส้นทางเดินทัพและการค้าขาย เดินทางไปยังเมือง
กาญจนบรุ ี ท่ีติดต่อข้ามเทือกเขาตะนาวศรีไปยังเขตพม่า มอญ ท่ีอยู่ฟากทะเลอันดามัน ในขณะท่ีดา้ น
ตะวันออกน้ัน มีการกระจายตัวของชุมชนตามลําน้ําข้ึนไปจนถึงบ้านดอนตาเพชร บริเวณนี้อยู่บน
เส้นทางคมนาคมแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ที่เป็นเส้นทางเดินทัพการค้าขายไปยังเมืองกาญจนบุรี ท่ี
ตดิ ต่อขา้ มเทือกเขาตะนาวศรี ไปยังเขตพม่ามอญ ทีอ่ ยู่ทางฟากทะเลอันดามัน

ในขณะท่ดี า้ นตะวันออกนั้น มีการกระจายตัวของชุมชนไปตามท่ดี อนทอี่ ย่ชู ายเขาทําเทียม
และที่สูงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นบริเวณท่ีเส้นทางคมนาคมเส้นทางเดินทัพท่ีมาจาก
ตะวันตก ผ่านเขตเมืองอู่ทองข้ึนไปยังลําน้ําท่าว้า อันเป็นลํานํ้าสุพรรณบุรีเก่าสายหน่ึง ไปติดต่อกับ
ชุมชนโบราณ ที่มีอายุแต่สมัยยุคเหล็กลงมาจนถึงสมัยทวารวดีและลพบุรี ที่กระจายอยู่ตามลําน้ําเก่า

60

ต่างๆ ของลํานํ้าสุพรรณบุรีข้ึนไปจนถึงเขตจังหวัดชัยนาทและนครสวรรค์ เข้าสู่พ้ืนท่ีในเขตลุ่มนํ้า
ลพบรุ แี ละปา่ สกั ทมี่ คี วามสัมพนั ธ์กบั บ้านเมอื งในลมุ่ น้ํามลู -ชี ในทีร่ าบสงู โคราช

2) เมอื งอทู่ องและพ้นื ท่ปี ริมณฑลในตําแหน่งศนู ย์กลางท่สี ําคญั

ตามท่ีกลา่ วมาน้จี ะแลเห็นได้วา่ ตําแหน่งที่ตง้ั ของตัวเมืองอทู่ องและพ้ืนทอ่ี นั เปน็ ปรมิ ณฑล
น้ัน อยู่ในตําแหน่งศูนย์กลางการคมนาคมท้ังภายนอกกับทางทะเล และกับภายในท่ีมีทั้งทางบกและ
ตามลํานา้ํ นับเปน็ ตาํ แหน่งของเมืองท่าท่สี ําคัญทม่ี ีอายุแต่สมัยยคุ เหล็กลงมาจนถึงสมัยทราวดี แต่สิง่ ที่
น่าสนใจที่สุดก็คือบรรดาโบราณวัตถุที่พบเห็นในเขตเมืองอู่ทองน้ัน เน่ืองจากมีการสืบเนื่องมาหลาย
ยุคหลายสมัยแล้ว ยังมีความหลากหลายของชนิดและรูปแบบท่ีแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทาง
วัฒนธรรมและกลุ่มชนอกี ดว้ ย

บรรดาโบราณวัตถุท่ีเมืองอู่ทองและปริมณฑลน้ัน อาจประมวลช่วงเวลาท่ีมีการค้นพบ
ออกได้เป็น 2 ชว่ ง ดงั ต่อไปนี้

ช่วงแรก ตั้งแต่สมัยสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เม่ือมีการพบเมืองอู่ทองแต่
ตีความตามตํานานและชื่อสถานที่ว่าเป็นเมืองอู่ทองท่ีสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี 1 เคยครองมาก่อนการ
เกิดโรคระบาดแลว้ ทิง้ เมืองไปสร้างพระนครศรีอยุธยา โบราณวัตถุและโบราณสถานทพี่ บสว่ นใหญเ่ ป็น
ของในสมัยทวารวดี โดยมีโบราณสถานที่รวมอยู่ด้วยกันเล็กน้อย โดยเฉพาะที่พระเจดีย์วัดปราสาทท่ี
เป็นของในสมัยอยุธยาที่สร้างทับโบราณสถานท่ีรวมอยู่ด้วยกันเล็กน้อย โดยเฉพาะที่พระเจดีย์วัด
ปราสาทท่ีเปน็ ของในสมัยอยุธยาที่สร้างทับโบราณสถานสมัยทวารวดี การตีความเรื่องเมืองอทู่ องเป็น
เมืองของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ท่ีมีอายุในพุทธศตวรรษท่ี 19 ตอนปลายน้ัน ดูขัดแย้งกันกับ
โบราณสถานวัตถุส่วนใหญ่ท่ีเป็นของในสมัยทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ 12 – 17 แต่คนท้ังหลายกลับ
เช่ือว่าเป็นสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี 1 ตามการสันนิษฐานของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชา
นภุ าพ

ช่วงท่ีสอง เป็นสมัยที่ทางกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเมืองอู่ทองเป็นโบราณสถาน มีการ
จัดตั้งพิพิธภัณฑ์และรวบรวมบรรดาโบราณวัตถุท่ีพบมาเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนมีการขุดแต่ง
โบราณสถานในเขตตัวเมืองและนอกเมืองท้ังหลายแห่ง ซงึ่ ท้ังหมดนี้ล้วนเป็นของในสมัยทวารวดีแทบ
ทั้งส้นิ อู่ทองและปริมณฑลเปน็ เมอื งสําคัญของแวน่ แควน้ โบราณในสมยั สวุ รรณภมู ิ

แต่ขณะเดียวกันก็มีนักวิชาการและผู้สนใจศึกษาและตีความเกี่ยวกับโบราณวัตถุที่พบท่ี
เมืองอู่ทองและบริเวณท่ีเป็นปริมณฑลเพิ่มข้ึน โดยเฉพาะอาจารย์มานิต วัลลิโภดม, ศาสตราจารย์ชิน
อยู่ดี, ศาสตราจารย์ฌอง บวสเซอลิเยร์ และพลอากาศโทมนตรี หาญวิชัย อาจารย์มานิตกับอาจารย์
ชินเป็นนักโบราณคดีกรมศิลปากร ส่วนอาจารย์บวสเซอลิเยร์เป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ศิลป์ชาว
ฝรั่งเศสในขณะท่ีพลอากาศโทมนตรี หาญวิชัย เป็นผู้ใส่ใจรวบรวมโบราณวัตถุโดยเฉพาะลูกปัด
เคร่ืองประดับดินเผา โลหะ ตุ๊กตา และดวงตราต่างๆ มาศึกษาตามคําแนะนําของอาจารย์มานิตและ
อาจารยช์ นิ

อาจารย์มานิตเป็นนักโบราณคดีท่ีศึกษาตานานภูมิศาสตร์โบราณจากเอกสารโบราณท้ัง
ภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะจากจีน อินเดีย กรีก โรมัน และอาหรับ ได้ให้ความสนใจกับ

61

เรื่องของสุวรรณภูมิและฟูนัน อนั เป็นสมัยเวลาท่ีมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 12 ท่ีเรียกกันว่า สมัยทวาร
วดี โดยหยบิ ยกตําแหน่งทางภูมศิ าสาตร์และบรรดาโบราณวัตถุท่ีมีอายุเก่ากวา่ สมัยทวารวดีมาตีความ
ว่า บริเวณเมืองอู่ทองและปริมณฑลน้ัน เป็นเมืองสําคัญของแว่นแคว้นโบราณในสมัยสุวรรณภูมิท่ีมี
การกล่าวถึงในคัมภีร์โบราณยุคต้นพุทธกาลของอินเดีย แคว้นน้ีตรงกับที่จดหมายเหตุจีนเรียกว่า
“กิมหลิน” ซ่งึ กแ็ ปลวา่ “แผน่ ดินทอง” นั่นเอง อาจารย์มานิต เชือ่ วา่ การส่งพระสมณฑูตโสณะและอุ
ตระของพระเจา้ อโศกมหาราชมาเผยแผ่พุทธศาสนาที่สุวรรณภูมนิ น้ั นา่ จะมาทเ่ี มืองอู่ทองนี้เอง

3) เมืองอูท่ องเปน็ ศนู ย์กลางของอาณาจกั รฟูนนั

ส่วนอาจารย์ชิน อยู่ดี ให้ความสนใจเรื่องฟูนันเป็นพิเศษ ได้ทําการศึกษารูปแบบของ
บรรดาลูกปัดและลวดลายท่ีพบบนวัตถสุ าํ ริดที่ พลอากาศโทมนตรี หาญวชิ ยั และผู้สนใจรวบรวมไว้ว่า
มรี ูปแบบร่วมสมัยกับลูกปัดและโบราณวัตถุหลายอย่างที่พบทอ่ี อกแอวและปากแม่น้ําโขง ซึ่งเป็นสมัย
ท่ีเรียกว่าฟูนัน เพราะยึดเร่ืองราวที่กล่าวถึงบ้านเมืองในสมัยน้ีจากจดหมายเหตุจีนเป็นสําคัญ สมัย
ฟูนันที่ว่าน้ีมีอายุต้ังแต่พุทธศตวรรษท่ี 8-9 จนราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 และบรรดานัก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รุ่นก่อนๆ เกือบทั้งหมดได้ให้ความสําคัญแก่ฟูนันในลักษณะที่
เป็นอาณาจกั รหรือจักรวรรดทิ ่ีมีอาํ นาจรวมศูนยท์ ่ีเก่าแก่ทส่ี ุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออกี นัย
หนึง่ ก็คือเปน็ ศนู ย์อํานาจแรกเรม่ิ ของภมู ิภาคนนั่ เอง

ถัดจากอาจารย์ชิน ก็เป็นศาสตราจารย์บวสเซอลิเยร์ ซึ่งได้มาทําการสํารวจเมืองอู่ทอง
และทําการขุดค้นแหล่งโบราณสถานบางแหล่งในเขตเมืองอู่ทอง แล้วนําข้อมูลมาวิเคราะห์สรุป
อธิบายให้เห็นว่า เมืองอู่ทองไม่ใช่เมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีท่ี 1 เคยครองมาก่อนการสร้า ง
พระนครศรีอยุธยา เพราะมีอายุเก่าแก่กว่ามาก ศาสตราจารย์บวสเซอลิเยร์เช่ือว่าเมืองอู่ทองเคยเป็น
ศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน เพราะพบหลักฐานทางโบราณวัตถุที่เก่าแก่มากกว่าท่ีพบที่เมืองออก
แอว

โดยอธิบายว่าที่ออกแอว โบราณสถานวัตถุส่วนใหญ่ เป็นสมัยเจนละลงมา คือราวพุทธ
ศตวรรษที่ 11-12 เมืองอู่ทองเป็นเมืองศูนย์กลางในลุ่มนํ้าเจ้าพระยามาก่อนที่ตําแหน่งเมืองจะย้ายไป
อยู่ท่ีนครปฐม อาจารย์บวสเซอลิเยร์ให้ความเห็นว่าเหตุที่เมืองอูท่ องโดยร้างไปก็เพราะอ่างเก็บน้ําและ
เข่ือนกั้นน้ําพัง ทําให้น้ําไหลบ่าเข้าท่วมตัวเมือง ซ่ึงดูตรงข้ามกันกับทฤษฏีของสมเด็จฯ กรมพระยา
ดํารงราชานุภาพท่ีทรงสันนิษฐานว่า เกิดกันดารนํ้าและมีโรคระบาด จึงต้องทิ้งเมืองไปต้ังเมืองใหม่
ข้อเสนอใหม่ของศาสตราจารย์ บวสเซอลิเยร์มีศักยภาพมาก เพราะสามารถอธิบายให้นักปราชญ์และ
ประวตั ศิ าสตร์ทางราชการเช่นในมหาวิทยาลัยและกรมศิลปากรคลอ้ ยตาม95

ณ บ้านดอนตาเพชร.กวา่ สมัยฟูนนั ข้นึ ไปถึง 100 ปกี ่อนคริสตกาลลงมานับว่า อาจารยช์ ิน
และศาสตราจารย์บวสเซอลิเยร์ ต่างก็ให้ความสําคัญเกี่ยวกับอายุของเมืองอ่ทู องได้อย่างเป็นรูปธรรม
ที่สุด โดยเฉพาะการขยายอายุจากสมัยทวารวดีขึ้นไปจนถึงสมัยฟูนัน แต่อาจารย์ชินมีการค้นคว้า
อย่างสืบเน่ืองมากกว่า ทําให้มีการคน้ พบโบราณวัตถุท่ีมีอายุกว่าสมัยฟูนนั ข้ึนไป ท้ังน้ีไม่รวมถึงบรรดา
โบราณวัตถุยุคหินขัดที่พบโดยท่ัวไปอันเป็นท่ีทราบกันอย่างดี โบราณวัตถุสําคัญที่อาจารย์ชินพบเป็น

95 อา้ งแลว้ ,อู่ทองเมืองโบราณเมอื งสร้างสรรค์การทอ่ งเท่ียวเชงิ ประวัติศาสตร์ ,หนา้ 70-71.

62

ของที่ชาวบ้านเก็บได้ เป็นจี้หรอื อาจจะเปน็ ตุ้มหู ทาํ ด้วยหินคล้ายหยกสีเขยี ว มีหวั เป็นสัตว์คลา้ ยควาย
ที่ส่วนปลายทั้งสองด้าน เป็นส่ิงที่นักโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันคือ ศาสตราจารย์
วิลเฮล์ม จี. โซลไฮม์ เรียกว่า “ลิง – ลิ – โอ” โซลโฮมพบโบราณวัตถุแบบตามแหล่งโบราณคิด
ชายทะเลและหมู่เกาะต้ังแต่ประเทศเวียดนามไปจนถึงฟิลิปปินส์ โดยเชื่อว่าเป็นส่ิงที่แสดงถึง
วัฒนธรรมของคนกลุ่มหนึ่งทเ่ี กินเรือติดต่อกับชายฝ่ังทะเลของพื้นแผ่นดนิ ใหญก่ ับบรรดาบา้ นเมืองและ
ชุมชนท่ีอยใู่ นหมู่เกาะ มีอายุราว 100 ปีก่อนคริสตกาลลงมา จนต่อกับสมัยฟูนัน ต่อมาอาจารย์ชินได้
ทําการขุดค้นทางโบราณคดีท่ีบ้านดอนตาเพชร ซึ่งอยู่ในบริเวณอําเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
อันเป็นบริเวณต้นนํ้าของลําน้ําจระเข้สามพันที่ไหลไปออกทางน้ําใหญ่ท่ีเมืองอู่ทอง แหล่งโบราณคดี
แห่งน้ีชาวบ้านขุดพบโบราณวัตถุโดยบังเอิญทางกรมศิลปากรจึงส่งอาจารย์ชิน ไปทําการสํารวจและ
ขุดค้น นับเป็นการขุดค้นท่ีย่ิงใหญ่ที่สุดในชีวิตของอาจารย์ชินเลยทีเดียว เพราะได้พบชั้นดินทาง
วัฒนธรรมและโบราณวัตถุท่ีมีอายุต้ังแต่สมัยฟูนันขึ้นไป คือยุคที่ยังไม่พบโบราณวัตถุท่ีได้รับอิทธิพล
ศาสนาจากอินเดยี อยา่ งชัดเจน

ณ บ้านดอนตาเพชร อาจาร์ชิน อยู่ดี ขุดพบบรรดาลูกปัดหินกึ่งรัตนชาติ96 เช่น พวกคาร์
เนเลียนอะเกต หินผลึกสีต่างๆ ท่ีมีการตกแต่งด้วยความร้อนให้เป็นลายสีต่างๆ มากมายหลาย
รูปแบบกว่าท่ีพบตามแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ที่ทางราชการเคยขุดมา ลูกปัดแบบนี้เรียกว่า “เอชบด”
(Etched beads) เป็นแบบที่เชื่อกันว่าพัฒนาข้ึนในอินเยและแพร่หลายเข้าไปในพม่า เพราะพบตาม
แหล่งโบราณคดีของอาณาจักรศรีเกษตรที่มีอายุแต่สมัยฟูนันมาจนถึงทวารวดี นอกจากเอชบีดแล้วก็
พบโบราณวัตถุสําริดท่ีเป็นเคร่ืองประดับ ภาชนะ อาวุธ รวมทั้งบรรดาอาวุธและเคร่ืองมือเคร่ืองใช้
หลายๆ ชนิดทีท่ ําดว้ ยเหล็กโดยเฉพาะโบราณวัตถุสําริดนน้ั มีรูปสัตว์ เชน่ นกยูงและลวดลายท่นี ับเนือ่ ง
ในวัฒนธรรมดองซอนทพี่ บในประเทศเวยี ดนาม โบราณวัตถุเหล่าน้ีคอื ส่งิ ทแ่ี สดงให้เห็นว่าชุมชนในลุ่ม
น้ําจรเข้สามพันเป็นที่รวมของบรรดาโบราณวัตถุมาจากโพ้นทะเล ทั้งทางตะวันออกจากประเทศ
เวียดนาม และทางอินเดียในเวลาเดียวกัน แต่อาจารย์ชินกําหนดเวลาของโบราณวัตถุเหล่าน้ี ในช่วง
ปลายมากกว่าตอนต้นว่ามีอายุราว 1,700 ปีลงมา นั่นก็คืออยู่ในสมัยฟูนันนั่นเอง ซึ่งต่างไปจาก
อาจารย์มานิต วัลลิโภดม ท่ีพยายามอธิบายการติดต่อของบริเวณนี้กับทางตะวันตกคืออินเดียกรีก
และโรมัน ในเร่ืองของสวุ รรณภูมิท่มี ีอายเุ กา่ แก่ไปกวา่ สมัยฟนู ัน

4) ยคุ ต้นพุทธกาลคนอนิ เดยี เรียกดินแดนนวี้ า่ สวุ รรณภูมิ

เรื่องแหล่งโบราณคดีที่ดอนตาเพชรนั้นไม่ยุติในยุคของ อาจารย์ชินและอาจารย์มานิต
เพราะมีนักโบราณคดีอังกฤษคนหน่งึ คือ ดร.เอียน โกลฟเวอร์ ให้ความสนใจเขา้ มาขอทําการขุดคน้ ต่อ
โดยมองเห็นว่า เป็นแหล่งโบราณคดีท่ีสะท้อนให้เห็นถึงการเกิดชุมชนหมู่บ้านในระยะแรกเริ่ม (Early
Village) และให้ความสนใจเกี่ยวกบั การติดต่อกับอินเดียเป็นพิเศษ ดร.โกลฟเวอร์ ทําการขุดค้นแหล่ง
โบราณคดีแห่งน้ีร่วมกับนักโบราณคดกรมศิลปากร ขุดหาช้ันดินทางวัฒนธรรมแต่ก็ไม่พบชั้นดินท่ี
ชัดเจน แต่กลับพบโบราณวัตถุท่ีตอกย้ําการเป็นแหล่งพบกันของวัฒนธรรมจากฝ่ังทะเลในประเทศ
เวยี ดนามทางตะวนั ออกกับวฒั นธรรมจากอินเดียทม่ี าจากทางตะวนั ตกชัดเจน เพราะพบทงั้ ลกู ปดั และ

96 อาจาร์ชิน อยู่ดี “เรื่องก่อนประวัติศาสตร์ท่ีอําเภออู่ทอง” โบราณวิทยาเรื่องเมืองอู่ทอง (กรม
ศิลปากร 2509), หนา้ 46-50.

