The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by schtgr1125, 2021-05-13 08:13:56

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

188

current document placed. It was entered into this land since the 3rd of the BC
century, however, an archeological evidence were involved to the both of
Architecture and Inscriptions sculptures. The propagation of Buddhism was entered
into the Centuries between 8-10 as both impact to the Land and Sea. Please let me
explain to you as well as we have well known about the Buddhism. It was entered
between the inner of their heart and went into their minds of the people, it was so
beautiful and wonderful respect such as arts, culture and traditions. It has been
started from the past till the present at U-Tlong ancient town. Over that time, it was
so wealthy and prosperous during the 11th-16th century. It was own an artistic
underneath of the "Theravada’s Art", it has been of the heart of Theravada Buddhism
presented at so many places as following as the Chao-Praya river, Taa-Chean river
and Mae-Klong river.

From now on, the guiding principles at the heart of Buddhism are influence
to U-Tlong and the others town. They had left over as an architecture and
sculpture, for example of the Dharma Church, the Pagodas, the Buddha images, as
well as inscriptions on the principles of Buddhism. As we had discussed previously of
the Buddhism, it had gone through the U-Tlong ancient town period, the highest
level of Buddhist Dhamma and Ariya-Sat 4. As a testimony to the various signs were
indicated of the prosperity, wealthy and wisdom of the principles at the heart of
Buddhism, they are understanding of the heart Theravada Buddhism very well.
Keywords: “Analytical Study history” “U-THONG City” “ Buddhism propagation”

บทน้า

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สําคัญศาสนาหน่ึงของโลก และเป็นศาสนาประจําชาติไทย
มาเป็นเวลาช้านาน มีอิทธิพลต่อโครงสร้างของวัฒนธรรมไทยมากท่ีสุด ในปัจจุบันประเทศไทย นับว่า
เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในโลก เน่ืองจาก เป็นที่ตั้งขององค์กรการพุทธศาสนิกสัมพันธ์เเห่
งโลก มีหลักคําส่ังสอนอันเปรียบเสมือนห้วงมหานที แห่งสรรพศาสตร์ จึงมิใช่ เพียงแค่เป็นปรัชญา
หรือทฤษฎีเท่าน้ัน หากแต่ยังมีเน้ือหาครอบคลุมถึง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความนึกคิดแทบทุกด้าน
ตลอดมา ทุกยุค ทุกสมัยชนชาติไทยส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรทั้งประเทศ ได้นับ
ถือ พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลเป็นอันมากต่อความเชื่อ และความประพฤติ หรือการดํารงชีวิตของ
คนไทย ( พิทรู มลวิ ลั ย์ และไสว มาลาทอง, 2542 : 1 )

ฉะน้ันจึงจําเป็นต้องศึกษาอิทธิพล ร่องรอยของพระพุทธศาสนา รู้รากเหง้าของวิถีชีวติ ของ
ชาติไทย การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ รวมถึงวัฒนธรรมชองชาติอย่าง
แท้จริง ซ่ึงสอดคล้องกับแนวคิดของ วินัย พงศ์ศรีเพียร ได้กล่าวไว้ว่า “.ความเข้าใจแก่นแท้ของ
วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตของชาติเป็นสิ่งท่ีได้มาจากการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เท่าน้ัน เพราะ
ประวัติศาสตร์ทําให้เราได้รู้ว่า ลักษณะเฉพาะของสังคมของเราได้พัฒนาบนพ้ืนฐานของอะไร”(วินัย

189

พงศ์ศรีเพียร,ดร, 2543:2.) ดังนั้น การเรยี นรูป้ ระวตั ิศาสตร์ นอกจากจะเป็นการแสวงหาความหมายท่ี
แฝงอยู่ในเหตุการณ์ของอดีตแลว้ ยงั ได้เรยี นรู้ วิธกี ารบันทึกของนกั ประวัติศาสตร์ ในแต่ละยุค รรู้ ะบบ
การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการสร้างองค์ความรู้ ทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติการเผยแผ่
พระพุทธศาสนา ที่เข้ามามีอทิ ธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนสมัยเมืองอทู่ องโบราณชว่ งพุทธศตวรรษท่ี
9 – 15

จะเห็นได้วา่ จากตํานานหรือเอกสารทางศาสนา กลาววา ประมาณพทุ ธศตวรรษท่ี 3 พระ
เจาอโศกมหาราชไดทรงสงสมณทูตสายท่ี 8 โดยมีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเปนหัวหนามาเผย
แผ พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ (ว.ิ อ. (บาลี) 1/58, มหาวํส.(บาล)ี 1/6/82 ) ไทยเชื่อวา ได
แกจังหวัดนครปฐมและอู่ทอง สวนพมาก็เช่ือวาคือ เมืองสะเทิม (พระธรรมปฎก, (ป.อ. ปยุตฺโต),
2554 : 494.) แลวประดิษฐานพระพุทธศาสนา จนเปนปกแผนแพรหลาย แตความสืบเนื่องแหง
พระพุทธศาสนาก็ดูเหมือนจะเลือนลางไป สมัยกอนพุทธกาลชาวอินเดียไดเดินทางมาคาขายกับ
สุวรรณภูมิอยูเสมอและเขามาตั้งถ่ินฐานรกรากและเผยแพรวัฒนธรรมแกชาวพ้ืนเมือง ในแถบเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้มานานแลว และดวยเหตุท่ีพระพุทธศาสนา ไมมีความรังเกียจลัทธิอน่ื ใด ที่รวมสมัย
ในที่ตาง ๆ ดังน้ัน จึงมีผูนับถือพระพุทธศาสนา เดินทางเขาสูดินแดนแหลมอินโดจีน เปนจํานวนมาก
( เสถียร โพธินนั ทะ, 2515 : 2. )

จากการศึกษาคนควาสมัยปจจุบันทําใหทราบวา คนสมยั ทวารวดี มีการผสมผสานอยู่รวม
กันหลายเผาพนั ธุ และมีความสัมพนั ธกนั ในดานศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาในลุมน้ําเจาพระยา
และมีการสรางสรรควัฒนธรรมประเพณีรวมกัน โดยมีพระพุทธศาสนาเปนตัวเช่ือมกุญแจท่ีจะไขไปสู
ความกระจางแหงประวัติศาสตร จากการผสมผสานกันทางวัฒนธรรม จึงเกิดลักษณะเฉพาะของ
ศิลปวัฒนธรรมทวารวดี ท่ีเนื่องในพระพุทธศาสนาข้ึน เหตุที่พระพุทธศาสนามีรากฐานมาจาก
วัฒนธรรมอินเดีย ไดถูกเลือกรับและปรับเขา เปนแกนหลักของบานเมืองจนกลายเปนศูนยกลาง
เชอื่ มโยงความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม ทางสงั คมและคตคิ วามเชือ่ ตาง ๆ

ประเทศไทยถึงเจริญรุงเรืองมาแลวแตอดีต แตการจัดสมัยทางประวัติศาสตร ก็นับเพียง
สมัยสุโขทัยลงมา จึงทําใหการศึกษาความจริงขาดหาย หากพิจารณาใหดจี ะพบวา ถาไมมี อดีตจะมีป
จจุบันได อยางไรกัน ศูนยกลางของพระพทุ ธศาสนาตั้งอยูท่ไี หน ตามเอกสารที่นกั วิชาการไดคนควา
เผยแพร สวนใหญลงความเห็นวา ศูนยกลางพระพุทธศาสนาน่าจะได้แก่ ทวารวดี(อู่ทอง) อยู่บริเวณ
ภาคกลางตอนลางของประเทศไทย เพราะไดพบหลักฐานสําคัญมากกวาแหลงอ่ืน รวมท้ังมีที่ต้ังอยูใน
ทําเลท่ีเหมาะสม ตอการรับอารยธรรมจากภายนอก หลักฐานทางโบราณคดี ท่ีทําใหนักวิชาการ
ตั้งสมมติฐาน เก่ียวกับศูนยกลางของทวารวดี ไว 3 แหง คือ เมืองอูทอง เมืองนครปฐมและเมือง
ลพบุรี " (ศกั ดช์ิ ัย สายสิงห, ผศ.ดร., 2547 : 61.)

โดยเฉพาะ เมอื งอู่ทองจะเห็นได้ว่า อู่ทองเมืองโบราณ เป็นต้นกําเนิดประวัติศาสตร์ อารย
ธรรมสุวรรณภูมิ ครอบคลมุ พื้นที่ท้ังตําบลอทู่ อง อําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เน้ือท่ี 38.16 ตาราง
กโิ ลเมตร มีหลักฐานทางโบราณคดีที่สันนิษฐานได้ว่า เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวาราวดีและ
เป็นศูนย์กลางของดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและ
ประเพณีของชนชาติพันธ์ุต่าง ๆ ก่อนจะหลอมรวมเป็นชาติไทยในปัจจุบัน ในพื้นท่ีดินแดนสุวรรณภูมิ

190

ให้มีความชัดเจนย่ิงข้ึน “เมืองอู่ทองเป็นเมืองเก่า” ( ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ,
2509 ) มีนักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นวา่ เมืองหลวงของรัฐทวารวดีน่าจะอยู่ที่เมืองอู่ทอง เพราะ
ไดพ้ บเหรยี ญเงินมีจารึกว่า “ลวปุระ” ท่ีอู่ทอง โดยสันนิษฐานว่า (Boeles, J.J, 1967 )ในขณะทิ่อู่ทอง
เป็นศูนย์กลางด้านตะวันตก หรือเป็นศูนย์กลางในฐานะเมืองหลวงของรัฐทวารวดี โดยศึกษาจาก
สภาพท่ีตั้งทางภูมิศาสตร์ ประกอบกับหลักฐานโบราณวัตถุสถานและหลักฐานเอกสารต่างๆ รวมท้ัง
จดหมายเหตขุ องจนี ตลอดจนจารกึ ทพี่ บในบรเิ วณเมืองดว้ ย

นอกจากจะเป็นเมืองหลวงแล้ว เมืองอู่ทองโบราณน่าจะมีบทบาทเป็นเมืองท่าสําคัญใน
สมัยทวารวดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นเมืองท่ีตั้งอยู่ใกล้ทะเลและมีทางน้ําเข้าออกต่อกับฝ่ังทะเลโดยตรง
ได้ อีกทั้งยังได้พบโบราณวัตถุประเภทตราประทับดินเผา ซ่ึงเป็นของติดตัวพ่อค้าชาวอินเดียในสมัย
หลังคุปตะ (พุทธศตวรรษท่ี 12-14) เป็นจํานวนมากในบริเวณเมืองอู่ทองโบราณและในบริเวณ
ใกล้เคียง ตราประทับท่ีแสดงถึงบทบาทด้านการค้าของเมืองน้ี คือ ตราประทับดินเผารูปเรือ (จิรา
จงกล, 2510; Indrawooth, Phasook, 1983.)และตราประทับ 2 หน้า รูปคชลักษมี เมืองอู่ทองยังมี
บทบาทเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนา ดังได้พบหลักฐานด้านศิลปกรรมเนื่องในพุทธศาสนาจํานวน
มากสําหรับโบราณสถานทีส่ ําคญั ๆ เช่น พบ ศิลาธรรมจักร จํานวนมากประมาณ 30 กวา่ วง บางวงมี
ศลิ ารูปกวางหมอบ ประกอบอยู่ และยงั ได้พบ พระพทุ ธรูป ตลอดจน พระพิมพจ์ ํานวนมาก

จากหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะด้านโบราณคดีรวมด้านจารึก อาจนําไปสู่ข้อ
สนั นิษฐานว่า เมืองอู่ทอง น่าจะมีบทบาทเป็นเมืองหลวงหรอื ศูนย์กลางของรัฐทวารวดีในยุคแรก รวม
พุทธศตวรรษที่ 9-13 (ผาสุข อินทราวุธ , 2542: น.101-106,น:177-178 ) สําหรับเมืองอู่ทองนั้นนัก
โบราณคดีได้พบหลักฐานการติดต่อค้าขายกับอินเดีย ต้ังแต่สมัยยุคเหล็กตอนปลายของอินเดีย (พุทธ
ศตวรรษท่ี 3-5) ( ชิน อยู่ดี, 2509 : 43-50.) และมีบทบาทเด่นชัดมากในสมัยอินโด-โรมันของอินเดีย
(พุทธศตวรรษท่ี 6-9) และที่เมอื งอู่ทองนี้เอง ท่ีพอ่ ค้าชาวพุทธจากลุ่มแม่นํ้ากฤษณา ได้เดินทางเข้ามา
ติดต่อค้าขาย และต้ังถ่ินฐานในช่วงสมัยอินโด-โรมัน และได้นําเอาพุทธศาสนาจากศูนย์กลางพุทธ
ศาสนาในอินเดียใต้ ที่อยู่ใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ (พุทธศตวรรษท่ี 4-8) และ
สืบต่อด้วยราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธศตวรรษท่ี 8-10) ซึ่งมีศูนย์กลางงานศิลปกรรมเน่ืองในศาสนาอยู่ท่ี
เมืองอมราวดีและเมืองนาคารชุนโกณฑะ เข้ามาเผยแพร่ให้ชุมชนโบราณท่ีเมืองอู่ทอง ดังได้พบ
ประติมากรรม ดินเผารูปพุทธสาวก 3 องค์ ถือบาตร ห่มจีวร ห่มคลุม ตามแบบนิยมของศิลปะแบบ
อมราวดี และประติมากรรมปูนป้ันรูปพระพุทธรูปนาคปรก ซ่ึงประทับน่ังขัดพระบาทหลวมๆ ตาม
แบบศลิ ปะแบบอมราวดี (Boisselier, J. Murthy, K. K. 1977 : 1-10.)

ดังนั้น เมืองอู่ทองจึงจัดเป็นเมืองทา่ โบราณที่เจริญรุ่งสืบต่อมาจนกลายเป็นเมืองทา่ สําคัญ
ของอาณาจักร และเป็นศูนยก์ ลางพทุ ธศาสนาท่ีเก่าแก่ท่ีสุดของรัฐทวารวดี มีนักปราชญหลายทาน ได
กลาวถงึ ความมีอยูของเมืองโบราณตาง ๆ เชน ทักษณิ-อินทโยธา เสนอวา (ทักษณิ อินทโยธา, 2534 :
14.) แถบลุมนํ้าเจาพระยาและดามขวานทองไดเกิดมีชุมชนข้ึน ต้ังแตสมัยพุทธกาลหรือ กอนน้ัน
เม่ือกวา 2,000 ปมาแลว เชน เมืองนครชัยศรี, เมืองพงตึก, เมืองอูทอง, เมืองคูบัว, เมืองศรีมโหสถ,
เมอื งไชยาและเมอื งดินแดงเปนตน

191

ยังมีปัญหาขอมูลไมลงรอยกันเก่ียวกับเรื่องชนชาติของชาวทวารวดี(อู่ทอง)อีกจาํ นวนมาก
บาง กลุมสันนิษฐานวา เปนพวกมอญดวยเหตุผล คือ (สิริวัฒน คําวันสา, รศ., 2542 : 1- 8, 20 )
(1) มีการพบจารึกภาษามอญท่ีลพบุรี จารึกดวยอักษรที่ เกาประมาณพุทธศตวรรษท่ี 13-14 จารึกท่ี
เสา 8 เหล่ียม ซึ่งมีบัวหัวเสาเหมือนที่นครปฐม (2) พระนางจามเทวี ยายจากลพบุรีไดครองหริภุญชัย
ในพุทธศตวรรษที่ 13 น้ันเปนเจาหญิงมอญ และ (3) ยอรช เซเดส ไดอานจารึกซึ่งพบที่วัดโพธิ์ราง ท่ี
นครปฐม และนําไปเผยแพรท่ีปารสี ใน พ.ศ.2495 กส็ นับสนุนวา ทวารวดี(อูท่ อง)เปนอาณาจกั รมอญ

ปญหาเรื่องศูนยกลางของอาณาจักรทวารวดี ก็มีความเห็นไปตาง ๆ แตนักวิชาการ สวน
ใหญเห็น วา ศูนยกลางของทวารวดีน้ีน่าจะอยูบริเวณภาคกลางตอนลางของประเทศไทย เพราะมี
การคนพบหลักฐานสําคญั ๆ มากกวาแหลงอ่ืน ตลอดถึงมีทต่ี ้ังอยูในทําเลอนั เหมาะในการท่ีติดต่อและ
รับอารยธรรมจากโลกภายนอกได อย่างไรก็ตามแมน้ กั วชิ าการสวนใหญจะมีความเห็นดงั กลาว

แตจากหลักฐานทางโบราณคดี ที่มีนักวิชาการ ต้ังขอสมมติฐานเก่ียวกับศูนย์กลางของ
อาณาจักรทวารวดีไว 3 แหงดวยกันคือ เมืองอูทอง เมืองนครปฐม(นครชัยศรี) และเมืองลพบุรี (ศักด์ิ
ชัย สายสิงห,ผศ.ดร.,2554:61-74. ) เร่ืองราวความเปนมาเก่ียวกับศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาใน
อาณาจักรทวารวดีคือ เมือง อู่ทอง เปนเร่ืองท่ีนาศึกษาอยางย่ิง สถานการณ์ พระพุทธศาสนาใน
ช่วงแรกเขามาและเผยแผ่ มีกําเนิด อิทธิพล ร่องรอย และพัฒนาการมาอยางไร และในสมัยตอมาอี
กอยางไรบาง ยังคงเปนเรื่องทาทายและรอการศึกษาคน้ ควาเพ่ิมเติมอยูเสมอ

ในสวนของประวัติศาสตรเมืองอู่ทองในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาน้ัน ยังไมมีการศึกษา
วิจัย โดยตรงหรือจะมีก็นอยมาก สวนมากเปนการศึกษาวิจัยเชิงประวัติศาสตรด้านอ่ืนๆเชน
โบราณคดีและการขุด คนหาหลักฐานเพ่ือยืนยัน ถึงความมีอยูของกลุมชุมชนในอดีต ศึกษาอัตต
ลักษณ์ของเมืองอู่ทอง การท่องเท่ียวของเมืองอู่ทองเปนตน เทานั้นทําใหการศึกษาเร่ืองราวของ
พระพุทธศาสนา ในช่วงดังกลาวขาดตอนไป ปจจุบันไดมีนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ทําการ
สํารวจ ขุดคน พบขอมูลใหม ๆ เช่น ล่าสุดมีคณะโบราณคดี ได้ทําการวิจัยได้ผลการขุดค้นทาง
โบราณคดีที่เนินพลับพลาชัย ปี 2560 จํานวนมาก ท่ีทาํ ใหสามารถทราบความเปนมาและสถานการณ
ของพระพุทธศาสนาในเหตุการณ์ดังกล่าวไดดีข้ึน เพียงแตเร่ืองราวดังกลาว เป็นการนําเสนอท่ียัง
กระจัดกระจายกันอยูไม่ไดกลาวตอเนืองกัน เพราะตางคนตาง ศึกษาคนควาทําใหประวัติศาสตร์ไม่
ตอ่ เนื่องเท่าทคี่ วร

งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาวิเคราะหขอมูลเอกสาร ที่กลาวถึง ประวัติศาสตร์ การเข้ามาในการ
เผยแผ่ของพระพุทธศาสนาสมัยทวารวดี(อู่ทอง)ในแผ่นดินไทย จากเอกสารตางๆ เชน คัมภีร
พระไตรปิฎก อรรถกถา วรรณกรรม พระพุทธศาสนาในลังกา พมา ลานนาและลานชาง ตลอดถึงงา
นคนคว้าของนักประวัติศาสตรและนักโบราณคดี ท่ีไดศึกษาวิเคราะหเก่ียวกับเร่ืองสมัยทวารวดี(อู่
ทอง) รวมทั้งการวิเคราะหขอมูลทางดานศลิ ปกรรมวา มคี วามเกี่ยวของกันมากนอยเพียงใดแลว เสนอ
ผลการวิจัยตอไป ซ่ึงจะก่อใหเกิดองคความรู้ใหมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ กาํ เนิด การเข้ามา ในการเผย
แผ่พระพุทธศาสนาสู่เมืองอู่ทอง ตลอดถึงรองรอยและอิทธิพลดานตาง ๆ ที่ไดรับจากพระพุทธศาสนา
ท่ีจะอํานวยประโยชนต่อการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง อันได้แก่ พระพุทธศาสนา วัฒนธรรม

192

ประเพณีเปนต้น ท่ีขาดหายไปอันนํามาเพ่ือจะไดเกิดองคความรูใหม ๆ อันจะเป็นประโยชนทาง
การศกึ ษาตอไป

วตั ถุประสงค์ของการวิจยั

1) เพ่ือศึกษาประวตั ศิ าสตร์การเข้ามาของพระพทุ ธศาสนาในสมัยทวารวดี(อู่ทอง)
2) เพื่อศกึ ษาอทิ ธพิ ลของการเผยแผพ่ ระพุทธศาสนามาสู่เมืองอู่ทอง
3) เพ่อื ศึกษาร่องรอยทางพระพทุ ธศาสนาในเมอื งอทู่ องจากหลกั ฐานทางศลิ ปกรรม

ขอบเขตของการศกึ ษา

1) ขอบเขตด้านพืนที่ การศึกษาการวิเคราะห์เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนา ได้กําหนดขอบเขตพ้ืนที่ศึกษาครอบคลุมบริเวณเมืองโบราณอู่ทองและปริมณฑล
รอบๆ เมอื งโบราณอู่ทอง อําเภออู่ทอง จังหวัดสพุ รรณบุรี

2) ขอบเขตเนือหา โดยจะทําการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมือง
โบราณอ่ทู อง พระพุทธศาสนาทีเ่ มอื งอูท่ อง ราวพุทธศตวรรษท่ี 9 – 15

วธิ ีการดา้ เนนิ การวิจัย

การวิจัยค้นคว้าจะใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) และจะนําเสนอ
การวจิ ยคร้ังนเ้ี ปนการวิจยั เอกสาร (Documentary Research) มีวิธดี ังน้ีโดยข้อมูลทไี่ ด้ศกึ ษามาจาก

1 การค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารชันปฐมภูมิ(Primary Sources) เชน่ รวบรวมข้อมูลจาก
คัมภีร์พระไตรปิฏก และคัมภีร์อรรถกถา หลักฐานทางโบราณคดี ตลอดถึง วรรณกรรมประเทศศรี
ลังกา วรรณกรรมลานนา ลานช้าง และวรรณกรรมอืน่ ทีเ่ กีย่ วของเป็นตน้

2 แนวทางการคนควาการวิจัย โดยอาศัยหลัก 3 ประการดังน้ี 1) หลกั ฐานอนั ดับ 1 ได
แก่ หลักฐานท่ีสร้างหรือแตงขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น คือโบราณวัตถุสถาน จารึก และ
โบราณวัตถุในภาคเอเชียอาคเนย สวนใหญสรางขึ้นในพุทธศาสนา ศึกษาศิลปกรรม ประติมากรรม
โบราณสถาน ในสวนของจารกึ จะวิเคราะหขอความในจารกึ ตามท่นี ักปราชญแปลและวิเคราะหไว้และ
ศกึ ษาข้อมูลจากการสังเกต พูดคุยกับ นักวิชาการทางโบราณคดีและประวัตศิ าสตร์บางท่าน เพียงเพ่ือ
เป็นแนวคิดในการนํามาเรียบเรียบให้สอดคลอ้ งเป็นรปู ธรรมมากขึ้นนั้นๆ 2) หลักฐานอันดับ 2 ได้แก
หลักฐานที่สรางหรือแตงขึ้นเม่ือเหตุการณนั้นลวงไปแลว ไดแก ต้านาน พงศวดาร สังคีติยวงศ์ หรือ
จดหมายเหตุพ้ืนเมืองตางๆ ที่แตงหรือรวบรวมขึ้นเม่ือเหตุการณนั้นเกิดข้ึนแลว เปนเวลาหลายรอยป
และตํานานหรือจดหมายเหตุพื้นเมือง ที่มีการขุดคนพบหลักฐานทางโบราณวัตถุสถานเพ่ือพิสูจนคํา
กลาวในตาํ นานหรือจดหมายเหตุพื้นเมือง 3) หลักฐานอันดับ 3 ไดแก วรรณกรรมหรือหนังสือต่าง ๆ
ที่มีผูเขียนข้ึนในสมัยปจจุบัน โดยพิจารณาที่หลักฐานอันควรเช่ือถือ และใชวิจารณญาณอันเหมาะสม
โดยปราศจากอคติ

3 รวบรวมขอมลู จากเอกสารดังกลาวในขอ.1 ทเี่ กี่ยวของกบั งานวจิ ยั
4 ศึกษาวิเคราะห์ สรปุ และสงั เคราะห์ข้อมูล
5 เรียบเรยี ง นาํ เสนอผลการวิจัย

193

วิเคราะหจากขอมลู เอกสาร

จากขอมูลเอกสารที่กลาวถึงการเขามาของพระพุทธศาสนา สวนใหญบอกวาเขามา ต้ังแต
พุทธศตวรรษท่ี 3 เปนตนมา บางเรื่องบอกวา พระพุทธศาสนาไดเขามาต้ังแตพุทธศตวรรษที่ 7-8 มี
บางสวนระบุว่า พระพุทธศาสนาเขามาตั้งแตพุทธศตวรรษท่ี 8-9 และบางเร่ืองบอกวา เข้ามาต้ังแต
พทุ ธศตวรรษท่ี 9-13 หลกั ฐานขอมูลเอกสาร ซ่ึงไดจากการศึกษาสรุป ไดเปน 2 กลุม

กลุมที่หน่ึง เชื่อวา พระพุทธศาสนาเขามาสูดินแดนทวารวดีต้ังแตพุทธศตวรรษที่ 3
เปนตนมาและเจริญรุงเรืองมาต้ังแตสมัยน้ันจนถึงสมัยทวารวดี ในพุทธศตวรรษท่ี 11-16 และผูท่ีเชื่อ
เชนนี้ มีมากหลายทานดวั ยกนั ไดแก

1. การฝงรากฐานพระพทุ ธศาสนา ลงทบี่ านคูบัว อาํ เภอเมือง จังหวดั ราชบรุ ี สมัยพระเจา
อโศกมหาราชถึงพระเจากนิษกะจาก พ.ศ.273-703 อาจารยพรอม สุทัศน เช่ือวา ตองมีผูท่ี เคารพ
นับถือพระพุทธศาสนาอยูในดินแดนสุวรรณภูมิกอนพระเจาอโศกมหาราช จะทรงใหสง พระโสณะกับ
พระอุตตระเถระเขามา ชนชาติไทยสมัยสุวรรณภูมิหรือทวารวดี ส่วนใหญเปนคนมอญคนฟูนันอยู
อาศยั และนับถือพระพุทธศาสนาดวยกนั เมอื งหลวงของสวุ รรณภมู ิ อยูทีเ่ มอื งกาญจนบรุ ี เกาทางดาน
เดียวกัน กับบานคูบัวโดยมาข้ึนท่ีเมืองทาเมืองตะโกละ แลวเดินทางข้ึนมาทางเหนือ เขาสู่สุวรรณภูมิ
ตอนกลาง อาจแวะตามเมืองทาสากลชายทะเล เพ่ือสะดวกในการบิณฑบาต การเผยแผ และการ
เดนิ ทาง

2. ตาํ นานพระพทุ ธเจดีย สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ (สมเด็จ
ฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, 2505:124-127)

พระพุทธศาสนาเขามาประดิษฐานในประเทศสยามนาจะกอน พ.ศ.500 ทรงสันนิษฐาน
เกี่ยวกับการเขามาของพระพุทธศาสนาสูประเทศไทยวา เน่ืองจากพระพุทธศาสนาเขาประเทศไทย
หลายยุคและหลายนิกาย จึงเปนเหตุใหมีโบราณสถาน หลายแบบ ซ่ึงเรียกเปนสมัยได 7 สมัย สมัยท่ี
1 คือสมัยทวาราวดี โดยกําหนดเอาตั้งแต พ.ศ. 500 เปนตนมา จะเห็นไดวา พุทธเจดียสมัยทวารวดี
พบที่นครปฐมมากกวาแหงอ่ืนและเปนพุทธเจดียท่ีเกาที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานวา ไดอิทธิพล
จากแควนมคธราฐ โดยวัตถุท่ีสราง เปนพุทธเจดียในสมัยน้ีมีท้ังที่เปน ธาตุเจดีย บริโภคเจดีย
ธรรมเจดียและอุเทสิกะเจดีย แตถือเอาการสรางพระธาตุเจดียเปนสําคัญกวาอยางอื่น อาจเนื่องดวย
การที่พระเจาอโศกมหาราชไดทรงแจกพระบรมสารรี ิกธาตุ ใหไปประดิษฐานในประเทศ ท่ีทรงสงสมณ
ทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนานัน้ ๆ ดวย

3. จาริกบุญ-จารึกธรรม พระพรหมคณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต) กลาววา (พระธรรมปฎก,
(ป.อ. ปยตุ โฺ ต), 2547: 494 ) พระพทุ ธเจา้ เขา้ สูไทยเมือ่ กวา 2,000 ปมาแลว ตั้งแตสมยั สวุ รรณภูมิ
ไดสันนิษฐาน เร่ืองดินแดนซึ่งเปนเสนทางการติดตอระหวางอินเดียกับประเทศไทยสมัยกอน ไวใน
หนังสือเร่ือง "จาริกบุญ-จารึกธรรม" สรุปความไดวา ดินแดนสวนท่ีเปนแหลมของประเทศไทยปจจุ
บนั นาจะเปนสวนแรกสุดของเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต ที่ไดรบั การติดตออยางสบื เนื่องกับอินเดีย โดย
พวกพอคาฮินดูจากอนิ เดียใต้ ซ่ึงเปนดินแดนที่พระพุทธศาสนาเจริญแพรหลายและเปนแหลงเผยแพร
วัฒนธรรมแหงชมพทู วปี

194

4. กรุงสุโขทัยมาจากไหน อาจารยสุจิตต วงษเทศ เชื่อวา การเผยแผพุทธศาสนา
(อาจารยสุจิตต วงษเทศ ,.2559 : 12. ) จากประเทศอินเดียสมัยพระเจาอโศกมหาราชโดยการสงพ
ระโสณะและพระอุตระ มาครั้งแรกท่ีสุวรรณภูมิบริเวณลุมแมน้ําท่าจีน -แมกลอง (บริเวณอูทอง
อ้าเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปจจุบัน) พระพุทธศาสนาเถรวาทไดเจริญรุงเรืองสืบเนื่องมา
จนถงึ ทุกวันนี้

5. ภูมิประวัติพระพุทธเจา อาจารยเสถียร โพธินันทะ สรุปความเร่ืองการเขามาของ
พระพุทธศาสนาไดวา พระพุทธศาสนาไดแพรหลายเขาสูประเทศไทยตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 3 เปนตน
มา ในระยะแรกเปนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทไดเจริญรุงเรือง อยูหลายศตวรรษและแพรหลาย
ครอบคลุมไปทั่วในแถบแหลมอินโดจีน ตอมาพุทธศตวรรษท่ี 6 พระพุทธศาสนานิกายมหายาน ก็ได
เขาสูประเทศไทยสมัยกอน โดยมาทางบกเขามาทางแควน เบงกอล ทางพมาเหนือ และทางทะเลซึ่ง
มาขึ้นที่แหลมมลายู สุมาตราและออมอาวเขามาทาง ประเทศกัมพูชา ชวงเวลาดังกลาว ชาวฟูนันนับ
ถือพระพุทธศาสนาท้ังแบบเถรวาทและมหายาน ซึ่งเจริญรุงเรืองอยางมากจนถึงกับมีสมณทูตชาว
ฟูนันเดินทางไปแปลพระคัมภีรถึงประเทศจีน ในพุทธศตวรรษที่10 คือ ทานพระสังฆปาละ และพระ
มันทรเสน

6. สังคีติยวงศ พงศาวดารเร่ืองสังคายนาพระธรรมวินัย กลาววา (สมเด็จพระวันรัตน
,2557: 46-75)พระพุทธศาสนา เขาสูประเทศไทยตั้งแตสมัยสุวรรณภูมิคือหลังจากทําสังคายนาครั้งที่
3 พระเจาอโศกมหาราชทรง ใหสง พระโสณะกับพระอุตระพรอมดวยพระสงฆอีก 5 รูปมาทําการเผย
แผพระพทธศาสนา

7. สุวรรณภูมิตนกระแสประวัติศาสตรไทย ( สุจิตต วงษเทศ,2548 : 74-77).. กลาวว่า
ประมาณ พุทธศตวรรษท่ี 3 พระโสณ เถระกับพระอุตตรเถระ อาศัยเรือพอคามาเผยแผ่
พระพุทธศาสนา เปน ครั้งแรก ท่ีดนิ แดนสวรรณภมู ิบริเวณท่ีอยูระหวางลาํ น้ําแมกลอง-ทาจีน ปจจุบัน
คอื เขตอาํ เภออทู่ องจังหวดั สุพรรณบรุ ี กบั บานดอนตาเพชร อําเภอพนมทวน จงั หวดั กาญนบุรี

กลมุ ท่ี 2 เช่ือวา พระพทุ ธศาสนาเขามาหลังพุทธศตวรรษที่ 6
1. เรื่องโบราณคดีจากลายพระหัตถสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพกับของศาสตรา
จารยหลวงบริบาลบริภัณฑ์ (หลวงบริบาลบริภัณฑ, 2503 : 34) หลวงบริบาลบริภัณฑ เห็นวา
วัฒนธรรมอินเดียไดเขามามีบทบาทในประเทศไทย และประเทศใกลเคียงตั้งแตสมัยโบราณ เร่ิม
ปรากฏหลักฐานต้ังแต่ พุทธศตวรรษท่ี 6 เปนตนมาและเห็นวา พระพุทธศาสนาไดเขามาสูประเทศ
ไทยคลืน่ ลกู แรกสดุ ตัง้ แตสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) โดยอางถึงหลกั ฐานคอื ประติมากรรมดิน
เผารูปพระภิกษุ 3 องค์ และประติมากรรมปูนป้ันรูปพระพุทธรูปนาคปรกศิลาแบบอมราอุ้มบาตร ท่ีอู่
ทอง
2. สยามประเทศภูมิหลังของประเทศไทย ต้ังแต่ ยุคดึกดําบรรพจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา
ราชอาณาจักรสยาม อาจารยศรศี ักร วัลลิโภดม กลาวถงึ อทิ ธพิ ลของศาสนาพทุ ธและฮนิ ดูวานาจะแพร
หลายเขามาในดนิ แดนไทย เปน็ ที่นยิ มอยางแพรหลายไม่นอ้ ยกวาพทุ ธศตวรรษที่ 7-8
3. สุวรรณภูมิจากหลักฐานโบราณคดี อาจารยผาสุข อินทราวุธ กลาวถึง เมืองอูทองวา
(ผาสุข อนิ ทราวธุ ,ศ.ดร.,2548 : 105-111.) มีการที่ติดตอกับพอคาอนิ เดยี มาตัง้ แตพุทธศตวรรษท่ี 3-5