63

ปัดและตุ้มหูที่ทําด้วยหินคาร์เนเลียนสีแดงส้มเป็นรูปลิง – ลิง – โอ กับลูกปัดรูปสิงห์อันเป็นส่ิงที่
เกี่ยวกับอินเดียโดยตรงนอกจากนัน้ ก็พบโบราณวัตถทุ าํ ด้วยสํารดิ เป็นรปู สามเหลย่ี ม ซ่ึง ดร.โกลฟเวอร์
ให้ความเห็นว่า เคยพบตามแหล่งโบราณคดีของอินเดีย เป็นของที่เนื่องในพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม
การขุดไม่พบชั้นดินทางวัฒนธรรมที่ชัดเจนทําให้ ดร.โกลฟเวอร์ มีความเห็นในระยะแรกคล้อยตาม
ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ว่าแหล่งโบราณคดีท่ีบ้านดอนตาเพชรมีอยู่ในราว 1,700 ปีลงมา แต่เม่ือ
ภายหลังได้นําเศษภาชนะดินเผาที่พบจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ไปกําหนดอายุตามกรรมวิธีทาง
วิทยาศาสตร์แล้ว ก็พบอายุในช่วงแรกของบ้านดอนตาเพชรว่าประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล น่ันก็
คือนับเน่ืองเป็นยุคต้นพุทธกาลท่ีคนอินเดียเรียกดินแดนแถบนี้ว่าสุวรรณภูมิ แต่บรรดานักโบราณคดี
มักจะกําหนดให้อยู่ในยุคเหล็กท่ีมีอายุแต่ 2,500 ปีลงมาเป็นสําคัญ เป็นแหล่งโบราณคดีท่ีสะท้อนให้
เหน็ ถึงพฒั นาการทางสังคมทลี่ ํา้ หน้าไปเป็นเรื่องของเมอื งและรฐั แรกเร่ิม

หลักฐานตามท่ีกล่าวมาแลว้ นี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า แหล่งโบราณคดีท่ีบา้ นดอนตาเพชร มี
อายุเก่าแก่ไปกว่า สมัยฟูนัน ท่ีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษท่ี 3-6 โดยขยับขึ้นไปถึงราว 300 ปีก่อน
คริสตกาล ซึ่งนับเน่ืองในยุคเหล็กและสมัยเวลาที่คนอินเดียเรียกดินแดนในภูมิภาคน้ีว่าสุวรรณภูมิ
อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าไมค่ ล้อยตาม ดร.เอียน โกลฟเวอร์ และสาวกที่เปน็ นกั โบราณคดีไทยท่วี า่ ดอนตา
เพชรเปน็ แหล่งของหมู่บ้านแรกเริม่ (Early Cillage) โดยกลับเห็นวา่ เป็นแหลง่ โบราณคดีทีส่ ะท้อนให้
เหน็ ถึงพัฒนาการทางสังคมที่ลํ้าหนา้ เป็นเรื่องของเมืองและรฐั แรกเร่ิมทีเดียว ประการแรกโบราณวัตถุ
ท่พี บ เชน่ ลิง – ลิง – โอ และลูกปัดเอชบีดนั้น เป็นของทม่ี าจากการค้าระยะไกลท้ังทางตะวันตกและ
ตะวันออกรวมท้ังบรรดาอาวุธและเครื่องมือที่ทําด้วยสําริดและเหล็กที่เป็นชนิดต่างๆ ที่แสดงให้เห็น
การทําหน้าท่ีเฉพาะ (Specialization) เช่นน้ี สะท้อนให้เห็นถึงสังคมท่ีมีความซับซ้อนหาใช่เป็นสังคม
หมู่บ้านในระดับแรกเริ่มไม่ ข้าพเจ้าไม่มองแหล่งโบราณคดีที่บ้านดอนตาเพชรในลักษณะโดดๆ หาก
เชือ่ มโยงเป็นส่วนหน่ึงของเครอื ข่ายทางสังคมและวัฒนธรรมกับบรรดาชมุ ชนอ่ืนๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและ
ห่างไกล ถ้ามองไปทางตะวันออกตามลําน้ําจระเข้สามพัน ดอนตาเพชรก็สัมพันธ์กับเมืองอู่ทองใน
ลักษณะที่อยู่ในปริมณฑลของเมืองอู่ทองที่เป็นศูนย์กลาง แต่ถ้ามองไปทางตะวันตก ก็พบว่าดอนตา
เพชรสัมพันธ์กับเส้นทางคมนาคมท่ีผ่านแหล่งชุมชนโบราณหลายแห่งในลุ่มแม่นํ้าแม่กลอง เข้าไป
ดินแดนภายในที่เป็นแหลง่ แร่ธาตุของป่าในเขตอาํ เภอจอมบงึ และสวนผงึ้ ในจังหวัดราชบุรี อันสมั พันธ์
กบั ลุม่ ภาชีที่มีลุ่มนํ้ามาจากเทือกเชสจะตะนาวศรีมาบรรจบกับลําน้ําแควน้อย แหล่งโบราณคดีในเขต
อําเภอจอมบึงมีทั้งแหล่งถลุงเหล็กและชุมชนโบราณท่ีพบโบราณวัตถุในยุคเหล็ก เช่นเดียวกันกับที่
บ้านดอนตาเพชร แต่ที่สําคัญท่ีสุดก็ คือ พบช้ินส่วนของภาชนะสําริดที่มีลวดลายขูดขีดสลักเป็น
ลวดลายท่ีเป็นรูปคน สัตว์ พูดได้ว่าเป็นแบบเดียวกันเลยก็ว่าได้ ภาชนะสําริดที่ว่านี้หล่อได้งามและ
สวยงามมาก แสดงใหเ้ หน็ ถึงความชาํ นาญและก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปน็ อย่างย่งิ

ณ บา้ นดอนตาเพชร ลวดลายบนภาชนะสําริดมีภาพสตรีที่แลเห็นทรวดทรงหน้าตา แต่ง
ผมและเสื้อผ้าที่สวมใส่ อีกทั้งมีรูปควายรวมอยูด่ ้วย แต่ท่ีแหล่งโบราณคดีที่จอมบึง จังหวัดราชบุรี มี
ทั้งภาพท่ีเป็นผู้หญิงในลักษณะที่ยังขูดขีดไม่เสร็จ เผยให้เห็นสรีระท่ีมีหน้าอกใหญ่ เอวคอด และ
สะโพกผาย อันเป็นเรือนร่างของหญิงอินเดียแบบเดียวกับท่ีพบในศิลปะแบบสาญจีสมัยพระเจ้าอโสก
มหาราชทีเดียว อีกท้ังมีการจัดช่องเป็นภาพสัตว์ เช่น ช้างและม้า ซึ่งแสดงให้เห็นระเบียบภาพตาม

64

ชอ่ งท่ีพบทั้งในภาชนะดนิ เผาและภาพสลักตามโบราณสถานท่ีมีอายุต้ังแต่สมัยทวารวดีขึ้นไป ข้าพเจ้า
มีความเห็นว่าภาชนะสาํ รดิ แบบนี้เปน็ ของเน่ืองในพธิ ีกรรมท่ีคงเป็นอนิ เดียทเี่ ข้ามาอยู่ในท้องถิ่นนี้สรา้ ง
ข้นึ ซงึ่ แนน่ อนวา่ เป็นหลักฐานท่ีเดน่ ชัดกวา่ บรรดาลูกปัดและโบราณวัตถุทางศาสนาอ่ืนๆ ในเรือ่ งของ
การมีคนอินเดียอยู่ในพ้ืนท่ีอย่างชัดเจน ถา้ หากตามรอยเส้นทางคมนาคมโบราณเข้าสู่ลํานํ้าภาชี ก็พบ
โบราณวัตถุในถ้ําเขาขวากอันเป็นของในยุคเหล็ก ท่ีมีทั้งภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ เครื่องประดับท่ีทํา
ด้วย หินสีแก้ว และสําริด แต่ท่ีสําคัญที่สุดก็คือกลองสําริดในวัฒนธรรมดองซอน อันเป็นสัญลักษณ์
สําคัญของอารยธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคเหล็ก จากกลุ่มน้ําภาชีไปตลอดลําแม่นํ้าน้อย อัน
เป็นบรเิ วณถ้าํ ปา่ เขา นน้ั พบร่องรอยของชมุ ชนโบราณในยุคเหลก็ อีกหลายแห่ง เช่น ท่เี มืองสงิ ห์และ
ถ้ําองบะ เป็นต้น โดยเฉพาะตามถํ้านั้น ยังพลโลงไม้โบราณท่ีเนื่องในพิธีศพ แบบเดียวกันกับบรรดา
โลงผีแมนท่ีพบท่ีแม่ฮ่องสอนในเขตภาคเหนือท้ังหลายเหล่าน้ี ล้วนแสดงให้เห็นถึงการติดต่อ
แลกเปลี่ยนสินค้าป่าและแร่ธาตุระหว่างคนภายในบนที่สูงกันจากที่ราบในสังคมบ้านเมืองที่สามารถ
ติดตอ่ กบั โพน้ ทะเลได้

5) เส้นทางคมนาคมข้ามคาบสมทุ รท่ีสมณทูตเขา้ เผยแผ่พุทธศาสนาในเขตสวุ รรณ
ภูมิและปุษยครี ี

แหล่งโบราณคดีที่จอมบึง เขาขวาก สวนผ้ึงน้ัน เป็นเส้นทางที่จะข้ามเทือกเขาตะนาวศรี
ไปสู่ฝั่งทะเลอันดามันในเขตเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี อันเป็นเมืองท่าสําคัญในประวัติศาสตร์
อยุธยา ในบริเวณเหมืองแร่เก่าแห่งหน่ึง ในเขตอําเภอสวนผ้ึง ที่เป็นบริเวณท่ีพบเคร่ืองมือ หิน แร่
โลหะและโบราณวัตถุสมัยยุคเหล็ก นั้นมีโนนกองหินสามกอง ท่ีชาวบ้านเรียกเป็นเจดีย์สามองค์
เช่นเดยี วกนั กับทป่ี รากฏในแผนท่ีโบราณท่เี รียกว่าดา่ นเจดีย์สามองค์ เชอ่ื วา่ เส้นทางจากอาํ เภอสวนผ้ึง
ข้ามเขาไปยังฟากตะนาวศรีในเขตเมืองทวายนี้ คือเส้นทางข้ามคาบสมุทรที่เก่าแก่ในยุคสุวรรณภูมิ
เพราะบริเวณชายฝัง่ ทะเลในเขตเมืองทวายและมะริดนัน้ เปน็ ท่ีมีเกาะและกาํ ลงั ลมเป็นท่าจอดเรอื ได้ดี
จนพัฒนาเป็นเมืองท่าเรื่อยมา บริเวณน้ีแหละท่ีนกั ปราชญ์ทางประวตั ิศาสตรเ์ อเชียอาคเนยโ์ บราณ ท่ี
เป็นคนฝรั่งทานหน่ึงชื่อ พอล วีทลี (Paul Wheatly) สันนิษฐานว่า97 เป็นท่ีตั้งโบราณแห่งหนึ่งท่ี
จดหมายเหตุจีนเรียกว่า “ทันทัน” ข้าพเจ้ายังคิดเลยเถิดไปถึงว่าเส้นทางคมนาคมข้ามคาบสมุทรนี้
แหละ ท่ีมณฑลของพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางเข้ามาเผยแผพ่ ุทธศาสนาในเขตสุวรรณภมู กิ น็ ับเป็น
การขัดแย้งกับส่ิงที่ พม่า มอญเชื่อว่ามาข้ึนที่เมืองสะเทิมและหงสาวดีของมอญอย่างส้ินเชิง เพราะ
ข้าพเจ้ายังไม่พบเห็นโบราณวัตถุใดในเขตเมืองสะเทิมและเมาะตะมะท่ีมีอายุเท่ากันกับท่ีพบท่ีดอนตา
เพชรและอู่ทอง อีกทั้งตาํ แหน่งเมืองมอญของพมา่ นี้กอ็ ยู่เหนือข้นึ มาจากเส้นทางเดนิ เรือทะเลที่จะต้อง
ข้ามคาบสมุทร ยิ่งดูไปถึงเร่ืองหลักฐานของวัฒนธรรมท่ีสืบเน่ืองมาจากสมัยสวุ รรณภูมิมาจนถึงยุคต้น
ประวัติศาสตร์เช่น สมัยศรีเกษตรและทวารวดีแล้วก็ไม่พบอะไรต่างกับทางบริเวณเมืองอู่ทองแล ะ
บริเวณอื่นๆ ในฝั่งอ่าวไทยที่พบคติในการสร้างธรรมจักรท่ีมีรูปกวางหมอบต่อเนื่องมาจนถึงสมัยทวาร
วดีในพุทธศตวรรษ 12 – 13 ทีเดียว แต่ที่สําคัญท่ีสุดก็คือที่เมืองอู่ทอง พบแท่งศิลามีจารึกภาษา
สันสกฤตว่า “ปุษยคีรี” เข้าใจว่าพบแถวเขาที่อยู่ทางทิศเหนือของเมือง คําว่าปุษยคีรีนี้เป็นชื่อเมือง

97 Paul Wheatley,The Golden Khersoese : Studies in the Malay Peninsula Before 1500
A.D. Kuala Lumper, University of Malaya Press, 1966, pp. 116-117

65

และสถานที่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าใน
อนิ เดยี

6) เมืองอู่ทองและปริมณฑลคือบริเวณศูนย์กลางของรัฐหรือแคว้นสําคัญที่
พัฒนาขน้ึ ในสมัยสวุ รรณภูมิ.

เมืองอู่ทองและปริมณฑลคือบริเวณศูนย์กลางของรัฐหรือแคว้นสําคัญท่ีพัฒนาขึ้นในสมัย
สุวรรณภูมิท่ีมีโบราณสถานวัตถุสนับสนุนมากกว่าท่ีอ่ืนๆ เพราะต้ังอยู่ในตําแหน่งที่เป็นศูนย์กลางการ
คมนาคม ทั้งจากเส้นทางข้ามคาบสมุทรจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียมายังฝั่งทะเลจีนในอ่าวไทย อีกทั้ง
เป็นศูนย์กลางท่ีจะติดต่อทางทะเลไปยังบ้านเมืองทางตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นตรงปากแมน่ ้ําโขงทีเ่ ลย
ขึ้นไปทางชายฝั่งทะเลของประเทศเวียดนาม ไปยังเมืองท่าตอนใต้ของประเทศจีนในมณฑลกวางตุ้ง
และกวางสี เป็นต้นนอกจากนั้นเมืองอู่ทองยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบกท่ีผ่านลุ่มแม้น้ํา
เจ้าพระยาทางซกี ตะวนั ออกเขา้ ลุ่มนาํ้ ลพบุรี–ปา่ สัก ไปยงั ที่ราบสงู โคราชในลุ่มนํา้ มลู –ชี และแม่น้ําโขง
อกี ด้วย

อีกส่ิงหน่ึงจากหลักฐานทางโบราณคดีท่ีพบในเขตเมืองอู่ทองและปริมณฑล ก็คือได้พบ
ร่องรอยของคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา อันแสดงให้เห็นถึงการเป็ นสังคม
นานาชาติได้ดีกว่าท่ีอื่นๆ น่ันก็คือแหล่งโบราณที่เป็นชุมชนโบราณอันกระจายตามท้องถ่ินต่างๆ น้ัน
มักมีโบราณวัตถุหรือโบราณสถานท่ีมีรูปแบบแตกต่างกัน ท่ีสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทาง
วัฒนธรรมของผู้คนด้วยอย่างเช่น การพบจี้ท่ีมีสัตว์สองหัวท่ีเรียกว่า “ลิง – ลิง – โอ” ในเขตเมืองอู่
ทอง ซ่ึงยังไม่ทราบตาํ แหนง่ ว่ามาจากท่ใี ดน้ัน กแ็ สดงให้เห็นวา่ เป็นของคนท่เี กี่ยวข้องกับวัฒนธรรมซา
หวิ่นที่อยู่ชายทะเลในเขตประเทศเวียดนาม คนเหล่าน้ีโบราณคดีเชื่อว่า เป็นบรรพบุรุษของพวกจาม
และเป็นพวกเดินเรือค้าขายในระยะไกล คือ จากพ้ืนแผ่นดินตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาท่ีมีเมืองอู่
ทองเป็นศูนย์กลางรอบๆ เมืองอู่ทองทั้งท่ีอยู่บนและอยู่สูง หน้าที่ลุ่มต่ําของลําน้ําจระเข้สามพันจะพบ
แหลง่ ชุมชน โบราณในสมัยเหล็กทเ่ี รยี กว่า สบายสุวรรณภูมดิ ูทวั่ ไป ดลู ักษณะความเป็นชมุ ชนเหลา่ นั้น
ล้วนเห็นได้จากการมีแหล่งฝังศพรว่ มกัน ของผู้คนในชุมชนประเพณีฝังศพ ดังกล่าวแตกต่างประเพณี
เผาศพท่ีเปลย่ี นไปในสมยั ทวารวดีตงั้ แต่พุทธศตวรรษที่ 11-12 ลงมา ชุมชนโบราณท่ีแลเห็นจากแหล่ง
ฝังศพ มีท้ังขนาดเล็กและขนาดใหญแ่ สดงใหเ้ ห็นว่า มีชุมชนท่ีเป็นศูนย์กลางของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งจะมี
คนที่มีอาชีพ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเชน่ ชุมชนริมนํ้าจระเข้สาม
พัน ในเขตบ้านนาราวท่ีอยู่ในท่ีราบลุ่มหน้าเมืองอู่ทอง จะพบแหล่งฝังศพที่มีหม้อหายบรรจุสมบัติที่
เป็นเครื่องประดับเช่น ลูกปัด กําไร และเครื่องมือเครื่องใช้ที่สะท้อนให้เห็นลักษณะเฉพาะของ
ท้องถิ่น เช่น พบเคร่ืองมือหินขัดชนิดเล็กๆ กับคุณอยู่กับบรรดาลูกปัดหินและแก้วท่ีเป็นสีต่างๆพวก
เอชบีด พบน้อย แต่บรรดาลูกปัดขนาดเล็กท่ีทําด้วยดินเผาและแก้วน้ันจะมีรูปแบบพิเศษ เช่น เป็น
หลอดยาสีเขยี วคล้ายกา้ นผกั บุ้ง เป็นต้น ในขณะที่ท้องถ่ินอ่ืนพบลูกปดั ที่มีสีเฉพาะถ่ินเช่น น้ําเงนิ เขียว
หรือแดงเป็นสพี ้ืน

แหล่งโบราณคดีท่ีบ้านดอนตาเพชรท่ีบ้านดอนตาเพชรน้ันนับเนื่องเป็นแหล่งฝังศพของ
บรรดาชุมชนขนาดใหญ่ในลักษณะท่ีเป็นเมืองที่สัมพันธ์กับการเป็นศูนย์กลางของเมืองอู่ทอง ได้เป็น
อย่างดี เพราะบรรดาลูกปดั ท่เี ปน็ เอชบีด ขนาดใหญ่และมลี วดลายหลากหลายเหล่านน้ั ล้วนแสดงให้

66

เห็นถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของคนตายเป็นอยา่ งดี โดยเฉพาะบรรดาเคร่ืองมือเครื่องใช้
และอาวุธที่เป็นเหล็กน้ัน เป็นรูปแบบที่พบท่ัวไปในบริเวณลุ่มน้ําเจ้าพระยา ท้ังซีกตะวันตกและ
ตะวันออกทีเดียว โดยเฉพาะรูปแบบของเคร่ืองมือเหล็กชนิดต่าง ๆ นั้น เหมือนกันกับที่พบในแหล่ง
โบราณคดีบ้านใหม่ชัยมงคล ใกล้กับเมืองจันเสนในเขตอําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ที่น่าจะเป็น
แหล่งโบราณคดีในยุคเหล็กสุวรรณภูมิท่ีสัมพันธ์กับบริเวณเมืองก่อนเมืองละโว้ที่บ้านท่าแคในเขต
จงั หวดั ลพบุรี

ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองอู่ทองก็พบแหล่งชุมชนโบราณ เช่นที่บ้านสําโรง
ท่ตี ามหลุมศพพบโครงกระดูกทีม่ ีกาํ ไลแขน สายสงั วาลที่ทําด้วยหอยทะเลนํ้าลึกและหอยเบ้ยี ที่ใช้เป็น
เงินตราสากลหรือบรรดาลูกปัดขนาดใหญ่ท่ีทําด้วยหินสี เช่น คาร์เนเลียนและอะเกตท่ีมีคุณภาพดี
รวมทง้ั ลกู ปัดเอชบดี รปู เขาควายขนาดใหญ่ ทท่ี ําด้วยหินคาร์เนเลยี นมลี ายแถบสีดาํ ขาวพาด อันแสดง
ใหเ้ ห็นว่า เป็นสมบัตขิ องเจา้ ของศพที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมท่ีไม่ใชธ่ รรมดา โดยเฉพาะบรรดา
เครื่องประดับท่ีทําด้วยเปลือกหอยทะเลน้ําลกึ เช่น หอยสังข์ หอยมือเสือนน้ั ล้วนเป็นของหายากและ
มีค่ามาแต่สมัยก่อนเหล็ก คือก่อน 2,500 ปีขนึ้ ไป เป็นสิ่งที่พบมากในชุมชนโบราณล่มุ น้ําลพบุรี-ปา่ สัก
ดูเหมือนความแตกต่างที่สําคญั ของเครือ่ งประดับที่มีค่าในซกี ตะวนั ตกของแม่น้ําเจา้ พระยาอนั มเี มืองอู่
ทองเป็นศูนย์กลางก็คือ การใช้หินสีเขียวคล้ายหยก มาทําเป็น ลูกปัด กําไล ตุ้มหู และเครื่องประดับ
อื่นๆ นับเป็นสิ่งท่ีเป็นอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองอู่ทองในสมัยสุวรรณภูมิทีเดียว โบราณวัตถุที่ทํา
ด้วยหินสีเขียวบรรดาลูกปัดท่ีทําด้วยแกว้ หลายสีเป็นแบบอายบีด หรือท่ีมลี วดลายเป็นของมาจากทาง
จนี กรีก โรมัน เปอร์เซีย และอียิปต์ บรรดาโบราณวัตถุเหล่าน้ีมักอยใู่ นการครอบครองของเอกชนที่มี
การนาํ ไปแปรรูปเปน็ เครอ่ื งประดบั ส่วนตวั

เมอื งอูท่ องเปน็ เมืองทา่ ในยคุ เหล็กหรือสวุ รรณภูมิ

ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ พรชัย สุจิตต์ กับ รองศาสตราจารย์ ดร. ธิดา สาระยา ผูร้ ่วมงานวิจัย
ในโครงการประวัติศาสตร์โบราณคดีนี้ ได้ทําการสํารวจศึกษาและติดตามแหล่งโบราณคดียุคเหล็กที่
พบโดยชาวบ้านและบรรดานักล่าสมบัตติ า่ งๆ ท่อี ยู่ใกล้และไกลเมอื งอู่ทองไปทางตะวนั ออกตามลํานํ้า
เก่าที่เป็นสาขาของแม่น้ําสุพรรณบุรี ก็พบว่า มีการกระจายตัวของชุมชนยุคสวุ รรณภูมิหรือยุคเหล็กนี้
ผ่านเขตจังหวดั สุพรรณบุรแี ละชัยนาทอันเป็นบรเิ วณดินดอนสามเหล่ยี มเก่า (Old Delta) ไปเชือ่ มต่อ
กับชุมชนยุคก่อนเหล็กและยุคเหล็กทางซีกตะวันออกของแม่น้ําเจ้าพระยาในลุ่มนํ้าลพบุรี-ป่าสัก อีก
ทั้งมีร่องรอยความสัมพันธ์ทางเส้นทางคมนาคมผ่านเขตจังหวัดนครสวรรค์และเพชรบูรณ์ขึ้นไปยังท่ี
ราบสูงโคราชในลุ่มน้ําชี-มูล ชุมชนท่ีเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ที่มีการรวมกลุ่มกันอยู่ในละแวกเดียวกัน
ไม่กี่แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะสัมพันธ์กับแหล่งทรัพยากรที่เกี่ยวกับแร่ธาตุ เช่น เหล็กและทองแดงใน
ขณะทช่ี ุมชมในยุคเหล็กลงมา มที ั้งชมุ ชนขนาดเลก็ และใหญ่ท่สี ัมพันธ์กันในลักษณะท่ีเป็นเครือขา่ ย มี
ตําแหน่งทเี่ ป็นศูนย์กลางและความซบั ซ้อนทางสงั คมท่ีคลา้ ยคลึงกับบรรดาแหล่งโบราณคดใี นยุคเหล็ก
ทง้ั หลายในลุ่มนํา้ เจ้าพระยาและท่รี าบสงู โคราช

แต่ความแตกต่างระหวา่ งแหล่งชุมชนยคุ เหล็กทางซีกตะวันออกในลุ่มนํา้ ลพบุรีปา่ สกั กับ
ลุ่มน้ําท่าจีน-แม่กลองอย่างเห็นได้ชัดคือทางซีกตะวันออก มักเป็นแหล่งชุมชนที่สัมพันธ์กับแหล่งแร่
ธาตุ เช่น เหล็กและทองแดง พบเศษตะกรันโลหะที่เป็นของเหลือจากการถลุงมากมาย จนอาจกล่าว