195

พระพุทธ ศาสนาจากศูนยกลาง ในอินเดียใตไดเขาสูประเทศไทยสมัยทวารวดีใน ราวพุทธศตวรรษท่ี
8-9 โดยอางหลกั ฐาน คือ ประตมิ ากรรมดนิ เผารูปภกิ ษุ 3 องค อมุ บาตร

4. เมืองอู่ทองน้ันแท้จริงคือ เมืองโบราณท่ีสําคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
ศาสตราจารย์ฌอง บวสเซอลิเยร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ( ศรีศักร วัลลิโภดม, 2525 : 50.)การพบ
เมืองสุพรรณภูมิว่า เป็นเมืองอกแตกขนาดใหญ่ท่ีซ้อนกันอยู่กับเมืองสุพรรณบุรี ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งท่ี
ทาํ ใหค้ วามเช่อื แต่เดมิ ท่ีวา่ เมืองอู่ทองคือ เมอื งสุพรรณภูมิ ทส่ี มเดจ็ พระรามาธิบดีท่ี 1 (พระเจา้ อู่ทอง)
ทรงทิ้งมาเพราะเกิดโรคระบาดแล้วไปสร้างพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี หมดไปทํานองตรงข้าม
กลับพบว่า เมืองอู่ทอง ท่ีอําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น แท้จริงคือเมืองโบราณสําคัญท่ีสุดแห่ง
หนึ่ง ในประเทศไทยจนนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาสํารวจและขุดค้นทางโบราณคดี
ชว่ งเวลาน้ัน ให้นําหนักว่า เป็นเมืองสําคัญของแคว้นฟูนันท่ีมีอายุราวพุทธศตวรรษท่ี 7-8 ทีเดียวและ
เมอื งนี้ มฐี านะเป็นเมืองหลวงมากอ่ นเมอื งนครปฐมด้วยทีส่ ําคญั นักปราชญช์ าวฝรงั่ เศสท่านนย้ี อมรับ
ว่า เมอื งอทู่ องร้างไปก่อนสมยั สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ไมต่ ํ่ากว่า 200-300 ป.ี ”

5. กลุ่มชนอาศัยอยู่ในบริเวณภาคกลาง กรมศิลปกร แหล่งโบราณคดีแห่งประเทศไทย
(กรมศิลปากร, 2531 : (1) 121-291;(2) 90-250.)มีความชัดเจนมากย่ิงขึ้นเม่ือเริ่มมีหลักฐานดาน
โบราณคดีรองรับ แมวา หลักฐานจะมีเกาไปเพียงพุทธศตวรรษที่ 8-9 ก็ตาม ก็ยังชี้ให้เห็นรองรอยว่า
กลุมชนที่อยูในบริเวณภาคกลาง มีพัฒนาการและความเจริญมากพอที่จะสามารถรับวัฒนธรรมทาง
พระพุทธศาสนาได้ และ พบวาพระพุทธศาสนาเจริญรุงเรืองในสมัยทวารวดีอยางมากระหวางพุทธ
ศตวรรษที่ 11-16 รวมท้ังเปนศนู ยก์ ลางเผยแผพระพุทธศาสนา

จากขอมูลเอกสารดังกลาว ทําให้วิเคราะห์ไดวา การเขามาของพระพุทธศาสนาจาก
ประเทศอินเดีย ต้ังแตสมัยพระเจาอโศกมหาราชนั้น มีมาแลวต้ังแต่ พุทธศตวรรษที่ 3 เจริญรุงเรือง
สืบตอมาจนถึงสมัยทวารวดี เพียงแต่ยังไมมีหลักฐานดานโบราณคดีมารองรับเทาน้ัน เน่ืองจากนัก
โบราณคดี ไดตีความและวิเคราะหหลักฐานโบราณคดีท่ีพบบริเวณที่พระพุทธศาสนาเขามาวา มีอายุ
ไมเกินพุทธศตวรรษท่ี 8-9 เทานัน้

ในขณะท่ี วรรณกรรมตางประเทศ ก็ไมได้ใหความกระจางมากนัก แม้แตวรรณกรรม
โบราณของอินเดีย ทั้งวรรณกรรม ในศาสนาพราหมณ ศาสนาพุทธ และนิกายของศาสนาเชน ไม่ได
กลาวถึงการขยายตัวของพระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียมายังดินแดนสุวรรณภูมิ แตประการใด
แมแต่ศิลาจารึก ของพระ เจาอโศกมหาราช (พ.ศ.269-311) ซ่ึงระบุเรื่องการสงสมณทูตไปเผยแผ
พระพุทธศาสนานอกประเทศอินเดีย ก็ไมไดกลาวถึงการสงสมณทูตไปเผยแผในสุวรรณภูมิด้วย เช
นกันอยางไรก็ตาม แม้ว่าวรรณกรรมของอินเดียจะมิได้กล าวถึงรายละเอียดการเขามาของ
พระพุทธศาสนาสูสุวรรณภูมิหรือทวารวดีไว้ แต่ตรงกันขามกับวรรณกรรมโบราณของลังกาท่ีสําคัญ
(ผาสุข อินทราวุธ,2548 : 199-203.)คือ ทีปวงศ ท่ีเขียนขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 9-10 และมหาวงศ
เขียนข้ึนในชวงพุทธศตวรรษที่ 11-12 กลาวถึงการท่ีพระเจาอโศกมหาราช สงสมณทูตจากอินเดียสู
ดนิ แดนสวุ รรณภูมิ แตไมไดระบุวา่ อยูท่ีใด

นอกจากน้ียังผู้วิจัยยังพบวา คัมภีรของลังกาท่ีมีการกลาวถึง ดินแดนสุวรรณภูมิว่า ดวย
การเดินทางเขามาแสวงโชคและคาขาย ไดแก มหาชนกชาดก สังขพราหมณชาดก และ สุสันธีธชาดก

196

เปนตน สวนท่ีว่า ด้วยการเผยแผพระพทธศาสนาสูสุวรรณภูมิก็เป็นคัมภีรของลังกาเปนหลักเช่นกัน
โดยเฉพาะ คัมภีรมหานเิ ทส คมั ภรี สมันตปาสาทิกา เปนตน ดงั ท่ไี ดกลาวไว้แลว

สรุปไดวา หลักฐานขอมลู ดานเอกสารตางประเทศ ที่กลาวถึงพระพุทธศาสนาทีเ่ ผยแผจาก
อนิ เดยี มายังดินแดนสุวรรณภูมิสวนใหญเปน็ หลักฐานจากลงั กา ทง้ั น้ี อาจเปนเพราะวา ประเทศไทยมี
ความสัมพนั ธด์ า้ นวฒั นธรรมกับประเทศลังกาอยางดี มาต้งั แตส่ มัยหลงั พทุ ธกาล

โดยเฉพาะวัฒนธรรมพระพุทธศาสนา และในสมัยตอมาอีกจนถึงปจจุบัน ผูวิจัยเช่ือวา
เอกสารหลักฐานเกย่ี วกบั ดินแดนสุวรรณภูมิ(อู่ทอง)ดังกลาว ไดใ้ หรายละเอียดเกย่ี วกบั สุวรรณภมู ิและ
สมัยอู่ทอง ไดอย่างนาสนใจ และทําใหทราบวา เมืองอูทองเปนเมืองทาโบราณท่ีเจริญรุงเรืองสืบตอ
มาจนกลายเป็นเมืองทาสําคัญของรัฐทวารวดี เปนศูนย์กลางพระพทุ ธศาสนาทีเ่ กาแกท่ีสดุ ของรัฐทวาร
วดี ตลอดจนเปน็ ศูนย์กลางหรอื เมอื งหลวงของรัฐทวารวดียุคตน

เมืองอูทองเปนสวนหนึ่งของรัฐทวารวดี โดยทวารวดีก่อตัวข้ึนจากผูคนในทองถิ่นที่ รับ
วัฒนธรรมอินเดียเขามาปรับใชใหเหมาะกับวัฒนธรรมทองถ่ิน มีลักษณะเด่นคือ เปนการรับเอา
ศิลปวฒั นธรรมพุทธศาสนาในสมยั คปุ ตะ และหลังคปุ ตะเขามาผสมผสานกบั คติความเชอ่ื ในเมือง แถบ
ชายฝงทะเลภาคกลางของไทย ศูนยกลางรฐั ทวารวดีเป็นเมืองอูทอง เพราะตั้งอยูบนเสนทางนํา้ ทีอ่ อก
สูทะเลได ศิลปวัฒนธรรมทวารวดี กระจายแพรออกไปเมืองตาง ๆ ท่ีเปนชุมชนยอย ท้ังในเขตลุมแม
นํ้า เจาพระยา ภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคใต ประเพณีเก่ียวกับการสรางพระพิมพ พระพุทธรูป
ตลอดจน การสรางและการบูชา พระบรมธาตุเจดีย ลวนเป็นอิทธิพลท่ีได้รับการสืบทอดมาจาก
พระพุทธศาสนา ดังพบหลักฐานโบราณคดีในดินแดนไทย เร่ิมต้ังแต่อารยธรรมอินเดียเขาสูดินแดน
ไทยในสมัยกอนทวารวดีสมัยทวารวดี และหลักฐานทางโบราณคดีหลังสมัยทวารวดี แสดงใหเห็นถึง
ประเพณีดังกลาว โดยเฉพาะการสรางพระบรมธาตุเจดีย์กลางเมืองต่างๆ ท้ังยังเช่ือมโยงใหเห็นความ
ตอเนอ่ื งของประเพณี ดังกลาวในสมยั ตอๆ มาในไทยตราบเท่าทุกวนั นี้

ผลท่ไี ดจากการวิเคราะห

จากการศึกษาวิเคราะหท้ังจากหลักฐานขอมูลเอกสารและดานโบราณคดีไดผลตามท่ี ได
ต้ังเปาไว 4 ประการ

1) ไดทราบวา ดินแดนที่เป็นประเทศไทยทุกวันน้ี มีพัฒนาการมาแลวต้ังแตสมัยกอน
ประวัติศาสตร์ โดยพัฒนาการมาอยางตอเนืองอยางนอย ตั้งแตสมัยสุวรรณภูมิ พัฒนาการผาน
อาณาจักรฟูนัน จนกระทั่งเขาสูสมัยทวารวดี เปนสมัยประวัติศาสตรของประเทศไทยท่ีมีหลักฐาน ทั้ง
เอกสารและหลักฐานทางโบราณคดี และเจริญรุงเรืองดวยพระพุทธศาสนา การเมองการปกครอง โดย
ไดรับอิทธพิ ลจากอารยธรรมอนิ เดีย

2) ไดทราบถึงกําเนิดและการเขามาของพระพุทธศาสนาที่แพรหลายเขามายังบริเวณ ดัง
กลาว ท้ังน้ีจากหลักฐานเอกสารยืนยัน ความเจริญแพรหลายของพระพุทธศาสนา ตั้งแตสมัยพระเจา
อโศกมหาราช พุทธศตวรรษท่ี 3 มีการแพรหลายเขามาของพระพุทธศาสนา อีกหลายระลอก ดวย
กัน ท่ีปรากฏหลักฐานในสมัยกอนทวารวดีเล็กนอย คือพุทธศตวรรษท่ี 9-10 เปนตนและ
พระพุทธศาสนาไดเจรญิ รุงเรืองสูงสุด ในชวงพุทธศตวรรษที่ 11-16 :ซง่ึ เปน็ สมัยทวารวดี(อู่ทอง)

3) ไดทราบวา พระพุทธศาสนาในสมยั ทวารวดี(อู่ทอง)นั้น เจรญิ รุงเรือง แพรหลายเขา ถึง
ประชาชนกลุ่มตาง ๆ และไดอํานวยประโยชนและความสขุ ความเจริญแกประชาชนทต่ี ง้ั ถ่ินฐานอยู ใน

197

บริเวณที่เป็นประเทศไทยไดอยางดีย่ิง ไดนําชาวประชาใหเขาถึงความสุขตามลําดับ ที่ควรได เห็นได
จากหลักฐานที่เป็นจารึกหลักธรรมระดับตาง ๆ ในทุกส่วน เปนเคร่ืองยืนยันวา ประชาชนมีความสุข
และความเขาใจในพระพุทธศาสนาอยางลึกซงึ้ กอให้เกดิ อทิ ธิพลทางวัฒนธรรมประเพณี ความเจริญด
านตาง ๆ และสงทอดสูสมัยสโุ ขทัยสมยั ตอมาอยางงดงาม

4) ไดทราบรองรอยแหงความเจริญรุงเรืองของพระพุทธศาสนา ความแพรหลายของ
วฒั นธรรมพระพทุ ธศาสนาแบบทวารวดี(อทู่ อง) และประชาชนชาวพุทธมีความเขาใจพระพุทธศาสนา
อยางลึกซ้ึงย่ิงกวาสมัยใดในประวัติศาสตร์ชาติไทย เห็นไดจากรองรอยจากศูนยกลางของวัฒนธรรม
ทวารวดี ที่ท้ิงรองรอยไวท่ัวทุกภาค ภาคกลางบริเวณลุมแมน้ําเจาพระยา การเคารพพระพุทธรูป
พระพิมพ และบรรดาจารึกเร่ืองราวตาง ๆ เกี่ยวกับการทําบุญ การจารึกหลักธรรมคําสอนใน
พระพุทธศาสนาตลอดจนซากพุทธเจดีย์จํานวนมากมาย ลวนเปนหลักฐานที่แสดงใหเห็นถึงความ
เจริญรุงเรืองของพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี ได้เปนอย่างดี และเป็นตนแบบทางศิลปวัฒนธรรม
ใหกบั สโุ ขทยั และสมัยตอมา

เม่ือสรุปการศึกษาวิเคราะห์การเขามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาวฒั นธรรมสู่เมืองอู่ทองและ
ปริมณฑล ตามลาํ ดับเหตุการณไ์ ด้ดังนี้

1) 4,000 ปีมาแล้ว ตรงกับยุคหินใหม่ เริ่มมีผู้คนกระจายตัวอยู่ทางตอนบนของ จ.
สุพรรณบุรี ปัจจุบัน คือบริเวณ อ.ด่านช้าง อ.หนองราชวัตร และพื้นท่ีข้างเคียง ท่ีตั้งอยู่ในเขต จ.
กาญจนบรุ ปี จั จบุ ัน

2) 2,500 ปีมาแล้ว ตรงกับยุคเหล็ก ผู้คนจากชุมชนบริเวณตอนบนของ จ.สุพรรณบุรี
ปัจจุบันเคล่ือนย้ายลงมาทางตอนล่างบริเวณ อ.ดอนเจดีย์ ศรีประจันต์เมืองสุพรรณ และอู่ทองในลุ่ม
นํ้าทวน-จระเข้สามพัน และลุ่มนํ้าท่าว้า-ท่าจีน หรือแม่น้ําสุพรรณบุรีชุมชนกลุ่มนี้ จะพัฒนาเป็น
บ้านเมอื งในวัฒนธรรมแบบทวารวดี

3) 2,000 ปีมาแล้ว ชุมชนบริเวณลุ่มน้ําทวน-จระเข้สามพัน และลุ่มน้ําท่าว้า-ท่าจนี หรือ
แม่นํ้าสุพรรณบุรีซ่ึงมีอู่ทองเป็นเมืองศูนย์กลาง เร่ิมมีการติดต่อกับภูมภิ าคอน่ื ๆของโลกอยา่ งเข้มขน้ มี
การพบโบราณวตั ถนุ าํ เข้าจากวฒั นธรรมภายนอกเป็นจํานวนมาก

4) 1,500 ปีมาแล้ว อู่ทองยอมรับวัฒนธรรมศาสนาพุทธ-พราหมณ์จากชมพูทวีป เริ่มมี
การสร้างรูปเคารพ และศาสนสถานในศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์

5) 1,300 ปมี าแล้ว คูน้ําลอ้ มรอบเมอื งอทู่ องมีรูปร่างเปน็ อย่างท่ีเหน็ อยู่ในปจั จุบนั
6) 1,000 ปีมาแล้ว เมืองอู่ทองลดความสําคัญลง แต่ไม่ได้ร้างพ้ืนที่บริเวณทางฝ่ังตะวัน
ออก โดยผ่านลํานาํ้ ทา่ วา้ -ท่าจีน และลาํ นาํ้ ทวน เรม่ิ เจรญิ รุ่งเรืองขึน้ แทนท่ี
7) 800 ปีมาแล้ว เมอื งสุพรรณบุรกี ลายเป็นเมืองสําคัญของกลุ่มวัฒนธรรมน้ี แทนเมือง
อู่ทอง
มีสันนิษฐานดั้งเดิมของนักโบราณคดีท่ีเชื่อว่า รัฐในวัฒนธรรมทวารวดีอย่าง อู่ทอง นั้น
เป็นเมอื งท่าชายฝัง่ ทะเล ดูจะเปน็ เรือ่ งทที่ บทวนใหม่ เมื่อพจิ ารณาจากขอ้ มลู หลักฐานจากงานวจิ ัยทาง
ธรณีวิทยา และละอองเรณูวิทยา ในระยะหลัง ท่ีชี้ให้เห็นไปในทิศทางท่ี แตกต่างออกไป รัฐใน
วัฒนธรรมทวารวดียังคงมีลักษณะเป็นเมืองท่าอยู่ แต่ไม่ใช่เมืองท่าชายฝ่ังทะเล เพราะมีลักษณะการ
วางตัวของเมืองที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน รัฐในวัฒนธรรมทวารวดีเชื่อมต่อกับทะเลด้วยแม่น้ําสายต่างๆ