67

ได้ว่า เป็นลักษณะสาํ คัญอยา่ งหน่งึ ของชุมชนกว็ า่ ได้ ส่วนทางซกี ตะวนั ตกมนี ้อย แต่มีความหลากหลาย
ทางรูปแบบของโบราณวัตถุ ท่ีเป็นของภายในท้องถ่ินและมาจากภายนอก แต่ที่สําคัญก็คือ บรรดา
แหล่งชุมโบราณทางซีกตะวันตกน้ัน อยู่ในตําแหน่งใกล้กับลําน้ําที่ไปออกอ่าวไทยได้มากกว่า
โดยเฉพาะเมืองอู่ทองนั้น โดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องความสัมพันธ์กับชายฝั่งทะเล ที่อํานวยความ
สะดวกให้มกี ารติดต่อกบั บ้านเมืองโพ้นทะเล ดังกล่าวนี้ อาจแลเห็นได้จากแหล่งชุมชนโบราณยุคก่อน
เหล็ก ท่ีโคกพลับในเขตอําเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ซ่ึงต้ังอยู่บนเนินทรายท่ีเป็นชายทะเลมาแต่เดิม
ณ ชุมชนแห่งนี้ พบโบราณวัตถุสารดีและเคร่ืองประดับบททําด้วยหินและเขาสติวิทมอายุราว 2,500
บาท ขนึ้ ไป ส่วนเป็นของท่ีมาจากจนี และเวียดนาม ในขณะที่เมืองอีทองไดพ้ ัฒนาขนึ้ เป็นเมืองทา่ ในยุค
เหล็กหรือสุวรรณภูมิที่มีการสืบเน่ืองลงมาจนถึงสมัยฟูนัน คือถึงราวพุทธศตวรรษท่ี 10-11 แล้วจึง
เส่ือมลง เพราะมีเมืองท่าเกิดใหม่ขึ้นที่เมืองนครชัยศรี และเมืองคูบัวในลุ่มแม่น้ํากลองในเขตจังหวัด
ราชบรุ แี ทน

เมืองอู่ทองเป็นเมืองท่าทีมีพัฒนาการสืบมาจนถึงสมัยฟูนันและสมัยทวารวดีนั้นก็เพราะ
พบร่องรอยการสืบเน่ืองท่าท่ีมีพัฒนาการสืบมาจนถึงสมัยฟูนันและสมัยทวารวดีน้ันก็เพราะ พบ
รอ่ งรอยการสืบเน่ืองจากชุมชนตามเส้นทางคมนาคมท้งั ในเขตเมืองอทู่ องและปรมิ ณฑลที่สมั พันธ์ไปยัง
เครือข่ายท่อี ยทู่ ้ังทางทิศตะวันตกในล่มุ แม่นํา้ แม่กลอง และทางทศิ ตะวนั ออกในลุ่มนํ้าเจ้าพระยาจนถึง
ลุ่มแม่นํ้าลพบุรี-ป่าสัก โดยเฉพาะท่ีเมืองอู่ทองและปริมณฑลน้ัน แลเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทาง
หลักฐานทางกายภาพและวัฒนธรรม น่ันก็คือบรรดาแหล่งโบราณคดีอันแสดงความเป็นชุมชนอัน
ได้แก่ บรรดาแหล่งฝังศพได้ถูกแทนโดยบรรดาศาสนสถานในศาสนาฮินดูและพุทธ และประเพณีการ
ฝังศพก็เปลี่ยนไปเป็นการเผาศพแทน เกิดประเพณีการนําเอาอัฐิที่เผาแล้วมาใส่ภาชนะฝังไว้ตาม
บริเวณใกล้กับศาสนาสถานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในบรเิ วณตัวเมืองก็มกี ารขุดคูน้ําล้อมรอบ มกี ําแพง
ดินโอบล้อมและมีประตูเมืองในตําแหน่งท่ีเป็นทิศเป็นทาง เกิดศาสนสถานใหญ่น้อยภายในเขตเมือง
และมีสระนาํ้ หนองนา้ํ เพือ่ การอุปโภค-บรโิ ภค รวมทงั้ เพ่ือทาํ พิธีกรรมทางศาสนา

7) เมอื งอทู่ องท่เี ป็นเมอื งแรกเริม่ ในรูปแบบทเี่ รยี กวา่ มณฑล

สําหรับเมืองอู่ทองทเ่ี ป็นเมืองแรกเร่ิมน้ันแตกต่างไปจากเมืองนครปฐมและเมืองคูบวั อย่าง
ชัดเจน ในลักษณะท่ีว่าบรรดาศาสนาสถานที่พบนั้นล้วนแสดงให้เห็นว่ามีทั้งศาสนาฮินดูและพุทธ
ศาสนาเกิดข้ึนในเวลาเดียวกัน อันแสดงให้เห็นว่าทั้งผู้คนที่มาจากภายนอกและคนที่อยู่ภายในนั้นมี
หลายศาสนาอยู่ด้วยกัน ต่างกันกับเมืองนครปฐมและคูบัวท่ีโบราณสถานวัตถุส่วนใหญ่เป็นของใน
พระพุทธศาสนาและอะไรตอ่ อะไรคลา้ ยคลึงกนั หมด มีระเบียบแบบแผนและดูมมี าตรฐาน หามีความ
หลากหลายและดูซับซ้อนเหมือนเช่นท่ีเมืองอู่ทองและชุมรมร่วมสมัยเดียวกันไม่ ดูเหมือนผู้ที่แลเห็น
ภาพความซับซ้อนของเมืองอู่ทองในรูปธรรมจากบรรดาโบราณสถานวตั ถุของเมืองอ่ทู องได้ดอี ยา่ งเป็น
รูปธรรมกค็ ือ ศาสตราจารย์ฌอง บวสเซอลิเยร์ นกั ประวัติศาสตร์ศิลปแ์ ละนกั ประวัติศาสตรโ์ บราณคดี
ของชาวฝร่ังเศส เพราะเป็นผู้ท่ีมีประสบการณ์แลเห็นโบราณสถานวัตถุในภูมิภาคเอเซียตะวันออก
เฉยี งใต้ โดยเฉพาะท่ีเขมร เวยี ดนาม แตส่ มยั ฟนู นั เจนละ และเมืองพระนครมามาก

ศาสตราจารย์บวสเซอลิเยร์ มีความเห็นว่าเมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวงของภูมิภาคนี้มาแต่
สมัยฟูนันจนถึงสมัยทวารวดีตอนต้น ต่อจากน้ันก็คลายความสําคัญลงโดยท่ีเมืองนครปฐมเจริญขึ้นมา

68

แทนท่ี แต่เมืองอู่ทองก็ยังดํารงอยู่เรื่อยมาจนถึงสมัยลพบรุ ี บวสเซอลเิ ยร์คือผู้ที่แลเห็นวา่ สมัยทวารวดี
และเจนละท่ีพัฒนาขึ้นมาแต่พุทธศตวรรษที่ 12 หรอื ครสิ ต์ศตวรรษที่ 6 นั้นเป็นช่วงเวลาทมี่ ีการสร้าง
โบราณสถานที่เป็นศาสนสถานด้วยวัสดุที่แข็งแรง เช่น อิฐแลงและหิน ทําให้แลเห็นสิ่งที่เป็นศิลปะ
สถาปัตยกรรมได้ชัดเจน แลเห็นพุทธศาสนาแบบเถรวาทในดินแดนลุ่มนํ้าเจ้าพระยาท่ีเช่ือว่าเป็น
อาณาจักรทวารวดีและในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศกัมพูชาเป็นบ้านเมืองและ
อาณาจกั รทนี่ ับถือศาสนาฮินดเู ป็นหลกั ซึ่งเปน็ ทรี่ ้จู ักกันในนามของอาณาจักรเจนละ

แต่ท่ีสําคัญ ศาสตราจารย์บวสเซอลิเยร์ คือ98 ผู้ที่แลเห็นการสืบเน่ืองของบ้านเมืองใน
อาณาจักรทวารวดแี ละเจนละว่าต้ังแต่พทุ ธศตวรรษท่ี 13 ลงมา ได้มีการเคลื่อนไหวทางพุทธมหายาน
แพร่หลายเข้ามา ซ่ึงเห็นจากรูปแบบของโบราณสถานวัตถุท่ีเรียกว่า “ศรีวิชัย” บวสเซอลิเยร์แลเห็น
สิ่งน้ีจากการขดุ ค้นโบราณสถานและโบราณวัตถุท้ังที่เมอื งนครปฐม เมืองอู่ทอง และเมืองคูบัว ความรู้
ท่ีได้รับจากบวสเซอลิเยร์ในเรื่องน้ีเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อไปเช่ือมโยงกับ
การค้นคว้าของอาจารย์มานิต วัลลิโภดม,และอาจารย์ชิน อยู่ดี แล้วทําให้ข้าพเจ้าขยายความสําคัญ
ของเมืองอู่ทองไปสู่ยุคสุวรรณภูมิท่ีสอดคล้องกับบรรดาแหล่งโบราณคดีในยุคเหล็ก ท่ีบรรดานัก
โบราณคดีทั้งอเมริกา อังกฤษ และไทยในสมัยต่อมาได้ค้นพบและศึกษา แต่ข้าพเจ้าก็มีความเห็น
ขัดแย้งกับศาสตราจารย์บวสเซอลิเยรใ์ นเรื่องทเี่ ห็นว่าเมอื งอ่ทู องเปน็ เมืองหลวงและทวารวดีกับเจนละ
เป็นอาณาจักร ซ่ึงนั่นก็หมายถึงการเป็นรัฐรวมศูนย์ท่ีมีอํานาจปกคลุมภูมิภาคที่กว้างใหญ่เช่น ลุ่ม
แม่นํ้าเจ้าพระยาท้ังหมด แนวความคิดเช่นนี้เป็นของนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
เฉยี งใต้ในยคุ แรกๆ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ และสมเดจ็ ฯกรมพระยาดาํ รงราชานุภาพ เป็นต้น

ตอ่ มานักประวัตศิ าสตรร์ ุ่นหลังเช่น ศาสตราจารย์โอ ดับเบิล้ ยู โวลเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัย
คอร์แนล สหัฐอเมริกา ได้โต้แย้งและเห็นว่า พัฒนาการของรัฐแรกเริ่ม เช่น ฟูนันและทวารวดีน้ัน หา
ใช้รัฐรวมศูนย์ไม่ แม้กระท่ังตั้งแต่พุทธศตวรรษท่ี 13 ลงมาที่เรียกว่าสมัยศรีวิชัย ท่ีเช่ือกันว่าเกิด
อาณาจกั รศรีวิชยั ทมี่ ีอํานาจทางทะเลนั้น ก็หาได้เป็นอาณาจักรท่ีรวมศูนย์กลางแบบจักรภพอังกฤษใน
สมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรยี ไม่ ทํานองตรงข้าม ในช่วงฟูนัน ทวารวดีและเจนละนั้น มีพัฒนาการ
ของรัฐหลายรัฐท้ังใหญ่และน้อย ครอบคลมุ อาณาบรเิ วณท่ีมีขอบเขตและขนาดพอสมควร ซ่ึงต่อมาได้
มีการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองในรูปแบบที่เรียกว่ามณฑล (Mandala)
ที่ทําให้พระมหากษัตรยิ ์ของเมืองใดเมืองหนึ่งหรือรัฐใดรัฐหน่ึงมอี ํานาจเป็นท่ียอมรับแก่บรรดากษตั ริย์
ของรัฐท้ังหลาย แต่เมื่อส้ินพระมหากษัตริย์พระองค์น้ันแล้ว ความเป็นศูนย์กลางและความสัมพันธ์
ทางการเมืองในระบบมณฑลอาจเปล่ียนไปได้ หามีความยั่งยืนเช่นการปกครองแบบอาณาจักรไม่
โครงสร้างของมณฑลของศาสตราจารย์โวลเตอร์ เพราะท่านสร้างข้ึนจากความก้าวหน้าของหลักฐาน
ทางโบราณคดีและมานุษยวิทยาท่ีมีการค้นพบอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะหลักฐานในสมัยก่อนเหล็ก
และสมัยเหล็กที่สืบเนื่องมาจนถึงสมัยต้นประวัติศาสตร์ เช่น สมัยทวารวดีและศรีวิชัย ในการศึกษา
และรวบรวมข้อมูลของข้าพเจ้า มีหลักฐานทางโบราณคดีทั้งยุคก่อนเหล็กและยุคเหล็กอย่างชัดเจน
อีกทั้งมีความแตกต่างกันระหว่างบริเวณซีกตะวันตกและตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยาด้วย ทางซีก
ตะวันตกแลเห็นความเก่ียวข้องกับการเคล่ือนไหวของผู้คืนท่ีเข้ามาท้ังถ่ินฐานจากทางท่ีทําให้เกิด

98 บวสเซอลเิ ยร์ ฌอง ,ความรใู้ หมท่ างโบราณคดีจากเมืองอู่ทอง,. (พระนคร:กรมศิลปากร,2515), ...

69

พัฒนาการของบ้านและเมืองขึ้น ในขณะทท่ี างซกี ตะวนั ออกแลเหน็ การเคล่อื นไหวท่มี าจากทางบกโดย
ผา่ นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนอื เขา้ มาเป็นสว่ นใหญ่ โดยเข้ามาต้ังหลักแหล่งในบริเวณลุ่มน้ําลพบุรี-
ป่าสัก อันอุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งแรธ่ าตแุ ละของป่า พบแหล่งชมุ ชนบ้านในสมัยก่อนเหล็กกระจายอยู่
ท่วั ไปหลายแห่ง มีพัฒนาการสืบเน่อื งในยุคเหล็กมาเป็นชมุ ชนใหญ่ระดับเมือง แต่ดูเหมือนตําแหน่งที่
กลายเป็นศูนย์กลางของความเจริญจะอยู่ในบริเวณจังหวัดลพบุรี ท่ีเกิดเป็นเมืองและรัฐขึ้นในสมัย
ฟูนันและทวารวดี โดยมีเมืองละโว้เป็นเมืองใหญ่กับเมืองศรีเทพที่อยู่ก่ึงกลางเส้นทางคมนาคมข้าม
เทอื กเขาเพชรบรู ณไ์ ปยังบา้ นเมอื งในล่มุ นํา้ มลู -ชขี องภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ

ส่วนทางซีกตะวันตกของแม่น้ําเจ้าพระยา แม้ว่า จะพบร่องรอยของชุมชนในสมัยหินขัด
กระจายอยู่ทั่วไปก็ตาม แต่ความเจริญในยุคสําริดหรือยุคก่อนเหล็กดูเหมือนเข้ามาน้อย ทําให้พบ
ร่องรอยของชุมชนในยุคก่อนเหล็กหรือยุคสําริดน้อยแห่งกว่าทางซีกตะวันออก ชุมชนยุคก่อนเหล็กท่ี
โดดเด่นนั้น เห็นได้จากแหล่งโบราณคดีโคกพลับที่ตําบลโพธ์ิหัก อําเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็น
ชุมชนที่อยู่ในท่ีราบลุ่มใกล้กับชายฝั่งทะเลท่ีมีทางน้ําเข้าออกอ่าวไทยได้ บรรดาโบราณวัตถุที่พบ
ร่วมกับโครงกระดูกมนุษยใ์ นหลมุ ศพท่ีไมพ่ บสิ่งของทําดว้ ยเหล็กนั้น แสดงให้เห็นถึงการเป็นชมุ ชนของ
ผู้คนที่มาจากโพ้นทะเล ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับจีนใต้และเวียดนาม ชุมชนที่เกิดขึ้นท่ีตําบลโพธิ์หักนี้
ท้ังขนาดและความซับซอ้ นทางเศรษฐกจิ และสังคม ตีความได้เพียงเป็นสังคมหมู่บ้านท่ีอยลู่ ําพงั ตนเอง
ได้เท่านั้น แต่ในยคุ เหล็กกลับพบการมีอยแู่ ละการกระจายตัวของชุมชนหมบู่ ้านและชุมชนขนาดใหญ่
ท่ีมีปริมณฑลและเครือข่ายที่แสดงฐานะความเป็นเมืองได้เด่นชัดกว่าบรรดาชุมชนทางซีกตะวันออก
ท้ังน้ีคงเนื่องมาจากอิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมท่ีมาจากโพ้นทะเลทางตะวันตก คือจาก
อินเดีย กรกี โรมัน และเปอรเ์ ซยี ท่ีข้ามผ่านเสน้ ทางคาบสมุทรจากฝ่ังมะริด-ตะนาวศรี มายังล่มุ นํ้าแม่
กลอง และผ่านลงมายังลุ่มนํ้าท่าจีนจนถึงเมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมอื งที่จะติดต่อทางทะเลไปยังบ้านเมือง
ทางฝ่ังอ่าวไทยและทะเลจนี

การติดต่อทางทะเลกับภายนอก คือส่ิงที่ทําให้ชุมชนมนุษย์ทางซีกตะวันตกของแม่น้ํา
เจ้าพระยาน้ีเติบโตและก้าวหน้ามาเป็นบ้านเมือง และรัฐได้เร็วกว่าบ้านเมืองทางซีกตะวันออกของลุ่ม
น้ําเจ้าพระยาในเขตลุ่มนํ้าลพบุรี-ป่าสัก ซึ่งก็เห็นได้ชัดจากหลักฐานทางโบราณคดี ไม่ว่าจะเป็น
โบราณสถานหรือโบราณวัตถุ ล้วนมีความหลากหลายในรูปแบบ และมีมาตรฐานในเร่ืองสัดส่วนของ
ความมีระเบียบและความงามทางศิลป์ท่ีเป็นคลาสสิกกว่าบรรดาข้าวของที่พบทางซีกตะวันออก
รวมท้ังมีลกั ษณะที่เป็นต้นแบบอยา่ งของความเจริญทแี่ พร่ขยาย และส่งผ่านไปยังตะวันออกด้วย

8) อู่ทองในฐานะเวียงหรือเชยี งและปรุ ะหรอื นคร

จากการนําเอาเร่ืองร้อยของชุมชนโบราณในยุคเหล็กเหรียญเมื่อสุวรรณภูมิท่ีได้กล่าว
มาแล้วมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายให้แลเห็นว่าบรเิ วณใดเป็นชุมชนขนาดเล็กในระดับหมู่บ้านบริเวณใด
เป็นชุมชนขนาดใหญ่ในลักษณะท่ีเป็นเมือง ท้ังที่พบในบริเวณลุ่มน้ําแม่น้ําเจ้าพระยาท้ังทางซีก
ตะวันตกและตะวันออกแล้ว ก็พอแลเห็นว่าบริเวณใดท่ีมีความสําคัญ มีขนาดใหญ่ท้ังพ้ืนท่ีและความ
ลึก และการต่อเน่ืองในมิติของเวลาอันเป็นลักษณะของแหล่งที่จะมีความซับซ้อนทางสังคมและ
วฒั นธรรมในระดับท่ีจะเป็นเมืองใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของรัฐได้ บริเวณเมืองอู่ทองมีลักษณะเช่นที่ว่า
ซึ่งอาจวเิ คราะหอ์ อกได้เปน็ บรเิ วณศูนย์กลางและบริเวณปริมณฑล

70

บริเวณศูนย์กลางก็คือบริเวณที่เป็นตัวเมือง มีแนวคูน้ําและคันดินล้อมรอบลักษณะทาง
กายภาพเชน่ น้ีมคี าํ เรยี กว่า “เวยี ง” ในภาษาไทย และคําว่า “ปรุ ะ” ในภาษาบาลีสันสกฤต แต่ถา้ หาก
กินกว้างไปถึงอาณาบริเวณที่เป็นปริมณฑลท่ีเป็นปริมณฑลที่สัมพันธ์กับการอยู่อาศัยและโครงสร้าง
ทางสังคม ก็จะมคี าํ วา่ “เมือง” หรอื “เชียง” ในภาษาไทย และคําว่า “นคร” ในภาษาบาลีสนั สกฤต
เป็นส่ิงบ่งบอก แต่การศึกษาเร่ืองชุมชนโบราณที่แล้วมาน้ัน มักให้ความสําคัญกับสิ่งท่ีเป็นกายภาพใน
เร่ืองของเวียงหรือปุระมากกว่า จึงแลเห็นแต่เพียงโบราณสถานวัตถุในขอบเขตจํากัด ไม่เข้าไปถึง
ความหมายท่เี กี่ยวขอ้ งกับความเปน็ เมอื งเชียง หรอื นครท่ีสัมพันธ์กับชวี ติ ความเปน็ อยขู่ องผ้คู นไม่

ความเป็นเมืองของอู่ทองประกอบด้วยศูนย์กลางที่เรียกว่า เวียง หรือ ปุระ ที่มีขนาดใหญ่
ภายในขอบเขตของคูและกําแพงเวยี งนนั้ มกี ารตั้งหลกั แหล่งท่อี ยอู่ าศยั ของผคู้ นมาหลายยคุ หลายสมัย
ท่ีอาจมีมาก่อนการขุดคูนํ้าและสร้างกําแพงเวียง ซึ่งก็รวมทั้งบริเวณนอกเวียงท่ีเป็นปริมณฑลในรัศมี
8-10 กิโลเมตร ทําให้แลเห็นได้ว่าการเกิดเวียงขึ้นมาน้ันเกิดจากการเกิดเวียงข้ึนมาน้ันเกิดจากการ
เติบโตของชุมชนโดยตรง โดยการสร้างเวียงทับไปบนแหล่งท่ีมีคนอยู่อาศัยมาแต่เดิมหาได้มีการ
ตระเตรียมและวางแผนผังเป็นระบบมากขึ้นไม่ เวียงอู่ทองที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะที่ไม่มีรูปแบบ
สม่ําเสมอ ในลักษณะทีส่ ัมพันธ์กับระบบจักรวาลในคติทางศาสนาทพ่ี บตามเวียงของเมืองในสมัยหลัง
ลงมา เช่น สมัยทวารวดีและลพบุรี แม้ว่าการสร้างเมืองอู่ทองจะมีการสืบเน่ืองลงมาถึงสมัยทวารวดี
และสมัยศรีวิชัย โดยมีการสรา้ งศาสนสถานข้ึนท้ังภายในเวียงและนอกเวียงก็ตาม ก็แลไม่เห็นการจัด
ระเบียบท่ีชัดเจนอย่างเช่นเมืองอื่นๆ ลักษณะเช่นนี้คือสิ่งที่บ่งบอกของการเป็นเวียงและเป็นเมืองใน
ระยะแรกเร่มิ ทางประวัติศาสตรแ์ ละสภาพแวดล้อมเมืองอู่ทองเป็นทั้งเมืองท่าและเป็นนครรฐั ในระยะ
แรกเร่ิมที่พัฒนาข้ึนในยุคเหล็กหรือสมัยสุวรรณภูมิ ที่ว่าเป็นเมืองท่าก็เพราะอยู่ในตําแหน่งท่ีเรือเดิน
ทะเลโบราณแล่นเข้ามาตามทางนํ้าใหญ่เพ่ือขนถ่ายสินค้าได้ประการหน่ึง และอีกประการหน่ึงก็คือ
เป็นบรเิ วณทม่ี ีผู้คนหลากหลายชาตพิ นั ธ์แุ ละศาสนาเข้ามาต้งั ถ่ินฐานหรอื เข้ามาเก่ียวข้อง ส่วนที่วา่ เป็น
นครรัฐก็คือการมีเวียงเป็นศูนย์กลางในการปกครองและป้องกันข้าศึกในยามสงคราม ใหญ่เพ่ือการ
ประกอบประเพณี-พิธีกรรมในระบบความเชื่อของกษัตริย์ และประชาชนทั้งภายนอกและภายใน
รวมทั้งการมีขอบเขตปริมณฑลของเมืองท่ีสะท้อนให้เห็นถึงการมีชุมชนบ้านและเมืองขนาดเล็กเป็น
บริวาร ที่มเี ครือข่ายต่อเน่ืองไปในอาณาบริเวณหน่งึ ที่กว้างขวางในขอบเขตทางซีกตะวันตกของแม่นํ้า
เจา้ พระยา

9) ชุมชนเมืองชาวฮนิ ดูโพน้ ทะเลคัว่ คา้ ขายท่ีเขาคอก

เหตุท่ีข้าพเจ้ามีความเห็นว่าชุมชนฮินดูท่ีอยู่บริเวณเขาคอกเป็นชุมชนเมือง ก็เพราะมี
ลักษณะอะไรหลายอย่างในเร่ืองของผู้คนและการใช้พ้ืนที่ที่แตกต่างจากชุมชนฮินดูหรือพุทธในภาค
กลางและภาคอีสานโดยทั่วไป นั่นก็คือการมีสถานขนาดเล็กๆ ที่อยู่ติดกันในพื้นท่ีซ่ึงไม่กว้างใหญ่น้ัน
เป็นลักษณะของชุมชนของคนอินเดียและเนปาลที่อยู่ห่างไกลจากดินแดนเอเชียอาคเนย์ ชุมชนแบบนี้
มีลักษณะ แออัดในเร่ืองการใช้พ้ืนที่อยู่อาศัย คนหลายกลุ่มหลายตระกูลอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือ
ใกล้ชิดกัน แต่รักษาความแตกต่างหรือความเป็นกลุ่มตระกูลด้วยการท่ีต่างฝ่ายต่างก็มีศาสนาในการ
ประกอบพิธีกรรมของพวกตนไว้เลย จึงทําให้เกิดจากสถานแบบเล็กๆ หรือง่ายๆ กระจายอยู่ทั่วไป

71

แตท่ า่ มกลางการอยู่ร่วมกนั ของคนหลายกลุ่มนี้ กจ็ ะมีสระสถานขนาดใหญ่ของชมุ ชนเกดิ ข้ึนเพ่ือบรู ณา
การความแตกตา่ งเหล่าน้นั อีกที

เช่ือว่าบริเวณเขาคอก ที่ลาดและท่ีราบหน้าเขาคอก พินาศลงสู่ลําน้ําจระเข้สามพันน้ีคือ
บริเวณชุมชนฮินดูท่มี าจากโพ้นทะเล มาอยูร่ วมกันเป็นเมืองเล็กๆ ที่เป็นบริวารของเมอื งอ่ทู องอันเป็น
ศูนยก์ ลางการปกครองทอี่ ยหู่ า่ งไปทางตะวันออกเฉยี งเหนือราว 4 กโิ ลเมตร

ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้น่าจะเป็นพวกค้าขายเดินทางมากกว่าจะเป็นคนที่
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งลกั ษณะเช่นนี้จะสะท้อนให้เห็นจากการขุดพบหายหรือกระปุกเงินตรา
ท่ีเป็นรูปสิงห์หรือลูกสัญลักษณ์อื่นๆ ท่ีมีอายุต้ังแต่สมัยฟูนันลงมาจนถึงสมัยทราวดีโดยเฉพาะเงิน
ขนาดเล็กแผ่นบางๆที่เปน็ รปู สิง่ น้นั มักจะไมเ่ ห็นในท่อี ่นื ๆ

จากการขุดค้นทางโบราณคดีของกรมศิลปากร บริเวณนี้มีร่องรอยการอยู่อาศัยมาแต่ยุค
ก่อนประวตั ิศาสตร์พบท้ังเครื่องมือ หินขัด เศษตะกรนหล็ก พอเข้ามาสู่ยุคประวัติศาสตร์ท่ีพบศาสนา
ฮินดูและเงินตราดังกล่าวน้ันก็พบวตั ถุเคารพที่สําคญั คือมุขขลึงค์ อนั เปน็ ส่งิ ท่นี ิยมในอินเดยี สมัยคุปตะ
ท่มี อี ายุราวพุทธศตวรรษ ท่ี 12 มุขลงึ ค์ แบบน้ี กม็ ีพบตามแหล่งโบราณคดีสมยั ฟูนันเจนและในบริเวณ
ปากแม่นาํ้ โขงเช่นเดียวกนั

10) อทู่ องกับละแวกยา่ นน้ีเมอื่ สมยั โบราณ99

อู่ทองเป็นเมืองโบราณท่ีสามารถกล่าวได้ว่าสําคัญที่สุดเมืองหน่ึงในสมัยประวัติศาสตร์ยุค
แรกของประเทศไทย เนื่องจากมีพัฒนาการการเคลือ่ นไหวของชุมชนในละแวกลมุ่ แม่นาํ้ กลอง-ท่าจนี ที่
คลี่คลายและสัมพันธ์กันอย่างน่าสนใจ ดังน้ัน การจะเข้าใจความเป็นมาของเมืองอู่ทองจึงจําเป็น
จะต้องเข้าใจถึงบริบทท่ีเป็นรากฐานของพัฒนาการชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ด้วย ท้ังนี้
เพราะชุมชนต้ังแต่ก่อนประวัติศาสตร์ด้วย ทั้งน้ีเพราะชุมชนตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้คือตัวตน
ท่ีจะมีพัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นชุมชมเมืองโบราณอู่ทอง และเมืองโบราณสมัยทวารวดีอื่นๆ ตามลุ่ม
แมน่ ้าํ แม่กลอง-ท่าจนี ในระยะเวลาตอ่ ไป

ลักษณะการตั้งถิ่นฐานในดินแดนแถบนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีคนเข้ามาอยู่อาศัยอยู่
ภายในถ้ําและเพิงผาในเขตพ้ืนท่ีสูงตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีต้ังแต่ยุคหิน ดํารงชีวิตอยู่ด้วยการเก็บ
ของป่าล่าสัตว์ใช้เคร่ืองมือหินกะเทาะ เช่น ถ้ําพระ อําเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยแ บบ
แผนการดําเนินชีวิตในช่วงนี้จะถูกควบคุมโดยธรรมชาติ พัฒนาการขึ้นตอนมาในสมัยหินใหม่ซึ่งเป็น
ชว่ งการเปลย่ี นแปลงทางสังคมและวฒั นธรรมของมนษุ ย์ครง้ั สําคญั

เน่ืองจากเปลี่ยนแปลงการดํารงชีวิตจากการเก็บของป่าล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม
เปลี่ยนจากเคร่ืองมือคนกะเทาะมาเป็นเครื่องมอื ทนขัดเปล่ียนจากการอยู่อาศัยในถ้ํามารู้จักสร้างที่อยู่
อาศัยข้ึนเอง รู้จักการเพาะปลูกเล้ียงสัตว์ เป็นช่วงท่ีมนุษย์เร่ิมควบคุมปรับเปลี่ยนธรรมชาติเข้าหา
ตัวเอง และได้เคล่ือนตัวออกจากที่สูงมาอยู่ในท่ีราบเชิงเขาใกล้แหล่งนํ้ากระจายตัวเป็นบริเวณกว้าง

99 ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ “ทิศทางการพัฒนาเมืองโบราณอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี สู่การเป็น
เมอื งท่องเที่ยวเชงิ ( 2556).

72

เช่น บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี หนองราชวัตรสุพรรณบุรี แหล่งโบราณคดีในเขตอําเภอสวนผึ้ง เป็น
ตน้ โบราณวัตถสุ ําคัญที่สามารถบง่ บอกอายสุ มัยยุคหินกลางถึงหินใหมไ่ ด้ดอี ยา่ งหน่ึงคอื ลกู ปัดที่ทาํ ด้วย
เปลือยหอย และกระดูกสัตว์

เมื่อเข้าสู่ยุคโลหะพบเครื่องมือเคร่ืองใช้และเคร่ืองประดับที่ทําด้วยสําริดและเหล็ก
ในช่วงน้ีเช่ือว่าได้มีการติดต่อกับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็กจากด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ํา
เจ้าพระยา เช่นชุมชนลุ่มแม่น้ําแม่กลอง-ท่าจีน อาจเกิดจากความต้องการดีบุกในพ้ืนที่แถบเทือกเขา
ตะนาวศรีในเขตอําเภอสวนผ้ึง จังหวัดราชบุรี เน่ืองจากดีบุกเป็นทรัพยากรสําคัญในยุคโลหะ ดีบุกจึง
อาจจะเป็นแรงกระตุ้นสาํ คัญท่ีทําใหช้ ุมชนท้งั สองแห่งได้เริ่มติดต่อถึงกันและอาจรวมถงึ การหล่อสําริด
ของอินเดียซึ่งอนิ เดยี ไม่มสี ินแร่ดบี ุก ดังนั้น อาจมีการนําดีบุกจากบริเวณแถบนไ้ี ปใช้ด้วยก็เป็นได้ เพ่อ
ผสมกับทองแดงในการทําเครื่องประดับ และเคร่ืองมือเคร่ืองใช้สําริด โดยชุมชนในระยะน้ีได้มีกรร
เคลื่อนตวั จากทร่ี าบเชงิ เขาในสมยั หนิ ใหมม่ าอยใู่ นที่ราบใกล้แหลง่ นํา้

ในช่วงยุคโลหะของดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้ากลอง-ท่าจีนได้มีการติดต่อกับดินแดงห่างไกล
อย่างหลากหลายทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก การติดต่อทางด้านทิศตะวันออกได้พบ
หลักฐานกลองมโหระทึกท่ีถํ้าองบะ อําเภอศรีสวัสด์ิ จังหวัดกาญจนบุรี และคูบัว อําเภอเมือง จังหวัด
ราชบุรี, ต่างหูรูปสัตว์สองหวั พบทอี่ ู่ทอง จังหวดั สุพรรณบุรีและดอนตามเพชร อําเภอพนมทวนจงั หวัด
กาญจนบุรี โบราณวัตถุชนิดน้ีพบเป็นจํานวนมากในประเทศเวียดนาม ทางภาคโต้พบที่เขาสามแก้ว
จังหวัดชุมพร ในขณะทางด้านทิศตะวันตกพบโบราณวัตถุที่นําเข้ามาจากอินเดียได้แก่ ขันสําริด ,
ภาชนะสําริดที่เป็น Knobbed waer ภาชนะสําริดเหล่าน้ี จะมีส่วนผสม ของดีบุกสูง (high
tinbronze) เพ่ือให้เม่ือขัดจะมีสีเหลืองคล้ายทอง และโบราณวัตถุสําคัญอีกอย่างหน่ึงท่ีเกิดจากการ
ติดต่อกับอินเดีย และยังสามารถบ่งชี้ได้ว่า แหล่งโบราณคดีที่พบอยู่ในยุคโลหะแล้วได้แก่ลูกปัดแก้ว
และลูกปัดหินคาร์เนเลียน, อะเกต เป็นต้น โดยเฉพาะลูกปัดหินเหล่าน้ีไม่มีวัตถุดิบในท้องถ่ินดังนั้น
การปรากฏเกิดข้ึนของลูกปัดแก้วและหินจึงสามารถใช้เป็นตัวแทนในการอธิบายถึงการเร่ิมรู้จักติดต่อ
กับอนิ เดยี ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,500 ปีลงมาได้เป็นอย่างดี

ในช่วงท่ีดินแดนแถบลุ่มแม่น้ําแม่กลอง-ท่าจีนเริ่มปรากฏโบราณวัตถุท่ีนําเข้ามาจาก
อินเดียในยุคโลหะดังท่ีได้กล่าวมาแล้ว จะสังเกตได้ว่า รูปแบบความเชื่อยังคงไม่ได้เปล่ียนไปจากสมัย
หินใหม่เน่ืองจากยังคงรักษาประเพณีการฝังศพแบบด้ังเดิมเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถบอกได้
ว่าโครงกระดูกที่พบอยู่ในสมัยหินใหม่หรือยุคโลหะสามารถจําแนกได้จากลูกปัดที่ฝังอุทิศให้ผู้ตาย
โดยในสมัยหินใหม่จะพบลูกปัดเปลือกหอยและกระดูกสัตว์ ในขณะท่ีโครงกระดูกที่อยู่ในยุคโลหะจะ
เริ่มพบลูกปัดแก้วและหินเข้ามาปะปน และจะเข้าแทนท่ีลูกปัดเปลือกหอยและกระดูกสัตว์ในท่ีสุด
ปรากฏการณ์นี้สามารถอธิบายได้จากแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร เน่ืองจากพบโบราณวัตถุจาก
อินเดียโดยเฉพาะลูกปัดแก้วและหินถูกฝังร่วมกับโครงกระดูกเป็นจํานวนมากนั้นหมายความว่า
อทิ ธพิ ลอินเดียทเี่ ข้ามายังลุ่มแม่นาํ้ แม่กลอง-ท่าจีนในยคุ โลหะน้ัน เป็นเพยี งการรับวตั ถุเขา้ มาในชุมชน
เพียงอย่างเดียว ยังไม่มีการเปล่ียนแปลงทางความคิดความเช่ือโดยเฉพาะการยอมรับนับถือพุทธ
ศาสนายังไม่เกิดข้ึนในระยะน้ันแต่อย่างใด ดังน้ันการพิจารณาถึงการยอมรับนับศาสนาพุทธของ

73

ชุมชนลุ่มแม่นํ้าแม่กลอง-ท่าจีนซึ่งต่อมากลายเป็นชุมชนเมืองสมัยทวารวดีว่าจะเข้ามาในช่วงไหนจึ ง
เปน็ เรอ่ื งสําคัญ

ในชว่ งท่ีชุมชนลุ่มแม่น้ํากลอง-ทา่ จีนอยู่ในช่วงยคุ โลหะ แต่ดูเหมือนว่า ในช่วงระยะเวลาที่
ใกล้เคียงกันเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้วน้ัน ทางภาคใต้ได้เข้าสู่สมัยแรกเร่ิมประวัติศาสตร์แล้ว
เน่ืองจากเร่ิมพบจารึกต่างๆ ที่เป็นตัวอักษรและภาษาจากอินเดีย เช่น การพบตราประทับทองคํามี
ตัวอักษรภาษาพราหมี (Brahmi) ล้อมรอบสัญลักษณ์ภัทรบิฐ (Throne symbol) อยู่ตรงกลางอายุ
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 5 (กําหนดอายุโดย Richard Salomon ผู้เช่ียวชาญภาษาโบราณ) แต่
พัฒนาการทางสังคมยังไม่มีการรวมตัวเป็นชุมชนใหญ่ท่ีขอบเขตเป็นของตัวเองในลั กษณะสังคมเมือง
แหล่งโบราณคดีสมัยแรกเร่ิมประวัติศาสตร์ท่ีสําคัญเมืองแหล่งโบราณคดีสมัยแรกเริ่มประวตั ิศาสตร์ท่ี
สาํ คัญในภาคเช่น เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร, ภูเขาทอง จังหวัดระนอง, คลองท่อม จังหวัดกระบี่, ท่า
ชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น ในภาคใต้มีหลักฐานการเข้ามาของคนอินเดียอย่างชัดเจนและเช่ือ
ว่ามิได้เข้ามาเพียงเพ่ือการค้าขายแล้วกลับไปเท่าน้ัน ส่วนหน่ึงของคนอินเดียน่าจะเข้ามาอยู่อาศัยใน
พื้นท่ีภาคใต้ด้วย สิ่งกระตุ้นสําคัญท่ีเชื่อว่าทําให้คนอินเดีย เข้ามาอยู่อาศัยในพ้ืนที่ภาคใต้ เนื่องจาก
ภาคใต้เป็นสว่ นหน่งึ ของเสน้ ทางการค้าทางทะเล (ocean udve netwoiks) ทาํ ใหภ้ าคได้จงึ กลายเป็น
จุดแวะพักหรือสถานีการค้า (trading station) สําคัญ จึงดึงดูดให้คนอินเดียตั้งถิ่นฐานในดินแดน
แถบนี้

ก า ร พ บ ภ า ช น ะ ดิ น เ ผ า ท่ี นํ า เข้ า ม า จ า ก อิ น เดี ย ใน พ้ื น ที่ ภ า ค ใต้ เป็ น จํ า น ว น ม า ก เ ช่ น
Rouletted Ware และ Knobbed ware เป็นต้น ทําให้พอเช่ือได้ว่าคนอินเดียนําภาชนะดินเผา
เหล่านี้เข้ามาใช้ในชีวิตประจําวันการเข้ามาอยู่อาศัยของคนอินเดียในพื้นท่ีภาคใต้ ได้ก่อให้เกิดการ
เปล่ียนทางสังคมวัฒนธรรมในภาคใต้อย่างกวา้ วกระโดดจากยคุ หนิ ใหม่ (Neolithic Period) มาสู่สมัย
แรกเร่ิมประวัติศาสตร์โดยกระโดดข้ามยุคโลหะแตกต่างจากพัฒนาการในภาคอ่ืนๆ ของประเทศไทย
เหตผุ ลทีส่ ามารถกล่าวเช่นนี้ได้ก็เนื่องจากว่าปัจจุบันยังไมพ่ บชุมชนสมัยกอ่ นประวัติศาสตร์ตอนปลาย
(late prehistory period) ท่ีมีการต้ังถ่ินฐานตามที่ราบใกลแ้ ม่นํ้าทําให้ในพ้ืนที่ภาคใต้ไม่พบแหล่งฝัง
ศพ (burial site) ท่ีมีโครงกระดูกถูกฝังร่วมกับเครื่องมือเคร่ืองใช้ที่ทําจากสําริด, เหล็ก, ลูกปัดแก้ว
และหินเหมือนภาคอ่ืนๆ ในประเทศไทยแต่อย่างใด ส่ิงนี้ได้กลายเป็นเค้ารางพอที่จะเชื่อได้ว่าภาคใต้
อาจจะยอมรับนับถือศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธแล้ว จึงทําให้ประเพณีการฝังศพในสมัยก่อน
ประวัตศิ าสตร์หายไป

นอกจากน้ี ในภาคใต้ยังพบสัญลักษณ์ที่เก่ียวข้องกับศาสนาหลายอย่างได้แก่ ศรีวัตสะ
สวสั ดิกะ และทส่ี าํ คัญที่สุดได้แก่ ตรีรตั นะ (TriRatna) ที่แหล่งโบราณคดีภเู ขาทอง จงั หวัดระนอง พบ
ลูกปัดตรี รัตนะมีทั้งที่ทําด้วยหิน (figure) และทองคํา (figure) สัญลักษณ์น้ียังพบเป็นจํานวนมากท่ี
เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพรด้วยสัญลักษณ์ทางศาสนาเหล่าน้ีถูกใช้ในช่วงเวลาก่อนที่จะมีสร้าง
พระพุทธรูปเป็นรูปเคารพ ในประเทศอินเดียสัญลักษณ์ตรีรัตนพบเป็นจํานวนมากตามโบราณสถาน
ในศาสนาพุทธ โดยเฉพาะบนภาพสลักท่ีประตูทางเข้า (gateway) ของสถูปสาญจี, และภารหุต ท่ี
สถูปปิปราหวะ (Piprahwa stupa) พบผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (Buddha relic casket) ท่ี
ผอบมีจารึกอักษรพราหมีระบุว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุ ส่ิงที่พบร่วมกับพระบรมสารีริกธาตุน้ันมี

74

สัญลักษณ์ตรีตันะร่วมอยู่ด้วย แสดงให้เห็นถึงความสําคัญขอสัญลักษณ์นี้ และรูปแบบที่พบก็
เหมือนกับท่ีพบในภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากน้ี ยังพบธรรมจักรดินเผาที่แหล่งโบราณคดีคลอง
ท่อม หลักฐานต่างๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการเข้ามาของพุทธศาสนาน้ัน น่าจะเข้ามาของพุทธ
ศาสนาน้ัน น่าจะเข้ามาทางภาคใต้ก่อนพ้ืนท่ีอื่นๆ ของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามในภาคใต้กลับไม่
มีพฒั นาการตอ่ เนอื่ งจนเป็นสังคมเมือง อาจจะเป็นด้วยขอ้ จํากัดทางภูมิศาสตรท์ ี่ไมเ่ หมาะสมต่อการต้ัง
ถ่ินในการเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่ในสมัยประวัติศาสตร์ดังนั้นสังคมเมืองในประวัติศาสตร์ยุคต้นใน
วฒั นธรรมทวารวดีจึงเกดิ ข้นึ ในพ้ืนราบลุ่มแม่นา้ํ ขนาดใหญ่ในพื้นที่ราบภาคกลาง จนเกดิ เป็นเมืองสมัย
ทวารวดีที่รุ่งเรืองอย่างเมืองอู่ทอง และเมืองอื่นๆ ที่อยู่ร่วมสมัยกันในลุ่มแม่นํ้ากลอง-ท่าจีน ได้แก่
กําแพงแสน นครปฐม และคูบัว เมืองเหล่าน้ีเจริญข้ึนภายใต้อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายหินยาน
โดยมนี ิกายมหายานและฮนิ ดสู อดแทรกอยูบ่ ้าง