198

ในกรณีของ อู่ทอง คือแม่นํ้าท่าจีนและแม่นํ้าแม่กลอง ทางด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก
ตามลําดับ ลักษณะอย่างนี้ไม่ต่างไปจากกรุงศรีอยุธยา ในยุคหลัง ที่เชื่อมต่อกับทะเลโดยผ่านแม่นํ้า
เจา้ พระยา

ข้อมูลท่ีน่าสนใจ ซึ่งเก่ียวข้องกับชายฝั่งทะเลในช่วงของวัฒนธรรมทวารวดีคือ มีการ
ค้นพบ ซากเรือจม ท่ีบรรจุสินค้าในช่วงเวลาดังกล่าว อยู่สองลําในเขต จ.สมุทรสาคร คือท่ีแหล่ง
โบราณคดีบ้านขอม ต.โคกขาม อ.เมือง (พยุง วงษ์น้อย, ไม่ปรากฏปีท่ีพิมพ์) และอีกแห่งคือท่ี วัดวิ
สุทธิวราวาส หรือวัดกลางคลอง ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองเฉพาะข้อมูลของเรือท่ีวัดกลางคลองนั้น
บริเวณท่ีพบเรือจมเป็นที่ลุ่มต่อใกล้ปากอ่าวไทย ซ่ึงเกิดจากตะกอนดินที่ไหลลงมาทับถมกันต่อเน่ือง
จนกลายสภาพจากทะเลโคลนตมมาเป็นแผ่นดิน เม่ือราว 1,000 ปีมาแล้ว และมีทางนํ้าคดเคี้ยวไหล
เช่ือมต่อกันเป็นโครงข่ายมาแต่โบราณ จนถึงสมัยอยุธยาซึ่งมีหลักฐานของการขุดลัดคลองโคกขาม ท่ี
เปน็ สว่ นหนง่ึ ของเส้นทางเชื่อมระหว่างแม่นํ้าเจ้าพระยากับทา่ จีน

การพบหลักฐานของเรือจมท่ีวัดกลางคลอง นอกจากเปน็ แหล่งเรือจมที่มอี ายเุ ก่าแก่ท่ีสุดที่
พบในประเทศไทยปัจจุบันแล้ว ยังยืนยันถึงการใช้เส้นทางน้ําเหล่าน้ีมานับพันปีจนกระทั่งถึงสมัยต้น
กรงุ รัตนโกสนิ ทรด์ ว้ ย (ประภสั สร์ ชวู เิ ชยี ร, 2556:40.)

องคค์ วามรู้ที่ไดจ้ ากการวจิ ยั

ก่อใหเกิดองค์ความรูใหมเก่ียวกับกําเนิดการเข้ามาของพระพุทธศาสนาในการเผยแผ่สู่
เมืองอู่ทอง ตลอดถึงรองรอยและอิทธิพลดานตาง ๆ ที่ไดรับจากพระพุทธศาสนา ท่ีจะอํานวยประโย
ชน ตอ่ การศึกษาประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง อันได้แก่ พระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เปนตน้

ได้องค์ความรู้จากการศึกษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุท่ีสัมพันธ์กับการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาสู่เมืองอู่ทอง ลายเส้นจากดินเผารูปภิกษุสาวก 3 รูป ครองจีวรทําท่าบิณฑบาต เป็น
หลักฐานเก่าสุดที่แสดงว่า มีพระสงฆ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ พบท่ีเมืองอู่ทอง อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี
ช้ินส่วนปูนป้ันรูปพระพุทธรูปขัดสมาธิพระบาทหลวมๆ บนขนดนาค ศิลปกรรมอินเดียแบบอมราวดี
ตอนปลายอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9–11 พบท่ีเมืองอู่ทอง พระพุทธบิดาพระพุทธเจ้าสมณโคดม มี
จารึกอักษรปัลลวะ ระบุพระนามไว้ด้านล่างของฐานว่า “ ศุทฺโธทน” ยังมี ธรรมจักรและกวางหมอบ
กลาวไดวา เปนตัวแทนของอารยธรรม เพราะธรรมจักรเปนเคร่ืองหมาย การประกาศพระธรรมคํา
สอนของพระพุทธเจา เปนสัญลักษณการแสดงปฐมเทศนา มอี ายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 กรมศิลปากร
ขุดคน้ พบที่ สถปู เจดยี ์หมายเลข 11 เมอื งอ่ทู อง เป็นตน้

จะเห็นได้ว่า นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า เมืองหลวงของรัฐทวารวดีน่าจะอยู่ที่
เมืองอู่ทอง เป็นศูนย์กลางของรัฐทวารวดี เพราะได้พบเหรียญเงินมีจารึกว่า “ลวปุระ” ท่ีอู่ทอง (
Boeles, J.J.,1967) และข้อมูลแหล่งค้นพบในเบ้ืองต้น โดยสันนิษฐานว่า เมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลาง
ด้านตะวันตก หรือเป็นศูนย์กลางในฐานะเมืองหลวงของรัฐทวารวดี โดยศึกษาจากสภาพท่ีต้ังทาง
ภมู ศิ าสตร์ ประกอบกบั หลกั ฐานโบราณวัตถสุ ถานและหลักฐานเอกสารตา่ งๆ รวมทัง้ จดหมายเหตุของ
จีนตลอดจน จารึกที่พบในบริเวณเมืองด้วย ดังได้พบหลักฐานด้านศิลปกรรมเนื่องในพุทธศาสนา
จาํ นวนมาก

199

เมืองอู่ทองนั้นยังได้พบหลักฐานการติดต่อค้าขายกับอินเดียต้ังแต่สมัยยุคเหล็กตอนปลาย
ของอินเดยี (พุทธศตวรรษที่ 3-5) (ชนิ อยู่ดี ,2509 : 43-50)และเมืองอทู่ องน้ีเองที่พ่อค้าชาวพุทธจาก
ลุ่มแม่น้ํากฤษณา ได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและต้ังถ่ินฐานในช่วงสมัยอินโด-โรมัน และได้นําเอา
พุทธศาสนาจากศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียใต้ที่อยู่ใตก้ ารอุปถมั ภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ
และสืบต่อด้วยราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธศตวรรษที่ 8-10) ซ่ึงมีศูนย์กลางงานศิลปกรรมเน่ืองในศาสนา
อยู่ท่ีเมืองอมราวดีและเมืองนาคารชุนโกณฑะ เข้ามาเผยแพร่ให้ชุมชนโบราณท่ีเมืองอู่ทอง ดังได้พบ
ประติมากรรมดินเผารูป ลายเส้นจากดินเผารูปภิกษุสาวก 3 รูป ครองจีวรทําท่าบิณฑบาตรและเป็น
หลักฐานเก่าสุดที่แสดงว่า มีพระสงฆ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ พบที่เมืองอู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ชิ้นส่วนปูนปั้นรูปพระพุทธรูปขัดสมาธิพระบาทหลวมๆ บนขนดนาค ศิลปกรรมอินเดียแบบอมราวดี
ตอนปลายอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 – 11 พบท่ีเมืองอู่ทอง พระพุทธบิดาพระพุทธเจ้าสมณโคดม มี
จารึกอักษรปลั ลวะ ระบุพระนามไวด้ ้านลา่ งของฐานวา่ “ ศทุ ฺโธทน” อายุราวพุทธศตวรรษท่ี 13 กรม
ศลิ ปากรขุดค้นพบท่สี ถูปเจดีย์หมายเลข 11 เมืองอู่ทอง เป็นตน้

ดังน้ันเมืองอู่ทองจึงจัดเป็นเมืองท่าโบราณที่เจริญรุ่งสืบต่อมาจนกลายเป็นเมืองท่าสําคัญ
ของอาณาจักร และเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาท่ีเก่าแก่ทสี่ ุดของรัฐทวารวดี ฉะนั้นยอ่ มได้บทวิเคราะห์
ของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเมืองอู่ทอง ที่ขาดหายไป
เพือ่ จะไดเกิดองคความรูใหม ๆ อันจะเปน็ ประโยชนทางการศกึ ษาตอไป

อภิปรายผล

พระพุทธศาสนาเผยแผ่เขาสู่เมืองอู่ทองและประเทศไทย เช่ือได้วา พระพุทธศาสนาเผย
แผ่ได เขาสูเ่ มืองอทู่ อง ประเทศไทยมี 2 ระยะคอื ระยะแรก คร้ังที่พระเจาอโศกมหาราชทรงสงสมณ
ทูตมีพระโสณะกับพระอุตตระเถระ พรอมดวยภิกษุบริวาร เขามาเผยแผพระพุทธศาสนาในดินแดน
สวุ รรณภูมิ ในพุทธศตวรรษท่ี 3 และเจริญแพรหลายต่อมา (ในเร่ืองนี้ อาจเปรียบเทียบไดกบั ประเทศ
ศรีลังกาท่ีมีการระบุวา มีการสงพระมหินทเถระ และพระสังฆมิตตาเถรีพรอมๆ กับการสงพระโสณะ
กับพระอุตตระมายังดินแดนไทยสมัยกอนทวารวดีด้วยก็ได ซึ่งทางศรีลังกา มีตํานานเก่ียวกับ เร่ืองดัง
กลาวสมบูรณกวาไทย ทั้งนี้เพราะศรีลังกาเคยเปนศูนยกลางการศึกษาพระพุทธศาสนาใหญแหงหนึ่ง
ต่อจากประเทศอนิ เดยี ) ระยะท่ี 2 พระพทุ ธศาสนาไดเขาสู่ ดินแดนทวารวดี(อ่ทู อง)ราวพุทธศตวรรษท่ี
8-10 ตรงบริเวณจากหลักฐานโบราณคดีท่ีนาเชื่อได คือ (1)ประติมากรรมปูนปนรูปพระภิกษุ 3 องค
ถือบิณฑบาต ศลิ ปะแบบอมราวดี (2) จารึกคาถา เย ธมฺมา 2 หลักพบท่ีไทรบรุ ี อายรุ าวพุทธศตวรรษ
ท่ี 8-11 และ (3) จารึกคาถา เย ธมฺมา บนหัวแหวนพบทเ่ี วียดนามเปนพระพุทธศาสนาเถรวาท

สรุปว่า จากการศึกษาดงั กล่าวจึงพบวา พระพทุ ธศาสนาท่เี ขามาเผยแผ่สูดินแดนไทยสมัย
ทวารวด(ี อ่ทู อง)จะตองเปน พระพุทธศาสนาเถรวาทเปนสวนใหญ เนื่องจากหลักฐานจารึกตาง ๆ เช่น
หลักฐานหลักธรรม เทา่ ที่มีการรวบรวมจารึกโบราณพบที่เมืองอู่ทอง ที่มอี ายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-
13 และได้มีการอ่านแปลเผยแพร่แล้วน้ันมีจารึกท่ีเป็นหลักธรรมในพุทธศาสนามีสองสํานวน คือ
จารึกส้านวนแรก จารึกคาถาเย ธมฺมาฯ จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี พบหลายช้ัน เช่น จารึก
บนพระพมิ พด์ ินเผา ที่ด้านท่ีนา่ เปน็ ภาพเรื่องปฏิหารย์ที่เมอื งสาวัตถีส่วนด้านหลังจารคาถา เย ธมฺมาฯ
จารึกบนแผ่นดินเผา บางช้ินเก็บรักษาท่ีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง ความเต็มของคาถานี้ คือ เย

200

ธมฺมา เหตุปฺปภวา เยสํ หตํ ตถาคโต อาห เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ พบท่ีบนแผ่นอิฐ
ที่พระปฐมเจดีย์ว่า “แปลออกได้ความว่า เป็นพระปฏิจจสมุปบาทย่ออย่างหน่ึง เป็นพระอิรยสัจส่ีย่อ
ไว้อย่างหนึ่ง ควรที่ท่านท้ังหลายจะเล่าจะเรียนให้จําไว้ จะได้สวดมนต์ภาวนาจะมีอานิสงส์คุณใน
ปัจจุบนั และในอนาคต” จารึกส้านวนท่ีสอง จารึก เขมาเขมสรณทีปิกคาถา จากพระสุตตันตปฎิ ก ขุ
ททกนิกาย เร่ืองปุโรหิตอัคคิทัต สรุปความ คือ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ เมื่อได้พบสรณะ
พระรัตนตรัยแล้ว จะเห็นอริยสัจ ซึ่งเป็นท่ีพึ่งอันแท้จริง สามารถช่วยให้พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายได้
ส่วนภูเขา ปา่ ไม้ ตน้ ไม้ใหญ่ อารามศักดิส์ ิทธ์ิ สง่ิ เหล่านนั้ ไมใ่ ชท่ พี่ ่งึ อนั แท้จรงิ

นอกจากนี้ หลักธรรมสําคัญระดับหัวใจพระพุทธศาสนาทั้งคาถา เย ธมฺมา อริยสัจจ 4
ปฏิจจสมุปบาท ความเช่ือเรื่องพระอสีติมหาสาวก ความเชื่อเรื่องพระศรีอาริยเมตไตรยเปนตน ลวน
เปนหลักธรรมและหลักความเช่ือสําคัญในพระพุทธศาสนาเถรวาท จึงเช่ือวา พระพุทธศาสนาสมัย
ทวารวด(ี อ่ทู อง) จะตองเปน นิกายเถรวาทมากกวานิกายอน่ื แนนอน

201

เอกสารอ้างองิ

เสถียร โพธินันทะ,( 2515), ภูมิประวตั ิพระพุทธศาสนา, (กรงุ เทพฯ: สาํ นักพิมพบรรณาคาร),.
_________, (2515) ภมู ิประวัตพิ ระพุทธศาสนา, พิมพ์ลกั ษณ์ กรงุ เทพมหานคร : บรรณาคาร,

พิมพค์ ร้งั ท่ี 1.
กรมศิลปากร, (2531) แหลงโบราณคดีประเทศไทย,(กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศ

ไทย, เลม 1 ; เลม 2),.
จริ า จงกล (2510) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรมศิลปากรจัดพิมพ์เน่ืองในงานเสด็จพระ

ราชดาํ เนนิ ทรงเปดิ พพิ ิธภัณฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร วนั ที่ 25 พฤษภาคม 10.

ชิน อยู่ดี, (2509),“เร่ืองก่อนประวัติศาสตร์ท่ีเมืองอู่ทอง” โบราณวิทยาเรื่องเมืองอู่ทอง (กรม
ศลิ ปากร,.

ทักษิณ อินทโยธา, (2534),. ใครคือเจาถ่ินลุมน้าเจาพระยาและดามขวานทองเม่ือ 2,000-3,000
ปกอน, (กรุงเทพฯ: ดานสุทธาการพมิ พ),.

ประภัสสร์ชูวิเชียร, (2556), “แหล่งเรือจมท่ีวัดกลางคลอง สมุทรสาคร ข้อมลใหม่สู่การค้าโลกจาก
ใตท้ ะเลโคลน”( สยามรฐั สปั ดาหว์ ิจารณ์ 27 ธันวาคม 56), .

ผาสุข อินทราวุธ ,(2542) ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี

(กรงุ เทพฯ : โรงพิมพอ์ กั ษรสมยั ),.

_________, ศ.ดร.(2548),,สุวรรณภูมจิ ากหลักฐานโบราณคดี,(กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศลิ ปากร),.
_________, สวุ รรณภมู ิ จากหลกั ฐานโบราณคดี,.
พระธรรมปฎก, (ป.อ. ปยุตฺโต),(2547) จาริกบุญ - จารึกธรรม, พิมพครั้งที่ 10, (กรุงเทพฯ:

บริษทั พิมพ สวยจํากัด),.
พรอม สุทัศน ณ อยุธยา, การฝงรากฐานพระพุทธศาสนาลงทีบ่ านคูบัว อาํ เภอเมือง จังหวดั ราชบุรี

สมยั พระเจาอโศกมหาราชถึงพระเจากนิษกะ จาก พ.ศ.273-703,.
พิทรู มลวิ ัลย์ และไสว มาลาทอง,(2542) ประวัติศาสตร์พระพทุ ธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร:โรงพมิ พ์

การศาสนา.

รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม (2552) หนังสือหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี,การประชุม
สัมมนาทางวชิ าการเรือ่ งอทู่ องเมืองโบราณเมอื งสร้างสรรคก์ ารท่องเที่ยวเชิงประวัตศิ าสตร์
วฒั นธรรมและวิถีชีวิตดง้ั เดมิ .

วินัย พงศ์ศรีเพียร,ดร.,(2543) “ครูกับการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทย” คู่มือการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ,ประวัติศาสตร์ : จะเรียนจะสอนกันอย่างไร,
(กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พ์กรมการศาสนา, .

ศรีศักร วัลลิโภดม,รศ.ศ.,สยามประเทศ ภูมิหลังของประเทศไทยตังแตยุคดึกด้าบรรพจนถึง สมัย
กรงุ ศรอี ยธุ ยาราชอาณาจักรสยาม,.

ศักด์ิชัย สายสิงห, ผศ.ดร., (2547),. ศิลปะทวารวดีวัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเร่ิมในดินแดน
ไทยพมิ พครัง้ ที่ 2,(กรงุ เทพฯ: ดานสทุ ธาการพมิ พ,).

สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดาํ รงราชานุภาพ, ตา้ นานพระพทุ ธเจดยี , กรุงเทพฯ:

202

สมเด็จพระวันรัตน,(พระยาปริยัติธรรมธาดา(แพ ตาลลักษณ) แปล), สังคีติยวงศ พงศาวดารเร่ือง
สงั คายนาพระธรรมวนิ ยั ,.

สิริวัฒน คําวันสา,รศ. (2542), ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย, พิมพคร้ังที่ 4, (กรุงเทพฯ:
บริษัท จรลั สนิทวงศการพมิ พ จาํ กดั ),.

สุจิตต วงษเทศ(2549),กรุงสโุ ขทยั มาจากไหน,. (กรงุ เทพฯบริษทั พมิ พ์ดจี าํ กดั ),.
_________,(2549)สุวรรณภูมิ ตนกระแสประวตั ิศาสตรไทย,(กรุงเทพฯบริษทั พมิ พ์ดจี ํากดั ), .
หลวงบริบาลบรภิ ัณฑ,ศ., (2503) เร่ืองโบราณคดีฯ ,(พระนคร: รุงเรืองรัตน),
ชนิ อยู่ดี,( 2509),“เรื่องก่อนประวตั ศิ าสตรท์ เ่ี มอื งอ่ทู อง” โบราณวทิ ยาเรอ่ื งเมอื งอทู่ อง กรมศิลปากร
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (จาก

หนังสอื โบราณคดวี ิทยาเร่ืองเมืองอทู่ อง กรมศิลปากร รวบรวมจัดพมิ พ์ เนือ่ งในงานเสด็จ
พระราชดําเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง สุพรรณบุรี วันที่ 13 พฤษภาคม
2509).
Boeles, J.J. (1967)“A note on the ancient city called Lavapura” Journal of the Siam
Society, Vol. LV, Partl (January 1967),.
Boisselier, J. (1977)“Travaux dela Mission Ar cheologique Francaise en Thailande”

Indrawooth Phasook, (2008). Dbara vati Dharmacakra (Bangkok : Saksopa Press.

203

ภาคผนวก ข

กจิ กรรมทเ่ี ก่ยี วข้องกบั การน้าผลจากโครงการไปใช้ประโยชน์

204

กิจกรรมท่ีเกีย่ วข้องกับการนา้ ผลจากโครงการวิจยั ไปใชป้ ระโยชน์

1.การใชป้ ระโยชนด์ ้านโยบาย

หนว่ ยงานที่เก่ยี วข้องกับการท่องเท่ยี วแหลง่ อารยธรรมทวารวดอี ู่ทอง จงั หวัดสุพรรณบรุ ี
ชพู ้ืนที่พิเศษเมืองโบราณอ่ทู องเป็นแหลง่ เรยี นรูน้ าํ ลอ่ งนโยบายตา่ งๆ โดยมีส่วนร่วมจากหน่วยงาน
ราชการ ภาคเอกชน นกั เรยี นนกั ศกึ ษานกั วจิ ัย รวบรวมและเรียบเรยี ง update ข้อมลู ความรู้เชิง
สากล เก่ียวกับเศรษฐกจิ เป้าหมายให้เกดิ ประโยชนก์ บั เมืองโบราณอ่ทู องและชุมชน ผา่ นกระบวนการ
ประชาชนมสี ว่ นรว่ มแล้ว และเชือ่ ว่า ประโยชน์อันสง่ ผลความอยูร่ อดแก่ชุมชน จะได้อนรุ ักษ์พื้นท่ี
ประวัติศาสตร์ เป็นการอนุรกั ษต์ ามคตคิ วามเชื่อทางศาสนาทีห่ ลากหลาย และค้นคว้าจากหนังสือ
บทความ เอกสารงานวจิ ัย ทฤษฎี แนวความคดิ ของนักวิชาการดา้ นศลิ ปวัฒนธรรม ผลิตสนิ ค้า เชน่
ลกู ปดั ขนาดใหญ่ และมีความลากหลายชนดิ แสดงถึงการค้าขาย มีการพฒั นาต้ังแต่ยุคเหล็ก เขา้ สยู่ คุ
ตอนปลายๆ มีการติดต่อจนเป็นเมอื งทา่ เสน้ ทางการคา้ ทางทะเลเข้ามายคุ พทุ ธศตวรรษท่ี 5-6 ถอื
เปน็ การเดนิ ทางยุคสายไหม ทางทะเล อ่ทู องเป็นเมอื งท่าสําคัญทต่ี ดิ ต่อไปจนี เวียดนาม อู่ทองพฒั นา
มาเรอื่ ยจนถึงยุคฟนู นั อู่ทองเปน็ เมอื งรว่ มสมัย เมอื งท่าทส่ี ําคญั อยา่ งมาก

2.การใชป้ ระโยชนด์ ้านสาธารณะ

ผลจากการวิจยั เรื่องการศกึ ษาวเิ คราะหเ์ มอื งอู่ทองในฐานะประวัติศาสตรใ์ นการ เผยแผ่
พระพทุ ธศาสนา An Analytical Study of U-THONG City as a History of Buddhist
Propagation สามารถนําความรูจ้ ากงานวิจยั น้ไี ปใชใ้ นวงกว้าง เพ่อื ประโยชน์ของสังคม และ
ประชาชนทั่วไปรวมท้ังระดับนานาชาติ ให้มีความรคู้ วามเข้าใจประวัติศาสตร์ ความเป็นของ
พระพุทธศาสนาในสมยั ทวารวดี อู่ทองอนั เปน็ มรดกโลก ถือวา่ เป็นศิลปกรรมอนั ลาํ้ ค่า ของประเทศ
ไทย อนั นํามาซงึ่ ธุรกิจการท่องเท่ียว ทาํ ใหช้ ุมชนมรี ายได้ นาํ มาซึ่งประโยชน์อนั ซึ่งสุดคือ มกี าร
ดํารงชวี ติ ท่ีดงี ามต่อไป

3.การใช้ประโยชนด์ ้านพาณชิ ย์

การใชป้ ระโยชน์เชิงพาณิชย์

โดยพจิ ารณาจากการมีหลักฐานการเจรจาทางธรุ กิจกบั ประเทศและนานาประเทศดา้ น
การทอ่ งเทีย่ วทางวฒั นธรรมทวารวดอี ู่ทอง มีศนู ยก์ ารทอ่ งเท่ียวอทู่ อง มรี ะบบการท่องเท่ียวของเมืองอู่
ทอง ทําเอกสาร หนงั สอื โปรชัวส์ เก่ียวกับการเขา้ มาของพระพุทธศาสนาสูเ่ มอื งอู่ทอง ต่อสาธารณะ
ประเทศ มีการนับการย่นื และจดทะเบยี นคุม้ ครองทรัพย์สนิ ทางปญั ญาต่อเม่ือทําเอกสาร

4.การใช้ประโยชน์เชิงชุมชน/สังคม

ผลการวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะหเ์ มืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตรใ์ นการ เผยแผ่
พระพทุ ธศาสนา มีการศกึ ษาวเิ คราะหป์ ระวัติศาสตร์เมืองอทู่ อง ด้าน โบราณสถาน และดา้ น
โบราณวัตถุ อารยธรรมทวารวดี ทําให้เกิดแนวทางพัฒนาการทอ่ งเท่ียวเชงิ วฒั นธรรมโดยใช้ชมุ ชน

205

เมืองโบราณอูท่ อง ตามแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์และสอ่ื สารเพื่อการตลาด โดยใชเ้ ทคนิคการ
วิเคราะห์ SWOT Analysis, และแนวทางดําเนินการท่ีดี (Best Practice) ซง่ึ จะไดแ้ นวทางการพัฒนา
ศลิ ปวฒั นธรรม สามารถนําความรจู้ ากการวิจัยดังกลา่ วใหช้ มุ ชนและสงั คมมีความเข็มแข็งเชื่อมันใน
ศิลปล้ําค่าชอ่ื วา่ มรดกโลก อย่างภาคภมู ิใจตอ่ ไป

มหี ลกั ฐานการถ่ายทอดเทคโนโลยีทไี่ ดจ้ ากงานวิจัยในชมุ ชน/ทอ้ งถิ่น ได้รับหนังสือเรียน
เชิญให้ความรจู้ ากชมุ ชน/องค์กร/ หน่วยงานในพื้นท่ีตา่ งอีกดว้ ย

5. การใชป้ ระโยชนด์ ้านวชิ าการ

ผลงานการวจิ ยั การศึกษาวิเคราะห์เมืองอทู่ องในฐานะประวตั ิศาสตรใ์ นการ เผยแผ่
พระพทุ ธศาสนา สามารถนําองคค์ วามรู้จากผลงาน ท่จี ะตีพิมพ์ในรปู แบบต่างๆ เช่น ผลงานตีพิมพ์ใน
วารสารระดับนานาชาติ ระดับชาติ ไปใช้ในประโยชน์วชิ าการ การเรยี นรู้การเรยี นการสอนในสถาน
ศึกษา ในวงนักวชิ าการและผูส้ นใจในด้านวิชาการในดา้ นศิลปวฒั นธรรมอทู่ อง แลว้ นาํ ไปตอ่ ยอดใน
การศกึ ษาหาข้อมลู ที่เดน็ ชัดมากขึน้ ไปอีกตอ่ ไป อนั จะนํามาซึง่ ประโยชน์มหาศาลต่อสังคมและ
ประเทศชาตติ ่อไป

206

ภาคผนวก ค

ตารางเปรียบเทยี บวตั ถปุ ระสงค์ กจิ กรรมทว่ี างแผนไว้ และกจิ กรรม
ที่ไดด้ า้ เนนิ การมาและผลที่ไดร้ บั ของโครงการ

207

วัตถปุ ระสงคเ์ พอ่ื ศึกษา กิจกรรมที่ กิจกรรมทไ่ี ด้ ผลทไ่ี ด้จากการวิจัย

1)เพ่ือศึกษาประวตั ศิ าสตร์ วางแผนไว้ ด้าเนินการแลว้
การเข้ามาของพระพุทธ
ศาสนาในสมัยทวารวดี ไ ด้ ว า ง แ ผ น ไ ว้ การพั ฒ น าก าร พระพทุ ธศาสนาเผยแผ่เขาสูเ่ มือง

(อู่ทอง) อ พ ท . ร่ ว ม กั บ เมื อ ง โบ ร า ณ อ่ทู องและประเทศไทย เชอื่ ได้วา

2) เพ่อื ศกึ ษาอิทธิพลของ จังหวัดสุพรรณบุรี อู่ทองคือเมือง พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไดเขาสูเ่ มอื ง
การเผยแผ่พระพุทธ
ศาสนามาสเู่ มือง อู่ทอง พ้ื น ท่ี พิ เศษ เมื อง ท่ อ ง เ ท่ี ย ว อทู่ อง ประเทศไทยมี 2 ระยะคือ

3) เพ่ือศึกษาร่องรอยทาง โบราณอู่ทองเป็น สร้างสรรค์ เชิง
พระพุทธศาสนาในเมือง
อ่ทู องจากหลักฐานทาง แ ห ล่ งเรีย น รู้ที่ มี ประวัติศาสตร์ ระยะแรก คร้งั ท่ีพระเจาอโศก

ศิลปกรรม ชีวิตจึงชุมชนและ วัฒนธรรมและ มหาราชทรงสงสมณทูตมีพระโสณะ

ภ าคี ร่ว ม พั ฒ น า วิถีชีวิตดั้งเดิม กับพระอตุ ตระเถระ พรอมดวยภิกษุ

ตอกย้ําท่องเที่ยว ง บ ป ร ะ ม า ณ บรวิ าร เขามาเผยแผพระพุทธศาสนา

เป็นนิติสําคัญช่วย เพ่ือการพัฒนา ในดนิ แดนสุวรรณภมู ิ ในพทุ ธ

ผลักดันรายได้ใน ท้งั แผนงานและ ศตวรรษท่ี 3

ส่วนธุรกิจบริการ ร า ย ล ะ เอี ย ด

ข อ งสุ พ ร ร ณ บุ รี ของแผนฉบับน้ี ระยะที่ 2 พระพทุ ธศาสนาไดเขาสู่

ก า ร จั ด ทํ า แ ผ น แ ล ะ พั ฒ น า ดินแดนทวารวดี(อูท่ อง)ราวพุทธ

แ ม่ บ ท ภ า ย ใ ต้ ควบคุมทุกมิติ ศตวรรษที่ 8-10 ตรงบริเวณจาก

งบประมาณ ...... ท้ั ง ด้ า น หลกั ฐานโบราณคดที นี่ าเช่ือได คอื

เสนอครม สาธารณูปการ (1)ประติมากรรมปนู ปนรูปพระภกิ ษุ

พั ฒ น าแ ห ล่ ง 3 องคถอื บิณฑบาต ศิลปะแบบ

แ ล ะ ส่ ง เส ริ ม อมราวดี (2) จารกึ คาถา เย ธมฺมา 2

แหล่งท่องเท่ียว หลกั พบที่ไทรบรุ ี อายุราวพุทธ

ก ารถ่ าย ท อ ด ศตวรรษที่ 8-11 และ (3) จารึก

องค์ความรู้ด้าน คาถา เย ธมมฺ า บนหัวแหวนพบที่

ก า ร บ ริ ห า ร เวียดนามเปนพระพุทธศาสนาเถร

จั ด ก า ร วาท จากการศึกษาดงั กลา่ ว

เป้ า ห ม า ย ให้ จงึ พบวา พระพทุ ธศาสนาทีเ่ ขามา

เกิดประโยชน์ เผยแผส่ ูดินแดนไทยสมัยทวารวดี

กับเมืองโบราณ (อทู่ อง)จะตองเปน พระพุทธ

อู่ ท อ ง แ ล ะ ศาสนาเถรวาทเปนสวนใหญ

ชุมชน

208

ภาคผนวก ง

เคร่ืองมือวิจยั

209

เครอ่ื งมือเพือ่ การวิจัย

เคร่ืองมือท่ีใช้ในการวิจัยคร้ังนี้เป็นแบบขอสืบค้นข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์แนวคิดจาก
นักวชิ าการ นกั โบราณ ทางประวตั ิศาสตร์จากสถาบันและนกั วิชาการท่เี กย่ี วขอ้ งกับงานวจิ ัยนี้ ดังน้ี

ชดุ ที่ 1 แบบขอข้อมูล การศึกษาวิเคราะห์เมอื งอู่ทองในฐานะประวตั ิศาสตร์ในการ เผยแผ่
พระพุทธศาสนา ประกอบไปดว้ ย ดงั น้ี

ส่วนที่ 1 แบบขอข้อมูลท่ัวไปจากสถาบันและผู้ชํานาญการในเร่ืองประวัติศาสตร์เมืองอู่
ทอง

เจริญพร

เอกสารฉบับนี้เป็นการขอข้อมูลสําหรับการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย ตามสัญญาเลขท่ี MCU RS 610760267 การวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองใน
ฐานะประวัติศาสตร์ในการ เผยแผ่พระพุทธศาสนา An Analytical Study of U-THONG City as a
History of Buddhist Propagation” ผู้วิจัยใคร่ขอให้ ....... (สถาบัน บุคคล) ที่ตรงกับความ
เป็นจริงครบถ้วนทุกข้อ ข้อมูลที่ได้จากท่านท้ังหมดผู้วิจัยจะนําไป เพ่ือใช้วิเคราะห์ผลการวิจัยเท่านั้น
และจะนําเสนอผลการวเิ คราะห์ข้อมูลในภาพรวมท้ังหมด สว่ นข้อมลู รายบคุ คลจะถูกเก็บเปน็ ความลับ
ข้อมูลที่ได้จากท่านในคร้ังนี้ จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงและวางแผน การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์
เมืองอู่ทอง : ในฐาะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้ดีย่ิงข้ึนต่อไป ขออนุโมทนากุศล
ทกุ ท่านที่ให้ความร่วมมอื เปน็ อย่างดี

ขอเจรญิ พร

(ลงช่อื )................................................
(พระครูสริ พิ ทุ ธิศาสตร์, ดร.)
หัวหนา้ คณะผวู้ ิจัย

210

รายนามผทู้ รงคุณวุฒใิ นการตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือท่ใี ช้ในการวจิ ัย

1. ช่อื -สกลุ นางสาวดวงกมล กมลานนท์

ตาํ แหน่งปัจจบุ นั ภัณฑารักษ์ ชํานาญการพิเศษ

ผู้อาํ นวยการ สํานกั งานพพิ ิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวดั สุพรรณบุรี

วฒุ ิการศกึ ษา ปรญิ ญาโท มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขา การจัดการทางวัฒนธรรม

ปรญิ ญาตรี สาขาโบราณคดี(ประวัตศิ าสตร์ศิลปะ)มหาวิทยาลยั จุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย

สถานทท่ี าํ งาน พิพิธภัณฑสถานแหง่ ชาติ อู่ทอง สุพรรณบรุ ี

โทร. 035 5511021 Email. [email protected]

2. ช่อื -สกลุ ท่านผ้อู ํานวยการพิพธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ สพุ รรณบุรี
ตําแหน่ง ผ้อู าํ นวยการพิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ
วฒุ กิ ารศึกษา ปริญญาโท มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร ศลิ ปศาสตรมหา
บัณฑิต
สาขา การจัดการทางวัฒนธรรม
สถานที่ทํางาน พิพิธภัณฑสถานแหง่ ชาติ สพุ รรณบุรี
ตาํ แหน่งปจั จบุ ัน ผอู้ าํ นวยการพิพธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ

3. ช่ือ-สกลุ ผศ.เจริญ แสนภกั ดี
ตาํ แหน่งปัจจุบัน อดตี คณบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบรุ ี
อาํ เภอพระนครศรอี ยุธยา จงั หวัดพระนครศรอี ยุธยา
วุฒกิ ารศกึ ษา ปริญญาเอก (สาขาวชิ ารฐั ประศาสนศาสตร์)
คณะศกึ ษาศาสตร์
สถานทีท่ าํ งาน มหาวทิ ยาลยั กรงุ เทพธนบรุ ี

211

ตวั อยา่ งหนงั สอื เชิญเป็นผู้เชยี่ วชาญตรวจคณุ ภาพเครอ่ื งมอื การวิจัย

ที่ ศธ.61661/ว 2 วิทยาลยั สงฆ์สุพรรณบุรีศรสี วุ รรณภูมิ วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร ตาํ บลรั้วใหญ่

อําเภอเมือง จงั หวัดสุพรรณบรุ ี 72100

14 กุมภาพนั ธ์ 2562

เร่อื ง ขอเชญิ เปน็ ผูเ้ ช่ยี วชาญตรวจคณุ ภาพเครอ่ื งมือการวจิ ัย

เรียน/เจรญิ พร

ส่งิ ที่ส่งมาด้วย 1. โครงการวิจัย จํานวน 1 ชดุ

ด้วย พระครสู ิริพุทธิศาสตร์, ดร. อาจารย์ประจําคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อําเภอเมือง
จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับทุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ทําวิจัยเรื่อง
การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เมืองอู่ทองในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทางวิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรี
สุวรรณภูมิ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ไดพิจารณาแลวเห็นว่า .............. ท่านเป็นผู้เช่ียวชาญท่ีมีความรู
ความสามารถในเรื่องนี้โดยเฉพาะ และคาํ แนะนําของท่านจะเป็นประโยชน ตอการสรางเคร่ืองมือของ
ผู้วิจัยและคณะท่ีจะนําข้อมูลไปปรับปรุงเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสม เพื่อใชในการเก็บ

รวบรวมขอ้ มลู ในการวจิ ยั ตอ่ ไป

หน่วยวิทยบริการวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จึงใครขอความอนุเคราะห์จากทานเปนผู
เชี่ยวชาญตรวจเคร่ืองมืองานวิจัย รายละเอียดตามส่ิงท่ีส่งมาด้วยแล้ว และขออนุโมทนาในกุศลจริยา
มา ณ โอกาสนี้ด้วย

ขอแสดงความนับถือ/ขอเจริญพร
...............................................................

(พระครูสิรพิ ทุ ธิศาสตร์, ดร.)

ประธานประจาํ หลักสตู ร /อาจารย์ประจําหลักสตู ร

หวั หน้าโครงการวิจัย

212

หนังสือขอหนังสือเอกสารข้อมูล

ที่ ศธ.61661/ /2562

กมุ ภาพันธ์ 2562

เรือ่ ง ขอความอนุเคราะห์ขอขอ้ มูลเกี่ยวทวารวดีอทู่ อง เพื่อการศึกษาวจิ ัย

กราบเรียน(เรยี น/เจริญพร) ……………………………………………..

สงิ่ ท่ีสง่ มาด้วย 1) สิ่งท่ตี อ้ งการในด้านข้อมูล จาํ นวน 1 ฉบบั

2) แบบสงั เกตการณท์ ี่ใชใ้ นการประกอบ จํานวน 1 ฉบบั

ด้วยข้าพเจ้า พระครูสิริพุทธิศาสตร์, ดร. อาจารย์ประจําหลักสูตร สาขาวิชาการจัดการเชิง
พุทธ คณะ สังคมศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร มหาวิทยาลัย
มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย จังหวดั สุพรรณบุรี ไดท้ ําการศึกษาวิจัย เรอื่ ง “เรอื่ ง การศกึ ษาวิเคราะห์
เมืองอู่ทองประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก
สถาบันวิจัยแห่งชาติ (วช) ในการศึกษาเกี่ยวกับเร่ือง การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง นี้
ข้าพเจ้าได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ท่านท้ังหลายเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเร่ืองการวิเคราะห์
ประวัตศิ าสตร์เมืองอทู่ อง นี้เปน็ อยา่ งดีย่งิ

จึงขอความอนุคราะห์จากท่านเพ่ือโปรดพิจารณาอนุญาตให้ดําเนินการให้ข้อมูลเอกสาร
ใดๆทเี่ กี่ยวขอ้ งกับเรอ่ื งทวารวดี(อูท่ อง) ในการศึกษา ซึ่งจะเปน็ ประโยชน์ทางวชิ าการต่อไป

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านด้วยดีและขอกราบขอบคุณใน
ความเอื้อเฟ้อื ในการให้ข้อมลู ทางวิชาการมา ณ โอกาสน้ี

จึงเรียนมาเพ่ือโปรดพจิ ารณาใหค้ วามอนเุ คราะห์

ขอแสดงความนับถือ/เจรญิ พร

..............................................................
(พระครูสิรพิ ทุ ธิศาสตร์, ดร.)

ประธานประจาํ หลักสูตร /อาจารยป์ ระจําหลักสตู ร
หัวหนา้ โครงการวจิ ัย

213

ภาคผนวก จ

รปู ภาพกจิ กรรมที่ดาํ เนินการวิจยั

214

ประมวลภาพการทําวจิ ยั ทีไ่ ปสัมภาษณ์กับนักวชิ าการและโบราณคดี
เร่ือง การวิเคราะห์เมืองอู่ทองฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ
พิพิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ อทู่ อง สุพรรณบุรี วนั ท่ี 14 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ.2562

ภาพกิจกรรม โครงการวิจัย
นางสาวดวงกมล กมลานนท์
ผอู้ าํ นวยการพพิ ธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ
อทู่ อง สพุ รรณบรุ ี 14/กพ/62

215

ประมวลภาพการทาํ วจิ ัยทไ่ี ปขอขอ้ มูลหนงั สือ เอกสารที่เกีย่ วขอ้ งกบั งานวิจยั
เรื่อง การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง: ศึกษากรณีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ณ พิพธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ สุพรรณบรุ ี วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562

ภาพกจิ กรรม โครงการวจิ ัย สมั ภาษณ์ ผ้ชู า้ นาญการของ.
อพท. องค์การพื้นที่พิเศษการทอ่ งเทย่ี ว อ.อู่ทอง สุพรรณบุรี

14/กพ/62

216

ภาคผนวก ฉ

แบบสรุปโครงการวิจัย

217

แบบสรปุ โครงการวิจัย

สถาบนั วิจัยพทุ ธศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั

สัญญาเลขท่ี MCU RS 610761310
ช่ือโครงการ การศึกษาวเิ คราะห์เมืองอทู่ องในฐานะประวตั ิศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
An Analytical Study of U-THONG City as a History of
หัวหนา้ โครงการ Buddhist Propagation
พระครูสริ ิพทุ ธิศาสตร์, ดร., พระครโู สภณวรี านุวตั ร,ดร.

ความเป็นมาและความสา้ คัญของปญั หา
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาท่สี ําคัญศาสนาหนึ่งของโลก และเป็นศาสนาประจําชาติไทยมาเป็น

เวลาช้านาน มีอิทธิพลต่อโครงสร้างของวฒั นธรรมไทยมากที่สดุ ในปัจจบุ ันประเทศไทยนับว่าเป็นศนู ย์กลาง
ของพระพุทธศาสนาในโลก เน่ืองจากเป็นที่ต้ังขององค์กรการพุทธศาสนกิ สัมพันธ์ เเห่งโลก มีหลักคําสั่งสอน
อันเปรียบเสมือนห้วงมหานทีแห่งสรรพศาสตร์ จึงมิใช่เพียงแค่เป็นปรัชญาหรือทฤษฎีเท่าน้ัน หากแต่ยังมี
เน้ือหาครอบคลุมถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความนึกคิดแทบทุกด้านและท่ีสําคัญพระพุทธศาสนาเป็นศาสนา
แห่งการกระทาํ

ฉะน้ันจึงจําเป็นอย่างย่ิงที่ทุกคนต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ของคําว่าพระพุทธศาสนา มีความ
เกี่ยวขอ้ งกับเมืองทองอย่างไร ได้มีนักวิชาการสว่ นใหญ่ลงความเห็นวา่ เมอื งหลวงของรฐั ทวารวดนี ่าจะอยู่ท่ี
เมืองอู่ทอง เพราะได้พบเหรียญเงินมีจารึกว่า “ลวปุระ” ท่ีอู่ทอง1 โดยสันนิษฐานว่าในขณะทิ่อู่ทองเป็น
ศนู ย์กลางด้านตะวันตก หรือเป็นศูนย์กลางในฐานะเมืองหลวงของรัฐทวารวดี โดยศึกษาจากสภาพที่ตั้งทาง
ภูมิศาสตร์ ประกอบกับหลักฐานโบราณวัตถุสถานและหลักฐานเอกสารต่างๆ รวมทั้งจดหมายเหตุของจีน
ตลอดจนจารึกที่พบในบริเวณเมืองดว้ ย

นอกจากจะเป็นเมืองหลวงแล้ว เมืองอู่ทองโบราณน่าจะมีบทบาทเป็นเมืองท่าสําคัญในสมัย
ทวารวดอี ีกด้วย เน่ืองจากเป็นเมอื งที่ต้ังอย่ใู กล้ทะเลและมที างนาํ้ เข้าออกต่อกับฝั่งทะเลโดยตรงได้ อีกท้ังยัง
ได้พบโบราณวัตถุประเภทตราประทับดินเผา ซึ่งเป็นของติดตัวพ่อค้าชาวอินเดียในสมัยหลังคุปตะ (พุทธ
ศตวรรษที่ 12-14) เป็นจํานวนมากในบรเิ วณเมืองอู่ทองโบราณและในบรเิ วณ ใกล้เคียง ตราประทับท่ีแสดง
ถึงบทบาทด้านการค้าของเมอื งนี้ คือ ตราประทบั ดินเผารูปเรือ2 และตราประทับ 2 หนา้ รปู คชลักษมี เมอื ง
อู่ทองยังมีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนา ดังได้พบหลักฐานด้านศิลปกรรมเน่ืองในพุทธศาสนา

1 Boeles, J.J.“A note on the ancient city called Lavapura” Journal of the SiamSociety,
Vol. LV, Partl (January 1967).

2 จิรา จงกล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในงานเสด็จพระราช
ดําเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันที่ 25 พฤษภาคม 2510 ; Indrawooth, Phasook, 1983.
The Excavation at the Ancient Town of Nakhon Pathom, Tambon Phra Praton, Amphoe Muang,
Changwat Nakhon Pathom. (in Thai) Nakhon Pathom : Silpakorn University Press.

218

จํานวนมากสําหรับโบราณสถานที่สําคัญๆ เช่น พบ ศิลาธรรมจักร จํานวนมากประมาณ 30 วง บางวงมี
ศลิ ารปู กวางหมอบ ประกอบอยู่ และยังได้พบพระพทุ ธรปู ตลอดจน พระพิมพ์ตา่ งๆ จํานวนมาก

จากหลักฐานดา้ นประวัตศิ าสตร์ศิลปะดา้ นโบราณคดีรวมด้านจารกึ อาจนําไปสู่ขอ้ สนั นษิ ฐานว่า
เมืองอู่ทอง น่าจะมีบทบาทเป็นเมืองหลวงหรือศูนย์กลางของรัฐทวารวดีในยุคแรก รวมพุทธศตวรรษท่ี 9-
133

สําหรับเมืองอู่ทองนั้นนักโบราณคดีได้พบหลักฐานการติดต่อค้าขายกับอินเดีย ต้ังแต่สมัยยุค
เหล็กตอนปลายของอินเดีย (พุทธศตวรรษท่ี 3-5)4 และมีบทบาทเด่นชัดมากในสมัยอินโด-โรมันของอินเดีย
(พุทธศตวรรษท่ี 6-9)5 และที่เมืองอู่ทองนี้เอง ที่พ่อค้าชาวพุทธจากลุ่มแม่น้ํากฤษณา ได้เดินทางเข้ามา
ติดต่อค้าขาย และต้ังถ่ินฐานในช่วงสมัยอินโด-โรมัน และได้นําเอาพุทธศาสนาจากศูนย์กลางพุทธศาสนาใน
อนิ เดยี ใต้ ท่ีอยู่ใต้การอุปถัมภ์ของกษตั ริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ (พทุ ธศตวรรษท่ี 4-8) และสืบต่อด้วยราชวงศ์
อิกษวากุ (พุทธศตวรรษที่ 8-10) ซ่ึงมีศูนย์กลางงานศิลปกรรมเน่ืองในศาสนาอยู่ที่เมืองอมราวดีและเมือง
นาคารชุนโกณฑะ เข้ามาเผยแพร่ให้ชมุ ชนโบราณท่ีเมืองอู่ทอง ดงั ไดพ้ บประติมากรรม ดินเผารปู พุทธสาวก
3 องค์ ถือบาตร ห่มจีวร ห่มคลุม ตามแบบนิยมของศิลปะแบบอมราวดี และประติมากรรมปูนป้ันรูป
พระพทุ ธรปู นาคปรก ซึ่งประทับนง่ั ขัดพระบาทหลวมๆ ตามแบบศิลปะแบบอมราวดี 6

ดังน้ัน เมืองอู่ทองจึงจัดเป็นเมืองท่าโบราณท่ีเจริญรุ่งสืบต่อมาจนกลายเป็นเมืองท่าสําคัญของ
อาณาจักร และเปน็ ศนู ย์กลางพุทธศาสนาทีเ่ ก่าแก่ท่สี ดุ ของรัฐทวารวดี

มีนักปราชญหลายทาน ไดกลาวถึงความมีอยูของเมืองโบราณตาง ๆ เชน ทักษณิ-อินทโยธา
เสนอวา7 แถบลุมน้ําเจาพระยาและดามขวานทองไดเกิดมีชุมชนข้นึ ต้ังแตสมยั พุทธกาลหรอื กอนน้ัน เม่ือกว
า 2,000 ปมาแลว เชน เมอื งนครชัยศรี, เมอื งพงตึก, เมอื งอูทอง, เมอื งคูบัว, เมอื งศรีมโหสถ, เมืองไชยาและ
เมืองดินแดง เปนตน ยังมีปัญหาขอมูลไมลงรอยกันเก่ียวกับเร่ืองชนชาติของชาวทวารวดีอีกจํานวนมาก
บาง กลุมสันนิษฐานวา เปนพวกมอญดวยเหตุผล คือ8 (1) มีการพบจารึกภาษามอญท่ีลพบุรี จารึกดวย
อกั ษรท่ี เกาประมาณพุทธศตวรรษท่ี 13-14 จารึกท่ีเสา 8 เหล่ียม ซึ่งมบี ัวหัวเสาเหมือนที่นครปฐม (2) พระ

3.ผาสุข อินทราวุธ ทวารวดี : การศกึ ษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี (กรุงเทพฯ : โรง
พิมพอ์ กั ษรสมยั 2542) หนา้ 101-106 และ หน้า 177-178

4ชิน อยู่ดี “เรือ่ งก่อนประวัติศาสตรท์ ี่เมอื งอ่ทู อง” โบราณวิทยาเรื่องเมืองอทู่ อง กรมศลิ ปากร 2509 ,
หน้า 43-50.

5 ผาสุก อินทราวุธ ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี อ้างแล้ว หน้า
104-105 ; Indrawooth Phasook, Dbara vati Dharmacakra (Bangkok : Saksopa Press, 2008).

6 Boisselier, J. “Travaux dela Mission Ar cheologique Francaise en Thailande” อ้าง
แลว้ ; Murthy, K. K. 1977. Nagarjunakonda, a Xulltural Study, Delhi : oncept Publishing, pp. 1-10.

7 ทักษณิ อินทโยธา, ใครคือเจาถิ่นลุมน้าเจาพระยาและดามขวานทองเมอื่ 2,000-3,000 ปกอน,
(กรงุ เทพฯ: ดานสทุ ธาการพิมพ, 2534), หนา 14.

8 สิริวัฒน คําวันสา, รศ., ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย, พิมพคร้ังท่ี 4, (กรุงเทพฯ:บริษัท
จรลั สนิทวงศการพมิ พ จาํ กดั , 2542), หนา 1 8 - 20.