หลกั ฐานสําคัญอย่างหนึ่งทแี่ สดงให้เห็นว่ากลุ่มคนในยคุ โลหะโดยเฉพาะท่รี าบลุ่มแมน่ ้ําแม่
กลอง-ท่าจีน น่าจะมีการติดต่อกับชุมชนในภาคใต้ (ซ่ึงในขณะน้ันภาคใต้อยู่ในสมัยแรกเริ่ม
ประวตั ศิ าสตร์และน่าท่ีจะมีการนบั ถอื ศาสนาพุทธในชมุ ชนตามเหตุผลท่กี ลา่ วถึงในขา้ งตน้ แล้ว) ไดแ้ ก่
ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในภาคใต้ของประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตลูกปัดแก้วและ
หินที่สําคัญในระดับภูมิภาค มีแหล่งโบราณคดีอย่างน้อย 2 แห่งท่ีพบว่าเป็นแหล่งผลิตลูกปัดขนาด
ใหญ่ได้แก่ ควนลูกปัดและภูเขาทอง แหล่งโบราณคดที ้ัง 2 แห่งนี้พบหลักฐานที่อยู่ในขบวนการผลิต
ลูกปัดทุกข้ันตอน มีท้ังวัตถุดิบท่ีนํามาใช้ทํา ลูกปัดท้ังแก้วและหินลูกปัด ที่ยังทําไม่เสร็จ ลูกปัดท่ี
เสียหายในข้ันตอนการผลิตเป็นจํานวนมากแม้ลูกปัดจะมีการผลิตขึ้นเองในท้องถ่ินภาคใต้แต่ก็ไม่
สามารถปฏิเสธได้ว่าลูกปัดแก้วและหินเป็นส่ิงท่ีเข้ามาใหม่ในภาคใต้พร้อมกับอิทธิพลทางวัฒนธรรม
อนื่ ๆ จากอนิ เดียเนื่องจากในการผลิตลูกปัดแก้วน้นั จะต้องใช้ทักษะและเทคโนโลยีการใช้ความร้อนสูง
มากในการหลอมแกว้ เน่ืองจากไมพ่ บหลกั ฐานการทักษะหรอื ความร้พู ้ืนฐานในเร่ืองนี้มากอ่ นเนื่องจาก
ไม่พบหลักฐานการถลุงโลหะ นอกจากน้ี ยังไม่พบหลักฐานสมยั ก่อนประวตั ิศาสตร์ในยุคโลหะด้วย ใน
ส่วนของลกู ปัดหินน้ันแมว้ ่าคนในภาคใต้ของประเทศไทยร้จู ักการขัดฝนหินเพอ่ื ทําเครื่องมือหินขัดแล้ว
แตว่ ัตถุดิบทใี่ ช้ในการทําลูกปัดหินที่เป็นหินเพ่ือทําเครื่องมอื หนิ ขัดแล้ว แต่วัตถุดิบทใ่ี ช้ในการทําลูกปัด
หินท่ีเป็นหินก่ึงอัญมณี (semi-precious stone) เช่น คาร์เนเลียน, อะเกต, อเมทิส เป็นต้น ท่ีมี
คณุ ภาพดีกลับไม่มีในท้องถิ่น ทําให้เช่อว่าวัตถดุ ิบเหล่านี้ได้ถกู นําเขา้ มาจากอินเดียด้วยเช่นกัน ดงั น้ัน
การพบลูกปัดแก้วและลกู ปัดหินจึงเป็นหลกั ฐานสําคญั ท่ใี ช้ยนื ยันถงึ การเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดียได้
เป็นอย่างดี และคนอินเดียท่ีเข้ามาในภาคในระยะน้ีได้น่าจะเป็นกลุ่มคนท่ีนับถือศาสนาพุทธด้วย
ดังนั้น การแพร่กระจายตัวของลูกปัดจึงน่าจะมีความสัมพันธ์ควบคู่กับอิทธิพลทางพุทธศาสนาอยู่ไม่
น้อย

หากย้อนกลับมาพิจารณาลูกปัดที่พบ ในภาคกลางรวมถึงพื้นที่กลุ่มลุ่มแม่นํ้ากลอง-ท่าจีน
เช่ือว่าในพ้ืนที่แถบน้ี อาจจะนําวัตถุดิบจากภายนอกเข้ามาทําลูกปัดหินในพ้ืนท่ีชุมชนตัวเองได้
เนือ่ งจากมีฐานความรูใ้ นเรือ่ งการทําเคร่ืองมอื หินมาแต่เดิมแลว้ และการทาํ ลกู ปัดหินมขี บวนการผลิต
ท่ีไม่ซับซ้อนมีเพียงการขัดฝนแล้วเจาะ แต่สําหรับลูกปัดแก้วท่ีต้องใช้ทักษะความชํานาญใน
ขบวนการผลิตและต้องใช้อุณหภูมิสูงในการหลอมแก้ว การมีขบวนการขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อน

75

ยงุ่ ยากทําให้เช่ือว่า ไม่น่าท่ีจะผลติ ขึน้ ในท้องถิ่นไดง้ า่ ยๆ และจนถงึ ปัจจุบันก็ยังไม่พบหลกั ฐานสามารถ
กล่าวได้ว่าในพื้นที่ภาคอ่ืนๆ จะพบแหล่งผลิตลกุ ปัดแก้วขนาดใหญ่เหมือนในภาคใต้โดยเฉพาะทค่ี ลอง
ท่อมแต่อย่างใด จากข้อสันนิษฐานน้ีทําให้เช่ือได้ว่า ลูกปัดแก้วที่กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคอ่ืนของ
ประเทศไทยรวมถึงในเอวเชียตะวันออกเฉยี งใต้ และในเอเชียตะวันออกน่าจะเป็นลูกปัดแกว้ ที่ผลิตข้ึน
ในพื้นทีภ่ าคใต้ของประเทศไทยกเ็ ปน็ ได้

สําหรับภาพท่ีพอจะเชื่อมให้เห็นว่า การแพร่กระจายตัวของลูกปัดอาจจะมีความสัมพันธ์
ควบคู่กับอิทธิพลทางพุทธศาสนาอยู่บ้างก็คือ เม่ือคนในภาคกลางรวมถึงชุมชนลุ่มแม่น้ําแม่กลอง-ท่า
จีนในช่วงยุคโลหะเริ่มติดต่อแลกเปล่ียนทางการค้าและวัฒนธรรมระหวา่ งกันโดยมีลกู ปัดเป็นหลกั ฐาน
นั้น ในช่วงระยะเวลาท่ีมีการติดต่อระหว่างกันนี้ พุทธศาสนาจากทางภาคใต้น่าจะค่อยๆ เริ่มเข้ามา
แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของคนพื้นเมืองอย่างน้อยค่อยเป็นค่อยไปอยู่ระยะหน่ึงอาจจะต้ังแต่ราวพุทธ
ศตวรรษที่ 5 จนกระท่ังเม่ือถึงราวพุทธศตวรรษที่ 8 เม่ือพบหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่อ้างถึงกันเสมอ ว่า
สะท้อนถึงการยอมรับนับถือศาสนาพุทธในดินแดนภาคกลางตลอดจนถึงสุวรรณภูมิ ได้แก่ พระภิกษุ
อุ้มบาตรดินเผาพบท่ีอู่ทอง ลักษณะทางศิลปะแสดงให้เห็นอิทธิพลสมัยอมราวดีของอินเดียอย่าง
ชัดเจนมีอายุราวพทุ ธศตวรรษที่ 8 ถ้าหากพระภกิ ษุอ้มุ บาตรดังกล่าวทําขึน้ ในท้องถน่ิ จรงิ ก็หมายความ
ว่าคนอู่ทองเรียนรู้เร่ืองราวและยอมรับปรัชญาอันเป็นหลักธรรมของพระพุทธศาสนาแล้ว หากเป็น
ดังนั้นการกําหนดอายุเมืองทวารวดีท่ีอู่ทองท่ีแต่เดิมกําหนดอายุไว้ในราวพุทธศตวรรษท่ี 11-16
อาจจะตอ้ งพจิ ารณาใหมใ่ หม้ ีอายุเก่ามากขึน้ กวา่ แต่เดมิ

2.7 หลกั ธรรมพทุ ธศาสนาเผยแผส่ มัยแรกที่เมอื งอู่ทองและปริมณฑล100

เป้าหมายของการศึกษาเร่ืองหลักฐานและหลักธรรมพุทธศาสนาสมัยแรกเร่ิมที่เมืองอทู่ อง
และปริมณฑลก็เพ่ือต้องการทราบว่าพทุ ธศาสนาเรมิ่ แพร่หลายถึงภมู ิภาคน้ีตั้งแต่เมื่อใด ประกอบด้วย
ลัทธิและนกิ ายใดบ้าง และสาระสําคัญของพระพทุ ธศาสนาที่อยใู่ นท้องถิน่ ยอมรับและนับถอื ศรัทธาคือ
ประเดน็ ใด101

การศึกษาเพื่อหาคําตอบดังกล่าว ผู้ศึกษาได้นําความรู้จักจากการศึกษาเร่ืองพุทธศาสนา
ลัทธิและนิกายต่างๆ ในประเทศไทยจากหนังสือเรื่องรากเหง้าแห่งศิลปะไทยโดย รศ.ดร.พิริยะ ไกร
ฤกษ์ รวมท้ังใชป้ ระโยชนจ์ ากรายงานการศกึ ษาเมืองอู่ทองเร่อื งตา่ งๆ จากนักวชิ าการของกรมศิลปากร
เช่น สมศักด์ิ รัตนกุล,เทิม มีเต็ม, เขมชาติ เทพไทย, ณัฏฐภัทร จันทวิช, สายัณห์ ไพรชาญจิตร์,
สุบงกช ธงทองทิพย์, พนมบุตร จันทรโชติ ฯลฯ ผนวกกับการใช้ข้อมูลวิชาการจากนักวิชาการคน
สําคัญอีกหลายท่าน เช่น ดร.ปีเตอร์ สกิลลิ่ง, ศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ, รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์
เปน็ ตน้

100 นายภธู ร ภูมะธน “หลักฐานและหลักธรรมพุทธศาสนาสมัยแรกเร่ิมท่เี มืองอทู่ องและปริมณฑล,
2556.

101 พบหลักฐานของการนบั ถอื ศาสนาพราหมณค์ วบคกู่ นั กับการนบั ถือพุทธศาสนาทีเ่ มอื งอทู่ องทม่ี ีอายุ
ร่วมสมยั เดียวกนั ด้วย แต่การขุดคน้ โบราณสถานท่ีเมอื งอทู่ องน้ันพบหลักฐานของพุทธศาสนาเป็นหลกั จึงทาํ ใหน้ ่า
เช่อื ว่าในยุคเดียวกันนนั้ ในเมอื งอทู่ องศาสนาพทุ ธน่าจะแพร่หลายมากกว่า

76

ผลการศึกษาพบว่า พุทธศาสนาน่า จะแพร่หลายถึงดินแดนท่ีเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน
ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 ข้อมูลสนับสนุนประเด็นนี้ส่วนหนึ่งนั้นได้มาจากหลักฐานพบที่เมือง
อู่ทอง เป็นศิลปกรรมได้รับอิทธิพลรูปแบบศิลปกรรมอินเดียแบบอมราวดีตอนปลาย อายุราวพุทธ
ศตวรรษที่ 9-10 ทางข้ึนในท้องถ่ินและเคยใช้ประดบั ศาสนสถาน คือ แผ่นดินเผารูปพระสาวก 3 องค์
อุ้มบาตรห่มจีวรเป็นริ้ว ชิ้นส่วนรูปปั้นรูปพระพุทธรูปขัดสมาธิพระบาทหลวมๆ บนขนดนาค เป็นต้น
จงึ เช่ือกันว่า เม่อื ราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 ผู้คนในบริเวณนคี้ งจะเริ่มรูจ้ ักและเร่มิ รับนับถอื พุทธศาสนา
ในระดบั ใดระดับหนึง่ แลว้

หากมีการต้ังคําถามว่าพุทธศาสนาเร่ืองลัทธินิกายต่างๆ รวมท้ังเรอื่ งหลักธรรมมาถึงพ้ืนท่ี
แทนเมืองอู่ทองโดยทางใด ข้อสันนิฐานในเรื่องน้ีมีการสรุปไว้ว่า พุทธศาสนาอาจจะเข้ามาถึงเมืองอู่
ทองทางทะเลโดยทางอ่าวไทย ด้วยหลักฐานและโบราณคดีท่ีพบ ที่เมอื งอู่ทองเช่ือมโยงได้กับหลักฐาน
ในโบราณคดีพบตามเมืองโบราณหรือแหล่งโบราณต่างๆรอบอ่าวไทย และอีกเส้น ทางหนึ่งนั้น พุทธ
ศาสนาน่าจะมาจากฝั่งทะเลตะวันตก ถํ้าเทือกเขาตะนาวศรี ลงมาสู่บริเวณท่ีราบลุ่มแม่น้ํากลองและ
ลุ่มแม่นํ้าท่าจีน ซ่ึงมีเมืองอู่ทองและอีกหลายเมืองตั้งอยู่ในบริเวณพ้ืนที่ดังกล่าวเช่น เมืองคูบัว เมือง
กาํ แพงแสน เมืองนครปฐมโบราณ เมืองราชบุรี ข้อมูลโบราณวัตถเุ ชน่ พระพิมพ์ พบทเี่ มอื งอทู่ องหรือ
เมอื งอื่นๆ ใกล้เคียงพบว่า มีรปู แบบใกล้เคียงกับทับทิมพบแถบชมุ ชนโบราณรมิ อ่าวเมาะตะมะ ที่เมือง
ทวาย เมอื งเมาะลาํ ไย ซึ่งอยู่ในดนิ แดนพมา่ ตอนลา่ งพุทธศาสนาท้งั สองย่านนี้จงึ น่าจะเชื่อมโยงกันได้

เร่ืองประวัติของพัฒนาการพุทธศาสนาที่เมืองอู่ทองชัดเจนมาก ขึ้นเม่ือกรมศิลปากร ทํา
การขุดค้นท่ีเมืองอู่ทองนับแต่ พ.ศ 2506 พบหลักฐานทางศาสนาและศาสนวัตถุชวนให้สนับสนุนว่า
ราวพุทธศตวรรษท่ี 12-16 คือช่วงเวลาท่ีพุทธศาสนาแพร่หลายอย่างมั่นคงท่ีเมืองอู่ทอง มีการนับถือ
พุทธศาสนาหลากหลายลัทธิที่เมืองอู่ทองคือลัทธิยานลัทธิมหายานและลัทธิตันตระยาน (วัชรยาน)
อาจจะเป็นไปได้เช่นกันว่าพุทธศาสนิก ชนยุคนั้นไม่ฝักใฝ่ในเรื่องลัทธิหรือยานอย่างแจ้งชัดแต่นับถือ
พระรัตนตรยั

สําหรับหลักฐานหลักธรรมพบที่เมืองอู่ทองและปริมณฑลพบว่ามีอายุประมาณพุทธ
ศตวรรษที่ 12-13 ซ่ึงเปน็ จารึกภาษาบาลีเขียนดว้ ยอักษรปัลลวะของอินเดียเปน็ ข้อมลู ทําให้กาํ หนดได้
เช่นกันว่า ผู้คนที่มีชีวิต เมื่อประมาณ 1,200 - 1,400 ปีมาแล้ว ท่ีเมืองอู่ทองเข้าใจหลักธรรมที่เป็น
แกนแท่งศาสนาของพระพุทธเจา้ ปฏิเจกจสมุปบาทและหลักอรยิ สัจ รวมทั้งรับรเู้ ร่อื งราวพทุ ธประวัติ
ของพระพทุ ธเจา้ สมณโคดม

1) พุทธศาสนาลัทธิต่างๆทเ่ี มืองอู่ทองและปริมณฑลเม่ือพุทธศตวรรษท่ี 9-16

นับแต่พระพุทธเจ้าสมณโคดมปรินิพพาน พัฒนาการของพุทธศาสนาค่อยๆ เปลี่ยนแปลง
ดังน้ี ช่วงแรก พระพุทธศาสนาลัทธิศราวกยานหรือหินยาน ยังคงแพร่หลายด้วยยังยึดม่ันในพระพุทธ
ดํารัสทรง สั่งแก่พระอานนท์ว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ในการที่พระองค์ล่วงไป
กาลเวลาผ่านไปไม่นาน มีพระสงฆ์เริ่มตีความบางประเด็นของพระวินัยและพระธรรมวินัยไม่มีการ
รวมกล่มุ กนั ใหม่ ตามคตคิ วามเห็นใหมข่ องตนและพฒั นาขึน้ เรอ่ื ยๆ มชี ่อื กลุ่มใหมว่ ่า ลทั ธิมหายาน

77

ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ศาสนาพราหมณ์ในอินเดียเฟื่องฟูมาก พุทธศาสนาลัทธิ
มหายานต้องปรับตัว มีการนําปรัชญาและหลังปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์เข้ามาประสมประสาน
เช่น เร่ืองมนต์คาถาอาคม ของขลัง พิธีเป่าเสก มณฑล เลขยันต์ การใช้มูลเพ่ือนําไปสู่นิพพาน คือ คํา
สอนสําคัญของลัทธิแนวทางลัทธิใหม่นี้เรียกว่า ลัทธิกันตยาหรือลัทธิวัชรยาน102 มีศูนย์กลางอยู่ท่ี
นาลันทาในอินเดียภาคตะวันออกนิกายน้ีแพร่หลายสู่ดินแดนต่างๆ เข้ามาประเทศไทยเม่ือราวพุทธ
ศตวรรษ ที่ 14 และรุ่งเรืองม าต ลอด จน ถึงพุ ท ธศตวรรษ ที่ 16 -17 โดยเฉพ าะใน ภ าค
ตะวนั ออกเฉยี งเหนือผ่านจากกัมพูชาและน่าจะเปน็ ลทั ธิที่แพรห่ ลายมากในภาคใตใ้ นช่วงพทุ ธศตวรรษ
ท่ี 14-16 ซ่งึ สืบเน่อื งมาจากการตดิ ตอ่ ค้าขายกับนานาชาติทางทะเล

ทั้งลัทธิหินยานลัทธิมหายานรวมท้ังลัทธิตันตระยาน ต่างให้ความเคารพบูชานับถือพระ
รัตนตรัยรวมท้ังมีจุดมุ่งหมายปลายทางด้วยการปฏิบัติทําตามคําส่ัง ของพระพุทธเจ้าคือมุ่งสู่การดับ
ทุกขแ์ ละดบั ขนั ธท์ ั้ง 5 เหมือนกนั 103

สาํ หรับหลกั การสําคัญทีแ่ ตกตา่ งกันของพระพทุ ธศาสนาลทั ธิทัง้ 3 คือ

ลทั ธหิ ินยานเชอ่ื ว่า พระพุทธเจ้ามีกายและใจเป็นมนุษย์ ทรงตรัสรูแ้ ละประกาศหลกั ธรรม
สําคัญหรือหลักแหล่งการดับทุกข์ผู้นับถือศรัทธา สามารถ แสวงหาความดับทุกข์ได้ตามแนวทางที่
พระองค์ทรงชแ้ี นะสั่งสอนด้วยตนเองและผู้อืน่

ลัทธิมหายาน มีคําส่ังสอนและหลักปรัชญาสําคัญคือมุ่งนิพพานด้วยการบําเพ็ญบารมี 6
ถึง 10 ประการและม่งุ ช่วยใหบ้ รรดาสรรพสตั ว์หลุดพน้ จากวฏั สงสาร104

ลัทธิมหายานนับถือพระพุทธเจ้ามากองค์ แต่ท่ีกล่าวถึงบ่อยคือ ไวโรจนะพุทธเจ้า และ
อมิตาภะพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์อีกมากองค์ เฉพาะองค์ทส่ี ําคญั คือพระโพธสิ ัตวอ์ วโลกิเตศวร ซง่ึ มา
จตุ ใิ นโลก เพอ่ื ช่วยมนษุ ย์ใหพ้ น้ ภัย

ลัทธิตันตระยานหรือวัชรยาน วิวัฒนาการจากคําสอนลัทธิมหายานนิกายโยคาจารย์ แต่
ต่างไปจากลัทธิมหายานตรงที่เน้นให้มนุษย์บรรลุพุทธภาวะได้ในชาตินี้ด้วยการ เข้าถึงปัญญาด้วย
วิธีการท่ีแนบเนียน (อุปายะ) คือการฝึกไตรรหัส ได้แก่ การฝึกกายฝึกวาจาและฝึกใจ105 ลัทธิน้ีให้
ความสําคญั กับพระชนิ พทุ ธองค์สาํ คัญคือพระพุทธไวโรจนะ ลัทธิตันตระยานหรือวัชรยานนี้มีกําเนิดใน
อินเดียภาคตะวันออกเม่ือราวพุทธศตวรรษที่ 12 และน่าจะแพร่หลายกระทั่งเป็นท่ียอมรับในภูมิภาค
ต่างๆ ของประเทศไทยครัง้ แรกโดยเฉพาะท่ีภาคใต้เมื่อราวปลายพทุ ธศตวรรษท่ี 14

ความหลากหลายของลัทธแิ ละนิกายเน่อื งในพุทธศาสนาในภาคพ้ืนที่เป็นเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ในปจั จุบนั ได้รับการยืนยนั จากหลักฐานท่ีมอี ายุเมื่อพทุ ธศตวรรษที่ 13 คอื บันทึกของพระภิกษุ
จนี นามอี้จงิ บันทึกว่า เม่ือพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว ศรทั ธาตา่ งรวบรวมคาํ สัง่ สอนของพระองค์เป็น

102 พิริยะ ไกรฤกษ์,รศ.ดร. รากเหงา้ แหง่ ศลิ ปะไทย, กรุงเทพฯ : รเิ วอร์ บุค๊ ส์, 2553, หน้า 236.
103 ผาสุข นทราวธุ ,รศ.ดร. พุทธปฏมิ าฝ่ายมหายาน, กรุงเพทฯ : โรงพิมพอ์ ักษรสมัย, 2543, หน้า 8.
104 เรือ่ งเดยี วกัน, หนา้ 108.
105 ผศ.ดร.พิริยา ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยฉบับคู่มือนักศึกษา, กรุงเทพฯ :
อมรินทร์การพมิ พ,์ 2528, หน้า 61.