219

นางจามเทวี ยายจากลพบุรไี ดครองหริภุญชัยในพุทธศตวรรษที่ 13 น้ันเปนเจาหญิงมอญ และ (3) ยอรช เซ
เดส ไดอานจารึกซ่ึงพบที่วัดโพธิ์ราง ที่นครปฐม และนําไปเผยแพรท่ีปารีส ใน พ.ศ.2495 ก็สนับสนุนวา
ทวารวดี(อทู่ อง)เปนอาณาจักรมอญ

ปญหาเรื่องศูนยกลางของอาณาจักรทวารวดี ก็มีความเห็นไปตาง ๆ แตนักวิชาการ สวนใหญ
เห็นวา ศูนยกลางของทวารวดีนี้น่าจะอยูบริเวณภาคกลางตอนลางของประเทศไทย เพราะมี การคนพบ
หลักฐานสําคัญ ๆ มากกวาแหลงอื่น ตลอดถึงมีที่ต้ังอยูในทําเลอันเหมาะในการที่ติดต่อและรับอารยธรรม
จากโลกภายนอกได อย่างไรก็ตามแม้นักวิชาการสวนใหญจะมีความเห็นดังกลาว แตจากหลักฐานทาง
โบราณคดี ท่ีมีนักวิชาการ ต้ังขอสมมติฐานเก่ียวกับศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีไว 3 แหงดวยกันคือ
เมอื งอูทอง เมืองนครปฐม(นครชัยศร)ี และเมอื งลพบุรี9

เร่ืองราวความเปนมาเก่ียวกับศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในอาณาจักรทวารวดีคือ เมืองอู่
ทอง เปนเร่ืองท่ีนาศึกษาอยางยิ่ง สถานการณ์ พระพุทธศาสนาในช่วงแรกเขามาและเผยแผ่ มีกําเนิด
อิทธิพล ร่องรอย และพัฒนาการมาอยางไร และในสมัยตอมาอีกอยางไรบาง ยังคงเปนเร่ือง ทาทายและ
รอการศกึ ษาคน้ ควาเพม่ิ เตมิ อยูเสมอ

ในสวนของประวัติศาสตรเมืองอู่ทองในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น ยังไมมีการศึกษาวิจัย
โดยตรงหรือจะมีก็นอยมาก สวนมากเปนการศึกษาวิจัยเชิงประวัติศาสตรด้านอื่นๆเชน โบราณคดีและการ
ขุดคนหาหลักฐานเพ่ือยืนยัน ถึงความมีอยูของกลุมชุมชนในอดีต ศึกษาอัตตลักษณ์ของเมืองอู่ทอง การ
ท่องเท่ียวของเมืองอู่ทองเปนตน เทาน้ันทําใหการศึกษาเรื่องราวของพระพุทธศาสนา ในช่วงดังกลาวขาด
ตอนไป ปจจบุ ันไดมีนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ทาํ การสํารวจ ขดุ คน พบขอมูลใหม ๆ เชน่ ล่าสดุ มี
คณะโบราณคดี ได้ทําการวิจัยได้ผลการขุดค้นทางโบราณคดีท่ีเนินพลับพลาชัย ปี 2560 จํานวนมาก ที่ทํา
ใหสามารถทราบความเปนมาและสถานการณของพระพุทธศาสนาในเหตุการณ์ดังกล่าวไดดีขึ้น เพียงแต
เรือ่ งราวดังกลาว เป็นการนาํ เสนอที่ยังกระจัดกระจายกันอยูไม่ไดกลาวตอเนืองกัน เพราะตางคนตาง ศึกษา
คนควา ทําใหประวตั ิศาสตร์ไม่ตอ่ เนอื่ งเท่าที่ควร

งานวิจัยน้ี ผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะหขอมูลเอกสาร ท่ีกลาวถึง ประวัติศาสตร์ การเข้ามา ในการ
เผยแผ่ของพระพุทธศาสนาสมัยทวารวดี(อู่ทอง)ในแผ่นดินไทย จากเอกสารตางๆ เชน คัมภีรพระไตรปิฎก
อรรถกถา วรรณกรรม พระพุทธศาสนาในลังกา พมา ลานนาและลานชาง ตลอดถึง งานคนคว้าของนัก
ประวตั ิศาสตรและนกั โบราณคดี ทไ่ี ดศกึ ษาวเิ คราะหเกี่ยวกับเร่ืองสมัยทวารวดี (อทู่ อง) รวมท้งั การวเิ คราะห
ขอมูล ทางดานศิลปกรรมวา มีความเก่ียวของกันมากนอยเพียงใดแลว เสนอผลการวิจัยตอไป ซ่ึงจะก่อให
เกิดองคความรู้ใหมเก่ียวกับประวัติศาสตร์ กําเนิด การเข้ามา ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่เมืองอู่ทอง
ตลอดถึงรองรอยและอิทธิพลดานตาง ๆ ที่ไดรับจากพระพุทธศาสนาท่ีจะอํานวยประโยชนต่อการศึกษา
ประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง อันได้แก่ พระพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณีเปนต้น ท่ีขาดหายไปอันนํามาเพ่ือ
จะไดเกดิ องคความรูใหม ๆ อันจะเป็นประโยชนทางการศึกษาตอไป

9 ศกั ดิช์ ยั สายสงิ ห,ผศ.ดร., ศิลปะทวารวดวี ฒั นธรรมพทุ ธศาสนายคุ แรกเร่มิ ในดินแดนไทย,หนา 61-
74.

220

วตั ถุประสงค์ของการวิจัย

1) เพ่ือศึกษากาํ เนิดและการเขา้ มาของพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวด(ี อูท่ อง)
2) เพ่อื ศึกษาอิทธพิ ลของการเผยแผ่พระพทุ ธศาสนามาสเู่ มืองอู่ทอง
3) เพื่อศึกษาร่องรอยทางพระพุทธศาสนาในเมอื งอู่ทองจากหลักฐานทางศิลปกรรม
ผลการวิจยั
พระพุทธศาสนาท่ีเขามาเผยแผ่สูดินแดนไทยสมัยทวารวดี(อู่ทอง)จะตองเปน พระพุทธศาสนา
เถรวาทเปนสวนใหญ เน่ืองจากหลักฐานจารึกตาง ๆ โดยเฉพาะจารึกคาถา เย ธมฺมา และจารึกหลักธรรม
สาํ คญั ตาง ๆ ไดแก อรยิ สัจจ 4 ปฏจิ จสมปุ บาท ธรรมจักกปั ปวัตนสูตร พุทธอทุ านท้ังท่ีวา ยทา หเว และ
อเนกชาติ สสํ ารํ สนฺธาวสิ สฺ ํ.ที่แปลวาเมือ่ ใด ธรรมท้งั หลาย ปรากฏแกพราหมณผูมีความเพียรเพง.และวาเรา
เมือ่ ตามหานายชางผู้สรางเรือน(คือตณั หา)ไมพบ จงึ ตองทองเท่ียวไปในสงั สารวัฏเปนอเนกชาติ การเกดิ บอย
ๆ เปนทกข..ตลอดจนการทําบุญอุทิศตาง ๆ ลวนเปนหลักธรรมสําคัญในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทท่ีใช้
อยางไมขาดสาย จนกระท่งั ปจจบุ นั สั่งสอนชาวพทุ ธใหปฏิบตั ิอยทู กุ วนั น้ี
นอกจากน้ี หลักธรรมสําคัญระดับหัวใจพระพุทธศาสนาทั้งคาถา เย ธมฺมา อริยสัจจ 4
ปฏิจจสมุปบาท ความเช่ือเร่ืองพระอสีติมหาสาวก ความเช่ือเรื่องพระศรีอาริยเมตไตรย เปนตน ลวนเป
นหลักธรรมและหลักความเชือ่ สําคญั ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่ือวา พระพทุ ธศาสนาสมัยทวารวดี(อู่ทอง)
จะตองเปนนกิ ายเถรวาทมากกวานกิ ายอน่ื แนนอน

การน้าผลการวิจยั ไปใชป้ ระโยชน์
พระพุทธศาสนาได้แพร่กระจายเขาสูดนิ แดนทวารวดี (อทู่ อง) ตามเอกสารเชื่อได้วา เขามาตั้งแต

พทุ ธศตวรรษท่ี 3 แตตามหลกั ฐานโบราณคดี ทั้งประติมากรรม สถาปตยกรรมและ จารึกพบวา การเผยแผ่
พระพุทธศาสนาเขามาประมาณพุทธศตวรรษท่ี 8-10 ท้ังทางบกและทางทะเล”นนั้ พระพทุ ธศาสนาเม่อื เข
ามาแลวไดหยง่ั ราก ลึกลงในจติ ใจของประชาชนทน่ี ับถอื อยางมัน่ คง

จึงกอใหเกิดประโยชน์ในการสรางสรรคศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพิธีกรรมอันดีงาม และบา
งอยางยังใช้อยูในปัจจุบันจะอยู่อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร เปนสวนมากในการที่จะหา
คําตอบ เก่ียวกับการ เขามาของพระพุทธศาสนา พัฒนาการ อิทธิพลและรองรอยของพระพุทธศาสนาที่อยู
ใน ดินแดนไทยสมัยทวารวดีโดยเฉพาะพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท วิเคราะหในประเด็นดังกล่าวทําใหได
คําตอบที่นาพอใจ

การประชาสัมพนั ธ์
1) การประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยทางอินเตอร์เน็ต http://www.mcu.ac.th/site/major/

major_index.php
2) การเสนอรายงานการวจิ ัยในรูปบทความทางวชิ าการผา่ นวารสารของสถาบันตา่ งๆ

221

ประวตั ผิ ูว้ ิจัย

222

ประวตั ิผ้วู จิ ัย
1) หัวหน้าโครงงานวิจยั

1.ชอ่ื
1). ชื่อ : พระครสู ิรพิ ุทธิศาสตร์,ดร. (พระมหานพรกั ษ์ ขนฺตโิ สภโณ).
2). สถานทีเ่ กดิ : 30/2 หมู่ท่ี 8 ตาํ บลไผ่กองดนิ อําเภอบางปลามา้ จงั หวดั สุพรรณบรุ ี
3). การศกึ ษา :
พ.ศ. 2552 นกั ธรรมช้นั เอก สาํ นักเรียนวัดดอนพัฒนาราม อาํ เภอบางซา้ ย
จังหวดั พระนครศรีอยุธยา
: พ.ศ. 2541 อภธิ รรมช้ันมหาตรี สาํ นักเรียนวดั กลาง
อําเภอบางปลามา้ จังหวัดสุพรรณบรุ ี
: พ.ศ. 2550 เปรียญธรรม 5 ประโยค สํานกั เรียนวัดพนญั เชงิ วรวหาร
อาํ เภอพระนครศรอี ยธุ ยา จังหวัดพระนครศรอี ยธุ ยา
: พ.ศ. 2554 พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการเชงิ พุทธ (เกียรตินยิ มอนั ดบั 1)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รนุ่ ท่ี 56
: พ.ศ. 2555 พทุ ธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ (ปริญญาโท)
มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั รุ่นที่ 22
: พ.ศ. 2558 พทุ ธศาสตรดษุ ฎีบัณฑติ (ปรญิ ญาเอก) สาขาการจัดการเชิงพุทธ
มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รุน่ ท่ี 2
พ.ศ. 2563 กําลังศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิปัสสนากรรมมัฏฐานมจร. วข. บาฬีพุทธ

โฆส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั
4). อุปสมบท : วันที่ 11 กรกฎาคม 2547 ณ วัดดอนพัฒนาราม ตําบลวังพัฒนา อําเภอ บางซ้าย
จงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา
5). สังกดั : วดั สคุ นธาราม ตาํ บลเทพมงคล อําเภอบางซา้ ย จงั หวัดพระนครศรีอยุธยา
6). ตาํ เหน่งงาน : เจ้าอาวาสวัดสุคนธาราม, ครูสอนพระปริยัติธรรม, ครูสอนศีลธรรมใน

โรงเรยี น, เป็นอาจารย์ประจาํ หลกั สูตรสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ประจําวิทยาลยั สงฆ์สุพรรณบรุ ศี รี
สุวรรณภูมิ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดป่าเลไลยก์

วรวหิ าร อาํ เภอเมือง จังหวดั สุพรรณบุรี

7). ทอี่ ยู่ปจั จบุ นั : วัดสคุ นธาราม ตาํ บลเทพมงคล อาํ เภอบางซา้ ย จงั หวัดพระนครศรอี ยธุ ยา
13270 โทร. 06 – 2528 – 9951

8). ผลงานทางวชิ าการ/งานวจิ ัย
บทความวิชาการ

1.พระมหานพรักษ์ ขนฺติโสภโณ,ดร. ( 2561)บทความเรื่อง การจัดการกิจการ
พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภวิ ัฒน์ ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะปี
ที่ 11 ฉบับท่ี 2เดือนพฤษภาคม -สิงหาคม 2561 หนา้ 957-967

223

2.พระมหานพรกั ษ์ ขนฺติโสภโณ,ดร. (2560) บทความวิชาการเรือ่ ง พระพุทธศาสนากับ
การพัฒนาในสงั คมไทยในยคุ ไทยแลนด์ 40 ปที ต่ี พี ิมพ์ 2560 แหลง่ ตีพมิ พท์ ่ี มจรวทิ ยาเขตท่ีนา่ น

3.พระมหานพรักษ์ ขนฺติโสภโณ,ดร. (2561) บทความวิชาการ ภาวะผู้น้าการจัดการเชิง
พุทธท่ีมีต่อสังคมในยุคไทยแลนด์ 4.0” Leadership in Buddhist Management skills in the
Workplace Sociology and Religion in Thailand 4.0 วารสารวิชาการVeridian E –Journal,
Silpakorn University ฉบบั ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 11 ฉบับท่ี 2
เดอื นพฤษภาคม –สิงหาคมพ.ศ. 2561 หน้า 926-937

4.พระมหานพรักษ์ ขนฺติโสภโณ,ดร. (2561)บทความวิจัย เรื่องเทคนิคการเผยแผ่ธรรม
สกู่ ล่ม GenY วารสารมจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ หน้า 91-105

5.พระมหานพรักษ์ ขนฺติโสภโณ,ดร. (2561การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะ
ประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วารสารสุโขทัยธรรมาธิราชปีท่ี 33 ฉบับที่ 1 (2020):
มกราคม - มิถุนายน 2563 หน้า 106-122

ผลงานงานวจิ ัย

1) ร่วม งานวิจัย เรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของพุทธศาสนิกชน ตาม
แนวพุทธ ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี A STUDY OF THE BEHAVIOR IN OBSERVING THE FIVE
PRECEPTS BY THE BUDDHISTS ACCORDING TO THE BUDDHIST SUPHANBURI
PROVINCE ตพี ิมพป์ ี 2561

2) ร่วมงานวิจยั เรือ่ ง การพฒั นารูปแบบการดแู ลสุขภาพของผสู้ ูงอายุตามหลักพุทธธรรม
ของวดั ในจังหวดั สพุ รรณบรุ ี ( DEVELOPMENT MODEL SELF-HEAL THCARE OF THE ELDERLY
BY THE BUDDHISTS SUPHANBURI PROVINCE งานวิจยั งบ ประมาณแผน่ ดนิ ปี 61

3) หวั หนา้ โครงการวิจยั เรือ่ ง การศกึ ษาวเิ คราะหเ์ มอื งอู่ทองในฐานะประวตั ศิ าสตรใ์ น
ก ารเผ ย แ ผ่ พ ระพุ ท ธ ศ าส น า An Analytical Study of U-THONG City as a History of
Buddhist Propagation งานวจิ ยั งบประมาณแผ่นดิน(วช.)ปี2561

224

ผรู้ ่วมโครงการวจิ ยั
1. ชื่อ
1.1 ช่อื ภาษาไทย พระครูโสภณวรี านุวัตร,ดร. (นคิ ม เกตคุ ง)
1.2 ชอ่ื ภาษาอังกฤษ Phrakhrusophonweeranuwat,Dr.
1.3 หมายเลขบัตรประจําตัวประชาชน 3711000262594
1.4 ที่อยู่ 249 วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตําบลร้ัวใหญ่ อําเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัด

สุพรรณบุรี . e-mail : [email protected] โทร. .092-5909595

2.คณุ วุฒิ:พธ.บ. สาขาวชิ าการจดั การเชิงพุทธ มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย พธ.ม.
พทุ ธศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาวชิ าการจดั การเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย

รป.ม. รัฐประศาสนศาสตรมหาบณั ฑติ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลยั นครราชสีมา
รป.ด. รฐั ประศาสนศาสตรดุษฎีบณั ฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลยั ปทมุ ธานี

3. ตา้ แหน่งปจั จบุ ัน
นักวิจัย และอาจารย์ประจําหลักสูตร / รองผู้อํานวยการฝ่ายบริหารวิทยาลัยสงฆ์

สพุ รรณบุรีศรีสวุ รรณภมู ิ
ผ้ชู ่วยเจา้ อาวาสอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จงั หวัดสพุ รรณบรุ ี

4. ประวตั ิการศกึ ษา ชือ่ สถาบัน, ประเทศ ปี
ระดบั ชื่อปรญิ ญา (สาขาวชิ า) พ.ศ. ทจี่ บ
มหาวทิ ยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช 2557
ปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต วิทยาลัย
ปรญิ ญาโท สาขาวิชาการจดั การเชงิ พุทธ มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราช 2558
ปรญิ ญาโท วิทยาลัย
พทุ ธศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลยั นครราชสมี า 2562
สาขาวชิ าการจดั การเชิงพุทธ

รฐั ประศาสนศาสตรมหาบณั ฑิต
สาขารัฐประศาสนศาสตร์

ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบณั ฑติ มหาวิทยาลัยปทุมธานี 2561
สาขารัฐประศาสนศาสตร์