78

พระไตรปิฎกซ่ึงมีหลายหลายนิกาย ความแตกต่างระหว่างนิกายต่าง ๆ มีเพียงเล็กน้อย เช่น เรื่อง
รูปแบบการนุ่งห่มของพระสงฆ์ พระภิกษุอ้ีจิงไดแวะ ท่ีประเทศโฝชิ (Fo-Shih) เพื่อศึกษาภาษา
สันสกฤตเม่ือ พ.ศ.1214 (ค.ศ.1671) ก่อนจะเดินทางต่อไปยังอินเดียนิกายและเดินทางมาพํานัก ณ
ที่น่ีอีก 4 ปี ระหว่าง พ.ศ.1228-1232 (ค.ศ.685-689)106 ท่านระบุว่า พุทธศาสนาท่ีนับถือกันมากใน
ดินแดนทะเลตอนใต้คือลัทธิหินยาน มีเพียงท่ีประเทศโมโลยู (Mo-lo-yu-มลายู) เท่านั้น ท่ีมีผู้นับถือ
พทุ ธศาสนามหายานบา้ งเลก็ น้อย107

นิกายย่อยต่างๆ ของลัทธิหินยานที่พระภิกษุอ้ีจิงบันทึกไว้ว่านับถือกันในแถบนี้เกือบ
ท้ังหมดคือ นิกายมูลสรรวาสติวาท (Mula sarvastivadanikaya) และมีบ้างเล็กน้อยท่ีนับถือนิกายสัม
มติ ียะ (Sammitinikaya) และยังระบุอีกต่อไปว่า เม่ือไม่นานมาน้ี มีอีกบ้างเล็กน้อยที่มีผู้นับถือนิกาย
ยอ่ ยอื่นๆ อีก 2 นิกาย คือ108

นิกายมูลสรรวาสติวาท คือ ช่ือเรียกนิกายสรรวาสติวาทในช่วงกลางพุทธศตวรรษท่ี 12-
กลาง 13 (คริสต์ศตวรรษที่ 7 ) เป็นพุทธศาสนาหินยานที่ใช้ภาษาสันสกฤต เช่ือว่า พระพุทธเจ้าเป็น
มนุษยธ์ รรมดาปฏิเสธเรอื่ งปาฏหิ าริย์ของพระพทุ ธเจ้าและพระ

นิกายสัมมิตยี ะ คือนิกายซึง่ คัดค้านพทุ ธปรชั ญาท่ีว่าทุกสง่ิ เปน็ อนัตตา โดยตังสมมตฐิ านไว้
วาเราจะพูดถึงสง่ิ ที่เปน็ สภาวธรรมท่ไี ม่มตี วั ตนแน่นอนกนั อย่างไร 109

สาํ หรับผู้นบั ถอื บูชาลัทธิมหายานนั้น บันทกึ ของพระภิกษุอ้ีจิง (I-Tsing) ระบวุ ่าพวกที่บชู า
พระโพธิสัตว์และศึกษาพระสูตรมหายานคือพวกนับถือลัทธิมหายาน และยังระบุว่าลัทธิมหายาน
แบง่ เปน็ นิกายยอ่ ย คือ นิกายมาธยมมิกะ (Madhayamika) และนกิ ายโยคาจารย์ (Yoga)110

น อก เห นื อไป จากก ารอธิบ ายใน ราย ละเอี ยด ของนิ กายย่ อย ใน ลั ท ธิหิ น ยาน แล ะลัท ธิ
มหายานโดยพระภิกษุอี้จิงในฐานะเป็นปราชญ์ผู้รู้แล้ว ความตอนหนึ่งของบันทึกของท่านยังระบุว่า
“ผู้คนในดินแดนทางตะวันออกท่ีเรียกว่า ศรีเกษตร (Srikshatra) หลั่งยะสิว (Lankasu) ทวารวดี
(Dvaravati) และไกลไปถึงลินยิ (Lin-i) นับถือศรัทธาในพระรัตนตรัย”111 ความนี้น่าจะหมายถึงว่า
ผคู้ นในแควน้ ที่เป็นภาคพื้นทวปี ของเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใตช้ อื่ ต่างๆ ดังกล่าวน้นั ซึ่งเชื่อกันว่าปัจจุบัน
อยู่ในดินแดนของประเทศพม่า ไทย เขมรและจัมปา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนามต่างนับถือศรัทธา
ในพระรัตนตรัย คือการให้ความสําคัญแก่เรื่องพ้ืนๆ ด้วยการเคารพบูชา พระพุทธ พระธรรมและ
พระสงฆ์ ซึ่งน่าจะเป็นการระบุเร่องความไม่ซับซ้อนในการนับถือศรัทธาพระพุทธศาสนาของคนอีก
กลมุ่ ในยุคเดียวกนั

106 พิริยะ ไกรฤกษ์,รศ.ดร. รากเหง้าแหลง่ ศิลปะไทย, หนา้ 32.
107 I-Tsing, tranalated by J. Takakusu, A Record of the Buddhist reigion as practiced in
India and the Malay archipelago (A.D.671-695), หนา้ 52.
108 อ้างแลว้ , รากเหงา้ แหลง่ ศิลปะไทย, หน้า 50.
109 อ้างแลว้ ,รากเหงา้ แหล่งศลิ ปะไทย, หน้า 51.
110 Tsing, translated by J. Takakusu, เรือ่ งเดิม, p.15.
111 เรอื่ งเดียวกนั , p.10.

79

อย่างไรก็ตาม การพบศาสนวัตถุที่แสดงถึงรูปแบบศิลปกรรมอินเดียแบบอมราวดีอายุราว
พุทธศตวรรษท่ี 9-10 ที่เมืองอู่ทองก็น่าจะเชื่อมโยงต่อไปได้อีกว่า มีการนับถือพุทธศาสนานิกาย
มหาสงั ฆิกะท่ีเมอื งอู่ทองด้วยนิกายมหาสังฆกิ ะมีศูนยก์ ลางทีเ่ มืองอมราวดีและล่มุ แม่นาํ้ กฤษณาในภาค
ตะวันออกเฉียงใต้ของอนิ เดีย นกิ ายน้ีเชือ่ วา่ พระพทุ ธเจ้าทรงมีสภาวะเป็นโลกุตระและมีพระชนม์เป็น
อนันตกาลพระตถาคตเป็นเพียงการสร้างสรรค์ด้วยปาฏิหาริย์เพื่อสั่งสอนพระธรรมแทนพระพุทธองค์
นกิ ายนี้เช่ือวา่ จติ น้ันบรสิ ุทธ์ิปราศจากความเศร้าหมอง แต่ตอ้ งขนุ่ มัวเพราะกเิ ลสเข้าครอบงํา พรอ้ มกับ
สอนว่าภาวะที่แท้จริงของทุกสิ่งในโลกนั้นเป็นสุญญตาหรือความว่างเปล่าพุทธศาสนานิกายนี้เป็นต้น
กําเนดิ ลัทธิมหายาน112

สํ า ห รั บ ห ลั ก ฐ า น ภ า ย ใน ที่ เป็ น ศ า ส น า วั ต ถุ พ บ ที่ เมื อ ง อู่ ท อ ง แ ล ะ ป ริ ม ณ ฑ ล ที่ กั บ
ประวัติศาสตร์ กําหนดอายุราวพทุ ธศตวรรษท่ี 9-15 สามารถนํามาใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนบันทึกของ
พระภกิ ษอุ ี้จ้ิงเรื่องการนับถือบูชาพุทธศาสนาลัทธิและนิกายต่างๆ ว่าเป็นจริงดังกลา่ วมากนอยอยา่ งไร
รวมท้ังมีลัทธิอะไรเพ่ิมเติมนอกเหนือจากที่พระภิกษุอี้จิงระบุบ้าง หลักฐานที่เป็นศาสนาวัตถุท่ีใช้เป็น
ฐานขอ้ มูลเพ่อื หาขอ้ สรปุ มที ี่มาดังน้ี

กรมศิลปากรดําเนินการขุดค้นโบราณสถานที่เมืองอู่ทองโดยตั้งแต่ พ.ศ.2506 พบฐาน
อาคารก่อด้วยอิฐรูปแบบต่างๆ และยังพลพุทธศาสนวัตถุต่างๆ เช่น พระพุทธรูป พระธรรมจักร พระ
พิมพ์ ภาพพระพุทธเจ้า พระพิมพ์ภาพพระสาวกท่ีมีจารึกช่ือพระสาวกกํากบั ประติมากรรมรูปพระเจ้า
สทุ โธทนะ (ศุทโธทน) เปน็ ตน้

มีผู้พบศาสนวัตถุที่เมืองอู่ทองและนํามามอบให้กับกรมศิลปากรหลักฐานบางชิ้นเป็น
หลักฐานสําคัญ เช่น จารึกอักษรปัลลวะภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตและรูปพระโลกนาถทําให้
การศึกษาเรือ่ งลัทธิและนิกายของพุทธศาสนาท่ีเมืองอู่ทองชัดเจนมากขึ้นและยังมีหลักฐานศาสนวัตถุ
พบท่ีเมืองอู่ทอง เป็นสมบัติส่วนบุคคลท่ียอมเปิดเผย รวมท้ังการสันนิษฐานว่า ชุมชนโบราณท่ีเมืองอู่
ทองคงมีการติดต่อกับชุมชนโบราณใกล้เคียงเช่นท่ีเมืองคูบัว เมอื งกําแพงแสน เมืองนครปฐมซึ่งได้พบ
หักฐานพุทธศาสนานกิ ายต่างๆ

หลักฐานดังกล่าวนํามาซ่ึงข้อสรุปว่า ท่ีเมืองอู่ทองและปริมณฑลเมื่อประมาณพุทธ
ศตวรรษท่ี 9-16 มีการนับถอื พุทธศาสนาลทั ธหิ ินยานลทั ธิมหายาน และลัทธิตนั ตระยานหรือวชั รยาน
รวมทั้งอาจจะมีผู้นับถือพุทธศาสนาโดยไม่แสดงอุดมการณ์ของยานที่ตนนับถือชัดเจนแต่นับถือใน
ฐานะเปน็ พระรัตนตรยั

รายละเอียดเรื่องลัทธิและนิกายต่างๆ ของพุทธศาสนาท่ีนับถือกันในยุคแรกคืออยู่ในช่วง
พทุ ธศตวรรษที่ 9-16 นา่ จะไดแ้ ก่

นิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งเป็นนิกายต้นเค้าให้กับการกําเนิดพุทธศาสนามาหายาน นิกาย
มหาสังฆิกะ มีศูนย์กลางที่เมืองอมราวดีและลุ่มแม่น้ํากฤษณาในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ที่

112 พริ ยิ ะ ไกรฤกษ์,รศ.ดร. รากเหง้าแห่งศลิ ปะไทย, หนา้ 48.

80

เมอื งอู่ทองพบรูปเคารพแสดงอิทธิศลิ ปกรรมอมราวดีทม่ี อี ายาวพุทธศตวรรษที่ 9-10 จาํ นวนหน่งึ จึง
ชวนใหเ้ ชื่อมโยงว่า พุทธศาสนานิกายมหาสงั ฆิกะนา่ จะมีบทบาททเ่ี มอื งอทู่ องในระยะเวลานั้น

นิกายเถรวาท หลักฐานสําคัญท่ีพิสูจน์ว่ามีการนับถือนิกายน้ีน่าจะได้แก่การพบจารึก
หลักธรรมภาษาบาลีจาํ นวนหน่ึงส่วนใหญ่คือคาถาเย ธมฺมาฯ พระพุทธรูปปางอาหูยมุทรา (กรกั เข้าไป
หา) พระธรรมจักร รูปพระสาวกที่มีอักษรปัลลวะภาษาบาลีระบุชื่อกํากับ รูปพระพุทธบิดาท่ีมีจารึก
ระบุพระนาม “ศุทโธทน (พระเจ้าศุทโธทนะ)” นกิ ายมูลสรรวาสติวาท เร่อื งนี้ มีนักวิชาการระบุว่าศา
สนสถานสําคัญที่สร้างขึ้นจากความศรัทธาในพุทธศาสนิกายน้ีคือเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม
สถูปหมายเลข 10 เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรีด้วยทีการตกแต่งฐานสถูปด้วยภาพปูนปั้นนิทานอวทาน
ซ่ึงเป็นเน้ือหาจากคัมภีร์ภาสันสกฤตของนิกายมูลสรรวาสติวาท113 เมืองอู่ทองอยู่ไม่ไกลจากเมือง
นครปฐมและเมืองคูบวั จงึ น่าจะมีการนับถือพุทธศาสนนิกายนี้ที่เมืองอู่ทองด้วย อนงึ่ การพบพระพิมพ์
ท่ีเมืองอู่ทองเร่ืองพุทธประวัติตินมหาปาฏิหาริย์ ที่เมืองสาวัตถี (Great Miracle at Sravasti) เน้ือหา
มาจากคัมภีร์ทิวยาวทาน ภาสันสกฤตของพุทธศาสนาหินยาน นิกายสรรวาสติวาท กล่าวว่า
พระพุทธเจ้าจะทรงรําพึงถึงวาระจิตของสัตว์โลก บรรดาเทพเทวดาต่างลงมาเฝ้าจํานวนมาก ใน
จํานวนนั้นคือท้าวสักกะเทวราช (พระอินทร์) ประทับอยู่ข้างขวาและท้าวมหาพรหมประทับอยู่ข้าง
ซ้ายของพระองค์พระยานาค 2 ตน ช่ือนันทะและอุปนันทะได้เนรมิตดอกบัวขนาดใหญ่มีหลายพัน
กลีบถวาย พระพุทธองค์ทรงรับแล้วประทับขัดสมาธิบนดอกบัวนั้นทรงรําพึงกับบารมีของพระองค์
แล้วก็ทรงเนรมิตดอกบัวเช่นเดียวกันนั้นอีกดอกหนึ่งมีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ข้างบนเช่นกันแล้วก็
ปรากฏรูปพระพุทธเจ้าทั้งข้างหน้า ข้างหลังและรอบๆ พระองค์ในกิริยาอาการต่างๆ จํานวนนับไม่
ถ้วน เช่น จงกรม ประทับยืน บรรทม บันดาลให้เกิดแสงสว่าง บันดาลให้เกิดเปลวไฟ บันดาลให้เกิด
ฝน114 อย่างไรก็ ตามพระพิมพ์ที่พบช้ินน้ีตัดตอนแสดงเฉพาะเน้ือหาท่อนแรกคือ พระยานาค 2 ตน
เนรมิตดอกบัวให้พระองค์ทรงรับแล้วประทับขัดสมาธิบนดอกบัวนั้น มีพระอินทร์และพระพรหม
ประทับอยู่ด้านข้าง ไม่มีภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงมหาปาฎิหาริย์ ด้านหลังของพระพิมพ์มีจารึก
คาถา เย ธมมฺ าฯ

นอกจากน้ันการพบพระพิมพ์ในซุ้มโค้งแหลมศิลปกรรมแบบปาละมีเมืองอู่ทองซึ่งเป็น
รูปแบบของพระพิมพ์แพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชนผู้นับถือลัทธิตันตระยานหรือวัชรยานในอินเดีย
ตะวนั ออก คือภาพพระพทุ ธเจา้ ประทบั อยู่ในซุ้มภายใต้ต้นโพธแ์ิ ต่ไม่มีศิขร (แบบพุทธคยา) แสดงปาง
มารวิชัยและขัดสมาธิเพชรบนปัทมาสน์ครองจีวรห่มเฉียง มีรูปพระพุทธเจ้าขนาดเล็กจําวน 4 องค์
ประทับน่ังบนปัทมาสน์รอบๆ พระพุทธเจ้าองค์กลาง รูปน้ีอาจจะเปน็ รูปพระชินพุทธะ (ธยานิพุทธ) 5
พระองค์ในลัทธิตันตระยานหรือวัชรยานคือ พระพุทธเจ้ามหาไวโรจนะ (ผู้ให้แสงสว่าง) พระพุทธเจ้า
อักโษภยะ (ผู้หนักแน่น) พระพุทธเจ้ารัตนสัมภาวะ (ผู้เกิดจากมณี) พระพุทธเจ้าอมิตาภะ (ผู้มีแสง
สว่างเป็นนิรันดร) พระพุทธเจ้าอโมฆสิทธิ (ผู้สมหวังตลอดกาล) โดยท่ัวไปเช่ือกันว่าพระพุทธชินะพุทธ

113 พิริยะ ไกรฤกษ์, พุทธศาสนนิทานท่ีเจดีย์ จุลประโทน, (กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระจันร์, 1974),
หน้า 3.

114 นิติพันธ์ุ ศริ ิทรัพย์, พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีที่นครปฐม, วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญา
มหาบัณฑิต สาขาวชิ าโบราณคดสี มัยประวัติศาสตร์ ภาควชิ าโบราณคดี มหาวิทยาลยั ศิลปกร, 2524, หน้า 37-38.

81

เจ้าทั้งห้าพระองค์คือตัวแทนขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณและของทิศท้ัง 5 อันเป็น
ตัวแทนของจักรวาล115 หรือพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระพิมพ์ชิ้นนี้อาจจะเป็นรูปพระพุทธเจ้าศากย
มนุ ี (พระศากยสงิ ห)์ พระพุทธรูปองค์สําคญั ทีพ่ ทุ ธคยา

2. หลกั ฐานหลักธรรม

เทา่ ทีม่ กี ารรวบรวมจารึกโบราณพบที่เมอื งอู่ทองทมี่ ีอายรุ าวพทุ ธศตวรรษท่ี 12-13 และได้
มีการอ่านแปลเผยแพร่แล้วนั้นมีจารึกท่ีเป็นหลักธรรมในพุทธศาสนามีสองสํานวน คือ จารึกสํานวน
แรก จารึกคาถาเย ธมฺมาฯ จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี พบหลายช้ัน เช่น จารึกบนพระพิมพ์
ดินเผา ที่ด้านท่ีน่าเป็นภาพเร่ืองปฏิหารย์ที่เมืองสาวัตถีส่วนด้านหลังจารคาถา เย ธมฺมาฯ จารึกบน
แผน่ ดินเผาบางชิน้ เก็บรกั ษาทพี่ พิ ิธภณั ฑสถานแห่งชาติอูท่ อง116

จารึกหลักธรรมสํานวนอ่ืนๆ ที่คาดว่าชาวอู่ทองเมื่อราวพุทธศตวรรษท่ี 12-13 พึ่งรู้เรื่องน้ี
มาจากข้อสันนิษฐานท่ีว่ากรมศิลปกรขุดพบพระธรรมจักรพร้อมเสาและฐานรองที่พระสถูปหมายเลข
11 เมืองอู่ทอง มีรูปแบบคล้ายคลึงกับพระธรรมจักรพบท่ีเมืองโบราณใกล้เคียงคือเมืองนครปฐม
โบราณ พระธรรมจักรพบท่ีเมืองนครปฐมโบราณพบว่ามีจารึกคาถาธรรม และยังพบคาถาธรรมความ
ใกล้เคียงกันนี้ท่ีบนฐานพระธรรมจักรเมืองโบราณกําแพงแสน (จังหวัดนครปฐม) บน (ช้ินส่วน)
ธรรมจักรพบท่ีเมืองลพบุรี บนเสาธรรมจักรพบท่ีเมืองซับจําปา (จังหวัดลพบุรี) อีกด้วย ก็น่าเช่ือว่า
คาถาธรรมความดังกล่าวบนธรรมจักรพบที่เมืองนครปฐมโบราณและท่ีอื่นๆ น่าจะเป็นเร่ืองที่รับรู้แก่
พุทธศาสนิกชนเถรวาททั่วไปท่ีนิยมสร้างพระธรรมจักรประดิษฐานไว้ในศาสนสถานรวมท้ังที่เมืองอู่
ทอง

จารึกบนธรรมจักรพบท่ีเมืองนครปฐมโบราณอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี อายุราวพุทธ
ศตวรรษท่ี 12 เนื้อหาคือคําพรรณนาเทิดทูนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันย่ิงใหญ่และ
ทรงแสดงไว้คือการหยั่งรู้ความจริงของพระอริยสัจ การหย่ังรู้ในกิจที่ต้องกระทําของพระอริยสัจ และ
การหย่ังรู้ในกิจท่ีได้กระทําแล้วในพระอริยสัจ คือทางดําเนินถึงความดับทุกข์ การสลัดทุกข์ออกได้ก็
ด้วยการเห็นเหตเุ ปน็ ใหญ่ 117 ความจากจารึกดังกลา่ วคอื เน้ือหาใกลเ้ คียงท่ปี รากฏในพระธัมจกั กปั ปวัต
ตนสตู ร

115 ผศ.ดร.พิรยิ ะ ไกรฤกษ์, ประวตั ิศาสตร์ศลิ ปะในประเทศไทยฉบบั คู่มอื นกั ศึกษา, หนา้ 57.
116 คําอ่านจารึกหลักน้ีเผยแพร่โดย Peter Skilling และ ศานติ ภักดีคํา ปรากฏในหนังสือเรื่อง
พพิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ อทู่ อง จดั พิมพเ์ ผยแพรโ่ ดยกรมศลิ ปากร พ.ศ.2545 หนา้ 56 ขา้ พเจา้ ไดน้ ําคาํ อ่านให้นาย
สมบัติ ทารัก แห่งหอจดหมายเหตุท่านพุทธทาส อินทปัญโญ สวนโมกข์กรุงเทพ ได้พิจารณาหาท่ีมาของคาถา
ดงั กล่าว ได้รบั คําตอบว่าเป็นคาถาจาก เขมาเขมสรณ์ทีปิกคาถา ในพระสุตตันตปิฎก ขทุ ทกนกิ าย เรื่องปุโรหติ อัคคิ
ทัตและได้ส่งรายละเอียดซึ่งเป็นคําอ่านและคําแปลที่สมบูรณ์มาให้ดังที่ได้พิมพ์เผยแพร่ในท่ีนี้ โดยอ้างอิงจาก
พระไตรปฎิ กภาษาไทย ฉบบั เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั เน่อื งในการจัดงานฉลอวสิริราชสมบัติ
ครบ 60 ปี พทุ ธศกั ราช 549 มหาเถรสมาคมจัดพมิ พ์ จงึ ขอขอบคณุ นายสมบตั ทิ ารัก
117 ดูคําอ่าน-แปลจารึกใน ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์,
(กรงุ เทพฯ : กรมศิลปากร, 2542), หนา้ 112.

82

สําหรับจารึกบนฐานพระธรรมจักรพบท่ีเมืองโบราณกําแพงแสนจารึกด้วยอักษรปัลลวะ
ภาษาบาลีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 แปลว่า “พระธรรมจักรของพระมเหสีเจ้า มีเวียนสามรอบ มี
อาการสิบสอง คือสัจจญาน กตญาณ กําหนดแลว้ ดว้ ยอาการละ 4 ละ4 ฯ”118 ความหมายของจารึก
นี้หมายถึงเร่ือง ญาณ 3 มีรายละเอียด คือ ธรรมจักรประกอบด้วยญาณ 3 ประการ คือ การหยั่งรู้
ความจริง (สัจจญาณ) เกี่ยวกบั กจิ ทต่ี ้องกระทํา (กิจจญาณ) และเกี่ยวกบั กจิ ทีไ่ ดก้ ระทําแล้ว (กตญาณ)
ความดังกลา่ วมคี ําอธบิ ายตอ่ ไปวา่ ธรรมจกั รหมนุ (ปรวัฏ) รอบ 4 คร้ัง มีอาการ 12 หมายถึงวา่

หมุนคร้ังที่ 1 คือ หมุนสัจจญาณ (ความหย่ังรู้ความจริง/หย่ังรู้อริยสัจจ 4) รู้ว่าน่ีทุกข์ น่ี
สมุทยั น่ีนิโรธ นี่มรรค

หมุนครั้งท่ี 2 คือ หมุนกิจจญาณ (กิจที่ต้องกระทํา/หยั่งรกู้ ิจอันต้องทําในอริยสัจ 4) คือ รู้
วา่ ทกุ ข์ ควรกําหนดรู้-สมุทยั ควรกําหนดละนิโรธควรทําให้แจง้ มรรคควรให้เจริญ

หมนุ ครงั้ ที่ 3 คือ หมุนกตญาณ (หย่ังรกู้ จิ แหง่ อริสจั 4 ทีไ่ ด้กระทําแลว้ ) คือ รู้วา่ ทุกข์เราได้
กาํ หนดร้แู ลว้ สมทุ ยั เราไดล้ ะแลว้ นิโรธเราได้กระทาํ ให้แจ้งแลว้ มรรคเราได้เจริญแล้ว

อนึ่ง ยังมีจารึกพบที่เมืองอู่ทองอีกจํานวนหน่ึงท่ีผู้ศึกษายังไม่สามารถสืบค้นได้ว่ามี
ผู้เช่ียวชาญเร่ืองอักษรและภาษาโบราณได้อ่านและแปลแล้วหรือยัง หากยังไม่ได้อ่าและแปลก็น่า
เขา้ ใจว่าอาจจะมคี าถาธรรมเน้อื หาอื่นๆ ยุคสมัยพทุ ธศตวรรษที่ 12-15 พบในภมู ิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้และน่าจะพบท่ีเมืองอู่ทองด้วย เช่น ที่จังหวัดลพบุรีพบคาถาจากพุทธอุทานและคําสนทนา
ระหว่างพระพุทธเจ้ากับอุปกาชีวก หรือท่ีในประเทศมาเลเซียและเกาะชวาพบคาถาธรรมเร่ืองหลัก
กรรม

สรุปไดว้ า่
ผลจากากรศึกษาพุทธศาสนาวัตถุรุ่นเก่าอายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี 10-15 พบท่ีเมือง

อู่ทองและใกล้เคียงเป็นหลักฐานสนับสนุนเรื่องพุทธศาสนาลัทธิสําคัญท่ีนับถือกันที่เมืองอู่ทองน่าจะ
ได้แก่ ลัทธิหินยานหลายนิกายในบรรดานิกายต่างๆ น้ันดูเหมือนว่านิกายเถรวาทน่าจะแพร่หลาย
กว้างขวางมาก เพราะพบพระธรรมจกั รและจารึกคาถาธรรมที่เปน็ ภาษาบาลีจํานวนหนงึ่

นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าเมืองหลวงของรัฐทวารวดีน่าจะอยู่ท่ีเมืองอู่ทอง ก็
จัดเป็นเมืองสําคัญอีกเมืองหน่ึงที่นักวิชาการหลายท่านลงความเห็นว่า น่าจะเป็นศูนย์กลางของรัฐ
ทวารวดี เพราะได้พบเหรียญเงินมีจารึกว่า “ลวปุระ” ท่ีอู่ทอง119 หรือเป็นศูนย์กลางในฐานะเมือง
หลวงของรัฐทวารวดี โดยศึกษาจากสภาพที่ต้ังทางภูมิศาสตร์ ประกอบกับหลักฐานโบราณวัตถุสถาน
และหลักฐานเอกสารต่างๆ รวมท้ังจดหมายเหตขุ องจนี ตลอดจนจารกึ ท่ีพบในบริเวณเมืองด้วย

ดังน้ันเมืองอู่ทองจึงจัดเป็นเมืองท่าโบราณที่เจริญรุ่งสืบต่อมาจนกลายเป็นเมืองท่าสําคัญ
ของอาณาจักร และเปน็ ศนู ย์กลางพทุ ธศาสนาที่เกา่ แกท่ สี่ ุดของรัฐทวารวดี

118 อุษา งว้ นเพียรภาค และคณะ, โบราณวัตถุในพพิ ิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติพระปฐมเจดีย์, ( นนทบุรี
: สํานักพิพธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ, 2548), หน้า 36.

119 Boeles, J.J. “A note on the ancient city called Lavapura” Journal of the Siam
Society, Vol. LV, Partl (January 1967)

83

สําหรับเนอื้ หาหลกั ธรรมทพ่ี ุทธศาสนิกชนทเี่ มอื งอ่ทู องเมือ่ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14
ให้ความสําคัญนั้นคือ คาถาเย ธมฺมาฯ คือความย่อของหลักอริยสัจและหลักปฏิจจสมุปบาท รวมท้ัง
การพบจารึกคาถาเขมาเขมสรณทปี ิกล้วนเป็นแก่นคําสั่งสอนของพระพุทธเจา้ ฉะน้นั พทุ ธศาสนกิ ชนที่
เมืองอู่ทองเม่ือพุทธศตวรรษที่ 12-14 น่าจะสนใจเรียนรู้เรื่องแก่นคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
โดยเฉพาะเร่ืองให้บุคคลดับทุกข์ด้วยการเห็นเหตุเป็นใหญ่และการทําให้มรรค 8 เจริญ (กตญาณ) คือ
สัมมาทิฏฐิ-ปัญญาเห็นชอบได้แก่ความรู้อริยสัจ 4 หรือเห็นไตรลักษณ์ (ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์
ความไม่ใช่ตัวตน) หรือรู้อกุศลและอกุศลมูล (ความช่ัวและต้นต่อของความชั่ว) กับกุศลและกุศลมูล
(ความดีและต้นตอของความดี) หรือเห็นปฏจิ จสุมปทาน 120

จะเห็นได้ว่า นักวิชาการ โปราณคดี ได้ให้แนวคิดว่าการเขามาของพระพุทธศาสนาในแผ
นดินไทยจากเอกสารตาง ๆ เชน คัมภีรพระไตรปฎก อรรถกถา วรรณกรรม พระพุทธศาสนาในลังกา
พมา ลานนาและลานชาง ตลอดถึงงานคนควาของนักประวัติศาสตรและ นักโบราณคดีที่ไดศึกษา
วิเคราะหเกี่ยวกับเรื่องทวารวดี รวมทง้ั การวิเคราะหขอมลู ทางดาน ศิลปกรรมวา มคี วามเกย่ี วของกัน
มากนอยเพียงใด ซ่ึงจะกอใหเกิดองคความรูใหมเกี่ยวกับกําเนิดการเขามาของพระพุทธศาสนาตลอด
ถึงรองรอยและอิทธิพลดานตางๆ ที่ไดรับจากพระพุทธศาสนา ที่จะอํานวยประโยชนตอการศึกษา
ประวัติศาสตรพระพทุ ธศาสนา วัฒนธรรมประเพณีเปนตนที่ขาดหายไปเพือ่ จะไดเกิดองคความรูใหม่ๆ
อนั จะเปนประโยชนทางการศึกษาตอไป

120 พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป. อ. ปยตุ โต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบัยประมวลธรรม พิมพ์ครงั้ ท่ี 16,
กรงุ เทพฯ : เรอื่ งเดมิ , หน้า 215.

บทที่ 3

อิทธพิ ลการเผยแผพ่ ระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี(อู่ทอง)

จากหลักฐานตามตํานานพระพุทธศาสนาไดเขามาสู ดินแดนประเทศไทยต้ังแต่พุทธ
ศตวรรษท่ี 3 เปนอยางนอย แตจากหลักฐานทางศิลปกรรมท่ีเก่ียวของกับศาสนามีการคนพบแลวมี
อายุเกาแกสุดประมาณพุทธศตวรรษที่ 6-7 หรือ 8-9 และมาชัดเจนมากท่ีสุดในราวพุทธศตวรรษท่ี
12 เปนตนมา” นั้นไดก่อใหเกิดความเจริญรุงเรืองดานจิตใจ วัฒนธรรมอยางมาก ทั้งดานสถาปตย
กรรมและประติมากรรม ท่ีทรงคุณคา โดยเฉพาะสมัยทวารวดีอู่ทอง ปรากฏรองรอยมากจนกลาย
เปนแบบแผนทางประเพณีวัฒนธรรมและมีอิทธิพลสงตอใหกับยุคสมัยต่อๆ มา ในบทนี้จะกลาวถึง
หลักฐานทางโบราณคดี ศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาที่เก่ียวของ โดยเฉพาะหลักฐานดานสถาปตย
กรรม ประติมากรรม และจารกึ เนื่องในพระพุทธศาสนาสมยั ทวารวดีอู่ทองต่อไป

3.1 หลกั ฐานดานสถาปตยกรรม

จากการพบศิลปะรูปแบบตาง ๆ ท่ีแพรหลายอยูตามภูมิภาคตาง ๆ นั้น สถาปตยกรรม
สมัยทวารวดีพบท้ังอาคารสถานและสถูปเจดีย แต่มีสภาพไมสมบูรณ เหลือเพียงบางสวน ที่สามารถ
ศึกษาได้เปนอาคารสถานที่ มักกอดวยอิฐลวน โดยเรียงอิฐให้ดานยาวกับ ดาน สกัด อยูในแนว
เดียวกัน ใชดินเปนตัวประสานทับหลังและธรณีประตู่ทําดวยศิลานิยมประดับอาคาร ดวย
ประติมากรรมปูนปนและดนิ เผา ท่ีทาํ เปนรูปตาง ๆ เคร่ืองบนของอาคารนั้นไมอาจทราบ รปู ทรงท่แี ท
จริง พอสันนิษฐานว่า น่าจะเปรียบศาสนสถานอยู่ในยุคของอินเดียในสมัยคุปตะ ราวพุทธศตวรรษ
ท่ี 9-11 ประมวลได้ว่า “มีผังเปนรูปส่ีเหลี่ยมจัตุรัส ฐานยกสูง ตรงกลาง เปนสถูปใหญ รอบสถูปมีมุข
ยืน่ ออกมา มซี มุ สําหรับประดษิ ฐานพระพทุ ธรูปขนาดใหญสท่ี ิศ มบี นั ไดทอดลงมาทงั้ สีด่ าน”1

ประเภทศาสนสถาน

สถาปตั ยกรรมแบบทวาราวดีมกั ก่ออฐิ และใชส้ อดนิ เชน่ วัดพระเมรุและเจดีย์จลุ ปะโทน
จงั หวดั นครปฐม บางแห่งมีการใช้ศลิ าแลงบ้าง เช่น ก่อสร้างบรเิ วณฐานสถูป การก่อสร้างเจดียใ์ นสมยั
ทวารวดี พบท้ังเจดียฐ์ านสี่เหล่ยี ม เจดยี ท์ รงระฆังควํ่า มยี อดแหลมอยู่ดา้ นบน

สถาปตยกรรมสมยั ทวารวดี(อทู่ อง) สามารถแยกได 2 ประเภท2 คือ

1. ศาสนสถานกลางแจง พบอยูทั่วไปทุกเมืองในสมัยทวารวดี หลักฐานโบราณคดีที่เหลือ
คือ ซากเจดียพบสวนใหญจะมีผังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกับซากวิหารหรืออาคารมีแผนผังเปนรปู สี่เหลี่ยม

1 กรมศิลปากร, หนังสือเผยแพรศิลปวัฒนธรรมเนื่องในโอกาสเปดศูนยวัฒนธรรมแหงประเทศไทย
,(กรุงเทพฯ: วคิ ตอรีเ่ พาเวอรพอยท, 2530), หนา 34- 64.

2 ศักด์ชิ ยั สายสงิ ห,ผศ.ดร., ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายคุ แรกเรมิ่ ในดินแดนไทย, หนา
108-109.

85

ผืนผา

2. ศาสนสถานที่อยูในถํ้าโบราณสถานที่อยูตามถ้ําตางๆ น้ัน สามารถยอนศึกษา
ประวัติศาสตร์ ขึ้นไปถึงสมัยที่มนุษย์ยังอาศัยถ้ําอยูได ภายหลังจึงไดพัฒนาที่อยูอาศัยและเคลื่อนย้าย
ออกจากถํ้า โดยมาอาศัยอยูตามทร่ี าบลุมตาง ๆ

สมยั ทวารวดีมีการใชถํ้า เปนศาสนสถานหลายแหง เช่นที่บริเวณเขางู จังหวัดราชบรุ ี ถํ้า
พระโพธิสัตว ตําบลทับกวาง อําเภอแกงคอย จังหวดสระบุรี เหตุผลในการใชถํ้า เปนศาสนสถานนั้น
อาจารยศกั ดชิ์ ัย สายสงิ ห สันนษิ ฐานไว 3 ประการ กลาวคอื

1. เปนเรื่องธรรมชาติท่ีตองการที่อยูอาศัยโดยไมตองสราง เพียงแตดัดแปลงและสราง
อาคารหรือรูปเคารพไวภายในเทาน้ัน ก็สามารถใชเปนศาสนสถานไดเลย

2. อาจเปนวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากสมัยกอนประวัติศาสตรตอนปลายท่ีสวนหน่ึงยังมี
การทําพิธีกรรมตาง ๆ ในถํ้าอยู เชนตัวอยางจากภาพเขียนสีที่ผนังถํ้าดังกลาวแลว ตอมาเมื่อรับ
พระพทุ ธศาสนาเขามาจงึ ได้ใชถา้ํ และสรางรูปเคารพข้นึ มาแทน

3. สมัยทวารวดี คงรับคตกิ ารใชถ้ําเปนศาสนสถานมาจากอินเดีย เรยี กวา เจติยสถาน คือ
ศาสนสถานที่เจาะเขาไปในภูเขาหรือดัดแปลงถํ้าใหเปนศาสนสถาน พบมาแลวตั้งแตสมัยอินเดีย
โบราณ (พุทธศตวรรษที่ 3-6) ที่พบ เปนจํานวนมาก และเปนท่ีรูจักกันโดยท่ัวไปคือ ถ้ําในสมัยคุปตะ
เชน ทถ่ี า้ํ อชันตา (Ajanta) ถ้ําเอลโลรา (Ellola) เปนตน

นอกจากนี้ผูวจิ ัย ยังพบวา ถ้าํ เปนสถานท่ีที่เหมาะแกผูปฏิบัติธรรมและปฏิบตั ิศาสนกจิ อื่น
ดวย เพราะถํา้ มคี วามรมรนื่ และสงบเย็น.

ศิลปะถ้าในสมยั ทวารวดี(อ่ทู อง)

เร่ืองอิทธิพลการใชถํ้า เปนที่อยูอาศัยน้ีมีในพุทธบัญญัติ ที่ใหพระภิกษุใชเปนท่ีอยู่จํา
พรรษาได จึงไดพบถ้ําตาง ๆ ในประเทศไทย ที่เคยใชเป็นท่ีอยูของพระสงฆจํานวนมาก งานชางใน
ศาสนา ถือเปนงานศิลปะที่มีคุณคา มีความหมายตอวิถีชีวิต และแนวคิดของคนในอดีตมาสูคนรุน
ปจจุบัน มักสรางขึ้นจากความเช่อื และความศรัทธา ที่มนุษยมีตอศาสนา และสิ่งศักดิ์สทิ ธ์ิ ที่ตนนับถือ
ในประเทศไทย มีการคนพบอิทธิพล เรื่องถํ้า ท่ีใชเปนศาสนสถานในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ
ศิลปะสมยั ทวารวดี (อู่ทอง)เปนเครืองยืนยันถึงความเจริญรุงเรือง และแพร่หลายของพระพุทธศาสนา
ไดเป็นอยางดี ในที่น้ีจะขอกลาวถึงเพียงบางสวนเทานน้ั คือ

ถา้ ฤๅษี บริเวณเขางู จังหวดั ราชบุรี 3 มีภาพพระพุทธรูปปางแสดงธรรม ประทบั นัง่ หอย
พระบาทแบบยุโรป เป็นภาพสลกั นูนตํ่าขนาดใหญบนผนังถ้ํา ลักษณะเดยี วกันกับพระพทุ ธรูปใหญพบ
ที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ใตพระบาทของพระพุทธรูป มีจารึกวา “ปุญกรมชระ ศรี สมาธิคุป
ตะ” หมายถึง พระศรสี มาธิคปุ ตะผูมบี ุญอันประเสริฐ สันนิษฐานวา หมายถงึ ชอื่ พระภิกษทุ ่ี พาํ นักอยู
ณ ท่ีแหงน้ีเป็นผูสรางพระพุทธรูปขึ้น และจารึกเปนอักษรปลลวะตอนปลาย ภาษาสันสกฤต อายุราว

3 ศักดิ์ชัย สายสิงห,รศ.ดร., ศิลปะทวารวดี: วัฒนธรรมพุทธศาสนายุตแรกเริ่มในดินแดนไทย, หนา
199.

86

พุทธศตวรรษท่ี 12 อาจารยศักดิ์ชัย สายสิงห วิเคราะหรูปแบบศิลปะวา พระพุทธรูปองคน้ีมีพระ
พกั ตรท่เี ปนแบบพื้นเมอื งอยางแทจริง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

ธรรมชาติมีหองเดียว ปากถ้ํากวาง 4.6 เมตร กวาง 20 เมตร บริเวณกึ่งกลางคูหามีแทง
หนิ ปนู ธรรมชาตขิ นาดใหญตงั้ อยูสามารถเดินรอบได ที่แทงหินน้ี มีงานประติมากรรมสลักอยูโดยรอบ
คือ มีพระพุทธรปู ยนื ปางแสดงธรรมสองพระหตั ถขนาดใหญสุดสงู 2.5 เมตร เป็นองคประธาน ดาน
ขางท้ังสอง มีพระพทธรูปยืนขนาดเล็ก ประกอบอยูดานขวา ขององคประธาน มีรองรอยพระพุทธรูป
ยืน พระพุทธรูปยืน สูง 1.5 เมตร ถูกสกัดทําลายไปเหลือเฉพาะชายจีวรบางส่วน ดานซายเป็นสวน
เศียร และองคพระถูกทําลาย สูงประมาณ 1.45 เมตร พระพุทธรูปปางสมาธิสูงประมาณ 60
เซนติเมตร ดานขวาพระพุทธรูปประกอบ ดวยเสาต้ังธรรมจักรเบื้องซาย เปนสถูปทรงระฆัง การทํา
พระพุทธรูปปางสมาธิ อยูทามกลางเสาต้ังธรรมจักรและสถูปอยางน้ี พบทั่วไป ในวัฒนธรรมทวารวดี
ภาคกลาง ท่ีใกลเคยี งทีส่ ุดคอื พระพมิ พ ที่เมืองคบู วั จังหวัดราชบุรี

สรุปวา พระพุทธศาสนามีความเจริญรุงเรือง เปนไปอยางธรรมชาติและอาศัยความ
ศรัทธาชาวพุทธบริษัท เห็นไดจากศิลปะอาศัยธรรมชาติและด้วยฝมือชางตาง ๆ ที่สรางข้ึนดวย
ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพ่ือถวายเปนพุทธบูชา และเปนการสืบทอดพระพุทธศาสนาอีกด้วย การ
ท่ีชางและผูศรัทธาจะสรางศิลปะทางศาสนาข้ึนไดนั้น ตองนับวาการชางฝมือมีความเจริญรุงเรือง ท้ัง
ตองอาศัยศรัทธาที่แรงกลา จึงจะสามารถสรางสรรคผลงานใหออกมาอยางเป็นอมตะได ช้ีใหเห็นวา
ท้ังหมดนี้เป็นรองรอยแหงความเจริญรุงเรืองของพระพุทธศาสนาในจิตใจของชาวพุทธอยางแทจริง
และลกึ ซ้ึง

รปู แบบของสถาปตยกรรม

งานดานสถาปัตยกรรม ท่ีเกี่ยวของกับพระพุทธศาสนานั้น ถือเปนหลักฐานสําคัญที่แสดง
ให้เห็นถึงความเจริญรุงเรืองของงานชาง และชี้ใหเห็นถึงความเคารพเล่ือมใสของประชาชน ที่มี
ตอพระพทุ ธศาสนาในสมยั นัน้ ๆ ไดเป็นอยางดี อีกงานหนง่ึ

รูปแบบและผังเจดียสมัยทวารวดี(อู่ทอง) 4 นิยมสรางมีฐานลางสุดเรียกวา ฐานเขียงหรือ
ฐานหนากระดาน เกือบท้ังหมดจะอยูในผังสี่เหล่ียมจัตุรัส ความแตกตางของรูปแบบ จะอยูที่ฐานช้ัน
ถัดขึ้นมา จะประกอบดวยชุดฐาน ท่ีมีลักษณะคลายกับกลีบบัวและลูกแก้ว ผสมกันจนเกิดเป็น
ลักษณะโคงมน เรียกวา ฐานบัววลัย เปนลักษณะเฉพาะของฐานเจดียสมยั ทวารวดี เจดยี สมัยทวารวดี
มี ลักษณะพิเศษเปนเอกลักษณของตน 2 ประการ5 คือความนิยมการมีฐานบัววลัยและการทําฐานท่ี
นิยมการยกเก็จ หรือยกกระเปาะอยางมาก เพราะจะทําใหผนังอาคารเกิดเปนชอง ทําใหเกิดความ
สวยงาม และคงมวี ตั ถปุ ระสงค เพ่ือการประดบั งานประติมากรรมดวย

รปู ทรงของเจดียสมยั ทวารวดี(อ่ทู อง)

เจดีย์เปนสถาปตยกรรมขนาดใหญท่ีชาวพุทธนิยมสรางขึ้น เพ่ือเป็นเครื่องแสดงออกถึง

4 ศกั ดิ์ชยั สายสงิ ห,รศ.ดร, ศลิ ปะทวารวดี:วัฒนธรรมพุทธศาสนายุตแรกเริ่มในดินแดนไทย, หน้า 111.
5 ศกั ด์ิชัย สายสงิ ห,รศ.ดร, ศลิ ปะทวารวดี: วฒั นธรรมพุทธศาสนายุตแรกเรม่ิ ในดินแดนไทย,หนา 112.