5. ผลงานวิจยั ผลงานทางวชิ าการ และสง่ิ ตพี ิมพ์
5.1 ผลงานวจิ ัย / วิทยานิพนธ์

225

(ผลงานวิจยั )
พระครูโสภณวีรานุวัตร . (2561. ชื่อโครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ
ของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม:วัดสุคนธาราม อําเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา The
Development of Model Health Care of The Elderly With Principles in Buddhists:
Watsukhontharam Bangsai Distric Pranakhornsriayuthaya Province
พระครูโสภณวีรานุวัตร .(2561). ช่ือโครงการวิจัย งานวิจัยเร่ือง การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่
ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา An Analytical Study of U-THONG City as
a History of Buddhist Propagation
5.2 สงิ่ ตีพิมพ/์ บทความทางวิชาการ
บทความวชิ าการ
พระครูโสภณวีรานวัตร (2560) ภาวะผู้น้าที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธธรรม ปีที่พิมพ์
2560 แหล่งที่ตีพิมพ์ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ช่ือวารสาร
พทุ ธบรู ณาการกบั ศาสตรส์ มยั ใหมเ่ พอ่ื พัฒนาจติ ใจและสังคมยุคไทยแลนด์ 4.0
พระครูโสภณวีรานุวัตร, (2560) เรือง การน้านวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ใน

กระบวนการเรียนการสอน ในวาระการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 MCU วารสาร มจร.หริ

บุญชัยปริทรรศน์ Journal of MCU Haripunchai Review ปีท่ี 2 ฉบับท่ี 2 มิถุนายน-ธันวาคม

2560 หน้า 627

พระครูโสภณวีรานุวัตร, (2560)เรื่อง นกไม่มีขน คนไม่มีการศึกษา ไปสู่จุดสูงสุดไม่ได้

ในวาระการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 วารสาร มจร.หริบุญชัยปริทรรศน์ Journal of MCU

Haripunchai Review วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเฉลิมพระ

เกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีท่ี 2 ฉบับท่ี 2 มิถุนายน-ธันวาคม

2560 หน้า 640

พระครูโสภณวีรานุวัตร,ดร. (2560) เร่ือง การสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามแนว

พุทธศาสตร์ ในวาระการประชุมวิชาการระดับชาติ คร้ังท่ี 2 MCU วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม

ราชกมุ ารี ปที ี่ 2 ฉบบั ที่ 2 มิถนุ ายน-ธันวาคม 2560 หน้า 654

พระครูโสภณวีรานวัตร,ดร. (2561) บทบาทของพระสังฆาธิการ: การขับเคล่ือน ไทย
แ ล น ด์ 4 . 0 The Roles of Sangha Administrators Operational to Thailand 4 . 0 ”
วารสารวิชาการVeridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์
สงั คมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม –สิงหาคมพ.ศ. 2561 หน้า 938-956

พระครูโสภณวีรานวัตร,ดร. (2561) ภาวะผู้น้าการจัดการเชิงพุทธที่มีต่อสังคมในยุค
ไทยแลนด์ 4.0” Leadership in Buddhist Management skills in the Workplace Sociology
and Religion in Thailand 4.0 วารสารวิชาการVeridian E –Journal, Silpakorn University

226

ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม –
สงิ หาคมพ.ศ. 2561 หน้า 926-937

พระครูโสภณ วีรานวัตร,ดร. (2561) The Roles of Sangha Administrators:
Operational to Thailand 4 .0 ”ว ารส ารวิช าก าร Veridian E-Journal บั ณ ฑิ ต วิท ย าลั ย
มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากรวารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University

พระครโู สภณวรี านวัตร,ดร. (2561) บทความงานวจิ ัยภาษาอังกฤษ เร่ือง “A Study to
Observance of Five Precepts Behavior of the Buddhists in Suphanburi Province”
วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับ International Humanities, Social Sciences and
artsVolume 11 Number 5 July-December 2018, p.79-93.

พระครโู สภณวีรานวตั ร,ดร. (2562) ประวัตศิ าสตรแ์ ละคุณคา่ ทางอารยธรรมสมัยทวารดี
( Historical Ecology And Dvaravati Civilization) Humanities, Social Sciences and
artsVolume 12 Number 4 July –August 2019 หนา้ 606-623

พระครูโสภณวรี านวตั ร,ดร. (2562) สติ-สมั ปชัญญะSolving Social Conscious
ness” Humanities, Social Sciences and artsVolume 12 Number 4 July –August
2019

พระครูโสภณวรี านวตั ร,ดร.บทความภาษาอังกฤษ (2562) The Buddha’s
concept of leadership & Thailand 4.0 วารสารวชิ าการ Veridian E-Journal บัณฑติ
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรวารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University
Humanities, Social Sciences and arts Volume 12 Number 4 July –August 2019

บทความงานวจิ ยั (ฉบับภาษาอังกฤษ)
พระครโู สภณวีรานวัตร,ดร(2562) THE DEVELOPMENT OF MODEL HEALTH CARE
OF THE ELDERLY WITH PRINCIPLES IN BUDDHISTS: WATSUKHONTHARAM BANGSAI
DISTRIC PRANAKHORNSRIAYUTHAYA PROVINCE Humanities, Social Sciences and
artsVolume 12 Number 4 July –August 2019

5.3 ผลงานทางวิชาการดา้ นอนื่ ๆ
การน้าเสนอผลงานวจิ ัยทังในประเทศและตา่ งประเทศ
5.3.1 เข้าร่วมเสนอผลงาน เรื่อง พุทธศิลป์ แดนดินสุพรรณบุรี ปีท่ีพิมพ์ 2559

แหล่งที่ตีพิมพ์ มจร วิทยาเขตขอนแก่น วารสาร การประชุมวิชาการระดับชาติ คร้ังท่ี 3 และระดับ
นานาชาติ ครง้ั ที่ เรอ่ื ง “พุทธบรู ณาการกับการวิจัยเพื่อพัฒนาสงั คมให้ย่ังยนื ”

6. ทุนและรางวัลทีไ่ ดร้ บั
6.1 ได้รางวัลบุคคลที่ทําประโยชน์ต่อสังคมดีเด่น เช่น มอบทุนการศึกษาแก่นิสิตทั้ง

สาขาการจัดการเชิงพุทธและรัฐประศาสนศาสตร์ มีท้ังพระและคฤหัสถ์ ปีละ 4 ทุนการศึกษาๆ ละ
6000 บาท เรมิ่ ตัง้ ปี 2560-2562

6.2 มอบทุนในการทํากิจกรรมทางวิชาการทุกๆ ด้าน ท้ัง 2 หลักสูตร ของวิทยาลัยสงฆ์
สุพรรณบุรศี รสี วุ รรณภูมิ รวม 600,000 บาท (เร่มิ ตงั้ แต่ปี 2559-2562)

227

7. ความเชี่ยวชาญ
7.1 เปน็ ผู้ช่วยเจา้ อาวาสบริหารงานคณะสงฆ์
7.2 เป็นอาจารยผ์ ูป้ รึกษาทง้ั 2 หลักสตู ร
7.3 เป็นผู้จดั กิจกรรมทางศาสนา ถนัดทง้ั ฝ่ายคดีโลกคดธี รรม
7.4 นักเผยแผ่ธรรมทางวทิ ยุกระจายเสยี ง รนุ่ ที่ 4 จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

วทิ ยาลยั ปี 2543
7.5 ไดผ้ ่านการประชุมอบรมครสู อนพระปรยิ ตั ิธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ภาค 14
7.6 ไดเ้ ข้าร่วมการสัมมนาวชิ าการ ระดับบัณฑติ และมหาบัณฑติ สาขารัฐประศาสนศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ ระหวา่ งวันที่ 1-3 กันยายน พ.ศ. 2560
7.7 ไดผ้ า่ นการอบรมในโครงการพฒั นาบุคคลกรเกี่ยวกับการใหค้ วามรใู้ นการอนรุ ักษ์

เอกสารโบราณ 4 ภาค ครัง้ ท่ี 2 ประจาํ ปี พ.ศ. 2548

8. ประสบการณ์ด้านการวิจัย
8.1 ประธานโครงการวิจัย(2561) เร่ืองการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

ดว้ ยหลักพทุ ธธรรม: วัดสุคนธาราม อําเภอบางซา้ ย จังหวดั พระนครศรอี ยธุ ยา
8.2.ประธานโครงการวิจัย (2561). ช่ือโครงการวิจยั เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองใน

ฐานะประวัตศิ าสตรใ์ นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
8.3 ร่วมโครงการวิจัย (2559)รายงานการวิจัยโครงการย่อยที่ 4 (วช.) เรื่อง การบริหาร

อํานาจตามแนวพุทธในระบบการปกครองแบบธรรมรัฐ Buddhist administrative powers in A state
fair ภายใตโ้ ครงการวิจยั เรอื่ งพุทธรฐั ศาสตร์ การบรู ณาการเพ่ือการบรรลุ ความสุข แห่งรฐั
9. ประสบการณด์ ้านการเป็นวทิ ยากรอบรม

9.1 วิทยากรฝึกอบรม บรรยายในหลักสูตรผู้บริหาร วิชา หลักการบริหารโดยหลัก
พระพทุ ธศาสนา ณ.สถาบันพัฒนาผบู้ รหิ ารการศกึ ษา ทวั่ ประเทศ ต้งั แตป่ ี 2550-ปจั จบุ ัน

-ปจั จุบัน

228

ผ้รู ่วมวิจัย
1.ชือ่

1.1 ชือ่ ภาษาไทย เอกมงคล เพช็ รวงษ์
1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ aekmongkol phetchawong
1.3 หมายเลขบตั รประจาํ ตวั ประชาชน 37207 00402 045
2. คณุ วฒุ ิ
พธ.บ. พทุ ธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศาสนา มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั
อ.ม. อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลยั มหิดล
3. ต้าแหน่งปัจจุบนั

นักวิจัย และอาจารย์ประจํา วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ 249 วัด
ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร ตาํ บลรัว้ ใหญ่ อาํ เภอเมอื งสพุ รรณบรุ ี จงั หวดั สพุ รรณบุรี โทร . 035 521120

4.ประวัตกิ ารศกึ ษา ช่อื สถาบัน, ประเทศ ปี
ระดับ ชอ่ื ปรญิ ญา (สาขาวชิ า) พ.ศ. ท่จี บ
มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราช 2537
ปรญิ ญาตรี พทุ ธศาสตรบัณฑติ วทิ ยาลยั
ปรญิ ญาโท สาขา ศาสนา มหาวิทยาลยั มหดิ ล ศาลายา 2542
นครปฐม
อักษรศาสตร์มหาบัณฑติ
สาขา ศาสนาเปรยี บเทียบ

5. ผลงานวจิ ัย ผลงานทางวิชาการ และส่ิงตพี มิ พ์
5.1 ผลงานวจิ ยั / วิทยานพิ นธ์
(ผลงานวิจยั )
(2560) งานวิจัยเร่ืองการศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของพุทธศาสนิกชน จังหวัด

สุพ รรณ บุ รี A STUDY OF THE BEHAVIOR IN OBSERVING THE FIVE PRECEPTS BY THE
BUDDHISTS ACCORDING IN SUPHANBURI PROVINCE

(2561. ชื่อโครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนารปู แบบการดูแลสุขภาพของผ้สู ูงอายุด้วยหลักพุทธ
ธรรม:วัดสุคนธาราม อําเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา The Development of Model
Health Care of The Elderly With Principles in Buddhists: Watsukhontharam Bangsai Distric
Pranakhornsriayuthaya Province

(2561). ชื่อโครงการวิจยั การศึกษาวเิ คราะห์เมืองอู่ทองในฐานะ

ประวตั ศิ าสตร์ในการเผยแผพ่ ระพุทธศาสนา An Analytical Study of U-THONG City as a

History of Buddhist Propagation

5.2 ส่ิงตีพิมพ/์ บทความทางวชิ าการ

บทความวชิ าการ

229

(2560) ภาวะผู้น้าที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธธรรม ปีที่พิมพ์ 2560 แหล่งที่
ตีพิมพ์ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ช่ือ

วารสาร พทุ ธบูรณาการกบั ศาสตรส์ มยั ใหม่เพื่อพฒั นาจติ ใจและสงั คมยุคไทยแลนด์ 4.0
(2560) เรือง การน้านวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ใน

วาระการประชุมวิชาการระดับชาติ คร้ังท่ี 2 MCU วารสาร มจร.หริบุญชัยปริทรรศน์ Journal of

MCU Haripunchai Review ปีท่ี 2 ฉบบั ที่ 2 มิถุนายน-ธันวาคม 2560 หนา้ 627

(2561) ภาวะผนู้ ้าการจัดการเชิงพทุ ธทีม่ ตี ่อสงั คมในยคุ ไทยแลนด์ 4.0” Leadership
in Buddhist Management skills in the Workplace Sociology and Religion in Thailand 4.
0 ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ( พฤษภาคม - สิงหาคม 2561 )Vol 11
No 2 (2018)หน้า 926-937

(2561) บทบาทของพระสังฆาธิการ : การขับเคล่ือน ไทยแลนด์ 4.0 (The Roles of
Sangha Administrators : Operational to Thailand 4.0)ฉ บั บ ภ า ษ า ไท ย ม นุ ษ ย ศ า ส ต ร์
สงั คมศาสตร์ และศลิ ปะ ( พฤษภาคม - สงิ หาคม 2561 )Vol 11 No 2 (2018) หน้า 938-956

(2561) บทความงานวิจัยภาษาอังกฤษ เร่ือง “A Study to Observance of Five
Precepts Behavior of the Buddhists in Suphanburi Province” ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร
Veridian E-Journal ฉบับ International Humanities, Social Sciences and artsVolume 11
Number 5 July-December 2018, p.79-93.

(2562) ประวัติศาสตร์และคุณค่าทางอารยธรรมสมัยทวารดี (Historical Ecology
And Dvaravati Civilization) Humanities, Social Sciences and artsVolume 12 Number
4 July –August 2019 หน้า 606-623

(2562) บทความภาษาอังกฤษ The Buddha’s concept of leadership &
Thailand 4.0 วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University Humanities, Social Sciences and
arts Volume 12 Number 4 July –August 2019

บทความงานวิจยั
(2562) THE DEVELOPMENT OF MODEL HEALTH CARE OF THE ELDERLY
WITH PRINCIPLES IN BUDDHISTS : WATSUKHONTHARAM BANGSAI DISTRIC
PRANAKHORNSRIAYUTHAYA PROVINCE Humanities, Social Sciences and artsVolume 12
Number 4 July –August 2019
(2563) การศึกษ าวิเคราะห์ เมืองอู่ท องในฐานะป ระวัติศาสตร์ใน การเผยแผ่
พระพุทธศาสนา วารสารสุโขทัยธรรมาธิราชปีที่ 33 ฉบับที่ 1 (2020): มกราคม - มิถุนายน 2563
หนา้ 106-122
5.3 ผลงานทางวิชาการด้านอืน่ ๆ
การนา้ เสนอผลงานวิจัยทังในประเทศและตา่ งประเทศ

230

5.3.1 เขา้ รว่ มเสนอผลงาน เร่ือง พุทธศิลป์ แดนดินสพุ รรณบุรี ปที ่ีพิมพ์ 2559 แหล่ง
ที่ตีพิมพ์ มจร วิทยาเขตขอนแก่น วารสาร การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 และระดับ
นานาชาติ ครงั้ ท่ี เร่ือง “พทุ ธบูรณาการกบั การวจิ ัยเพอื่ พัฒนาสังคมให้ยง่ั ยืน”
6. ทุนและรางวลั ทไ่ี ด้รับ

6.1 ได้รางวลั ผูน้ าํ สายธรรมทูตดีเดน่ จากองคพ์ ระเทพรัตนราชสุดา พ ศ.2543
7. ความเช่ียวชาญ

7.1 การปฏิบตั กิ ารในช้นั เรยี น (Classroom Action Research)ในด้านกจิ กรรมทาง
ศาสนา
7.2 เครือข่ายการเขยี นบทความวชิ าการปฏบิ ัตกิ ารในชนั้ เรียนในดา้ นพระพุทธศาสนา
(Classroom Action Research Network)
7.3 การออกแบบบทความวิจัยในสาขาวิชาตา่ งๆ
8. ประสบการณ์ดา้ นการวิจัย
8.1 (2560) งานวิจัยเร่ืองการศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของพุทธศาสนิกชน
จังหวัดสุพรรณบุรี A STUDY OF THE BEHAVIOR IN OBSERVING THE FIVE PRECEPTS BY
THE BUDDHISTS ACCORDING IN SUPHANBURI PROVINCE
8.2 (2561) งานวิจัยเร่ือง การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธ
ธรรม: วัดสุคนธาราม อําเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาTHE DEVELOPMENT OF MODEL
HEALTH CARE OF THE ELDERLY WITH PRINCIPLES IN BUDDHISTS:WAT SUKHONTHARAM
BANGSAI DISTRIC PRANAKHORNSRIAYUTHAYA PROVINCE
8.3 (2562) งานวิจยั เรือ่ ง การศกึ ษาวิเคราะหเ์ มืองอูท่ องในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผย
แ ผ่ พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า An Analytical Study of U-THONG City as a History of Buddhist
Propagation
9. ประสบการณ์ด้านการเป็นวทิ ยากรอบรมและตรวจสอบเครือ่ งมอื วจิ ยั
9.1 วิทยากรบรรยายพิเศษ “อารยธรรมตะวันออกตะวันตก” ของมหาวิทยาลัยหอการค้า
ไทย ระหว่างปี 2537 –
9.2 วิทยากรฝึกอบรม บรรยายในหลักสูตรผู้บริหาร วิชา หลักการบริหารโดยหลัก
พระพทุ ธศาสนา ณ.สถาบนั พัฒนาผู้บริหารการศึกษา วัดไรข่ ิงจงั หวัดนครปฐม 2537-2540


Click to View FlipBook Version