87

ศรัทธาและความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา การท่ีจะสรางเจดียตาง ๆ ได ผูสรางและชุมชนน้ันตองมี
ความสามัคคีเปนนํ้าหน่ึงใจเดียวกันมีศรัทธาอยางมาก จึงจะสรางขึ้นไดเพราะถือวา เปนผลงาน ของ
กลมุ ชนในบริเวณนนั้ ไดอยางดี

องคประกอบที่สําคัญของเจดีย 6 คือสวนฐานหนากระดานหรือฐานเขียงอยูลางสุด และ
จะยกระดับคอนขางสูง สวนนี้นิยมทําเปนทองไมขยายสูง และแบ่งเปนชอง ๆ เพื่อใชประดับ
ประติมากรรม ดินเผา หรือปูนปนจาํ พวกคนแคระ ช่างหรอสงิ หแบก เหนือข้ึนไป มลี ักษณะคลายฐาน
คว่ําและโคงมน คลายลูกแก้ว เรียกวา ฐานบัววลัยถือเปนรูปแบบเฉพาะของเจดียสมัยทวารวดีอยาง
หน่ึง เหนือชั้นบัววลัย เปนฐานท่ีซอนกันเป็นช้ัน ๆ เวนพ้ืนที่เปนทองไมและแบงเป็นชอง ๆ สําหรับ
ประดับงานประติมากรรมเชนเดียวกัน และเหนือสวนทองไม บางแห่งอาจมีลักษณะคลายกับฐานบัว
หงาย แตไมใช่ เพราะสมัยทวารวดี ยังไมรจู ักระเบยี บของ ฐานบัวควาํ่ บวั หงาย เช่นเจดีย์ ในสมัยหลัง
สถูปสมยั ทวารวดี 2 แบบ สถปู เจดยี ของทวารวดีท่พี บสวนใหญมี 2 แบบ คือ

แบบแรก เปนฐานรูปส่ีเหลี่ยม จัตุรัส องคระฆังทรงโอควํ่า สวนยอดเหนือรัตนบัลลังก มี
ลกั ษณะยาวเรียว

แบบท่ีสอง มีฐานเป็นรูปสี่เหล่ียมจัตุรัสเชนกัน แตองคระฆังเปนรูปบาตรคว่ํา ปลองไฉน
เปนแผนกลมแบน วางซอนทับกนั ข้ึนไป คลายฉัตรปลี ยอดเปนรูปดอกบัวตมู

ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเชน ที่เมืองฟาแดดสงยาง สถาปตยกรรมมีลักษณะ
เดยี วกันคอื อาคารสถานมีผงั เปนรปู สเ่ี หลี่ยมผนื ผา บางแหงกอดวยศิลาแลง มใี บเสมาปกตามทิศ

โดยรอบ สวนสถูปเจดียนน้ัน สวนใหญมีฐานเปนรูปส่ีเหลียมจัตุรัส มีบันไดขึ้นสี่ดาน ถามี
ดานเดียว อีกสามดานจะเปนมุขย่ืนออกมาในระดับเดียวกัน กอด้วยอิฐขนาดใหญไมสอปูน ฐานเจดีย์
ดวยประติมากรรมปูนปนเป็นภาพเลาเร่ือง7 ตกแต่ง สถูปจําลองหรือเจดีย์ จําลองสมัยทวารวดี นิยม
ทําดว้ ยศลิ า มีลกั ษณะทส่ี าํ คัญคือ เปนเจดยี ศิลาองคใหญสลักลอยตวั องคระฆงั มี รปู รางเปนทรงหมอก
ลมควํ่า มีจารึก สวนยอดทําเปนแผนกลม ๆ วางซอนกันลดหลั่นขึ้นไปหลายช้ันบนยอดสุดมีลูกแก้ว8
อายุราวพทุ ธศตวรรษท่ี 12-139

ก้าเนิดและพฒั นาการเกีย่ วกับความเช่อื เร่อื งเจดีย

เจดีย์ หมายถึง สิ่งที่กอข้ึนเพื่อเปนท่ีเคารพบูชาหรือสิ่งที่ใชเตือนใจใหระลึกถึง ในทาง
ศาสนา ก็หมายเอาสถานท่ี หรือสิง่ ที่เคารพบูชาเน่ืองดวยพระพุทธเจา หรอื พระพุทธศาสนา เรียกเต็ม
ๆ วาสัมมาสัมพทุ ธเจดยี ์ หรือพุทธเจดยี ตาํ ราในพระพทุ ธศาสนากําหนดวา่ พระเจดีย์ หรอื เจดีย์ มี 4

6เรือ่ งเดยี วกัน หนา้ 113
7 ผาสุข อินทราวุธ, รายงานการขุดคนเมืองโบราณฟาแดดสงยาง อําเภอกมลาไสย จังหวัด กาฬ
สินธ,ุ ( ม.ป.ท: ม.ป.ป.), หนา 50.
8 กรมศิลปากร,ศิลปะในประเทศไทย,(มูลนิธิเอเชียจัดพิมพเน่ืองในการจัดแสดงศิลปวัตถุจากสหรัฐ
อเมรกิ าและญี่ปุน,2506), หนา44.
9 นิติพันธ ศิริทรัพย, “พระพิมพดินเผาทวารวดีที่นครปฐม”, วิทยานิพนธศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต,
(บัณฑติ วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2526), หนา 151.

88

ประเภท10 คือ

1. ธาตุเจดีย์ ส่ิงก่อสร้างบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์พระ
ปรินิพพาน

2. บริโภคเจดีย์ สังเวชนียสถานอันเป็นสถานท่ีประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพาน
ของพระพทุ ธเจา้

3. ธรรมเจดยี ์ คาถาท่แี สดงพระอริยสจั หรือ คัมภีร์ในพระพทุ ธศาสนา เชน่ พระไตรปิฎก

4. อุเทสิกะเจดีย์ ของที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศแด่พระพุทธเจ้า ไม่กําหนดว่าจะต้องทํา
เปน็ อย่างไร เช่น สรา้ งบลั ลงั กใ์ ห้หมายแทนพระพุทธองค์

การที่เจดีย์มีความหมายครอบคลุมอย่างกว้างขวางดังที่กล่าวข้างต้น จึงพ้องกับ
ความหมายของคําว่า สถูป ท่ีบ่งบอกถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างเพ่ือบรรจุอัฐิธาตุ ด้วย
เหตุนี้ สถปู จงึ ใช้แทนเจดีย์เปน็ เช่นนใี้ นประเทศอนิ เดียสมัยโบราณมาแล้ว11

ในสมัยสุโขทัย คําว่าสถูปและเจดีย์ใช้ควบคู่กัน ดังปรากฏในจารึกบางหลัก เช่น พระยา
มหาธรรมราชาก่อพระธาตุ หรือกล่าวถึง พระศรรี ตั นมหาธาตุ ซ่ึงล้วนมีความหมายเดียวกับเจดยี ์ แม้
ในปัจจุบนั นกั วชิ าการกย็ ังเรยี ก พระสถปู เจดีย์ เปน็ คําค1ู่ 2

พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐฯ เขียนข้ึนเม่ือปี พ.ศ. 2223 กล่าวถึงสมัยต้น
กรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา พระศรีรัตนมหา
ธาตุ 13ซึ่งย่อมหมายถึงพระเจดีย์ทรงปรางค์ องค์ที่เป็นประธานของวัดมหาธาตุ ซ่ึงปัจจุบันยอดทลาย
ลงแล้ว

ทางภาคเหนือ มีเอกสารเขียนข้ึนในพุทธศตวรรษที่ 18 ได้ใช้คําว่า พระธาตุทรง
ปราสาท และมีการใช้คําว่า พระธาตุ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุลําปางหลวง พระธาตุหริภุญ
ชัย14

ทางภาคอสี าน มคี ําว่า พระธาตุ เชน่ พระธาตพุ นม พระธาตุเชิงชุม พระธาตศุ รสี องรกั ษ์
ทางภาคใต้ มีคําเรียกว่า พระบรมธาตุ เช่น พระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุ
นครศรธี รรมราช15

10 ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ,.ต้านานพุทธเจดีย์,
(พมิ พ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :ครุ สุ ภา, 2551), หนา้ 7-10.

11 Snodgrass, Adrian. The Symbolism of The Stupa. New York : Cornell University,
1985. Page 156

12 ศลิ ปากร, กรม. จารกึ สมัยสุโขทัย. (กรงุ เทพฯ : หอสมุดแหง่ ชาติ, 2526), หน้า 29-30.
13 คาํ ให้การชาวกรงุ เกา่ คําให้การขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ
อกั ษรนิต์ิ "พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบบั หลวงประเสริฐอักษรนติ ์ิ" พิมพค์ ร้ังที่ 2. นครหลวงฯ : คลงั วิทยา. 2515.
หน้า 444
14 สันติ เล็กสุขุม. เจดยี ์ ความเป็นมาและค้าศพั ทเ์ รียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย (พิมพค์ รั้งท่ี
5. กรงุ เทพฯ : มติชน, 2552), หน้า 4

89

สว่ นคาํ ว่า กู่ ก็หมายถึงสถปู หรือ เจดีย์ด้วยเช่นกัน มีทใี่ ชท้ างภาคเหนือ16 เช่น กเู่ จา้ นาย
วัดสวนดอก ทางภาคอีสานก็มี17 เช่น ปราสาทปรางค์กู่ ปรางค์กู่ กู่พระสันตรัตน์ กู่กาสิงห์ ยังมีที่ใช้
ในประเทศพม่า ซง่ึ หมายถงึ เจดีย์แบบหนึ่งดว้ ย18

การสร้างเจดีย์นอกจากจะมีความหมายดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีประเพณีบรรจุสิ่งของมี
ค่า รวมท้ังพระพิมพ์จํานวนมาก ไว้ในกรุขององค์เจดีย์ ซึ่งมีนัยว่า เป็นการสืบทอดพระศาสนา19
สอดคลองกับความคิดเรื่องการบูชาพระสถูปเจดียในนิกายธรรมคุปตวา สังฆทาน มีผลมากกวาทาน
อ่ืน แตการบูชาพระเจดียมีผลมากกวา สังฆทาน20 กอใหเกิดความนิยมในการสราง พระสถูปเจดีย์
บรรจุพระบรมธาตุ ขึ้นเพื่อใหประชาชนไดกราบไหวบชู าในสมัยตอ ๆ มาอิทธิพลจากแนวคิด ดงั กลาว
จึงเกิดความนิยมในการสรางเจดีย ในประเทศที่นับถือ พระพุทธศาสนาไมเฉพาะประเทศไทยเทาน้ัน
กลาวได้ว่า ประเพณีของชาวพุทธในประเทศท่ีนับถือ พระพุทธศาสนาเม่ือมีโอกาส และฐานะมักจะ
นิยมพากันสรางสถูปเจดีย์ ไว เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เพื่ออุทิศสวนกุศลและเพื่อสรางบารมี ถือไดว่า
มาจากอิทธิพลชาดกในพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยเฉพาะคัมภีรพุทธวงศ จริยาปฎก ซ่ึงเป็นพุทธ
จริยาท่ีเปนเหตุใหไดต้ รัสรูพระสมั มาสัมโพธญิ าณ

รอ่ งรอยโบราณสถานเจดียส์ มยั ทวารวดี

ปรากฏหลกั ฐานแนช่ ัดอายุเก่าท่ีสุดคือ สมยั ทวารวดีอายุประมาณพทุ ธศตวรรษท่ี 11 เป็น
ต้นมา ทุกแห่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ-หลังคุปตะ และราชวงศ์ปาละ
ราวพุทธศตวรรษท่ี 9-13 และ 14-16 ตามลําดับ โบราณสถานส่วนใหญ่สร้างขึ้นเก่ียวเนื่องกับพุทธ
ศาสนา กาํ หนดอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 เกือบทุกแหง่ ปรักหักพังเหลือแต่เฉพาะสว่ นฐาน
แบ่งออกไดเ้ ปน็ 3 ประเภทคอื สถปู เจดยี ์ วหิ าร และ สีมา ในท่นี ้จี ะกลา่ วเฉพาะ สถปู เจดยี ์ สีมา

ฐานเจดีย์หมายเลข 1 กลุ่มโบราณสถานโคกไม้เดน บ้านโคกไม้เดน อําเภอพยุหะคีรี
จงั หวดั นครสวรรค์

ฐานเจดีย์หมายเลข 2 กลุ่มโบราณสถานโคกไม้เดน บ้านโคกไม้เดน อําเภอพยุหะคีรี
จงั หวดั นครสวรรค์

สถูปเจดีย์สมัยทวารวดี คงจะสร้างขึ้นเพ่ือจุดประสงค์ให้เป็นอุเทสิกเจดีย์ (เพ่ือเป็นการ
ระลึกถึงเหตุการณ์หรือบุคคลที่ลว่ งลับไปแล้ว) มากที่สุด จากหลักฐานที่เหลืออยู่เพียงเฉพาะส่วนฐาน
น้ัน สามารถแบ่งตามลักษณะแผนผังได้เป็น 4 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ ฐานรูปกลม ฐานรูปสี่เหลี่ยม ฐาน

15 สันติ เลก็ สุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและค้าศพั ท์เรียกองคป์ ระกอบเจดีย์ในประเทศไทย( พมิ พ์ครัง้ ท่ี
5. กรงุ เทพฯ : มตชิ น, 2552.), หนา้ 21

16 เสนอ นลิ เดช. ศลิ ปะสถาปัตยกรรมล้านนา. (กรุงเทพฯ : เมอื งโบราณ, 2526),. หน้า 16
17 น. ณ ปากนาํ้ (นามแฝง). พจนานุกรมศลิ ป, (พิมพ์ครงั้ ที่ 2. กรงุ เทพฯ:เมอื งโบราณ, 2552),หนา้ 44
18 Aung Thaw. Historical Sites in Burma. The Ministry of Union Culture, Government
of Union of Burma : sarpay Beikman Press, 1972. Page 48
19 สนั ติ เล็กสขุ มุ . เจดีย์ ความเป็นมาและค้าศพั ท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย (พิมพ์ครัง้ ท่ี
5. กรงุ เทพฯ : มตชิ น, 2552), หน้า 5
20 เสถยี ร โพธนิ ันทะ,ประวตั ศิ าสตรพระพุทธศาสนา ฉบบั มขุ ปาฐะ เลม 1 ,หนา 75.

90

รูปสีเ่ หล่ียมย่อมุม และฐานแปดเหลย่ี ม หรอื สามารถแบง่ ตามรายละเอียดทีต่ ่างกันได้เป็น 13 รูปแบบ
ย่อย ซ่ึงแต่ละแบบล้วนแสดงวิวัฒนาการที่ สืบทอดจากต้นแบบในอินเดียเป็นระยะ ๆ และยังเป็น
ตน้ แบบให้สถปู เจดีย์ในยุคต่อ ๆ มาดว้ ย คือ

แบบที่ 1 สถูปเจดีย์ฐานกลม น่าจะเป็นแบบท่ีเก่าท่ีสุด รับอิทธิพลต้นแบบมาจากสถูป
สาญจีของอินเดียเช่น โบราณสถานหมายเลข 3 (ภูเขาทอง) ท่ีอําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
สถปู กลมที่อูท่ อง จังหวดั สุพรรณบุรี และพระปฐมเจดียอ์ งคเ์ ดิม จังหวัดนครปฐม เปน็ ต้น ลักษณะการ
ก่อสร้างใชด้ ินแลงอัดหรือก่ออิฐ สถปู เจดยี ล์ กั ษณะน้นี า่ จะเหมือนต้นแบบคือลักษณะเป็นครงึ่ วงกลม มี
เวทิกาหรือรั้วกั้นโดยรอบ บนองค์สถูปประดับด้วยหรรมิกาหรือบัลลังก์ และมีฉัตรซ้อนกันสามชั้น
และอาจมบี ันไดทางขึ้นเพ่ือกระทาํ ประทักษิณและมีประตูทางเขา้ ขนาดใหญ่ส่ีทศิ (โตรณะ)

แบบที่ 2 สถูปเจดียฐ์ านสเี่ หลี่ยมจัตรุ ัส มอี งค์สถปู ทรงกลมก่อข้างบน แตป่ ัจจบุ นั สถูปกลม
ได้พังทลายหมด เช่น โบราณสถานหมายเลข 8, 9, 11 และ 15 ที่บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
โบราณสถานหมายเลข 11 ที่อําเภออู่ทอง จังหวดั สุพรรณบุรี และโบราณสถานหมายเลข 6, 20 และ
23/2 ที่อําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น สันนิษฐานว่าองค์สถูปเดิมน่าจะมีลักษณะคล้าย
หม้อน้ําหรือบาตรคว่ํา ตอนบนประดับด้วยฉัตรเป็นชั้น ๆ ปลายสุดมียอดรูปดอกบัวตูมและท่ีแท่น
(หรรมกิ า) ท่ตี ้ังก้านฉัตรมีคาถาเย ธมมฺ า สลกั อยู่

แบบที่ 3 สถูปเจดีย์ฐานส่ีเหล่ียมจัตุรัส มีองค์สถูปก่อข้างบน มีแนวบันไดเพียงด้านเดียว
แนวบันไดบางครั้งก่ออิฐเป็นรูปอัฒจันทร์ เช่นโบราณสถานหมายเลข 13, 16 ท่ีบ้านโคกไม้เดน
จงั หวดั นครสวรรค์

แบบที่ 4 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีมุขย่ืน เหนือข้ึนไปเป็นสถูปกลม พบ
ท่ี บ้านโคกไมเ้ ดน จงั หวัดนครสวรรค์

แบบที่ 5 สถูปเจดีย์ฐานส่ีเหลี่ยมจัตุรัส ฐานล่างแต่ละด้านมีสถูปจาํ ลองประดับที่มุมท้ังส่ี
พบท่ีโบราณสถานหมายเลข 2 ท่อี าํ เภออูท่ อง จงั หวัดสพุ รรณบุรี และวัดพระเมรุ จงั หวัดนครปฐม

แบบที่ 6 สถูปเจดีย์ฐานส่ีเหล่ียมจัตุรัส ฐานมีช่องประดิษฐานพระพุทธรุปปูนป้ั น
ลอ้ มรอบด้วยลานประทกั ษณิ เช่นโบราณสถานหมายเลข 1 ทบ่ี ้านคูบัว จังหวดั ราชบุรี

แบบที่ 7 สถูปเจดีย์ฐานส่ีเหล่ียมซ้อนกันสองช้ัน ฐานชั้นท่ีสองทําเป็นช่อง ๆ ให้สวยงาม
เช่นโบราณสถานหมายเลข 4 ทบี่ า้ นโคกไมเ้ ดน จังหวดั นครสวรรค์

แบบที่ 8 สถูปเจดีย์ฐานสี่เหล่ียมซ้อนกันสองชั้น มีลานประทักษิณรอบ ล้อมรอบด้วย
กําแพงแก้วที่เว้นช่องประตูทางเข้าออกด้านทิศตะวันตกอีกช้ันหนึ่ง ท่ีลานประทักษิณมีบันไดขึ้นลง 3
ดา้ น (ยกเว้นทศิ ตะวันตก) เดิมอาจมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรปู พบท่ีโบราณสถานหมายเลข 2 ที่บ้าน
โคกไม้เดน จังหวดั นครสวรรค์

แบบท่ี 9 สถูปเจดีย์ฐานส่ีเหล่ียมจัตุรัส ย่อเก็จทุกด้าน ฐานแบ่งเป็นช่อง ๆ ใหญ่เล็ก
สลับกัน ประดับด้วยภาพปูนป้ันเล่าเร่ืองชาดก และรปู สัตว์เช่น สิงห์ กินรี เช่นโบราณสถานหมายเลข
3 ท่บี า้ นโคกไมเ้ ดน จงั หวัดนครสวรรค์

91

แบบที่ 10 สถูปเจดีย์ฐานส่ีเหลี่ยมจัตุรัส ย่อเก็จ ตั้งซ้อนอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมท่ีใช้เป็นลาน
ประทักษิณ ท่ีลานมีบันไดยื่นท้ังสี่ทิศและมีอัฒจันทร์อยู่ทุกด้าน ท้องไม้ของลานประทักษิณมีเสาอิง
แบ่งเป็นช่องประดับภาพชาดก องค์สถูปประดับดว้ ยพระพุทธรปู ยืนในซุ้มแต่ละด้าน เช่นเจดีย์จุลประ
โทน จังหวัดนครปฐม

แบบท่ี 11 สถูปเจดีย์ฐานส่ีเหลี่ยมซ้อนทับบนฐานแปดเหล่ียม เช่นโบราณสถาน
หมายเลข 7 และ 10 ที่ บา้ นโคกไมเ้ ดน จงั หวัดนครสวรรค์21

แบบท่ี 12 สถูปเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม เช่นโบราณสถานหมายเลข 5 ที่อําเภออู่ทอง
จังหวดั สพุ รรณบุรี

แบบที่ 13 สถปู เจดีย์ฐานแปดเหล่ียมซอ้ นสองชัน้ ฐานแต่ละด้านทําเปน็ ชอ่ งแบบซุ้มพระ
ด้านละสองซุ้ม นับเป็นแบบสวยพิเศษสุด พบท่ีโบราณสถานหมายเลข 13 ท่ี อําเภออู่ทอง จังหวัด
สพุ รรณบรุ ี

ฐานสถูปเหล่านี้สามารถเปรียบเทียบได้กับสถูปอินเดียสมัยคุปตะเป็นต้นมา และแม้องค์
สถูปจะหักพังไปหมดแล้ว แต่อาจสันนิษฐานรูปทรงตามรูปจําลองหรือภาพสลักสถูปเจดีย์ท่ีพบใน
ประเทศได้วา่ มีดว้ ยกัน 3 แบบใหญ่ ๆ คอื

1. สถูปที่มีองค์ระฆังเป็นรูปโอควํ่าหรือคร่ึงวงกลม มียอดเป็นกรวยแหลมเรียบอยู่ข้างบน
ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยปาละ ซ่ึงเจริญข้ึนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย
ระหวา่ งพทุ ธศตวรรษที่ 14-17

2. สถูปที่มีองค์ระฆังคล้ายหม้อนํ้าหรือบาตรคว่ํา ยอดทําเป็นแผ่นกลมเรียงซ้อนกันข้ึนไป
ตอนบน บนยอดสุดมลี ูกแก้วหรือดอกบัวตูมประดับ ที่แทน่ (หรรมิกา) ท่ีต้งั ฉตั รมีจารึกคาถา เย ธมมา
อนั เปน็ หัวใจของพระพทุ ธศาสนาโดยรอบ

3. สถูปท่ีมีองค์ระฆังคล้ายหม้อนํ้า ยอดสถูปคล้ายกรวยแต่มีลักษณะเป็นปล้อง ๆ ซ้อน
ตดิ กัน

สถูปเจดยี ย์ คุ สมยั อทู่ องก่อนอยธุ ยา22

ศิลปะโบราณ โดนเฉพาะอย่างย่ิงสถูปเจดีย์ต้ังแต่พุทธศตวรรษที่ 3 ลงมาจนถึงพุทธ
ศตวรรษท่ี 16 ได้ขาดห้วงไปในระยะกาลยาวนานกว่าพันปี เราพอจะรู้ลู่ทางอยู่เพียงว่า น่าจะมีสถูป
แบบอโศกปรากฏอยู่บ้าง นั่นก็เพียงแต่ร่องรอยอันสลัวเลือนรางเต็มทน สถูปอันปรากฏเก่าแก่ท่ีสุดที่
นครปฐม คือ สถูปวัดพระเมรุ อันมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปน่ันขนาดมหึมา 4 ทิศ ก็เป็นของเก่า
อย่างเก่งก็อายุไม่สูงกวา่ พุทธศตวรรษที่ 11 ขน้ึ ไป

21 ครีเอทีฟคอมมอนส์ Wikipedia มูลนิธวิ ิกิมเี ดีย โบราณสถานบ้านโคกไมเ้ ดน จงั หวัดนครสวรรค์
(เว็บไซท)์ https://th.wikipedia.org สบื คน้ เมื่อวันท่ี 11 กนั ยายน 2562

22 บุษบกทองคํา ,สถูปเจดีย์ยคุ สมัยอู่ทองและก่อนกรุงศรีอยุธยาอยู่.( เลขท่ี 31/101 ซอย ชินเขต
2 ถนน งามวงค์วาน.เขต หลักส่ี แขวง ทุ่งสองห้องจังหวัด :กรุงเทพมหานคร)เว็บไซต์:www.jedeethai.com ,
สืบคน้ เมื่อวนั ที่ 21 กนั ยายน 2562


Click to View FlipBook Version